12/3/2000
ตอนนี้มุนไม่ได้ทำการปรับปรุงโฮมเพจเลย หน้าตายังเดิมๆอยู่ เพราะว่า เมนบอร์ดส่งซ่อม ไม่มีวี่แววจะซ่อมเสร็จ จึงหาเมนบอร์ดสำรองมาใช้ไม่ได้ และไฟล์ของมุนหายอีกแล้วครับ ต้องเอาส่วนที่Backupของเก่ามาเขียนใหม่หมด และเรียนไปทำงานไปด้วยเวลาว่างจึงมีเฉพาะหลังตี 2แง๊..... และมุนมีโครงการปรับปรุงโฮมเพจอีกทีครับ และเตรียมซื้อซีพียูเซลเลอลอน 466MHz มาใช้งาน และอาจโอเวอร์คล็อก 1ขั้นทีบัส 75MHzเป็น525MHzด้วย เดิมตั้งใจใช้รุ่น500MHz แต่ราคาเกินงบครับ และเพิ่มแรม64Mb ฮาร์ดิสก์ 3.2GB ก็อยากได้เพิ่มครับ อา...ทุกอย่าง money money เงินเท่านั้น...
เดี๋ยวนี้ความเร็วซีพียูเพิ่มขึ้นอย่างมาก ปลายปี 1998-ต้นปี1999 ซีพียูยังอยู่ที่ระดับ
350MHzอยู่เลย บัดนี้ความเร็วถึงระดับ 1GHz (1000Mhz)ออกมาให้ใช้ได้กันแล้ว ลดขนาดลงเหลือ
0.18ไมครอน ต้นเดือนมีนาคมปี 2000 โดยAMDครับ ไม่ใช่อินเทล เพราะจากการเปิดตัวซีพียูแอรลอน
(Arthon) รุ่นSlotA 500MHzจนถึง1GHzเป็นรายแรก มุนเองติดตามข่าวคราวอยู่ตลอด รู้ว่าอินเทลกับเอเอ็มดีทำสงครามกันผลัดกันรุกรับ
แม้อินเทลจะเปิดตัวเพนเทียมทรีรุ่น 0.18ไมครอน รหัสการผลิต Coppermine มีแคช256Kบนชิพเหมือนเซลเลอลอน
ระบบบัส2รุ่น ทั้ง 100MHzและ133MHz จนล่าสุดเปิดตัวซีพียูถึง 1GHzเช่นเดียวกัน
แต่AMDชิงเปิดตัวตัดหน้าก่อน3วัน จะผลิตเป็นรุ่นปริมาณจำกัด และผลิตออกมาขายทั่วไปราวๆเดือนมิถุนายนทั้งซีพียูของอินเทลและเอเอ็มดี
ดูแล้วเห็นได้ชัดว่า AMDมีศักยภาพการผลิตและเปิดตัวผลิตภัณท์ได้ชัดเจนดีกว่าอินเทล
และวันสาธิตซีพียูแอรลอนยังนำเอา1.12GHzมาโชว์ให้ดูจะๆ อินเทลยังออกเป็นกระดาษแผ่นใสแสดงอยู่
หมายความว่า AMD มี1GHzอยู่ล่วงหน้านานแล้ว พร้อมเปิดตัวในเวลาที่ต้องการ มีช่วงหนึ่งอินเทลอยุดสายการผลิตซีพียูลงในต้นเดือนกุมภาพันธ์ทำให้ซีพียูขาดตลาด
คือ เปิดตัวความเร็วสูงๆแต่ยังไม่มีของมาให้ดูและวางขายแบบจำนวนจำกัด น่าเกลียดนะครับ
โอย แค่500MHzมุนยังเอาไปใช้ทั่วๆไป ทำอะไรบ้างยังไม่หมดเลย 1GHzนี่เอาไว้เล่นเกมส์กับ
งาน 3D เฉพาะด้าน หรือไม่สำหรับคนเงินเหลือซื้อหาใช้กัน แต่ว่าซีพียูแอรลอนต้องใช้เมนบอร์ดสล็อตA
ซึ่งระบบบัสแบบEVA 200MHzของAlpha ต่างจากของอินเทลระบบบัส GPL+ จึงจำเป็นต้องใช้เมนบอร์ดสำหรับซีพียูประเภทนี้
ส่วนซีพียูของอินเทลทำออกมา 2แบบในรุ่นสายการผลิต 0.18ไมครอน คอปเปอร์มายส์ ทั้ง
Slot1 Slot2สำหรับเซิร์ฟเวอร์ และFC-PPGA 370 pin ซึ่งแบบFC-Chip PPGA เหมือนกับซีพียูเซลเลอลอน
แต่ใช้กับเมนบอร์ดรุ่นใหม่ชิพเซ็ต i810E ขึ้นไปเท่านั้น i820ก็มีปัญหาเรื่อง หน่วยความจำแรมบัสเมื่อใส่ครบ
3แถวจึงเลื่อนการวางขายเมนบอร์ดไป และยกเลิกไปแล้ว เนื่องจากแรมบัสราคาแพงกระฉูด
64Mb ราคา2หมื่น แม้มันเร็วกระฉูด แต่เร็วตอนเล่นเกมส์ความระเอียดสูงๆ ถึงวางขายเมนบอร์ด
i820ได้ แต่ต้องใช้ตัวแปลงSDRAMให้ใส่ RIMM Slotนั้นได้ ราคาก็4-5พันกว่าๆ ไม่คุ้มเลยครับ
เหตุที่FC-Chip นั้นใช้กับบอร์ด Socket370เดิมไม่ได้ เพราะ ทางเดินสัญญาณขาซีพียูไม่เหมือนกัน
แม้มีขา370ขาเท่ากัน เปิดไปเครื่องก็แน่นิ่ง ไม่ยอมทำงาน หากจะใช้งาน ต้องหาอะแดปเตอร์แปลง
FC-ChipลงSlot 1รุ่นที่2เท่านั้น ความเร็วเริ่มต้นที่ 500MHzครับ ไปจนถึง 1000Mhz
แต่ก็มีกระแสโอเวอร์คล็อกตามมาอีกว่า Coppermine โอเวอร์คล็อกได้สุด โดยเฉพาะรุ่น
500E-550E,550EB สามารถโอเวอร์คล็อกไปมากกว่า 750MHzโดยมีเสถียรภาพ ความร้อนเกิดขึ้นน้อยลงมากและขนาดการผลิตเล้กลงกว่า0.25ไมครอนไปที่0.18ไมครอน
แรงดันไฟซีพียูลดลงอยู่ที่ 1.6โวลต์ จึงโอเวอร์คล็อก ได้สูงขึ้น ซีพียูแอรลอน สามารถโอเวอร์คล็อกได้ดีมาก
ใช้สถาปัตยกรรมใหม่หมดและทำให้ผลิตซีพียูความเร็วสูงกว่าเดิมและสามารถโอเวอร์คล็อกได้ดีด้วย
แต่หากโอเวอร์คล็อกโดยวิธีเพิ่มความเร็วระบบบัสเหมือนอินเทล ประสิทธิภาพไม่เพิ่มขึ้นมากเลย
เพราะระบบบัสของแอรลอนใช้ระบบบัสของAlpha EVA ที่ใช้งานกับ Slot A ไม่เหมือนกับระบบบัสGPL+ของอินเทลที่ใช้การส่งสัญญาณขาขึ้นลงเท่ากันระหว่างซีพียูกับชิพเซ็ต
การโอเวอร์คล็อกระบบบัสของอินเทลจึงทำได้สูง แต่ระบบบัส Alpha EVAไม่ค่อยจะชอบยอมรับการโอเวอร์คล็อกแบบนั้น
และแม้จะใช้ระบบบัส 100MHz ระหว่างหน่วยความจำกับซิพเซ็ตแต่การรับส่งข้อมูลระหว่างซีพียูกับตัวซิพเซ็ต
จะมีการส่งสัญญาณทั้งขาขึ้น-ลงเป็น200MHzหากเพิ่มความเร็วระบบบัส 133MHzความเร็วบัสEVAซิพเซ็ตกับซีพียูอาจสูงถึง266MHzเลยช่วงแรกๆซิพเซ็ตยังไม่สนับสนุนครับ
จึงมีคนหาทางเปลี่ยนตัวคูณ แรงดันไฟบนซีพียู SlotA โดยบัดกรีเปลี่ยนตัวต่านทาน
ตัวเก็บประจุให้สามารถโอเวอร์คล็อกได้ แต่ประกันเป็นอันหมดลง เพราะต้องเปิดฝาบัดกรีเลย
ตอนหลังๆก็ทำการ์ดดิพสวิตซ์ ปรับแรงดันไฟ ตัวคูณซีพียู ความเร็วแคชระดับสอง ทำให้โอเวอร์คล็อกซีพียูแอรลอนได้ปลอดภัยขึ้น
เมื่อถอดการ์ดออก ความเร็วก็กลับไปอยู่ที่ค่าตั้งจากโรงงานตามปกติ ถึงซีพียูแอรลอนแรกๆยังใช้ขนาดการผลิต
0.25ไมตรอน แรงดันไฟน้อยลงใช้ที่ 1.65โวลต์ และประสิทธิภาพสูงกว่าซีพียูอินเทลcoppermineไม่มาก
หลังจากรุ่น 750MHzใช้การผลิต 0.18ไมครอนแล้วคือสามารถโอเวอร์คล็อกได้ความเร็วสูงกว่าเดิม30เปอร์เซนต์
และอาจเร็วกว่าเดิม50เปอร์เซนต์เหมือนซีพียูเซลเลอลอน300A@450
AMD มีแผนจะเปิดตัวแอรลอนแบบมีแคช256Kความเร็วเท่าซีพียู ออกมา และแอรลอนแบบซ็อกเก็ต417ขาแคช128Kความเร็วเท่าซีพียูในตัวเช่นกัน
เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพมากขึ้น ใช้งานโน็ตบุ๊คและแข่งกับซีพียูเซลเลอลอน โดยมีหน่วยความจำแคชระดับ
2ออนดายน์ 128Kความเร็วเท่าซีพียูเช่นเดียวกับเซลเลอลอน แต่สถาปัตยกรรมใช้ของแอรลอน
แน่นอนว่าย่อมให้ประสิทธิภาพที่ดีกว่าเห็นได้ชัดต้องใช้เมนบอร์ดสำหรับซ็อกเก็ตAตามด้วย
แต่อินเทลกำลังเตรียมจะเปิดตัวเซลเลอลอนที่ใช้สถาปัตยกรรมคอปเปอร์มายส์ 0.18ไมตรอนเช่นเดียวกัน
และใส่คำสั่งSSEลงไป ถึงจะมีการเปิดตัวซีพียูความเร็วสูงใหม่ๆ 2ค่าย จำเป็นต้องเปลี่ยนหรือหาเมนบอร์ดสนับสนุนด้วย
อินเทลค่อนข้างจะได้เปรียบทางการตลาดเพราะกรุยทางมาก่อนซีพียูเปิดตัวมาก่อนมีเมนบอร์ดหลายยี่ห้อสนับสนุนมากกว่า
ทำให้ผู้ซื้อสามารถหาเลือกใช้งานง่าย แต่AMDต้องใช้เวลาสักระยะหนึ่ง จึงจะได้รับการยอมรับทางการตลาด
ICQ
16489378
email to