โอเวอร์คล็อกComputer ( OVER CLOCK Computer) Athlon SocketA 462-pin Thunderbird วิหคสายฟ้า (หรือว่า นกย่างเนี่ย...อิ อิ) |
หลังจากที่AMDประสบความสำเร็จอย่างสูงกับซีพียูAthlonทำให้ผู้ใช้ส่วนใหญ่เริ่มที่จะหันมาสนใจกับAMDมากขึ้น เดิมทีตอนที่ยังไม่ได้เปิดตัวAthlonยังไม่ค่อยมีใครสนใจมากเท่าเพนเทียมทรีพอเปิดตัวออกมาและประสิทธิภาพต่อราคาเป็นที่ยอมรับในท้องตลาด แม้ว่าจะเจอปัญหาเรื่องการผลิตเมนบอร์ดในระยะแรก แต่ก็สามารถผลิตออกมาทันกับความต้องการของผู้ใช้ได้ในที่สุดและราคาซีพียูถูกกว่าเดิมในที่สุดAMDได้พัฒนาAlthonสายใหม่อีกครั้ง เป็นซีพียูสายการผลิตแบบใหม่ในนามรหัส "ThunderBird " หรือที่เรียกกันว่านกย่าง.....เอ๊ย..นกวิหคสายฟ้า ออกมาเป็นคู่แข่งเพนเทียมทรีโดยเฉพาะในราคาและประสิทธิภาพที่เหนือกว่า ซีพียูAlthonใหม่นี้ใช้สถาปัตยกรรมเช่นเดียวกับแอรลอนเดิม คือEV6 BUS 200MHz แคชL1 128K ขนาด64บิตและมีการยกเลิกรูปแบบซีพียูสล็อตA และกลับไปใช้สถาปัตยกรรมแบบซ็อกเก็ตอีกครั้ง เรียกว่าซ็อกเก็ต462หรือซ็อกเก็ตA มีจำนวนขา462ขา และลดขนาดวงจรให้เล็กลงเหลือ0.18ไมครอน ทำให้สามารถใส่แคชระดับสอง 256Kความเร็วเดียวกับซีพียูลงไปในแกนเดียวกัน ทำให้ประสิทธิภาพสูงกว่าAthlon Classicและยืดหนุ่นต่อการติดตั้งและอัพเกรดได้ง่ายเช่นออกแบบให้คอมพิวเตอร์มีขนาดเล็กลง หรือใช้งานในโนตบุ๊ค จากรูปจะเห็นว่าตัวแกนหลักหรือCoreซีพียูจะอยู่ข้างนอก เพื่อเพิ่มการระบายความร้อนไปยังฮีทซิงค์ได้สะดวกขึ้น คล้ายคลึงกับเพนเทียมทรีCoppermineของอินเทล คุณสมบัติของAlthon ThunderBird แค่ชื่อมันก็กินขาดแล้วครับ ฉายาของซีพียูตัวนี้มันเยอะด้วยตั้งแต่ นกย่าง.... นกไหม้....นกไฟแรง... นกเปลวไฟ.... นกเพลิง...วิหคเพลิง อิ อิ อิT-birdตัวนี้มันเหมือนกับAlthon Classicเดิมล่ะครับ แต่ต่างกันการผลิตเล็กลง0.18ไมครอน ทำให้สามารถรวมแคชL2 256Kความเร็วเท่ากับซีพียูลงในแกนเดียวกันเลยและรูปร่างหน้าตาเปลี่ยนไปจากสล็อตมาเป็นซ็อกเก็ตดังรูปข้างล่างข้างครับ Socket-462 รูปแบบSocketA-462ขา Althon รุ่นใหม่จะใช้การเชื่อมต่อแบบSocket-462หรือที่เรียกกันว่าซ็อกเก็ตAจำนวนขาไม่เหมือนกับซีพียูในตระกูลอินเทลที่ใช้ซ็อกเก็ต370 เมนบอร์ดที่สามารถใช้กับAlthon TBได้ต้องเป็นเมนบอร์ดที่ใช้ชิพเช็ตVIAรุ่น KT-133,KT-133A,KT-266 หรือใหม่กว่าเท่านั้นหรือผู้ผลิตรายอื่นอย่างsis ALi ,Nvidiaที่จะผลิตเมนบอร์ด+กราฟฟิกสำหรับซีพียูแอรลอนด้วย เป็นต้น แพกเก็ตแบบซ็อกเก็ต462ขา แกนธันเดอร์เบิร์ด ออกแบบใหม่ทั้งเพิ่มประสิทธิภาพ เพื่อลดต้นทุนกระบวนการผลิต ออกแบบการระบายความร้อนแบบใหม่เช่นเดียวกับIntel Coppermine แอรลอนMP แกนหลักpalomino ซ็อกเก็ตAแต่ระบบบัส266MHz ตารางการดูรหัสซีพียูแอรลอนครับ สำหรับสถาปัตยกรรมของ
AMD Thunderbird นั้นดังรายละเอียดต่อไปนี้ ประสิทธิภาพ อุปกรณ์ที่ใช้ในการทดสอบประสิทธิภาพซีพียูและโปรแกรมที่เทสมีตามนี้ครับ Athlon Classic 650,700MHz Athlon Thunderbird 700,750,800MHz Intel PentiumIII Coppermine 667EB,733EB เมนบอร์ดAsus A7Mชิพเช็ตKX133 AsusA7v KT133และAsus ชิพเช็ตi815 Micron 128Mb PC-133 Gforce2 GTS 32Mb DDR Quake 3 Arena Demo001 Expendable Demo 3D Studio Max I Quake III เพนเทียมทรีกับAthlonมีประสิทธิภาพใกล้เคียงกัน เนื่องจากผมยังไม่ได้ลงไดร์เวอร์Via 4 in 1เลยเป็นอย่างที่เห็นครับหากลงไดร์เวอร์เมนบอร์ดแล้วAthlonให้ประสิทธิภาพสูงกว่าแน่นอนครับ เมื่อเทียบกับAthlonClassic700Mhz กับTB700 Mhz TBเร็วกว่านิดหน่อย และสูสีกับPentiumIIIไล่ๆกันเลยครับ 3D Studio Max1 เป็นการทดสอบการคำนวณFPUของซีพียูแต่ละตัว จะเห็นAthlonชนะPentiumIIIทุกตัวและคะแนนห่างกันไม่ติดฝุ่นแล้วครับ และหากใช้งาน3D StudioMax2 ก็จะให้ผลออกมาเช่นเดียวกันคือAthlonชนะขาดครับ Althon รุ่นใหม่ให้ประสิทธิภาพสูงกว่าซีพียูเพนเทียมทรีcoppermineของอินเทลส่วนใหญ่ และการใช้งานทั่วไปกับการเล่นเกมส์3D เหนือกว่าเล็กน้อย ในราคาที่ถูกกว่า แต่หากใช้งานใน3D StudioMax เมื่อเทียบเฟรมเรต/ชั่วโมงแล้ว Althon TBทำความเร็วทิ้งห่างเพนเทียมทรีกันอย่างไม่เห็นฝุ่น เพราะประสิทธิภาพของFloting Pointหรือ FPS รุ่นใหม่ของAlthonและสถาปัตยกรรมEV-6เหนือกว่าของอินเทลมาก ในราคาซีพียูที่ถูกกว่ากัน20-30% หากมีการใช้เมนบอร์ดและลงไดร์เวอร์เหมาะสมก็จะให้ประสิทธิภาพสูงกว่านี้อีก และราคาซีพียูถูกกว่าPentium IIIด้วย สรุปเป็นซีพียูที่คุ้มค่าน่าซื้อมาใช้งาน
สิ่งจำเป็นในการใช้ซีพียูAlthon TB เพราะAlthon มีความเร็วสูงกว่า และประสิทธิภาพสูงกว่า ยิ่งรวมแคชL2ขนาด256k ความเร็วเดียวกับซีพียูลงแกนเดียวกัน และการใช้กำลังงานหน่วยวัตต์มากกว่าเดิม ทำให้ซีพียูAlthon มีความร้อนสูงกว่าเดิมมาก เมื่อเทียบกับซีพียูของอินเทลเพนเทียมทรีความเร็วเดียวกันAlthon ผลิตความร้อนสูงกว่า ดังนั้นการระบายความร้อนด้วยฮีทซิงค์ใหญ่ๆและการใช้ซิลิโคนประสานนำความร้อนจึงสำคัญอย่างมาก เพราะหากไม่มีการระบายความร้อนที่เหมาะสมเพียงพอซีพียูอาจจะร้อนจัดจนไหม้ได้ครับ นี่เป็นที่มาของคำว่า นกย่าง... ถึงยังไงก็ดี ไม่ว่าจะใช้งานกับอินเทลหรือธันเดอร์เบิร์ด หากไม่ใส่ใจกับการระบายความร้อนที่ดี ใช้ฮีทซิงค์ผิดประเภทไม่เหมาะสมกับซีพียูที่ใช้ยังไงซีพียูก็มีโอกาสไหม้ได้เท่าๆกันล่ะครับ ที่ความเร็ว 800MHz 1.75โวลต์ เท่ากัน AMD Thunderbirdกินพลังงานสูงกว่าอินเทลCoppermine นั่นคือร้อนกว่าครับ จึงจำเป็นที่ต้องเลือกฮีทซิงค์ระบายความร้อนดีๆตัวใหญ่ พัดลมที่ให้กำลังลมแรงเพื่อยืดอายุการใช้งานซีพียูด้วยครับ ตารางคุณสมบัติของซีพียูAthlon Thunderbird |
CPU
Specification Comparison
|
||||||||
AMD Athlon
|
||||||||
Core |
Thunderbird
|
|||||||
Clock Speed |
750 - 1200 MHz
|
|||||||
L1 Cache |
128KB
|
|||||||
L2 Cache |
256KB
|
|||||||
L2 Cache speed |
core clock
|
|||||||
L2 Cache bus |
64-bit
|
|||||||
System Bus |
100 MHz DDR
(200 MHz effective) EV6
|
|||||||
Interface |
Socket-A
Slot-A (OEM only) |
|||||||
Manufacturing Process |
0.18 micron
|
|||||||
Die Size |
120mm^2
|
|||||||
Transistor Count |
37 million
|
สรุป
นกย่าง.... นกไหม้....นกไฟแรง... นกเปลวไฟ.... นกเพลิง...วิหคเพลิง อิ อิ อิ
© Copyright 2000-2001. MUHN-Computer. All Rights Reserved. WebMaster |