โอเวอร์คล็อกComputer ( OVER CLOCK Computer) |
Athlon แอรลอน ชื่อนี้มีมนต์ขลัง ซีพียูAthlon เป็นซีพียูสถาปัตยกรรมK-7รุ่นล่าสุดของAMD และทรงพลังในการคำนวณสูงสุดชื่อที่เป็นทางการคือAthlon สมัยก่อนซีพียูของAMDยังไม่เป็นที่รู้จักกันมากนักและมักจะออกซีพียูตามหลังอินเทลตลอดในราคาที่ถูกกว่า และมีประสิทธิภาพใกล้เคียงกันตั้งแต่สมัย 386-486จนถึงรุ่นสูงสุดเวลานั้นคือซีพียูตระกูล K-6 และK6-2ที่เพิ่มชุดคำสั่ง 3DNowเข้าไปและรุ่นล่าสุด K6-3ที่มีแคชระดับ 2ความเร็วเดียวกับซีพียู 256k จะมีประสิทธิภาพที่ใกล้เคียงกับซีพียูของอินเทล แต่ K-6 ทุกตระกูลยังมีจุดด้อยในการคำนวณจุดทศนิยมFPUอยู่มาก ในการใช้งานเกม 3มิติและ3dStudioMaxจะด้อยกว่าอินเทลเสมอ แต่ราคาถูกกว่าในความเร็วที่เท่ากันและเป็นที่นิยมในตลาดระดับล่าง และK6-2ได้รับความนิยมมากและเร่งความเร็วไปได้สูงสุดในสายตระกูลซ็อกเก็ต7 ถึง 550MHz ต่อมาแผนพัฒนาซีพียูสายใหม่คือK-7เริ่มมีในแนวทางของAmdเองที่จะพัฒนาซีพียูรุ่นใหม่ล่าสุดและให้ประสิทธิภาพสูงสุดอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน ทั้งรูปแบบ การใช้งานและเทคโนโลยีใหม่ๆ เพื่อให้มีความเร็วและประสิทธิภาพสูงกว่าซีพียูของอินเทล ด้วยความเร็วFSBสูงกว่า ขนาดหน่วยความจำแคชระดับหนึ่งและระดับสองที่ใหญ่กว่า ปรับปรุงFPUที่เคยเป็นจุดด้อยให้มีประสิทธิภาพสูงกว่าและมีการนำเอาสถาปัตยกรรมที่ใช้เทคโนโลยีในซีพียูเซิร์ฟเวอร์และ Workstation ขนาดใหญ่อย่างตระกูล Alpha ระบบบัสแบบEV6มาใช้งานด้วย สถาปัตยกรรมของAthlonได้นำระบบบัสแบบ EV6ของAlpha มาใช้ ซึ่งมีจุดเด่นๆคือ สามารถใช้ประโยชน์จากFSBของAthlonทำงานเร็วเป็นสองเท่าของระบบFSBแบบGTL+ทางเดียวของอินเทลคือ ที่ระบบบัส 100MHzโปรโตคอลแบบEV6ทำให้Athlonส่งข้อมูลทั้งขาขึ้นและขาลงได้ถึง 200MHz ทำให้มีความเร็วรับส่งข้อมูลผ่านระบบบัสเร็วมากถึง 1.6GBต่อวินาที(มีประสิทธิภาพเหนือกว่าชิพเช็ตi820ของอินเทลที่ส่งได้1.06GBต่อวินาที) โปรโตคอลที่ออกแบบแยกเป็นอิสระจากกันระหว่างชิพเช็ตกับหน่วยความจำหลัก ทำให้ซีพียู Athlon สามารถใช้แรมแบบSDRAM ทั้งชนิด PC-100 และPC-133 ร่วมกันได้อย่างไม่มีปัญหาครับ ทั้งชนิดของแรม ตัวคูณสัญญาณนาฬิกาและFSBเหมือนตระกูลอินเทลเช่นเดียวกัน ถ้าAthlon500MHz ตัวคูณเท่ากับ 5 ความเร็วบัส 100MHz แต่จะส่งผ่านไปที่ 200MHzทั้งขาขึ้นและขาลง ตัวคูณในสัญญาณแบบEV6จะเป็น 2.5เท่าระบบบัส 200MHzในทางเทคนิคแทนครับ คุณสมบัติและความสามารถของซีพียูAthlon 1.สนับสนุนความเร็วสัญญาณนาฬิกาตั้งแต่เริ่มต้นที่ 500, 550 และ600MHzก่อนจากนั้นค่อยขยับความเร็วไปสูงกว่าเดิมคือ 700MHz ถือได้ว่าเป็นซีพียูสำหรับคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลที่มีความเร็วสูงที่สุดในโลก เร็วกว่าซีพียูเพนเทียมทรีของอินเทลในขณะนั้นที่ยังอยู่ที่ 550MHz 2.กระบวนการผลิต0.25ไมครอน สนับสนุนความเร็วบัสที่ 200MHz(100MHz) แบบ64บิตสถาปัตยกรรมแบบEV6ของDEC 3.สนับสนุนการทำงานMultiProcessor หรือใช้ซีพียูหลายๆตัวทำงานได้ 2-4-8 ตัวหรือมากกว่าอินเทล ที่สนับสนุนการทำงานร่วมกันได้สูงสุด 4 ตัวเท่านั้น ทำให้ซีพียูของAthlon สามารถใช้งานในWorkStationและ Serverระดับไฮเอนด์ได้ จึงเพิ่มตัวเลือกสำหรับWorkStationและ Serverระดับประสิทธิภาพสูงในราคาที่ถูกกว่า 4.หน่วยความจำแคชระดับหนึ่ง 128K สูงสุด มากกว่าในบรรดาซีพียูทั้งหมดของอินเทลที่มีมามากกว่าเพนเทียมทู เพนเทียมทรี และเซลเลอลอนถึง 4 เท่าช่วยในการประมวลผลของซีพียูและทำงานร่วมกันของหน่วยความจำแคชระดับหนึ่งกับหน่วยความจำแคชระดับสองสูงขึ้น 5.สนับสนุนหน่วยความจำแคชระดับสองตั้งแต่ 512K จนถึง 8Mb มากกว่าอินเทล Xeonที่ให้เพียง 512 K 1Mbและ2Mb สามารถปรับความเร็วของหน่วยความจำแคชระดับสองได้ตั้งแต่ความเร็ว 1/4เท่าจนถึงความเร็วเท่ากับซีพียู สถาปัตยกรรมของAthlon ใช้ระบบบัสแบบใหม่ คือEV6 Bus Protocol ใช้เทคโนโลยีการทำงานแบบ point-to-point Topology ที่อนุญาตให้ซีพียูและชิพเช็ตทำงานอิสระต่อจากกันจากระบบบัสของหน่วยความจำหลัก ทำให้สามารถเข้ากันกับเทคโนโลยีเดิมที่มีอยู่คือ ออกแบบให้สนับสนุนSDRam RamBUS และDDR-Ramได้ด้วย โดยผ่านชิพเช็ตAMD-751 และ VIA KX-133 ที่สนับสนุนซีพียูรุ่นนี้โดยเฉพาะ เพิ่มPipelineให้กับหน่วยประมวลผลทศนิยมที่เดิมเป็นจุดด้อยกว่าอินเทลให้มากขึ้น และปรับปรุงหน่วยประมวลผลทศนิยมใหม่เพิ่มขึ้นมา 3ชุด ทำให้การคำนวณทศนิยมมากขึ้นและทรงพลังกว่าเดิม แพกเก็ตของซีพียูและเมนบอร์ด เริ่มแรกจะนำแพกเก็ตแบบสล็อตมาใช้งานก่อนคือมาตรฐานแบบSECC(Single EdgeContact Connector) เรียกว่าสล็อตA เช่นเดียวกับมาตรฐานสล็อตวันของอินเทล เพราะมาตรฐานสล็อตวันได้รับการยอมรับจากผู้ใช้แล้ว และอุปกรณ์ต่างๆสามารถใช้งานร่วมกันได้กับซีพียูตระกูลAthlon โดยไม่ต้องมีการออกแบบใหม่เลย เช่นฮีทซิงค์ระบายความร้อน สล็อตวันและรูปแบบเมนบอร์ดATX และATเพื่อให้ง่ายต่อการจำหน่าย แต่รูปร่างภายนอกแพกเก็ตของAthlon ไม่สามารถใช้งานร่วมกับเมนบอร์ดสล็อตวันของอินเทลได้เลย เพราะแตกต่างกันทั้งขาสล็อตและแรงดันที่ใช้งาน คือซีพียูAthlon ไม่สามารถใช้งานร่วมกันกับเมนบอร์ดสถาปัตยกรรมสล็อตวันได้และเมนบอร์ดของAthlon ไม่สามรถใช้งานกับซีพียูสล็อตวันของอินเทลได้เช่นกัน(ของใครของมันครับ) ก็ต้องเปลี่ยนแต่ซีพียูกับเมนบอร์ดเพื่อใช้งานเท่านั้น ประสิทธิภาพ??? ประสิทธิภาพจากโปรแกรมทางธุรกิจ Athlonให้ประสิทธิภาพเหนือกว่าเพนเทียมทรี แรกๆAthlon ยังมีราคาใกล้เคียงกับราคาเพนเทียมทรีของอินเทลอยู่เพราะเพิ่งเปิดตัวใหม่ และยังไม่มีเมนบอร์ดสนับสนุนมากนัก AMDจึงต้องผลิตเมนบอร์ดเองออกมาก่อนคือIrongate AMD-751 ก่อนเพราะผู้ผลิตยังไม่พร้อมที่จะออกเมนบอร์ดสนับสนุนเวลานี้เพราะยังใหม่สำหรับผู้ใช้ ประสิทธิภาพโดยรวมเทียบเท่าได้กับ 440BXของอินเทล แต่จะให้ฟีเจอร์ใหม่ๆมาครบครันทั้งAGP4x UDMA66-100 USB2.0 แต่ประสิทธิภาพจะสูงกว่าซีพียูอินเทลเมื่อใช้ชิพเช็ตรุ่นใหม่เช่นKX-133 ของVIAในภายหลังแต่อาจจำเป็นต้องเปลี่ยนเพาเวอร์ซัพพลายด้วยเพื่อให้เมนบอร์ดและซีพียูแอรลอนทำงานได้ไม่มีปัญหา แต่อีกประมาณกลางปี2000จะทำการรวมแคชL2ความเร็วเดียวกับซีพียูเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพให้มากขึ้นกว่าเดิม เพิ่มความเร็วจาก 750Mhzไปถึง 1000MHzและยกเลิกสายการผลิตแบบสล็อตแล้วเปลี่ยนมาใช้ซ็อกเก็ตแทนทั้งหมดและลดกระบวนการผลิตให้เล็กลง0.18u แกนAthlonรุ่นClassicที่แคชL2อยู่ข้างนอกcore แอรลอนสายการผลิตThunderBird จะรวมแคชL2ลงแกนเดียวกับซีพียูเลย ThunderBird รุ่นSlotA จะไม่มีCacheL2ให้เห็นแล้วครับ และปรับเปลี่ยนหน่วยความจำแคชระดับสองให้ทำงานที่ความเร็วเท่ากับซีพียู จะทำให้มีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้นกว่าซีพียูอินเทล และลดราคาทำให้น่าซื้อมาใช้งานให้ประสิทธิภาพสูงกว่าและคุ้มค่ากว่า
|
© Copyright 2000-2001. MUHN-Computer. All Rights Reserved. WebMaster |