อาณาจักรไทยที่รู้จักกันดีในประวัติศาสตร์ คืออาณาจักรน่านเจ้า นอกจากนั้น ยังมีชาวไทยอีกหลายพวกอพยพกันเป็นครั้งคราวแยก ย้ายกระจัดกระจายกันไปตั้งบ้านเมืองอยู่ในดินแดนต่างๆหลายแห่งพวกที่อพยพไปทางตะวันตก ก็ไปเป็นไทย อาหม และไทยอัสสัม ส่วนพวกที่อพพยพลงมาทางตะวันตกเฉียงใต้ ก็มาเป็นพวกไทยใหญ่ ในแคว้นชาน ไทยลื้อไทย เขิน ในแคว้นสิบสองปันนา และพวกที่อพยพลงมาทางใต้ก็มาเป็นพวกไทยน้อยในแคว้นสิบสองจุไทยและพวกไทยน้อยนี้ ต่อมาก็พากันแยกย้ายลงมาตั้งอาณาจักรไทขึ้นในแหลมอินดดจีนตอนเหนืออีกหลายอาณาจักร มี โยนก หรือลานนา และลานช้างเป็นต้น เมื่อาณาจักรน่านเจ้าของไทยถูกรุกรานสิ้นอิสรภาพไปเมื่อ พ.ศ. ๑๗๙๗ แล้วก็ปรากฎมีชน ชาติไทย อพยพตามลงมาอีก จึงเป็นที่ประจักษ์ชัดว่า ตลอดเวลามานั้น ชนเชื้อชาติไทย พวกที่ยังคงตั้งภูมิลำเนา ณ ดินแดนเดิมในประเทศจีนตอนต้ก็ดีพวกที่อพยพลงมาตั้งถิ่นฐานบ้านเมืองอยู่ในที่ต่างๆก็ดี ต่างนิยมความเป็น ไทยอันเป็นสัญลักษณ์ของชาติและมีความสัมพันธ์กัน น้อยหรือมาก ห่างไกลหรือ ใกล้ชิดตามสายแห่งการคมนาคม ตลอดมา เช่น ปรากฎในพงศาวดารลานช้าง ส่อแสดงว่าอาณาจักรไทยเหล่านั้นมีความสัมพันธ์กันทางวัฒนธรรม มีนักดนตรีและละคอนฟ้อนรำบางพวก ในอาณาจักรไทยในดินแดนเดิมนั้น ได้นำเอาศิลปทางดนตรีละคอนฟ้อนรำติดตาม ลงมาเผยแพร่สั่งสอนพวกไทยด้วยกันทางใต้นี้ด้วย และในสมัยเดียวกันนั้น ชนชาวไทยพวกที่อพยพลงมาทาง ใต้ในแหลมอินโดจีน ก็ได้ตั้งอาณาจักรขึ้นทางใต้ เช่น สุโขทัยและอยุทธยา
ในปัจจุบันนี้ชนชาติไทยในแหลมอินโดจีนได้รวมเชื้อชาติเผ่าพันธุ์ของตนตั้งขึ้นเป็นประเทศเอกราช มีรัฐบาลเป็นของตนเอง ปกครองอยู่ ๒ ประเทศ ตั้งอยู่คนละฟากฝั่งแม่นำโขง คือ ประเทศไทย ตั้งอยู่ทาางฝั่งขวา หรือฝั่งตะวันตก มีกรุงเทพมหานครเป็นเมืองหลวง และประเทศลาว ตั้งอยู่ทาางฝั่งซ้าย หรือฝั่งตะวันออกของแม่นำโขง มีเวียงจันทน์เป็นเมืองหลวง
ชนชาติไทยคงจะได้รู้จักประดิษฐ์เครื่องดนตรีขึ้นเอง หรือเลียนแบบ อย่างแล้วนำมาประดิษฐืขึ้นใช้ เป็นของตนเอง มาแต่สมัยโบราณเมื่อครั้งยังตั้งถิ่นฐานอยู่ในประเทศจีน เพราะปรากฎตามตำนานว่า ไทยเป็น ผุ้มีนิสัยรักการดนตรี และขับร้อง มาแต่โบราณกาล ดังจะเห็นได้จากหลักฐานดังกล่าว มาแล้วว่า ชนชาวไทยมี ความสามารถในศิลปทางดนตรี ตั้งแต่สมัยอยู่ในอาณาจักร แองหวู่ ซึ่งนักค้นคว้าทางประวัติศาสตร์ยืนยันว่า ดนตรีของจีนในปัจจุบันนี้ได้กำเนิดไปจากอาณาจักรฉ่องหวู่ของไทย หลายอย่างแต่อย่างไรก็ดีตลอดเวลาที่คนไทยกับ คนจีนยังตั้งถิ่นฐานติดต่อกันเช่นนั้น ก็ยังคงแลกเปลี่ยนและเอาอย่างกันและกัน ซึ่งไทยเราก็คงนำเครื่องดนตรีบาง ชนิดของจีนมาใช้ และเอามาเป็นแบบอย่างบ้าง นอกนั้นยังมีเครื่องดนตรีอีกหลายชนิด ซึ่งเข้าใจว่าเป็นของ ชนชาติไทย ประดิษฐ์ขึ้นใช้กันอยู่ ก่อนที่จะลงมาพบวัฒนธรรมแบบอินเดีย ซึ่งแพร่หลายอยู่ในพื้นที่ทางตอนใต้ของแหลม อินโดจีน ที่ชนชาวไทยจะอพยพลงมา จะสังเกตเห็นได้ว่า เครื่องดนตรีดั้งเดิมของไทย บัญญัติชื่อขึ้น เรียกตามเสียงด้วยคโดดในภาษาไทย (ไม่มีคำควบ คำคู่ คำแผลง หรือคำต่างประเทศเข้ามาปะปน) เช่น เกราะ โกร่ง กรับ ฉาบ ฉิ่ง ปี่ ขลุ่ย เพียะ ซอ ฆ้อง และ กลอง เป็นต้น ต่อมาเมื่อรู้จักประดิษฐ์เครื่องดนตรีให้ก้าวหน้าขึ้น เช่น นำไม้มาทำอย่างกรับ แต่วางเรียงไป และเอาฆ้อง หลายใบๆมาทำเป็นวง จึงบัญญัติ ซื่อเป็นคำแผลง และคำผสม ขึ้นเรียกเรื่องดนตรีเหล่านั้นว่า ระนาด ฆ้องวง
เครื่องดนตรีของไทยแต่เดิมดังกล่าวนั้น ส่วนใหญ่ คงจะใช้สำหรับให้สัญญาณนัดหมาย และกำหนดเวลา เช่น เกราะ โกร่ง ฆ้อง กลอง และใช้สำหรับการสนุกสนานรื่นเริง เช่น กรับ ฉาบ ฉิ่ง ปี ขลุ่ย เพียะซอ และแคน ส่วนกฎเกณฑ์ในการรวมวงก็คงมีบ้างแต่คงมิได้วางระเบียบการเอาไว้แน่นอน คงจะร่วมเล่นกันตามที่จะเห็นว่า ไพเราะและสุดแต่สะดวกในการปฏิบัติ ต่อมเมื่อชาวไทย ได้อพยพลงมาตั้งถิ่นฐาน ทางใต้ตลอดจนก่อตั้งอาณาจักร ขึ้นในแหลมอินดดจีน และได้พบวัฒนธรรมแบบอินเดียหลายอย่าง โดยเฉพาะเครื่องดนตรีของอินเดีย ซึ่งชนชาติ มอญเขมรรับไว้ แต่ก่อน ชนชาวไทยซึ่งมีนิสัยทางดนตรีอยู่แล้ว จึงรับเอาวัฒนธรรมทางดนตรีแบบอินเดีย ผสมมอญเขมร เข้ามาคลุกเคล้ากับเครื่องดนตรีเดิมของตนจึงเกิดเครื่องดนตรีชนิดใหม่ๆ ขึ้นในวงการดนตรีของไทย หลายอย่าง เช่น พิณ สังข์ ปี่ไฉน บันเฑาะว์ กระจับ ปี่ จะเข้ และโทน ทับ เป็นต้น ดังมีระบุไว้ ในหนังสือไตรภุมิ พระร่วง และในศิลาจารึก สมัยสุดขทัย และในกฎมณเฑียรบาลสมัยอยุทธยาตอนต้น ต่อมาเมื่อมีความสัมพันกับประเทศ เพื่อนบ้าน และเรานิยมศิลปทางดนตรี และการละเล่นของเพื่อนบ้าน ใกล้เคียงเหล่านั้น ไทยจึงนำเอาเพลงขับร้องที่ว่า เพลงภาษา และนำเอาทั้งเครื่องดนตรีของประเทศเพื่อนบ้านใกล้เคียงมาเล่นในวงดนตรีไทยด้วย เช่น กลองแขก ของชวา กลองมาลายูของมาลายู เปิงมางของมอญ และกลองยาวของไทยใหญ่ ซึ่งพม่านำมาใช้ ทั้งได้หวน กลับนำเครื่องดนตรีของจีนมาเล่นผสมวงด้วย เช่น ขิม ม้าล่อ และ กลองจีน เป็นต้น ต่อมาเมื่อเรามีความสัมพันธ์กับ ตะวันตก และอเมริกาก็ไดนำเอากลองฝรั่ง มาใช้บรรเลงร่วมวง เช่นที่เรียกกันว่า กลองอเมริกัน ตลอดจนเครื่องดนตรีฝรั่ง อื่น ๆ มี ไวโดลิน และออร์แกน เป็นต้น
เมื่อพิจารณาตามชื่อของดนตรีที่กล่าวมา พอที่จะกำหนดลงได้ว่าเครื่องดนตรีที่เป็นสมบัติโบราณ ของไทยแต่เดิมมา เราบัญญัติชื่อตามคำโดดในภาษาไทย แล้วต่อมาขนานชื่อ ตามรูปร่าง ตามลักษณะบ้าง ตามแบบแผนที่ใช้ประกอบการเล่นบ้าง ตามตำนาน ที่ได้มาจากของชาติอื่น และตามชื่อที่เรียกกันอยู่ก่อนในภาษาเดิมบ้าง ดังจะเห็นได้จากชื่อของเครื่อง ดนตรีต่อไปนี้