เครื่องดนตรีไทยประเภทเครื่องสี
เครื่องสี
เครื่องสายอีกประเภทหนึ่งที่ทำให้เกิดเสียงด้วยใช้คันชักสีเข้ากับสาย คงจะเกิดขึ้นภายหลังเครื่องดีด
เรียกเครื่องสายประเภทนี้ด้วยคำในภาษาไทยว่า"ซอ"แม้แต่เครื่องสีของฝรั่งที่เรานำมาใช้ในตอนหลังนี้
เราก็เรียกว่า"ซอ"เช่นกัน ซอที่ใช้อยู่ในวงดนตรีไทยมี ๓ ชนิด คือ
ซอสามสาย
ซอสามสายของไทย มีชื่อและลักษณะพ้องกับซามิเส็น (Samisen) ของญี่ปุ่น และสานเสี่ยน (San
Hsien) ของจีน ซึ่งมีสายสามสายเหมือนกัน แต่ทั้งสานเสี่ยนของจีน และซามิเส็นของญี่ปุ่น เป็นประเภทเครื่อง
ดีดไม่มีนม (fret) และกะโหลกซอทำเป็นรูป ๔ เหลี่ยมแบน สานเสี่ยนของจีนย่อมุมมนใช้หนังงูขึง ส่วนซอสาม
สายของเราเป็นดนตรีประเภทเครื่องสี ตัวกะโหลกซอทำด้วยกะลามะพร้าวชนิดที่มีกะลานูนเป็นกระพุ้งออกมา
๓ ปุ่ม คล้ายวงแหวน ๓ อันวางอยู่ในรูป ๓ เหลี่ยม จึงเป็น ๓ เส้า ผ่ากะลาให้เหลือปุ่ม ๓ เส้านั้นไว้ใช้เป็นกะโหลก
ซอขึงหนังแพะหรือหนังลูกวัวปิดปากกะลา ขนาดของซอเล็กใหญ่สุดแต่ที่จะหากะลาได้ ที่กองการสังคีต กรมศิล
ปากรมีขนาดใหญ่อยู่คันหนึ่ง หน้าซอยาวประมาณ ๒๔ ซม. และกว้างประมาณ ๑๙.๕ ซม. มีคันซอหรือทวนทำด้วย
ไม้แก่น หรือบางอันก็ประกอบงา ยาวประมาณ ๑.๒๑ เมตร สอดเข้าไปในกะโหลกซอ เหลือเป็นทวนตอนบนราว
๗๑.๕ ซม. และลอดลงมาเป็นทวนตอนล่าง ๒๕.๕ ซม. ทวนบนและทวนล่างเจาะเป็นโพรงร้อยสายเอ็นเข้าไป
ข้างในทวนล่าง ๓ สาย ขึ้นสายผ่านหน้ากะโหลกซอที่ขึ้นหนังไว้ขึ้นไปเกือบปลายทวนบน แล้วร้อยสายเอ็นทั้ง
๓ เข้าไปข้างใน มีลูกบิดผูกสายสอดเข้าไปข้างใน มีลูกบิดผูกสายสอดเข้าไปในทวนตอนบน ๓ อัน อยู่ทางซ้าย
มือของผู้บรรเลง ๒ อัน และอยู่ทางขวามือ ๑ อัน อันหนึ่งยาวประมาณ ๑๔-๑๕ ซม. สำหรับบิดขึ้นสายให้ตึง
หรือหย่อนตามต้องการ เวลาจะใช้บรรเลงนอกจากขึ้นสายให้ได้ที่แล้ว จะต้องมีเครื่องประกอบอีก ๒ อย่าง
คือ (๑) ต้องมี "หย่อง" ทำด้วยไม้ สำหรับหนุนสายตรงหน้าซอที่ขึ้นหนังให้สายตุ่งออกมา และ (๒) ต้องมี
"ถ่วงหน้า" ติดตรงหน้าซอตอนบน ด้านซ้าย ถ่วงหน้านี้เป็นส่วนประกอบที่สำคัญมาก ต้องเป็นของมีน้ำหนักได้
ส่วนกับขนาดและความหนาของหนังจึงจะทำให้ซอเวลาสีเกิดเสียงไพเราะ แต่ก่อนทำอวดประกวดประขันกันจน
ถึงทำด้วยทองคำฝังเพชรก็มี แต่โดยปกติ ทำด้วยเงินลงยา คันชักหรือคันสีทำเป็นรูปโค้ง โคนตรงมือถืองอน
ยาวประมาณ ๘๖ ซม. สายคันสีใช้ขนหางม้า ขึนสายประมาณ ๒๐๐-๒๕๐ เส้น เช่นเดียวกับคันสีซอฝรั่ง มีไวโอ
ลิน เป็นต้น
ซอสามสาย แต่เดิมคงจะเรียกแต่ว่า "ซอ" เฉยๆ และไทยเราคงจะนิยมใช้กันอย่างน้อยก็ตั้งแต่สมัย
สุโขทัย เช่น มีกล่าวถึง "สีซอ" ในหนังสือไตรภูมิพระร่วง ของพระมหาธรรมราชา แห่งกรุงสุโขทัย ต่อมาก็มี
กล่าวถึงบนกฏมนเทียรบาล ซอสามสายเป็นเครื่องดนตรีที่เล่นยาก แต่นิยมกันว่าไพเราะและสอดประสานเข้ากับ
เสียงขับร้องของนักร้องไทยได้สนิทสนมเป็นอันดี หาเสียงของเครื่องดนตรีอื่นเทียบเคียงได้ยาก คงจะนิยม
เล่นคลอขับร้องผสมวงคู่กับกระจับปี่ในวงมโหรีและวงเครื่องสายมาแต่โบราณ ดังจะเห็นได้จากภาพจิตรกรรม
และรูปแกะสลักสมัยกรุงศรีอยุธยา และสมัยแรกตั้งกรุงรัตนโกสินทร์
ซออู้
ซออู้ เป็นซอสองสาย ตัวกะโหลกซอทำด้วยกะลามะพร้าวเหมือนกันแต่ใช้กะลามะพร้าวชนิดกลมรี
ขนาดกะโหลกใหญ่ตัดปากกะลาออกเสียด้านหนึ่งแล้วใช้หนังแพะหรือหนังลูกวัวขึงขึ้นหน้า กว้างประมาณ
๑๓-๑๔ ซม. เจาะกะโหลกทะลุตรงกลาง ๒ ข้าง สอดคันทวนเข้าไปในรูบนผ่านกะโหลกออกรูล่างใต้กะโหลก
ทวนนั้นทำด้วยไม้จริง เช่น ไม้แก้ว หรือด้วยงาตัน (ไม่ทำกลวงเหมือนทวนซอสามสาย) ขนาดยาวประมาณ ๗๙
ซม. ใช้สายเอ็น ๒ สาย ผูกที่ปลายทวนใต้กะโหลกแล้วพาดมาทางหน้า ขึ้นหนังผ่านขึ้นไปผูกไว้กับปลายลูกบิด
๒ อัน ยาวอันละประมาณ ๑๗-๑๘ ซม. สอดก้านเข้าไปในทวนยื่นทะลุออกมาทางด้านหน้า เอาเชือกผูกรั้งสาย
กับทวนตรงกลางค่อนขึ้นไปเพื่อให้สายตึง เรียกว่า "รัดอก" ที่หน้าซอตรงกลางที่ขึ้นหนัง ใช้ผ้าม้วนกลมๆเป็น
หมอนหนุนสายให้พ้นหน้าซอ มีคันสีหรือคันชักทำด้วยไม้จริงหรือด้วยงา ยาวประมาณ ๗๐ ซม. ใช้ขนหางม้าประมาณ ๑๖๐-๒๐๐ เส้น สำหรับขึ้นสายคันชักเหมือนสายกระสุนหรือหน้าไม้ สำหรับสีกับสายซอให้เกิดเสียง ซอชนิดนี้ทั้งกะโหลกและทวนบางคันก็แกะสลักลวดลายวิจิตรบรรจงสวยงามน่าดู
ซออู้ของเรารูปร่างคล้ายซอชนิดหนึ่งของจีน ที่เขาเรียกของเขาว่า "ฮู-ฮู้" (Hu-hu) มี ๒ สายเหมือน
กัน แต่ฮู-ฮู้ มีนมรับสายก่อนจะถึงลูกบิด และลูกบิดของเขาอยู่ด้านข้างทางขวามือของผู้เล่น ตรงลูกบิดที่จะ
สอดเข้าไปในทวนนั้น เขาขุดทวนให้เป็นรางยาว และเอาสายผูกไว้กับก้านลูกบิดในร่องหรือรางนั้น ซอชนิดนี้มี
เสียงทุ้ม ที่เราเรียกของเราว่า "ซออู้" ก็คงจะเรียกตามเสียงที่เราได้ยิน ส่วนของจีนที่เขาเรียกของเขาว่า "ฮู-ฮู้"
ก็น่าจะเรียกตามเสียงที่เขาได้ยืนเหมือนกัน และบางทีซออู้ของเราอาจเอาอย่างมาจากจีน
แต่อย่างไรก็ตามเท่าที่มีหลักฐานพอจะทราบได้ เราคงจะเอาซออู้เข้าใช้บรรเลงร่วมวง ในวงเครื่อง
สาย และในวงมโหรี เมื่อราวสมัยกรุงศรีอยุธยา และต่อมาในระยะหลังนี้ ได้นำเข้าบรรเลงร่วมในวงปี่พาทย์ไม้
นวมและวงปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์ด้วย ในการปรับปรุงวงดนตรีประกอบการแสดงละคอนของกรมศิลปากร ซึ่ง
จัดแสดง ณ โรงละคอนศิลปากร ก็ได้ปรับปรุงวงปี่พาทย์โดยใช้ซออู้บรรเลงร่วมด้วยตามโอกาส
ซอด้วง
ซอด้วง เป็นซอสองสายเหมือนกันทั้งทวยและคันชักคงทำอย่างเดียวกันกับซออู้ แต่ย่อมกว่าและสั้นกว่าเล็กน้อย
คือ ทวนซอด้วง ยาวประมาณ ๗๒ ซม. คันชักยาวประมาณ ๖๘ ซม. และใช้ขนหางม้าประมาณ ๑๒o-๑๕o เส้นขึ้น
สาย ลูกบิดซอด้วงยาวเท่ากับลูกบิดซออู้ ส่วนกะโหลกซอด้วงแต่เดิมทำด้วยกระบอกไม้ไผ่ปากกระบอกกว้างประมาณ
๗ ซม. ตัวกระบอกยาวประมาณ ๑๓ ซม. ต่อมาใช้ไม้จริงทำกะโหลกและทำด้วยงาก็มี แต่ที่นิยมกันว่ามีเสียง
ดีคือกะโหลกที่ทำด้วยไม้ลำเจียก และคงทำรูปอย่างไม้ไผ่นั่นเอง ใช้หนังงูเหลือมขึ้นหน้าซอ เมื่อสีมีเสียงสูง
ดังแหลมกว่าเสียงซออู้ ถ้าจะเทียบซออู้ก็เท่ากับระนาดทุ้มและซมด้วงก็เท่ากับระนาดเอก ใช้ร่วมบรรเลงในวง
เครื่องสายและวงมโหรี และคงจะนำมาใช้สมัยเดียวกับซออู้
ซอด้วงของเรามีรูปร่างลักษณะเหมือนกับซอจีนที่เรียกว่า " ฮู-ฉิน" ทุกอย่าง บางทีเราจะเลียนอย่างเขามา
และที่เรียกของเราว่าซอด้วงนั้น คงจะเห็นกันว่ารูปร่างคล้ายเครื่องดักสัตว์ เช่น ด้วงดักแย้ ซึ่งตัวด้วงทำด้วย
กระบอกไม้ไผ่เหมือนกัน จึงเรียกชื่อเครื่องสีชนิดนี้ไปตามลักษณะนั้น