เครื่องดนตรีไทยประเภทเครื่องเป่า
เครื่องเป่าที่มนุษย์รู้จักใช้แต่เดิม ก็คงเป็นหลอดไม้รวก ไม้ไผ่ เช่นใช้เป่าเป็นสัญญาณในการล่าสัตว์ ต่อมา
ก็ใช้เป่าเขาสัตว์ เช่นที่เรียกในภาษาบาลีว่า "สิงคะ" ในภาษาสันสกฤตว่า "ศฤงคะ" ภาษาอังกฤษเรียกว่า HORN
ภายหลังมีการเจาะรูทำลิ้นให้เปลี่ยนลิ้นได้และใช้เป็นเครื่องดนตรีอีกชนิดหนึ่ง
ขลุ่ย
เป็นเครื่องเป่าดั้งเดิมของไทยคิดทำขึ้นเอง แต่รูปร่างไปเหมือนกับ"มุราลี"ของอินเดีย ซึ่งเป็นดนตรีที่โปรดของ
พระกฤษณะ แต่เดิมมาขลุ่ยของเราทำด้วยไม้รวกปล้องยาวๆไว้ข้อทางปลายแต่เจาะทะลุข้อ และใช้ไฟย่างให้แห้ง
ตบแต่งผิวให้ไห้มเกรียมเป็นลวดลายสวยงาม ด้านหน้าเจาะรูกลม ๆ เรียงแถวกัน ๗ รูสำหรับนิ้วเปิดปิดเพื่อ
เปลี่ยนเสียงตรงที่ใช้เป่า ผู้เป่าขลุ่ยจะต้องใช้ริมฝีปากของตนอมที่มุมล่างตรงช่องนั้น แต่เปิดริมฝีปากให้ลมเป่า
ผ่านเข้าไปในเลา เมื่อลมที่ผ่านเข้าไปจะทำให้เกิดเป็นเสียงไม้อุดนั้นเรียกกันว่า "ดาก" ด้านหลังใต้ดากลงมาเจาะรู
เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า แต่ปาดตอนล่างเป็นทางเฉียงไม่เจาะทะลุตรงเหมือนด้านข้างและด้านหน้า รูนี้เรียกว่า
"รูปากนกแก้ว" ถ้าอุดรูปากนกแก้วเสียงเป่าก็ไม่ดัง ใต้รูปากนกแก้วเจาะรูอีกหนึ่งรูเรียกว่า "รูนิ้วค้ำ" เพราะ
เวลาเป่าต้องใช้นิ้วหัวแม่มือค้ำปิดเปิดที่รู เหนือรูนิ้วค้ำเบื้องหลัง และเหนือรูบนของ ๗ รูด้านหน้าแต่อยู่ทางด้าน
ขวาเจาะรูอีกรูหนึ่งเรียกว่า "รูเยื่อ" เพราะแต่ก่อนใช้เยื่อในปล้องไม้ไผ่ปิดรูนั้น แต่ต่อมาก็ไม่ค่อยได้ใช้ ทางปลายเลาของขลุ่ย มีรูอีก ๔ รู เจาะตรงกันข้าม แต่เหลื่อมกันเล็กน้อยรูหน้ากับรูหลังตรงกันแต่อยู่สูงขึ้นมานิดหน่อย
รูขวารูซ้ายเจาะตรงกัน อยู่ใต้ลงไปเล็กน้อย รูขวากับรูซ้ายนี้ปกติใช้ร้อยเชือกสำหรับแขวนหรือคล้องมือจึงเรียกว่า
"รูร้อยเชือก" รวมทั้งหมดขลุ่ยเลาหนึ่งมี ๑๔ รู ที่เรียกว่า "ขลุ่ย" เข้าใจว่าเรียกตามเสียงเป่าที่ได้ยิน นอกจากเป่าเล่นเป็นการบันเทิงแล้ว ยังใช้เป่าร่วมในวงเครื่องสายและในวงมโหรี กับวงปี่พาทย์ไม้นวมและวงปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์อีกด้วย แต่เดิมคงมีขนาดเดียวจึงมีผู้คิดทำขึ้นเป็น ๓ ขนาดเพื่อให้เกิดเสียงเหมาะสมกับการเล่นผสมวงนั้น ๆ จึงเกิดขลุ่ย ๓ ชนิดคือ
๑.ขลุ่ยหลีบ ขนาดเล็ก ยาวประมาณ ๓๖ ซม. กว้างประมาณ ๒ ซม.
๒.ขลุ่ยเพียงออ ขนาดกลาง ยาวประมาณ ๔๕-๔๖ ซม. กว้างประมาณ ๔ ซม.
๓.ขลุ่ยอู้ ขนาดใหญ่ ยาวประมาณ ๖o ซม. กว้างประมาณ ๔.๕ ซม.
ต่อมามีผู้สร้างขลุ่ยขึ้นมาอีกชนิดหนึ่งเรียกกันว่า "ขลุ่ยกรวด" มีเสียงสูงกว่าขลุ่ยเพียงออ ๑ เสียง
ใช้สำหรับผสมวงเครื่องสายที่นำเอาเครื่องดนตรีฝรั่งมาผสมวง เช่นวงเครื่องสายผสมไวโอลีน วงเครื่องสายผสมออร์แกน วัตถุที่ใช้ทำขลุ่ย ต่อมาก็ทำด้วยไม้จริงบ้างและที่สร้างขึ้นด้วยงาก็มี แต่ก็คงทำรูปร่างลักษณะเลียนแบบอย่างที่ทำด้วยปล้องไม้รวกนั่นเอง เคยพบคำบาลีสันสฤกตเรียกเครื่องเป่าที่ทำด้วยไม้ชนิดนี้ว่า "วํส" และ "วํศ"ซึ่งแปลว่าไม้ไผ่ ชื่อฉันท์แบบหนึ่งที่เรียกว่า "อินทวงส์" อาจแปลว่า "ขลุ่ยพระอินทร์" ก็ได้กระมัง