การติดตั้ง netware 3.12 เชิญแวะเข้ามาเที่ยวชมได้ครับ
การแนบไฟล์ของ hotmail.com เชิญแวะเข้ามาเที่ยวชมได้ครับ
บทความเรื่องLan เชิญแวะเข้ามาเที่ยวชมได้ครับ
WEBBOARD มีปัญหาต่างๆหรือต้องการจะบอกอะไร
แก้ปัญหา Windows XP รีสตาร์ทเอง
รู้กันหรือยังปุ่มสีเขียวๆ มุมบนขวา ตรงโลโก้ช่อง 5 มันคืออะไร
LAN (Local Area Network)
LAN (Local Area Network) หรือ แลน คือ ข่ายงานบริเวณเฉพาะที่ หมายถึง การต่อเชื่อมคอมพิว เตอร์หลายเครื่องเข้าด้วยกันเป็นเครือข่าย แต่ละเครื่องจะอยู่ในบริเวณใกล้ ๆ กัน เช่น ใน อาคารเดียวกัน คอมพิวเตอร์เหล่านี้จะทำงานร่วมกันได้ ใช้ข้อมูลหรือโปรแกรมร่วมกันได้ ผู้ใช้สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูล หรือใช้อุปกรณ์บางอย่างร่วมกันได้ เช่น เครื่องพิมพ์ นับเป็นการประหยัดค่าใช้จ่ายได้เป็นอย่างดี ชื่อของโปรแกรมระบบแลนที่โด่งดังก็มี Novell, Windows NT ดู WAN เปรียบเทียบ
Computer
Computer หรือ เครื่องคอมพิวเตอร์ คือ อุปกรณ์ชนิดหนึ่งที่ทำงานด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ สามารถจำข้อมูลและคำสั่งได้ ทำให้สามารถทำงานไปได้ โดยอัตโนมัติด้วยอัตราความเร็วที่สูงมาก ใช้ประโยชน์ในการคำนวณหรือการทำงานต่าง ๆ ได้เกือบทุกชนิด มี 3 ขนาด คือ ขนาดใหญ่ (Main Frame) ขนาดกลาง (Mini Computer) และขนาดเล็กที่กำลังได้รับความนิยมทั่วไปในขณะนี้ เรียกว่า ไมโครคอมพิวเตอร์ (Micro Computer) หรือ คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (Personal Computer) ที่เรียกกันย่อ ๆ ว่า พีซี ปัจจุบัน การใช้ระบบเครือข่ายทำให้เราสามารถใช้คอมพิวเตอร์เป็นที่ค้นหาข้อมูลต่าง ๆ สื่อสารได้ นอกเหนือไปจากการใช้เพื่อการคำนวณตามวัตถุประสงค์ดั้งเดิมของผู้ประดิษฐ์
Mouse
Mouse หรือ เมาส์ คือ อุปกรณ์สำหรับควบคุมเคอร์เซอร์บนจอภาพ, อุปกรณ์นำเข้า (input device) ชนิดหนึ่งมีขนาดพอเหมาะกับมือเป็นรูปสี่เหลี่ยมเล็ก ๆ สามารถเคลื่อนย้ายไปบนผิวพื้นเรียบ ตัวเมาส์นี้ เมื่อเชื่อมต่อกับเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ จะเป็นตัวทำให้เคลื่อนย้าย cursor ไปในทิศทางที่ต้องการได้ ใต้ตัวเมาส์จะมีลูกกลิ้งกลม ๆ ซึ่งจะทำให้ตัวชี้ตำแหน่ง (cursor) เคลื่อนย้ายไปยังทิศทางต่าง ๆ ได้ โดยปกติ เมาส์ของพีซีจะมี 3 ปุ่ม ส่วนใหญ่จะใช้ปุ่มทางด้านซ้าย ระบบวินโดว์ 95 มีการใช้ปุ่มทางขวาของเมาส์มากขึ้น ส่วนเมาส์ของแมคอินทอชจะมีปุ่มเดียว การใช้เมาส์จะมี 3 ลักษณะ คือ กดที่ปุ่มซ้ายหรือขวาเพียงครั้งเดียวเพื่อเลือกคำสั่ง หรือกำหนดภาพ ฯ กด 2 ครั้ง ติด ๆ กันเพื่อเริ่มต้นโปรแกรมหรือเปิดแฟ้มข้อมูล กับกดแล้วลากเพื่อเคลื่อนย้ายข้อความหรือภาพ
Operating System (OS)
Operating System (OS) หรือ ระบบปฏิบัติการ คือ โปรแกรมที่โหลดขึ้นมาตามกระบวนการบูตเครื่องคอมพิวเตอร์ โปรแกรมนี้จะคอยจัดการกับโปรแกรมอื่นๆทั้งหมดในเครื่องคอมพิวเตอร์ซึ่งโปรแกรมเหล่านี้จะถูกเรียกว่า แอพพลิเคชั่น (Application) แอพพลิเคชั่นโปรแกรมจะติดต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์โดยอาศัยโปรแกรมระบบปฏิบัติการผ่านทางส่วนติดต่อที่มีชื่อว่า เอพีไอ (Application Program Interface; API) ในขณะที่ผู้ใช้จะติดต่อกับระบบปฏิบัติการผ่านทางส่วนติดต่อกับผู้ใช้ (User Interface) ซึ่งเป็นแบบกราฟิก (Graphical User Interface) หรือที่เราคุ้นเคยกันในชื่อ GUI
Memory
Memory หรือ หน่วยความจำ คือ อุปกรณ์อีเลคโทรนิคที่ใช้เก็บโปรแกรมและข้อมูลบางส่วนซึ่งไมโครโปรเซสเซอร์สามารถเข้าถึงได้เร็วที่สุด บางครั้งคำว่า หน่วยความจำ อาจใช้แทนคำว่า แรม (RAM; Random Access Memory) ซึ่งเป็นหน่วยความจำชนิดหนึ่งได้
RAM
RAM (Random Access Memory) คือส่วนประกอบหนึ่งของเครื่องคอมพิวเตอร์ซึ่งให้เก็บส่วนหนึ่งหนึ่งของระบบปฏิบัติการ แอพพลิเคชั่น และข้อมูลที่ใช้ในขณะนั้น เนื่องจากโปรเซสเซอร์จะเข้าถึงข้อมูลในแรมได้เร็วกว่าสื่อบันทึกข้อมูลแบบอื่นๆ เช่น ฮาร์ดไดร์ฟ, ฟลอปปี้ดิสก์ และซีดีรอม เป็นต้น แต่แรมไม่ใช่สื่อบันทึกข้อมูลแบบถาวร ข้อมูลในแรมจะคงอยู่ตราบเท่าที่ยังเปิดใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์อยู่เท่านั้น และทันทีที่คุณปิดเครื่อง ทั้งหมดก็จะหายไป
CPU
CPU (Central Processing Unit) หรือ โปรเซสเซอร์ (Processor) คือ ส่วนหนึ่งของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีหน้าที่ควบคุมการทำงานของส่วนอื่นๆ โดยทั่วไปแล้ว ซีพียูจะประกอบไปด้วย หน่วยควบคุม (Control Unit), หน่วยประมวลผลคณิตศาสตร์และตรรกศาสตร์ (Arithmetic and Logic Unit; ALU) และหน่วยความจำ ได้แก่ รีจีสเตอร์ (Register), แคช (Cache), แรม (RAM) และรอม (ROM)
หน่วยควบคุมจะอ่านคำสั่ง (Instruction) จากหน่วยความจำ และถอดรหัส (Decode) คำสั่งเหล่านั้นออกมาเป็นสัญญาณที่ใช้ควบคุมส่วนต่างๆของเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งหมายรวมถึงการส่งผ่านข้อมูลไปมาระหว่างหน่วยความจำและหน่วยประมวลผลเอแอลยู หรือกระตุ้นการทำงานของอุปกรณ์ประกอบ (Peripheral) เพื่อนำเข้า (Input) หรือส่งออกข้อมูล (Output)
พาราเลลคอมพิวเตอร์ (Parallel Computer) จะมีซีพียูทำงานร่วมกันอยู่หลายตัว โดยจะมีการใช้งานทรัพยากรหรือรีซอร์ส (Resource) ต่างๆร่วมกันด้วย เช่น หน่วยความจำและเพอริเฟอร์รัล เป็นต้น โปรเซสเซอร์ อาจใช้แทน ซีพียู ได้ แม้ว่าโดยปกติแล้วจะไม่รวมแรมและรอมเข้าเป็นส่วนหนึ่งของโปรเซสเซอร์ก็ตาม เช่นเดียวกับไมโครโปรเซสเซอร์ (Microprocessor) รุ่นใหม่ ที่แม้ว่าบางรุ่นอาจรวมแรมและรอมเข้าไว้บนแผ่นวงจรอิเล็กทรอนิกส์ หรือไอซี (Integrated Circuit; IC) เดียวกัน
Processor
Processor หรือ โปรเซสเซอร์ คือวงจรตรรก (Logic) ซึ่งทำหน้าที่ตอบสนองหรือประมวลชุดคำสั่งพื้นฐาน (Instruction) ที่ใช้ในการขับเคลื่อนคอมพิวเตอร์ โดยทั่วไปแล้วคำ Processor อาจใช้แทนคำ CPU ได้ ทั้งนี้โปรเซสเซอร์ที่อยู่ในเครื่องพีซีหรือในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ขนาดเล็กจะนิยมเรียกว่า Microprocessor หรือ ไมโครโปรเซสเซอร์
Microprocessor
Microprocessor หรือ ไมโครโปรเซสเซอร์ คือ คอมพิวเตอร์โปรเซสเซอร์บนไมโครชิพ มันเป็น เอนจิ้น ซึ่งจะเริ่มทำงานก็ต่อเมื่อเปิดสวิตช์เครื่องคอมพิวเตอร์ ไมโครโปรเซสเซอร์ถูกออกแบบมาเพื่อการประมวลผลคณิตศาสตร์และตรรกศาสตร์ซึ่งอาศัยตัวเก็บข้อมูลขนาดเล็กที่เรียกว่า รีจีสเตอร์ (Register) เป็นตัวเก็บนำส่งข้อมูลและเก็บผลลัพธ์เป็นการชั่วคราว
ลักษณะการประมวลผลทั่วๆไปของไมโครโปรเซสเซอร์ได้แก่ การบวก, การลบ, การเปรียบเทียบตัวเลข 2 จำนวน และการดึง (Fetch) ข้อมูลจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง ลักษณะการประมวลผลเหล่านี้คือผลจากชุดคำสั่ง (Instruction) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการออกแบบไมโครโปรเซสเซอร์
เมื่อเปิดสวิตช์เครื่องคอมพิวเตอร์ ไมโครโปรเซสเซอร์จะอ่านคำสั่งชุดแรกจากระบบอินพุตเอาต์พุตเบื้องต้นหรือไบออส (Basic Input/Output System; BIOS) ซึ่งจะติดมาพร้อมกับเครื่องคอมพิวเตอร์ในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของหน่วยความจำ หลังจากนั้น ทั้งไบออส หรือระบบปฏิบัติการที่ไบออสโหลดเข้ามาเก็บไว้ในหน่วยความจำ หรือแอพพลิเคชั่นโปรแกรม จะเป็นตัวขับเคลื่อนไมโครโปรเซสเซอร์ หมายถึงการป้อนชุดคำสั่งให้ประมวลผลหรือปฏิบัติงาน
Microchip
Microchip หรือ ไมโครชิพ หรือ ชิพ คือแพ็คเกจของชุดวงจรคอมพิวเตอร์ (อินทิเกรเต็ดเซอร์กิต; Integrated Circuit) ซึ่งผลิตขึ้นจากวัตถุดิบ เช่น ซิลิคอน ที่มีขนาดเล็กมากๆ ไมโครชิพถูกสร้างขึ้นสำหรับโปรแกรมตรรก (ชิพไมโครโปรเซสเซอร์) และหน่วยความจำ (แรม; RAM) นอกจากนี้ยังถูกสร้างขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์อื่นๆอีกด้วย เช่น Analog-to-Digital Conversion, Bit Slicing และ Gateway เป็นต้น
Instruction
Instruction หรือ อินสตรักชั่น คือ คำสั่งที่สั่งโดยโปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อให้โปรเซสเซอร์ทำงานตามที่ต้องการ
ในระดับล่างสุด อินสตรักชั่นแต่ละอินสตรักชั่นจะประกอบไปด้วย 0 และ 1 เรียงต่อๆกันอยู่ ซึ่งจะอธิบายถึงลักษณะและวิธีการประมวลผล เช่น บวกหรือลบ
พื้นที่ที่ใช้เก็บจำนวนหรือผลลัพธ์ที่ใช้ในการประมวลผล หรือแอดเดรสของอินสตักชั่นถัดไปในหน่วยความจำ (ขึ้นอยู่กับประเภทของอินสตักชั่น) ไม่ว่าจะเป็นการอ้างอิงแอดเดรสแบบทางตรง (Direect) หรือทางอ้อม (Indirect) จะเป็นพื้นที่เฉพาะที่เรียกว่า "รีจีสเตอร์" (Register)
ในภาษาแอสเซมเบลอร์ (Assembler) ของคอมพิวเตอร์ คำสั่งแต่ละสเตทเมนต์จะเท่ากับ 1 อินสตักชั่น แต่สำหรับในภาษาคอมพิวเตอร์ระดับสูงแล้ว คำสั่งแต่ละสเตทเมนต์จะเท่ากับหลายๆอินสตักชั่นรวมกัน
Register
Register หรือ รีจีสเตอร์ คือ หน่วยเก็บข้อมูลขนาดจิ๋ว ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของไมโครโปรเซสเซอร์ และใช้เป็นที่เก็บข้อมูลชั่วคราวสำหรับการส่งผ่านผลลัพธ์ของอินสตรักชั่นหนึ่งไปยังอินสรักชั่นถัดไป หรือโปรแกรมอีกโปรแกรมหนึ่งซึ่งอยู่ภายใต้การควบคุมของระบบปฏิบัติการ
รีจีสเตอร์จำเป็นตัองมีขนาดใหญ่เพียงพอที่จะเก็บอินสตรักชั่นได้ เช่น อินสตรักชั่นขนาด 32 บิต รีจีสเตอร์ก็ต้องมีขนาด 32 บิตด้วย
ในบางกรณีรีจีสเตอร์อาจมีขนาดเล็กกว่าขนาดของอินสตรักชั่นได้ เช่น มีขนาดเป็นครึ่งหนึ่งของอินสตรักชั่น ขึ้นอยู่กับการออกแบบโปรเซสเซอร์นั้นๆ
Application Program
Application Program หรือ แอพพลิเคชั่นโปรแกรม หรือเรียกสั้นๆว่า Application หรือ แอพพลิเคชั่น คือ โปรแกมที่ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อทำหน้าที่เฉพาะสำหรับผู้ใช้โดยตรง หรือจากแอพพลิเคชั่นอื่นในบางกรณี
ตัวอย่างเช่น เวิร์ดโปรเซสซิ่ง, ดาต้าเบส, เว็บเบราวเซอร์, เครื่องมือพัฒนา หรือ ดีเวลอปเมนต์ทูล (Development Tool), โปรแกรมดรอว์อิ้ง, โปรแกรมเพนต์, โปรแกรมตกแต่งภาพ (Image Editor) และโปรแกรมสื่อสาร (Communication Program) เป็นต้น
แอพพลิเคชั่นจะมีการเรียกใช้เซอร์วิสของระบบปฏิบัติการหรือโปรแกรมซัพพอร์ตอื่นๆในเครื่องคอมพิวเตอร์ด้วย โดยรูปแบบในการขอใช้หรือรีเควสต์ (Request) เซอร์วิส และวิธีการสื่อสารกับโปรแกรมอื่น ที่โปรแกรมเมอร์ใช้ในการเขียนแอพพลิเคชั่น เรียกว่า แอพพลิเคชั่นโปรแกรมอินเตอร์เฟส (Application Program Interface; API)
ROM
ROM หรือ Read-Only Memory หรือ รอม คือ หน่วยความจำที่ติดมากับเครื่องคอมพิวเตอร์ตั้งแต่ขึ้นตอนการผลิตในโรงงาน โดยปกติข้อมูลที่อยู่ในรอมจะสามารถอ่านได้อย่างเดียวเท่านั้น ไม่สามารถเขียนทับ หรือลบ หรือแก้ไขข้อมูลเหล่านั้นได้ รอมจะเก็บโปรแกรมซึ่งทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ "บูต" ไว้ ซึ่งจะเริ่มทำงานทุกครั้งที่คุณเปิดเครื่อง ตรงกันข้ามกับแรม (RAM) ข้อมูลในรอมจะไม่สูญหายเมื่อปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ รอมจะถูกเลี้ยงไว้ด้วยแบตเตอรี่ขนาดเล็กที่อยู่ภายในเครื่องคอมพิวเตอร์ ถ้าคุณเคยเซ็ตอัพฮาร์ดแวร์ สิ่งที่คุณแก้ไขจะถูกบันทึกไว้ในรอม
Motherboard
Motherboardหรือ Mainboard หรือ มาเธอร์บอร์ด หรือ เมนบอร์ด คือ แผงวงจรหลักของเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่ทำหน้าที่เชื่อมต่อการทำงานของอุปกรณ์ประกอบต่างๆของเครื่องคอมพิวเตอร์ รูปแบบโดยทั่วไปของเมนบอร์ดในปัจจุบันจะเป็นแบบ AT ซึ่งอ้างอิงตามแบบดั้งเดิมของไอบีเอ็ม และ ATX ซึ่งเป็นรูปแบบที่พัฒนาต่อจาก AT มาอีกขั้นหนึ่ง
ส่วนประกอบหรืออุปกรณ์ประกอบที่มาต่อกับเมนบอร์ด ได้แก่ ไมโครโปรเซสเซอร์ (Microprocessor), หน่วยความจำ (Memory), ไบออส (BIOS), เอ็กซ์แพนชั่นสล็อต (Expansion Slot) และช่องต่ออินเตอร์คอนเนคติ้ง (Interconnecting)
อุปกรณ์อื่นๆนอกเหนือจากที่กล่าวมาสามารถเชื่อมต่อกับเมนบอร์ดได้โดยผ่านทางเอ็กซ์แพนชั่นสล็อต ขณะที่ช่องทางที่เชื่อมต่อระหว่างเมนบอร์ดกับการ์ดในเอ็กซ์แพนชั่นสล็อต จะเรียกว่า บัส (Bus)
DRAM
Dynamic Random Access Memory หรือ DRAM หรือ ดีแรม คือ แรม (Random Access Memory; RAM) หรือ หน่วยความจำชนิดปกติสำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์พีซีและเครื่องเวิร์คสเตชั่น (Workstation) หน่วยความจำคือเครือข่ายของประจุไฟฟ้าที่เครื่องคอมพิวเตอร์ใช้เก็บข้อมูลในรูปของ "0" และ "1" ที่สามารถเข้าถึงได้ง่ายๆ
Random Access หรือ การเข้าถึงแบบสุ่ม หมายถึง โปรเซสเซอร์สามารถเข้าถึงทุกๆส่วนของหน่วยความจำหรือพื้นที่เก็บข้อมูลได้โดยตรง ไม่จำเป็นต้องค้นหาข้อมูลที่ต้องการเรียงตามลำดับจากจุดเริ่มต้น
DRAM คือไดนามิก ซึ่งตรงกันข้ามกับ SRAM หรือ สแตติกแรม (Static RAM); DRAM ต้องการการรีเฟรช (Refresh) เซลเก็บข้อมูล หรือการประจุไฟ (Charge) ในทุกๆช่วงมิลลิวินาที ในขณะที่ SRAM ไม่ต้องการการรีเฟรชเซลเก็บข้อมูล เนื่องจากมันทำงานบนทฤษฎีของการเคลื่อนที่ของกระแสไฟฟ้าซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงใน 2 ทิศทาง ไม่เหมือนกับเซลเก็บข้อมูลซึ่งเป็นเพียงตัวเก็บประจุไฟฟ้าเท่านั้น โดยทั่วไป SRAM มักจะถูกใช้เป็นหน่วยความจำแคช (Cache Memory) ซึ่งโปรเซสเซอร์สามารถเข้าถึงได้เร็วกว่า
DRAM จะเก็บทุกๆบิตในเซลเก็บข้อมูล ซึ่งประกอบขึ้นด้วยกลุ่มตัวเก็บประจุ (คาปาซิเตอร์; Capacitor) และทรานซิสเตอร์ (Transistor) คาปาซิเตอร์จะสูญเสียประจุไฟฟ้าอย่างรวดเร็ว และนั่นเป็นเห็นเหตุผลว่า ทำไม DRAM จึงต้องการการรีชาร์ต
ปัจจุบัน มีแรมมากมายหลากหลายชนิดในท้องตลาด เช่น EDO RAM, SDRAM และ DDR SDRAM เป็นต้น
SRAM
SRAM หรือ Static RAM หรือ เอสแรม หรือ สแตติกแรม คือ แรม (RAM) ซึ่งเก็บรักษาข้อมูลบิตไว้ในหน่วยความจำของมันตราบเท่าที่ยังมีกระแสไฟฟ้าหล่อเลี้ยงอยู่ ไม่เหมือนกับดีแรม (DRAM) ที่เก็บข้อมูลไว้ในเซลซึ่งประกอบขึ้นด้วยตัวเก็บประจุหรือคาปาซิเตอร์ (Capacitor) และทรานซิสเตอร์ (Transistor)
SRAM ไม่ต้องการการรีเฟลช ทั้งยังมีความเร็วในการเข้าถึงข้อมูลที่สูงกว่า และนั่นทำให้มันมีราคาที่สูงกว่าดีแรมด้วย SRAM มักถูกใช้ทำเป็นหน่วยความจำแคชในเครื่องคอมพิวเตอร์ หรือเป็นส่วนหนึ่งของแรมของตัวแปลงสัญญานดิจิตอล/อนาลอก (Digital-to-Analog Converter) บนวีดีโอการ์ด
SDRAM
SDRAM หรือ Synchronous DRAM หรือ เอสดีแรม เป็นชื่อเรียกของหน่วยความจำดีแรม (DRAM) ชนิดหนึ่งซึ่งทำงานตามความเร็วสัญญาณนาฬิกาที่เหมาะสมสำหรับไมโครโปรเซสเซอร์ ความเร็วของเอสดีแรมมักมีหน่วยเป็น เมกะเฮิร์ตซ (MHz) มากกว่า นาโนเซค (Nanoseconds; ns) ซึ่งง่ายต่อการเปรียบเทียบกับความเร็วบัสและความเร็วของชิพหน่วยความจำ
PROM
Programmable Read-Only Memory หรือ PROM หรือ พีรอม คือหน่วยความจำรอม (ROM) ซึ่งผู้ใช้สามารถแก้ไขข้อมูลที่บันทึกไว้ได้ 1 ครั้ง PROM คือทางเลือกหนึ่งสำหรับผู้ใช้ที่ต้องการบันทึกโค้ดโปรแกรมในหน่วยความจำรอม ซึ่งต้องอาศัยเครื่องมือพิเศษที่เรียกว่า PROM Programmer ในการบันทึก เครื่องมือชิ้นนี้จะป้อนกระแสไฟฟ้าเข้าไปในเซลเฉพาะของหน่วยความจำรอมซึ่งจะทำหน้าที่เสมือนฟิวส์ไฟฟ้า กระบวนการดังกล่าวเรียกว่า การเบิร์นนิ่งพีรอม (Burning PROM) ข้อจำกัดในการเบิร์นนิ่งพีรอมคือห้ามเกิดข้อผิดพลาดใดๆทั้งสิ้น เนื่องจากสามารถแก้ไขได้เพียงครั้งเดียว ดังนั้นจึงมีการคิดค้นรอมชนิดอื่นขึ้นมา เช่น EPROM (Erasable Programmable Read-Only Memory) และ EEPROM (Electrically Erasable Programmable Read-Only Memory) ซึ่งสามารถแก้ไขได้หลายครั้ง
EPROM
EPROM หรือ Erasable Programmable Read-Only Memory หรือ เอ็ปรอม คือ พีรอม (PROM) ซึ่งสามารถลบและนำมาใช้ซ้ำได้ การลบข้อมูลในเอ็ปรอมสามารถทำได้โดยการนำไปตากแดด รังสีอุลตร้าไวโอเลตในแสงแดดจะทำปฏิกิริยากับชิพหน่วยความจำและลบข้อมูลทั้งหมดออกไป อย่างไรก็ตามการลบข้อมูลจะเกิดขึ้นภายใต้แสงแดดจัดเท่านั้น แสงแดดที่ส่องผ่านเข้ามาในห้องอาจมีปริมาณรังสีอุลตร้าไวโอเลตไม่เพียงพอสำหรับกระบวนการดังกล่าวได้
EEPROM
EEPROM หรือ Ectrically Erasable Programmable Read-Only Memory หรือ อีเอ็ปรอม คือหน่วยความจำรอม (ROM) ที่ผู้ใช้สามารถลบหรือแก้ไขหรือเขียนซ้ำข้อมูลที่บรรจุอยู่ภายในได้ และสามารถกระทำซ้ำได้หลายครั้ง โดยอาศัยแอพพลิเคชั่นที่ใช้กำลังไฟฟ้าสูงกว่าปกติ EEPROM จะต่างจาก EPROM ตรงที่ไม่จำเป็นต้องถอดออกจากเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อทำการแก้ไขข้อมูล การลบข้อมูลใน EEPROM จะเป็นการลบข้อมูลทั้งหมด ไม่สามารถเลือกลบเฉพาะบางส่วนได้ อย่างไรก็ตามมันมีอายุการใช้งานจำกัดขึ้นอยู่กับจำนวนครั้งในการลบหรือแก้ไขข้อมูล เช่น 10 ครั้งหรือ 100 ครั้ง รูปแบบพิเศษของ EEPROM คือหน่วยความจำแฟลช (Flash Memory) ซึ่งใช้ระดับไฟปกติในเครื่องพีซีสำหรับการลบหรือเขียนหรือแก้ไขข้อมูล
Flash Memory
Flash Memory หรือ "แฟลชเมมโมรี่" หรือ "หน่วยความจำแฟลช" คือ หน่วยความจำประเภท "นอนโวลาไทล์" (Nonvolatile) ซึ่งสามารถลบหรือแก้ไขข้อมูลที่จัดเก็บไว้ในยูนิตของหน่วยความจำที่เรียกว่า "บล็อก" (Block) ได้ ข้อแตกต่างระหว่าง "EEPROM" กับ "Flash Memory" คือการลบหรือแก้ไขข้อมูล ซึ่ง "EEPROM" จะกระทำในระดับไบต์ หมายความว่า "Flash memory" จะทำงานได้เร็วกว่า
"Flash Memory" มักถูกใช้สำหรับการเก็บคอนโทรลโค้ด เช่น ไบออส ( Basic Input/Output System; BIOS) เนื่องจากง่ายต่อการอัพเดทข้อมูล อย่างไรก็ตาม มันไม่สามารถนำมาใช้งานแทน "แรม" (RAM) ได้ เพราะแรมต้องการการระบุตำแหน่งในระดับไบต์ ไมใช่บล็อก
"Flash" เป็นชื่อที่ได้มาจากพฤติกรรมของชิพที่นำมาใช้ ซึ่งสามารถลบข้อมูลที่บรรจุภายในเซลได้ด้วยการกระทำเพียงครั้งเดียว
ปัจจุบัน "Flash Memory" ถูกใช้ในอุปกรณ์ดิจิตอลชนิดต่างๆมากมาย เช่น โทรศัพท์มือถือ, กล้องดิจิตอล, แลนสวิตช์, พีซีการ์ดสำหรับโน้ตบุ๊ค, เซ็ตท็อปบ็อกซ์, คอนโทรลเลอร์ ฯลฯ
Nonvolatile Memory
Nonvolatile Memory หรือ นอนโวลาไทล์เมมโมรี่ คือ หน่วยความจำทุกชนิดที่ไม่ต้องทำการรีเฟรชคอนเทนต์ ได้แก่ รอมทุกประเภท (ROM) เช่น พีรอม (PROM), เอ็ปรอม (EPROM), อีเอ็ปรอม (EEPROM) และแฟลชเมมโมรี่ (Flash Memory) รวมถึงแรม (RAM) ที่ต้องใช้ไฟเลี้ยงจากแบตเตอรี่ด้วย
Chipset
"Chipset" หรือ "ชิพเซ็ต" คือกลุ่มไมโครชิพที่ถูกออกแบบมา เพื่อเชื่อมหรือประสานการทำงานของฟังก์ชั่นต่างๆที่เกี่ยวข้องหรือสัมพันธ์กัน ตัวอย่างเช่น ชิพเซ็ต Intel 430HX สำหรับโปรเซสเซอร์ตระกูลเพนเทียมของอินเทล ซึ่งเป็นชิพเซ็ตที่ใช้ระบบบัส (Bus) แบบพีซีไอ (PCI; Peripheral Component Interconnect) พร้อมหน่วยควบคุม หรือ คอนโทรลเลอร์ (Controller) เชื่อมการทำงานของอุปกรณ์ประกอบต่างๆ (Component) เข้าด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นซีพียู, แรม, ฮาร์ดไดร์ฟ, ซาวด์การ์ด, กราฟิกการ์ด, ซีดีรอม ฯลฯ เพื่อให้อุปกรณ์เหล่านั้นทำงานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด, เร็วที่สุด และมีความเสถียรมากที่สุด
Bus
"Bus" หรือ "บัส" คือเส้นทางรับ-ส่งสัญญาณ ทั้งข้อมูลและคอนโทรล ที่เชื่อมถึงอุปกรณ์ทุกๆชิ้นในเครื่องคอมพิวเตอร์หรือเน็ตเวิร์ค เมื่อมีการส่งสัญญาณข้อมูล เฉพาะอุปกรณ์ที่ถูกแอดเดรสหรือระบุไว้เท่านั้นจึงจะรับข้อมูลก้อนนั้นได้
ในเครื่องคอมพิวเตอร์ บัสจะหมายถึง เส้นทางข้อมูลที่เชื่อมระหว่างไมโครโปรเซสเซอร์กับอุปกรณ์ที่เสียบเข้ากับสล็อตต่างๆบนเมนบอร์ดของเครื่องคอมพิวเตอร์ เช่น ฮาร์ดดิสก์ไดร์ฟ, ซีดีรอมไดร์ฟ, ซาวด์การ์ด และกราฟิกการ์ด เป็นต้น
Hacker
Hacker หรือ แฮกเกอร์ คือ ผู้ที่ชื่นชอบในการเสาะค้นหารายละเอียดเกี่ยวกับเครื่องคอมพิวเตอร์และวิธีการที่จะใช้เครื่องให้ได้เต็มหรือเกินขีดความสามารของเครื่อง
ผู้ที่ชอบสอดรู้สอดเห็นที่พยายามจะให้ได้มาซึ่งข้อมูล โดยการสอดแนมในที่ต่างๆ
ผู้ที่ชื่นชอบในการเรียนรู้ในรายละเอียดของการเขียนโปรแกรมและวิธีที่จะใช้มันให้ได้เต็มหรือเกินขีดความสามารถ ซึ่งตรงข้ามกับผู้ใช้ทั่วๆไปที่ต้องการเรียนเพียงที่จำเป็นต้องใช้เท่านั้น
ผู้โจมตีเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อความท้าทาย สถานะ หรือความตื่นเต้น ที่จะได้มาเมื่อประสบความสำเร็จ
Virus
Virus หรือ ไวรัส หรือ ไวรัสคอมพิวเตอร์ เป็นโปรแกรมหรือโค้ดที่โหลดเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ของคุณโดยที่คุณไม่รู้ตัว หรือไม่ตั้งใจ หลังจากนั้นจะเริ่มแพร่ระบาด โดยก็อปปี้หรือสำเนาตัวมันเองออกไปยังโปรแกรมต่างๆที่อยู่ภายในระบบ
ไวรัสที่มีอันตราย ถ้าอยู่ในระดับต่ำจะทำให้หน่วยความจำเต็ม รวมถึงฮาร์ดดิสก์ ซึ่งส่งผลให้เครื่องหยุดทำงาน ส่วนที่อันตรายในระดับสูง จะลบข้อมูลทั้งหมดที่อยู่ภายในเครื่องของคุณทิ้ง และยังทำลายอุปกรณ์ภายในเครื่องคอมพิวเตอร์ด้วย
ไวรัสไม่เหมือนกับหนอนคอมพิวเตอร์ (Worm) ตรงที่ไวรัสไม่สามารถแพร่ระบาดไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นได้ด้วยตัวเอง จำเป็นต้องอาศัยผู้ช่วย ในที่นี้หมายถึงคน ที่จะคอยพามันไปยังระบบอื่น เช่น ก็อปปี้ไฟล์ส่งให้เพื่อน เป็นต้น
Worm
Worm หรือ เวิร์ม หรือ หนอนคอมพิวเตอร์ คือไวรัสคอมพิวเตอร์ที่สามารถก็อปปี้ตัวเอง และแพร่ระบาดผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์โดยอัตโนมัติ หนอนคอมพิวเตอร์มักมีอันตรายและจ้องเล่นงานหน่วยเก็บข้อมูลภายในเครื่องคอมพิวเตอร์โดยเฉพาะ ไม่ว่าจะเป็นฮาร์ดดิสก์หรือหน่วยความจำก็ตาม อันเป็นผลให้เครื่องทำงานช้าลง และหยุดทำงานในที่สุด ซึ่งเราจะสังเกตเห็นได้ก็ต่อเมื่อมีการทำงานของหนอนคอมพิวเตอร์แล้วเท่านั้น
DDoS
DDoS หรือ ดีดอส หรือ Distributed Denial-of-Service หรือ ดิสทริบิวต์ออฟเซอร์วิส คือ ลักษณะหรือวิธีการหนึ่งของการโจมตีเครื่องคอมพิวเตอร์เป้าหมายหรือระบบเป้าหมายบนอินเทอร์เน็ตของแฮกเกอร์ เพื่อทำให้ระบบเป้าหมายปฏิเสธหรือหยุดการให้บริการ (Denial-of-Service)
การโจมตีจะเกิดขึ้นพร้อมๆกันและมีเป้าหมายเดียวกัน โดยเครื่องที่ตกเป็นเหยื่อทั้งหมด (เครื่องที่ติดเชื้อจากการแพร่กระจายตัวของโค้ดร้ายซึ่งเป็นเครื่องมือของแฮกเกอร์สำหรับการควบคุมระบบ) จะสร้างข้อมูลขยะขึ้นมา แล้วส่งไปที่ระบบเป้าหมาย
กระแสข้อมูลที่ไหลเข้ามาในปริมาณมหาศาลทำให้ระบบเป้าหมายต้องทำงานหนักขึ้นและช้าลงเรื่อยๆ เมื่อเกินกว่าระดับที่รับได้ ก็จะหยุดการทำงานลงในที่สุด อันเป็นเหตุให้ผู้ใช้ไม่สามารถใช้บริการระบบเป้าหมายได้ตามปกติ.
FrontSide Bus
FrontSide Bus หรือ ฟรอนต์ไซด์บัส คือช่องทางการสื่อสารข้อมูลในเครื่องคอมพิวเตอร์ ที่เชื่อมระหว่างโปรเซสเซอร์กับหน่วยความจำหลัก หรือแรม
Peripheral
Peripheral หรือ เพอริเฟอรัล คือคำที่ใช้เรียกอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ใดๆที่ไม่ใช่ส่วนประกอบหลักของเครื่องคอมพิวเตอร์ (โปรเซสเซอร์, เมมโมรี และเมนบอร์ด) แต่ก็มีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด เพอริเฟอรัลอาจเรียกได้อีกอย่างหนึ่งว่า อุปกรณ์อินพุต/เอาต์พุต (Input/Output (I/O) Device) ซึ่งบางตัวจะเชื่อมอยู่กับเมนบอร์ดภายในเคสคอมพิวเตอร์ เช่น ฮาร์ดดิสก์, ซีดีรอม และการ์ดแลน ขณะที่อื่นๆจะอยู่นอกเคสฯ เช่น พรินเตอร์และสแกนเนอร์ ไม่ว่าจะเป็นการเชื่อมต่อผ่านสายเคเบิลหรือไร้สายก็ตาม
BIOS
BIOS หรือ ไบออส หรือ Basic Input/Output คือโปรแกรมที่ไมโครโปรเซสเซอร์ใช้เพื่อเริ่มสตาร์ทการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์หลังเปิดสวิตช์ ไบออสจะคอยควบคุมหรือจัดการกับกระแสข้อมูลที่วิ่งระหว่างระบบปฏิบัติการหรือโอเอส (Operating System; OS) กับอุปกรณ์ต่างๆที่ติดตั้งอยู่ เช่น ฮาร์ดดิสก์, กราฟิกการ์ด, คีย์บอร์ด, เมาส์ หรือพรินเตอร์ เป็นต้น
ไบออสจะถูกบรรจุไว้ในชิพเอ็ปรอม (EPROM) ซึ่งถูกอินทิเกรตติดไว้กับเมนบอร์ด ไม่เหมือนกับโอเอสที่แยกติดตั้งต่างหาก ทันทีที่เปิดสวิตช์คอมพิวเตอร์ ไมโครโปรเซสเซอร์จะส่งผ่านการควบคุมไปให้กับไบออส
ไบออสจะทำการค้นหาว่า มีอุปกรณ์ใดเชื่อมต่ออยู่กับระบบและพร้อมทำงานบ้าง จากนั้นจึงโหลดโอเอสเข้าสู่หน่วยความจำหลักหรือแรมจากฮาร์ดดิสก์
ไบออสทำให้ระบบปฏิบัติการหรือแอพพลิเคชั่นเป็นอิสระ คือไม่จำเป็นต้องรู้รายละเอียดเกี่ยวกับตัวอุปกรณ์นั้นๆ เช่น แอดเดรส เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงรายละเอียดใดๆเกี่ยวกับอุปกรณ์ มีเพียงไบออสเท่านั้นที่ต้องถูกแก้ไขหรือปรับแต่งให้ถูกต้องเหมาะสม ซึ่งบางครั้งการแก้ไขไบออสสามารถทำได้ในระหว่างเซ็ตอัพระบบ
แม้ว่าในทางทฤษฎีแล้ว ไบออสจะทำหน้าที่เป็นตัวกลางคอยควบคุมกระแสข้อมูลระหว่างไมโครโปรเซสเซอร์และอุปกรณ์อินพุต/เอาต์พุต แต่ในบางกรณี ไบออสยังสามารถนำมาใช้ควบคุมกระแสข้อมูลที่วิ่งระหว่างอุปกรณ์ เช่น กราฟิกการ์ด กับหน่วยความจำได้อีกด้วย เพื่อการส่งผ่านข้อมูลที่รวดเร็วกว่า
Firewall
Firewall หรือ ไฟร์วอลล์ คือเทคโนโลยีที่ช่วยกันผู้บุกรุก ทั้งจากอินเทอร์เน็ตและเครือข่ายอื่นๆ ไม่ให้เข้าถึงข้อมูลบนเครื่องพีซีของคุณ โดยการกรองข้อมูลทั้งหมดที่ไหลเข้าหรือออกจากเครื่องคอมพิวเตอร์
ระบบหนึ่งหรือหลายระบบรวมกัน ซึ่งสร้างหรือควบคุมให้มีเส้นแบ่งระหว่างสองเครือข่ายขึ้นไป เป็นเกตเวย์ที่จำกัดการเข้าถึงเครือข่ายต่างๆ โดยเป็นไปตามนโยบายการรักษาความปลอดภัยของเครือข่ายนั้นๆ
ไฟร์วอลล์โดยทั่วไปจะเป็นเครื่องพีซีที่มีราคาไม่สูงมากนักและรันระบบปฏิบัติการยูนิกซ์ เครื่องดังกล่าวจะไม่มีข้อมูลสำคัญอยู่ โดยมีโมเด็มและพอร์ตต่างๆเชื่อมอยู่กับเครือข่ายภายนอก แต่จะมีเพียงพอร์ตเดียวที่ต่อกับเครือข่ายภายใน ซึ่งพอร์ตนี้จะถูกตรวจตราและดูแลอย่างใกล้ชิด
API
Application Program Interface หรือ API หรือ เอพีไอ คือ วิธีการเฉพาะสำหรับการเรียกใช้ระบบปฏิบัติการหรือแอพพลิเคชั่นอื่นๆ หรือชุดโค้ด คอมพิวเตอร์ซึ่งทำหน้าที่เชื่อมต่อการทำงานระหว่างแอพพลิเคชั่นกับระบบปฏิบัติการ
การที่แอพพลิเคชั่นจะเชื่อมต่อการทำงานกับระบบปฏิบัติการได้นั้น จำเป็นต้องมีเอพีไอเป็นตัวเชื่อม ซึ่งหากไม่มีการเปิดเผยเอพีไอของระบบปฏิบัติการ ออกมาแล้ว เป็นไปไม่ได้เลยที่โปรแกรมเมอร์จะพัฒนาแอพพลิเคชั่นของเขาให้ทำงานเข้ากับระบบปฏิบัติการได้เต็ม 100%
อย่างไรก็ตาม แม้เอพีไอจะเป็นอินเตอร์เฟสชนิดหนึ่ง แต่จะทำหน้าที่เชื่อมต่อการทำงานของโปรแกรม ซึ่งต่างไปจากยูสเซอร์อินเตอร์เฟส (User Interface) ทั้งแบบกราฟิก (Graphical User Interface; GUI) และแบบเดิมที่เป็นบรรทัดคำสั่ง (Command Line) ที่เป็นอินเตอร์เฟสเชื่อมต่อระบบคอมพิวเตอร์กับผู้ใช้
Main Frame
Mainframe คือคำที่กลุ่มอุตสาหกรรมใช้เรียกเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ ซึ่งโดยปกติแล้วจะถูกสร้างขึ้นโดยบริษัทผู้ผลิตคอมพิวเตอร์ชั้นนำ เช่น บริษัทไอบีเอ็ม (IBM)
ที่ผ่านมา เครื่องคอมพิวเตอร์แมนเฟรมจะทำงานภายใต้สถาปัตยกรรมแบบสู่ศูนย์กลาง (Centralized) มากกว่าจะเป็นแบบกระจาย (Distributed) แต่ในปัจจุบัน เครื่องเมนเฟรมของไอบีเอ็มสามารถทำหน้าที่เสมือนเครื่องเซิร์ฟเวอร์ขนาดใหญ่ได้แล้ว มันสามารถให้บริการแก่ยูสเซอร์และเซิร์ฟเวอร์ขนาดเล็กใดๆในเครือข่ายคอมพิวเตอร์ได้
Cache Memory
Cache Memory หรือ Cache หรือ หน่วยความจำแคช หรือ แคช คือหน่วยความจำแรม (RAM) ซึ่งไมโครโปรเซสเซอร์หรือโปรเซสเซอร์แกนหลัก (Core Processor) สามารถเข้าถึงได้เร็วกว่าหน่วยความจำหลัก (Main Memory) บนระบบคอมพิวเตอร์
กระบวนการประมวลผลข้อมูลของไมโครโปรเซสเซอร์นั้น ขั้นตอนแรกคือการเข้าไปค้นหาข้อมูลในแคชก่อน ซึ่งถ้าเจอข้อมูลที่ต้องการ ก็ไม่ต้องเสียเวลาไปค้นหาข้อมูลในหน่วยความจำหลักที่ใหญ่กว่าในระดับถัดออกไป อาทิ Cache L1, Cache L2, (Cache L3), Memory, Harddisk
บ่อยครั้งที่แคชจะถูกกำกับด้วยระดับความใกล้หรือความง่ายในการเข้าถึงโดยไมโครโปรเซสเซอร์
แคชระดับ1 (Cache L1) คือแคชที่อยู่เป็นเนื้อเดียวกันบนตัวไมโครโปรเซสเซอร์ สามารถเข้าถึงได้เร็วและง่ายที่สุด
แคชระดับ2 (Cache L2) คือแคชที่อยู่ห่างออกมาอีกระดับหนึ่ง ก่อนนี้มักนิยมแยกมาไว้บนสแตติกแรม (SRAM) แต่ปัจจุบัน โปรเซสเซอร์เกือบทุกรุ่นจะมีแคช L2 อยู่บนตัวชิป ซึ่งทำให้แคชที่อยู่บนตัวสแตติกแรมกลายเป็นแคชระดับ 3 (Cache L3) ไปโดยปริยาย
ขณะที่หน่วยความจำหลัก (Memory) จะเป็นไดนามิกแรมหรือดีแรม (DRAM) ที่ปัจจุบันดีดีอาร์-ดีแรม (DDR-DRAM) จะเป็นแบบที่นิยมมากที่สุดและกำลังกลายเป็นมาตรฐานสำหรับระบบคอมพิวเตอร์
DDR SDRAM
DDR SDRAM หรือ Double Data Rate SDRAM หรือ ดีดีอาร์เอสดีแรม หรือ ดีดีอาร์ คือ เอสดีแรม (SDRAM) ที่ตามทฤษฎีแล้ว สามารถพัฒนาให้สามารถทำงานที่ความเร็วสูงขึ้นถึง 200MHz (เมกะเฮิร์ตซ) และมีความสามารถในการรับส่งข้อมูลเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า คือ รับส่งข้อมูลได้ทั้งทั้งขาขึ้นและขาลงของสัญญาณคล็อก เทียบกับเอสดีแรมปกติที่จะรับส่งข้อมูลเฉพาะขาขึ้นของสัญญาณคล็อกเพียงด้านเดียว
นำมาจาก http://www.manager.co.th
แผ่นดีวีดีมีกี่แบบ โซนของดีวีดีคืออะไร มาไขปริศนากัน
แผ่นดีวีดี หลายๆ คนคงจะคุ้นหูกันเป็นอย่างดี เพราะขนาดแผ่นก็แทบไม่แตกต่างจากขนาดของแผ่นซีดีธรรมดาเลย นั้นก็คือขนาด 12 ซม. แต่เมื่อความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีมากยิ่งขึ้น ทำให้เกิดแผ่นดีวีดีที่มีขนาดเท่าแผ่นซีดี สามารถบรรจุข้อมูลได้มากมายมหาศาลทำลายขีดจำกัดของแผ่นซีดีเดิมจนหมดสิ้น (ความจุมาตรฐานของซีดีประมาณ 640 MB และสูงสุดไม่เกิน 800 MB ในขณะที่แผ่นดีวีดีเริ่มต้นก็มีความจุ 4.7 GB แล้ว) อ้อ! เกือบลืมไป จุดนึงที่แผ่นดีวีดีเหนือกว่าแผ่นซีดีก็คือ แผ่นดีวีดีนั้นสามารถบรรจุข้อมูลได้สองหน้าสูงสุด และในแต่ละหน้าก็แบ่งได้เป็นสองชั้น ส่วนแผ่นดีวีดีที่บรรจุข้อมูลได้สูงสุดจะเป็นแบบไหนนั้นเดี๋ยวเรามาดูกันครับ โดยสามารถแบ่งได้คร่าวๆ 4 แบบดังนี้
1. แผ่นดีวีดี-5 เป็นแผ่นที่น่าจะผลิตมากที่สุดเพราะการผลิตไม่ยุ่งยาก เท่าที่ทราบมาแผ่นแบบนี้สามารถผลิตได้ในบ้านเราด้วย ( หุ หุ สาเหตุแผ่นดีวีดีผีเกลื่อนบ้านเกลื่อนเมืองหรือเปล่าเนี่ย หาเรื่องอีกแล้วเรา) ประมาณว่าใครที่มีเครื่องผลิตแผ่นซีดีปั๊ม การหาโมมาผลิตแผ่นดีวีดีก็ไม่ใช่เรื่องยากเลย แต่ข้อจำกัดคือในบ้านเราตอนนี้คือยังไม่สามารถผลิตแผ่นดีวีดีแบบสองชั้นได้ เพราะกรรมวิธีในการผลิตยุ่งยากไม่น้อย สำหรับแผ่นที่นิยมผลิตก็คือแผ่นที่มีความจุไม่เยอะ หรือประเภทมีแต่หนังอย่างเดียวของแถมไม่ค่อยมี ส่วนมากก็จะเป็นแผ่นดีวีดี-5 นี่ละครับ วิธีสังเกตุแผ่นประเภทนี้ถ้าดูด้วยตาเปล่าก็คือ เนื้อของแผ่นในส่วนของข้อมูลจะมีสีเงินเหมือนแผ่นซีดี แต่ถ้าเป็นแผ่นปั๊มของมาเลย์จะมีสีออกทองอ่อนๆ เล็กน้อย ถ้าใครมีไดรฟ์ดีวีดีบนคอมก็ไม่ยาก ดูความจุของแผ่นถ้าไม่เกิน 4.7 GB ก็คือแผ่นดีวีดี-5 แน่นอน
2. แผ่นดีวีดี-9 เป็นแผ่นที่นิยมผลิตกับหนังที่มีความจุสูง หรือหนังที่มีของแถมเยอะ ส่วนมากก็จะนิยมทำเป็นแผ่นดีวีดี-9 เนื่องจากไม่สามารถบรรจุข้อมูลลงในแผ่นดีวีดี-5ได้ หรืออาจจะเป็นแผ่นดีวีดีที่มีระบบเสียงหลายๆ แบบ เช่น มีระบบเสียง Dolby Digital และระบบเสียง DTS ในแผ่นเดียวกัน เป็นต้น เมื่อมีความจุเยอะเกิน 4.7 GB ทางผู้ผลิตก็จำเป็นต้องผลิตเป็นแผ่นดีวีดี-9 วิธีสังเกตุแผ่นประเภทนี้ให้ดูที่เนื้อแผ่นจะเป็นสีทองเข้มจัด (แหม..อย่างกับดูพระเลย) หากใครเอาแผ่นสีทองอ่อนๆ มามั่วมาเป็นแผ่นดีวีดี-9 ก็ระวังเอาไว้ครับ เพราะอาจจะเป็นแผ่นดีวีดี-5 จากมาเลย์ได้
3. แผ่นดีวีดี-10 เป็นแผ่นที่ไม่ค่อยนิยมผลิตในปัจจุบัน เนื่องจากกรรมวิธีการผลิตยุ่งยากไม่น้อย ลักษณะของแผ่นนี้จะคล้ายกับเอาแผ่นดีวีดี-5 2 แผ่น มาประกบกันก็จะเป็นแผ่นดีวีดี-10 นั่นก็คือ แผ่นจะมี 2 หน้า ความจุแต่ละหน้าไม่เกิน 4.7 GB แผ่นที่นิยมผลิตแบบนี้ก็คือ แผ่นที่ด้านหนึ่งเป็นหนังแบบไวด์สกรีนและอีกด้านหนึ่งเป็นหนังแบบฟูลสกรีน เช่น แผ่นดีวีดีเรื่อง The Fifth Element Zone 3 เป็นต้น
4. แผ่นดีวีดี-18 เป็นแผ่นที่บรรจุข้อมูลได้สูงสุดในปัจจุบัน นิยมผลิตกับหนังที่มีความยาวมากๆ ประมาณ 3 ชั่วโมงขึ้นไป หรือหนังที่มีเบื้องหลัง เบื้องลึก ของแถมต่างๆ มากมายเต็มไปหมดและไม่สามารถบรรจุลงในแผ่นดีวีดี-9 หรือแผ่นดีวีดี-10 ได้ ทางผู้ผลิตก็จะผลิตแผ่นแบบนี้ออกมา แต่เนื่องจากค่อนข้างผลิตยากและซับซ้อน ผู้ผลิตหลาย ๆ รายจึงนิยมผลิตเป็นแผ่นดีวีดี-9 2 แผ่นแทน วิธีสังเกตุจะเป็นเหมือนกับแผ่นดีวีดี-10 แต่ในส่วนของเนื้อแผ่นจะมีสีออกทองเข้มจัดเหมือนแผ่นดีวีดี-9 สำหรับหนังที่ผลิตเป็นดีวีดี-18 นี้ เช่น แผ่น T2 Ultimate Edition หรือ Ben-Hur เป็นต้น
ทำไมถึงต้องมีโซน เหตุผลก็คือ ทางผู้ผลิตต้องการควบคุมการผลิตแผ่นดีวีดีให้เป็นไปตามที่ตัวเองต้องการ เพราะหากไม่มีการควบคุมการผลิต เหล่าผู้บริโภคก็จะมุ่งซื้อแต่แผ่นดีวีดีที่ออกขายเร็วที่สุด ( คงไม่มีใครอยากซื้อหนังช้ากว่าคนอื่นหากไม่ติดขัดเรื่องภาษานะครับ) ดังนั้นโซนจึงเข้ามามีบทบาทสำคัญในการกำหนดการขายของแผ่น โดยวิธีการของโซนก็คือ เครื่องที่ผลิตขายในโซนนั้นก็จะเล่นกับแผ่นที่ขายในโซนนั้นได้เท่านั้น ไม่สามารถเล่นข้าโซนได้ หากเราลองเอาแผ่นโซนอื่นมาใส่ เครื่องก็จะไม่ยอมเล่นโดยจะฟ้องว่า ไม่สามารถเล่นได้เนื่องจากผิดโซนครับ แต่เหมือนผู้ผลิตเครื่องเล่นดีวีดีจะเป็นใจ เครื่องในปัจจุบันมักจะถูกแก้เป็นออลโซนเรียบร้อยแล้ว หรือไม่ก็ไปแปลงออลโซนจากร้านที่รับทำได้ไม่ยาก และราคาไม่แพง หากเราต้องการจะตรวจสอบว่าเครื่องของเราเป็นออลโซนหรือไม่ก็ให้นำแผ่นที่เป็นโซนอื่นกับเครื่องเล่นทดสอบดู เช่น ถ้าเครื่องเราเป็นโซน 3 หากสามารถเล่นแผ่นที่เป็นโซน 1 หรือโซน 2 ได้ ก็แสดงว่าเครื่องของเราผ่านการแปลงโซนมาแล้ว เป็นต้น โดยโซนในโลกของดีวีดีนั้นจะถูกแบ่งออกเป็น 6 โซนด้วยกันมีรายละเอียดดังนี้
โซน 1 แคนาดา อเมริกา และประเทศในเครือ (หนังออกเร็วที่สุด)
โซน 2 ยุโรป ตะวันออกกลาง ญี่ปุ่น อียิปต์ อาฟริกาใต้ กรีนแลนด์ ( แผ่นแบบ PAL มีความคมชัดสูง )
โซน 3 เอเซียตะวันออกเฉียงใต้ ไทย ไต้หวัน เกาหลีใต้ ฟิลิปปินส์ ฮ่องกง อินโดนีเซีย มาเลเซีย สิงคโปร์
โซน 4 ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ เม็กซิโก อเมริกากลาง+ใต้ ( แผ่น PAL แต่ส่วนมากราคาถูกว่าโซน 2 )
โซน 5 รัสเซีย ยุโรปตะวันออก อินเดีย อาฟริกา เกาหลีเหนือ มองโกเลีย
โซน 6 จีน
สำหรับเรื่องของโซน ไม่จำเป็นต้องสนใจมากหากเครื่องเราแปลงเป็นออลโซนแล้ว แต่ก็จะมีบางแผ่นที่ไม่สามารถเล่นกับเครื่องที่แปลงเป็นออลโซนได้ ก็ต้องระวังกันนิดนึง
| |||||
| |||||
| |||||
| |||||||||||