1.
สิ่งมีชีวิตประกอบด้วยหน่วยที่เล็กที่สุด
คือ เซลล์
2.
เซลล์พื้นฐานของสิ่งมีชีวิต
มี 2 ชนิด คือ Prokaryotic cell และ
Eukaryotic cell
3.Eukaryotic cell ประกอบด้วย
- Cell membrane =
ส่วนที่หุ้มห่อ
และป้องกันอันตรายให้เซลล์
- Cytoplasm + Organnelles =
ของเหลวและองค์ประกอบย่อยภายใน
- Nucleus =
ศูนย์ควบคุมการทำงานของเซลล์
และเก็บสะสมสารพันธุกรรม
4. การศึกษาโครงสร้าง
และองค์ประกอบภายในของเซลล์ให้เข้าใจพร้อมทั้งศึกษาหน้าที่การทำงานด้วย
5.
คุณสมบัติอย่างหนึ่งของเซลล์
คือความสามารถในการเพิ่มจำนวนเซลล์โดยการแบ่งเซลล์
6.
การแบ่งเซลล์ประกอบด้วยกระบวนการ
2 อย่าง คือ
การแบ่งนิวเคลียส
และการแบ่งไซโตพลาสซึม
7. การแบ่งนิวเคลียสมี 2
แบบ คือ ไมโตซิส
และไมโอซิส
8. ไมโตซิส
เป็นกระบวนการแบ่งนิวเคลียสเพื่อการสืบพันธ์ในสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว
และเพิ่มจำนวนเซลล์ร่างกายในสิ่งมีชีวิตหลายเซลล์
ผลจากการแบ่งจะได้
เซลล์ลูก 2 เซลล์ ลักษณะเหมือนเซลล์แม่ทุกประการ
9. ไมโอซิส
เป็นกระบวนการแบ่งนิวเคลียสเพื่อสร้างเซลล์สืบพันธ์ในสิ่งมีชีวิตหลายเซลล์
มีการแบ่ง 2 ขั้นตอน
ผลจากการแบ่งจะได้เซลล์ลูก
4 เซลล์
มีลักษณะต่างจากเซลล์แม่
เนื้อเยื่อ ( tissues)
1.
เนื้อเยื้อ หมายถึง
กลุ่มเซลล์
ที่มีลักษณะเหมือนกัน
มารวมกันและทำหน้าที่อย่างเดียวกัน
2.
ลักษณะของเนื้อเยื่อประกอบด้วย
2 ส่วนที่สำคัญ คือ
ส่วนที่เป็นเซลล์
และสารระหว่างเซลล์ (
Intercelluler matrix )
3.เนื้อเยื่อในร่างกายสัตว์ชั้นสูง
แบ่งออกเป็น 5 ชนิด คือ
1. เนื้อเยื่อบุผิว (
Epithelial tissue )
2.
เนื้อเยื่อเกี่ยวผัน (
Connective tissue )
3. เนื้อเยื่อเลือด ( Blood
tissue )
4.
เนื้อเยื่อกล้ามเนื้อ (
Musculer tissue )
5. เนื้อเยื่อประสาท
(Nervous tissue )
4.
การดูลักษณะของกล้ามเนื้อแต่ละชนิดใด
ต้องอาศัยลักษณะภาคปฏิบัติ
5.
บทเรียนนี้เน้นทักษะความเข้าใจด้วยการสังเกตว่า
โครงสร้างของเนี้อเยื่อที่พบเป็นเนื้อเยื่อชนิดใด
6.
อวัยวะของสัตว์ประกอบไปด้วยเนื้อเยื่อต่างๆ
ซึ่งได้ศึกษาในบทนี้
ความหลากหลายของสัตว์
1.
บทนี้ศึกษา
เกณฑ์ต่างๆที่นำมาจำแนกหมวดหมู่สัตว์
ออกเป็นหมวดหมู่ เช่น
Symmetry,Coelon,ช่องทางเดินอาหาร
และ การเจริญของ Embryo
2.
ความสำคัญของชื่อวิทยาศาสตร์
( Scientific name )
3. สัตว์ แบ่งเป็น 2
กลุ่มใหญ่ๆ คือ
-
สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง
( Invertebrate )
-
สัตว์มีกระดุกสันหลัง
( Vertebrate )
4.
สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง
มีหลายไฟลัม ( Phylum )
ตั้งแต่พวก ฟองน้ำ ( P.Porifera )
จนถึง
พวกที่มีลำตัวเป็นหนาม (
P.Echinodermate )
5. ชื่อไฟลัม
มาจากลักษณะสำคัญของกลุ่มสมาชิก
6.
วัตถุประสงค์ในการศึกษา
บทนี้
-
เพื่อให้ทราบลักษณะสำคัญของแต่ละไฟลัม
ดดยการศึกษาผ่านที่เป็นตัวแทนของไฟลัม
-
เมื่อทราบชื่อสัตว์ที่เป็นตัวแทน
รวมถึงลักษณะสำคัญของแต่ละไฟลัมแล้ว
ในการศึกษา บทที่ 5 (
ระบบย่อยอาหาร )
จนถึงบทที่ 11 (
การสืบพันธุ์
และการเจริญของสัตว์ )
จะมีการเปลียบเทียบ (
Comparative )
ระบบต่างๆซึ่งจะแสดงให้เห็นลำดับของวิวัฒนาการ
ผ่านสัตว์ตัวแทนของแต่ละไฟลัม
7.
ในการศึกษาสัตว์บางไฟลัมจะเน้นรายละเอียดถึงคลาส
( Class )
8. เน้นรายละเอียด
ด้านคุณ และโทษของสัตว์
ระบบย่อยอาหาร
1.
ความสำคัญของระบบย่อยอาหาร
คือ
การเปลี่ยนสารอาหารเพื่อให้มีโมเลกุลเล็กลงเพื่อส่งไปให้เซลล์ใช้
- เป็นพลังงาน (
ในระบบการหายใจระดับเซลล์
)
-
สร้างเซลล์ใหม่หรือเนื้อเยื่อที่สึกหรอ
-
ซ่อมแซมเซลล์หรือเนื้อเยื่อที่สึกหรอ
2.
ขั้นตอนในกระบวนการกินและย่อยอาหารประกอบด้วย
- การกินอาหาร ( Ingestion )
- การย่อยอาหาร ( Digestion )
- การดูดซึมอาหาร
(Absorption )
- การถ่ายกากอาหาร (
Elimination )
3. การย่อยอาหาร
มีทั้งแบบที่เกิดภายในเซลล์
( Intracellular digestion )
และเกิดขึ้นภายนอกเซลล์
( Extracellular digestion )
ภายในท่อทางเดินอาหาร
4. สัตว์ส่วนใหญ่
การย่อยอาหารเกิดขึ้นภายในท่อทางเดินอาหาร
5.
เปรียบเทียบอวัยวะย่อยอาหารของสัตว์
ตามลำดับวิวัฒนาการ
6.
ศึกษาระบบย่อยอาหารของมนุษย์
ในด้านโครงสร้าง
และการทำงาน
7. ศึกษา Enzyme
ในระบบย่อยอาหาร
ว่าสร้างแล้วหลั่งออกมาจากที่ใด
รวมทั้งหน้าที่ใด
รวมทั้งหน้าที่
ระบบหมุนเวียน
1.
ระบบหมุนเวียน
ทำหน้าที่ลำเลียงสารอาหารต่างๆที่จำเป็นต่อร่างกายเข้าสู่เซลล์
2.
เปรียบเทียบระบบหมุนเวียนแบบต่างๆ
ที่พบในสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง
และสัตว์มีกระดูกสันหลัง
3. สัตว์มีกระดูกสันหลัง
นอกจากระบบหมุนเวียนจะทำหน้าที่ลำเลียงอาหารแล้ว
ยังทำหน้าที่อื่นๆ
- ขนส่งสารอื่นๆ
เช่น ก๊าซ,ของเสียที่เกิดจากการทำงานของเซลล์,ฮอร์โมนต่างๆ,เป็นต้น
-
รักษาสมดุลของของเหลวในร่างกาย
-
เป็นระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย
4.
ศึกษาชนิดของหัวใจและเส้นเลือด
5.
ศึกษาระบบหมุนเวียนของมนุษย์
6.
ศึกษาเม็ดเลือดแบบต่างๆ
และทำความเข้าใจเรื่องหมู่เลือด
8.
ศึกษาระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย
ระบบหายใจ
1.
การหายใจ ประกอบด้วย 2
กระบวนการ คือ
-
การหายใจระดับเซลล์ ( Cellular
respiration )
เกิดขึ้นภายในไมโตคอนเดรีย
( ศึกษารายละเอียดในวิชา
ชีวเคมี )
-
การแลกเปลี่ยนก๊าซ ( Gas
exchange )
เกิดขึ้นที่อวัยวะแลกเปลี่ยนก๊าซของสัตว์เพื่อรับออกซิเจน
แลพจำกัดคาร์บอนไดออกไซด์
ดดยการแพร่ ( Diffusion )
(เน้นในบทนี้ )
2.
เปลียบเทียบโครงสร้างของอวัยวะแลกเปลี่ยนก๊าซในสัตว์ไฟลัมต่างๆ
ซึ่งจะมีลักษณะที่สำคัญ
คือ มีลักษณะบาง,พื้นที่ผิวเปียกชื้น
และ
อยู่ในบริเวณที่มีการป้องกันอันตราย
3.
ศึกษาการหายใจของสัตว์
และมนุษย์
4.
ศึกษากลไกการควบคุมการหายใจ
ซึ้งมีทั้ง
การควบคุมโดยระบบประสาท
และการควบคุมโดยสารเคมี
5. ศึกษา ความสำคัญของ
Respiration pigment
ระบบขับถ่าย
1.
ระบบขับถ่ายมีความสำคัญในการรักษาสมดุลภายในร่างกาย โดยรักษาสมดุลเกลือแร่,กำจัดของเสียที่เกิดจากเมแทบอลิซึม และควบคุมระดับความเข้มข้นของของเหลวในร่างกาย รวมทั้งสมดุลของน้ำด้วย
2.
ของเสียที่เกิดจากเมแทบอลิซึม ประกอบด้วย คาร์บอนไดออกไซด์,น้ำ และของเสียที่มีไนโตรเจนเป็นองค์ประกอบ ได้แก่ แอมโมเนีย,ยูเรีย และกรดยูริก
3.
ในสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง การรักษาสมดุลเกลือแร่และการขจัดของเสียที่ร่างกายไม่ต้องการมีวิวัฒนาการให้เหมาะกับรูปร่าง และการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิต
- พวกฟองน้ำ และไนดาเรียไม่มีอวัยวะขับถ่ายพิเศษ
-
หนอนตัวแบนมีเนฟริเดียในการขับถ่าย
-
พวกแอนเนลิคใช้เมทาเนฟริเดยในการขับถ่าย
-
มัลพิเกียนทิวบูล เป็นอวัยวะขับถ่ายที่ช่วยให้แมลงสงวนรักษาน้ำไว้ได้
4.
ไตของสัตว์เลี้ยลูกด้วยนมเป็นอวัยวะที่ช่วยรักษาสมดุลภายในร่างกาย
-
ไตสร้างปัสสาวะผ่านสู่ท่อไต ไปเก็บไว้ที่กระเพาะปัสสาวะ ก่อนถ่ายปัสสาวะออกทางท่อปัสสาวะ
-
หน่วยไตประกอบด้วยโกลเมอรูลัส,โบว์แมนแคปซูล และหลอดไตที่ขดไปมา
-
การสร้างน้ำปัสสาวะประกอบด้วยกระบวนการการกรอง,การดูดกลับและการหลั่งสาร
-
ปริมาณของน้ำปัสวะถูกควบคุมโดยฮอร์โมน ADH
ซึ่งจะกระตุ้นให้มีการดูดน้ำกลับบริเวณหลอดไตร่วม มีผลให้ปัสสาวะมีความเข้นข้นสูง
- แอนโดสเตโรน เป็นออร์โมนที่สร้าง และหลั่งจากต่อมหมวกไตชั้นนอก มีผลกระตุ้นการดูดกลับของ Na+ แต่มีผลให้เกิดการหลั่งสาร K+
-
ปัสสาวะประกอบด้วยน้ำ,ของเสียที่มีไนโตรเจนเป็นองค์ประกอบ,เกลือแร่,สารส่วนเกิน และสารที่ร่างกายไม่ต้องการ
ระบบประสาท
1.
ระบบประสาทเป็นระบบที่ควบคุมกระบวนการทางสรีรวิทยา และพฤติกรรมของสัตว์
2.
เปรียบเทียบวิวัฒนาการของสัตว์ ไม่มีกระดูกสันหลัง และมีกระดูกสันหลัง
3.
เปรียบเทียบสมองของสัตว์มีกระดูกสันหลัง
4.
ศึกษาการทำงานของเซลล์ประสาท ซึ่งอยู่บนพื้นฐานของความต่างศักดิ์ไฟฟ้าที่เยื่อหุ้มเซลล์ ซึ่งเป็นพื้นฐานของการควบคุมสารผ่านเข้าออกเยื่อหุ้มเวลล์
5. การสร้างกระแสประสาท เกิดจากการที่มีสิ่งเร้าในระดับที่แรงพอมากระตุ้นเวลล์ประสาท ทำให้ Na+
ไหลเข้าไปภายในเซลล์ประสาท เกิดการเปลี่ยนแปลงของประจุไฟฟ้า ซึ้งสามารถตรวจวัดได้โดยเครื่องมือที่ เรียกว่า อิเล้กโทรด ซึ่งสามารถเห็นเป็นรูปกราฟได้ทางจอภาพ
6.
ศึกษาความเร็วในการนำกระแสประสาท และการถ่ายทอดกระแสประสาทระหว่างเซลล์ประสาท 2 เซลล์
7.
ศึกษาการทำงานของสารสื่อประสาท และวงจงประสาท
8.
ศึกษาการทำงานของระบบประสาทส่วนกลางและระบบประสาทอัตโนมัติ
9. ศึกษาโครงสร้าง และหน้าที่การทำงานของอวัยวะรับสัมผัสต่างๆ ได้
ลักษณะทางพันธุกรรม
1.
ศึกษากฎของเมลเดล
ข้อที่ 1 Law of segregation of gene
ข้อที่ 2 Law of independent assortment
2.
ทำความเข้าใจการคำนวณหาเซลล์สืบพันธุ์
3.
ทำความเข้าใจการคำนวณหาอัตราส่วนของ
จี ไนไทป์และฟีโนไทป์
4.
ทำความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องยีนแล้วโครโมโซม
5.
ศึกษาเรื่องการข่มกันของยีน
6.
ศึกษาลักษณะพันธุกรรมที่ควบคุมด้วยยีนบนโครโมโซมเพศ
7. ศึกษาเรื่องโรค
และอาหารต่างๆ
ที่มีสาเหตุมาจากพันธุกรรม
นิเวศวิทยา ( ecology )
1.นิเวศวิทยา เป็นวิชาที่ศุกษาถึงความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อม
2. การศึกษานิเวศวิทยา แบ่งการศึกษาได้เป็น 4 ระดับ คือ
2.1
ระดับสิ่งมีชีวิตแต่ละตัว 2.2
ระดับประชากร
2.3
ระดับสังคมสิ่งมีชีวิต 2.4
ระดับระบบนิเวศ
3.
สิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศ จะมีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกันทั้งปัจจัยทางกายภาพ และปัจจัยชีวภาพ
4.
ปัจจัยทางกายภาพที่มีความสำคัญต่อการกระจายของสิ่งมาชีวิตใน ชีวภาค ( Biosphere ) ได้แก่ อุณหภูมิ,น้ำและความชื้น,แสงสว่าง,ลม,ดินและหิน
5. ปัจจัยทางชีวภาพ แบบหนึ่งได้แก่ การกินกันเป็นทอดๆในรูปของห่วงโซ่อาหารซึ่งเป็นการถ่ายทอดพลังงานของสิ่งมีชีวิต
6. ปัจจัยจำกัด เป็นปัจจัยในธรรมชาติที่มีผลต่อการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิตให้ผิดปกติไป เช่น ปริมาณของออกซิเจนในสระ
7.
การถ่ายทอดพลังงานในห่วงโซ่อาหารเป็นไปตามกฏ " Ten Percent Law "
8.
ปริมาณของสารพิษที่สะสมในสิ่งมีชีวิตสามารถเพิ่มขึ้นได้ เรียกว่า " Biologycal magnification "
9.
สิ่งมีชีวิตต้องมีความสัมพันธ์กันในการอยู่ร่วมกันในรูปแบบใดแบบหนึ่ง เช่น มีความสัมพันธ์กันแบบที่ไม่มีฝ่ายใดเสียประโยชน์ ( Sysbiosis )
10. การปรับตัว (
Adaptation )
ของสิ่งมีชีวิตแบ่งออกได้เป็น 3 ด้าน คือ
-
การปรับตัวทางด้านรูปร่าง
-
การปรับตัวทางด้านสรีระ
-
การปรับตัวทางด้านพฤติกรรม
11. ประชากร หมายถึง กลุ่มสิ่งมีชีวิตชนิดใดชนิดหนึ่งที่อาศัยอยู่บริเวณใด บริเว๊หนึ่งในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง
พฤติกรรม ( Behavior )
1.
พฤติกรรมเป็นปฏิกิริยาของสิ่งมีชีวิต ในการตอบสนองต่อสิ่งเร้า เพื่อความอยู่รอด
2.
พฤติกรรมในสัตว์เป็นผลเนื่องมาจากการทำงานของระบบประสาท
3.
พฤติกรรมของสิ่งมีชีวิตเกี่ยวข้องกับวิวัฒนาการของระบบประสาท
4. พฤติกรรมแบ่งเป็น 2 ประเภทใหญ่ คือ
-
พฤติกรรมที่มีมาแต่กำเนิด
-
พฤติกรรมที่เกิดจากการเรียนรู้
5.
พฤติกรรมบางอย่างสามารถเปลี่ยนแปลงได้ ขึ้นอยู่กับระดับความพร้อมของร่างกาย
6.
พฤติกรรมที่มีผลต่อการดำรงอยุ่รอดของสิ่งมีชีวิต คือ พฤติกรรมการสืบพันธุ์