เมืองโบราณที่อำเภอสูงเนิน อยู่ห่างจาก จ.นครราชสีมา ประมาณ ๓๒ กม. ตามทางหลวงหมายเลข ๒
หลัก กม. ที่ ๒๒๑- ๒๒๒ แยกเข้าสู่อำเภอสูงเนิน ผ่านตลาดสูงเนินข้ามทางรถไฟ เลี้ยวซ้ายก่อนถึงสถานีรถไฟสูงเนิน แล้วเลี้ยวขวาไปประมาณ 5 กิโลเมตร ตรงเข้าไปถึงวัดญาณโสภิตวนาราม (วัดป่าสูงเนิน) ปัจจุบันเป็นเมืองร้างมี ๒ แห่ง คือ
- "เมืองโคราช" อยู่ที่ ต.โคราช ในบริเวณ มีปราสาทหินโนนกู่ ปราสาทหินเมืองแขก และปราสาทหินเมืองเก่า ซึ่งทางกรมศิลปากรได้ดำเนินการขุดแต่งแล้ว
- "เมืองเสมา" อยู่ที่ตำบลเสมา เลยทางแยกวัดป่าสูงเนินไป ข้ามลำตะคอง ผ่านบ้านหินตั้ง ห่างจากตลาดสูงเนิน ๕ กม. เป็นเมืองโบราณรูปไข่ กำแพงเมืองเดิมสร้างด้วยศิลาแลง กรมศิลปากร ลงความเห็นว่าเป็นเมืองสมัยทวาราวดี สิ่งที่น่าสนใจในเมืองเสมา ได้แก่ พระพุทธรูปปางไสยาสน์ สร้างด้วยหินทรายแดงที่เก่าแก่และใหญ่ที่สุดในประเทศไทย และมีใบเสมาธรรมจักรโบราณที่เก่าแก่ ลักษณะเหมือนที่ขุดพบที่นครปฐม
วัดพระนอนธรรมจักรเสมาราม ตั้งอยู่ที่บ้านคลองขวาง ตำบลเสมา อ.สูงเนิน เป็นพระพุทธรูปปางไสยาสน์ ก่อสร้างด้วยหินทรายแดง ที่มีความเก่าแก่และใหญ่ที่สุดในประเทศไทย มีความยาว 13.30 เมตร สูง 2.80 เมตร
สร้างขึ้นในสมัยทวาราวดี อายุราว พ.ศ. 1200
จากหลักฐานทางโบราณคดีที่ค้นพบบริเวณพระนอน และภายในเมืองเสมา และอาณาจักรศรีจานาศะ ได้แก่พระพุทธรูปสำริด พระพิมพ์ดินเผา
ลูกปัดแก้วแว ดินเผาที่ใช้ปั่นฝ้าย จารึกที่บ่ออีกา ซึ่งเป็นศาสนสถานพราหมณ์แบบศิลปะขอมที่พบในเมืองเสมา และธรรมจักรโบราณที่เก่าแก่
ลักษณะเหมือนเสมาธรรมจักร ที่ขุดพบที่จังหวัดนครปฐม |
ปราสาทหินเมืองเก่า ตั้งอยู่ในวัดปราสาทเมืองเก่า ตำบลโคราช ปราสาทหินเมืองเก่านี้ คืออโรคยาศาล ที่พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 มหาราช องค์-สุดท้ายแห่งอาณาจักรเขมร ทรงสร้างขึ้นระหว่างพ.ศ. 1728-1763 ปราสาทหินเมืองเก่า เป็นเมืองโบราณรูปไข่กว้าง1,400 เมตร ยาว 2,000 เมตร กำแพงเมืองเดิมสร้างด้วยศิลาแลง กรมศิลปากรลงความเห็นว่าเมืองสมัยทวาราวดีขุดพบวัตถุโบราณมากมายใน-บริเวณนั้น แต่ปัจจุบันเหลือเพียงเนินดิน
เป็นแนวยาวคล้ายกำแพง |
ปราสาทเมืองแขก ตั้งอยู่ที่บ้านกกกอก หมู่ที่ 7 ตำบลโคราช ปราสาทเมืองแขกเป็นศาสนสถานแบบ ศิลปะเขมร ก่อด้วยอิฐปนหินทราย มีปราสาท 3 หลัง ตั้งอยู่บนฐานเดียวกัน หันหน้าไปทางทิศเหนือ ปัจจุบันเหลือเพียงมณฑปด้านหน้า ล้อมรอบด้วยกำแพงแก้ว และคูน้ำคันดินอีก ชั้นหนึ่ง มีซุ้มประตู ทิศเหนือเป็นทางเข้า-ออก นอกประตูซุ้มบนคันดินชั้นนอกสุด มีซากปราสาทขนาดย่อมอีกสองหลัง หน่วยศิลปากร ได้ทำการขุดแต่งปราสาทเมืองแขก ซึ่งได้พบ ทับหลังสลักลาย ตามแบบศิลปเขมรสมัยเกาะแกร์แปรรูป รวมทั้งศิลาจารึกที่ถูกนำมาก่อเป็นฐานประตูซุ้มชั้นนอกสุด
ปราสาทโนนกู่ เป็นศาสนสถานแบบศิลปะเขมร ก่อด้วยอิฐปนหินทรายประกอบด้วยปรางค์ หลังเดี่ยวบนฐานสูง ด้านหน้ามีวิหารหันเข้าหาปรางค์ประธานอยู่ 2 หลัง ล้อมรอบด้วยกำแพงแก้ว มีซุ้มประตูทิศตะวันออกและทิศตะวันตกเป็นทางเข้า-ออก และที่ลานระหว่างวิหารทั้งสองนั้นพบโคนนทิ หมอบในอาการเคารพปราสาทประธาน อันเป็นที่สถิตของพระศิวะมหาเทพ ตามคติความเชื่อของศาสนา
ฮินดู ในราวพุทธศตวรรษที่ 16 |
I จ.นครราชสีมา I อนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี I
อนุสรณ์สถาน นส.บุญเหลือ I ศาลหลักเมือง I วัดศาลาลอย I
วัดป่าสาละวัน I พิพิธภัณฑ์สถาน I I ศูนย์วัฒนธรรม I ด่านเกวียน I ปราสาทหินพนมวัน I สวนสัตว์เปิด I I วนอุทยานเขาใหญ่ I I อ.ปากช่อง I อ.สีคิ้ว I อ.สูงเนิน I ปักธงชัย I อ.โนนสูง I อ.จักราช I อ.พิมาย I อ.ประทาย I อ.บัวใหญ่ I
Goto Menu I
bCentral Counter | | Send mail to sup@thaicath.com.with question or comments about
this web. Copyright @ 1995-2000 Data computer's House. 2123-2125 Suebsiri Rd. Muang, Nakorn-Rachasima. 30000 Thailand.
Last |
|