17/3/2000

ซีพียูความเร็วสูงๆตระกูลใหม่ออกมาวางขายกันแล้ว ทั้งแอรลอน เพนเทียมทรีคอปเปอร์มายส์ ไซริกส์3ของVIA ที่กำลังมาแรงมากคือแอรลอนครับราคายังคงสูงมาก และสินค้าขาดตลาดทำให้ราคายังคงแพงอยู่ ส่วนซีพียูเซลเลอลอนและ K6-2ยังคงนิยมสำหรับผู้ทุนน้อยเบี้ยน้อยอยู่ K6-3นั้นตอนนี้ทางAmdยกเลิกการผลิตสำหรับเครื่องแบบตั้งโต๊ะไปแล้ว เพราะราคาใกล้เคียงแอรลอน 500MHzกับการตจลาดไม่ต้องการซีพียูรุ่นK6-3มากจึงเปลี่ยนการผลิตเป็นสำหรับโน๊ตบุ๊คแทน และผลักดัน k6-2+500-550MHz ซึ่งมีแคชระดับสอง 128Kรวมลงไปวางตลาดแทน ณ วันนี้ 15มีนาคม 2543 ซีพียูระดับ 450MHzขึ้นไปยังนิยมใช้กันเป็นมาตรฐานทั่วๆไปครับ ถึงความเร็ว 1 GHz ออกมาแล้วก็ตาม และความเร็ว900MHz ยังมาไม่ถึงเมืองไทย ยังขายรุ่น700-850MHz อยู่ทั้งรุ่นบัส 100MHzและ133MHz เท่าที่มุนดูๆแล้ว ระบบบัส133MHzให้ประสิทธิภาพไม่ห่างกันเลยกับ 100MHz ตอนเล่นเกมส์เฟรมเรตต่างกันไม่เกิน 5-10 เฟรม ใช้งานทั่วๆไปแทบไม่รู้สึกว่าเร็วกว่าเลย แม้ว่าจะเปลี่ยนมาใช้การ์ด G-Force ที่ความละเอียดสูงๆ ประสิทธิภาพของซีพียูระบบบัส100กับ133MHzไม่กินกันได้ลงครับ ราคาดันกลับต่างกันเลย …ว้า…Lถ
มุนเห็นว่าซีพียูที่น่าเลือกซื้อในระดับล่างยังเป็น K6-2 450MHz และ500MHz สำหรับซ็อกเก็ต7อยู่ และน่าซื้อรองลงมาคือ ซีพียูเซลเลอลอน 466Mhz กับ500MHz สำหรับผู้ใช้บอร์ดสล็อตวันและซ็อกเก็ต370 ราคาซีพียูยังใกล้เคียงกันมาก อยู่ที่ประมาณ 3200-4600 บาทและราคาจะลดลงเรื่อยๆ เพราะซีพียูความเร็วสูงออกมาวางขายกันมากขึ้น เป็นการเปลี่ยนมาตรฐานความเร็ว กับลดราคาลงมาเพื่อเปิดโอกาสให้ซีพียูรุ่นใหม่ตีตลาด ใช้เมนบอร์ดซ็อกเก็ต7 สำหรับK6-2 กับสล็อตวันและซ็อกเก็ต370สำหรับซีพียูเซลเลอลอน หากนำไปใช้งานในระดับทั่วๆไป นับว่าความเร็วนี้เหลือเฟือจริงๆครับ หากจะโอเวอร์คล็อกก็สามารถไต่ได้ 2ระดับ ความเร็วเพิ่มขึ้นในระดับที่น่าพอใจ ความร้อนไม่สูงมาก และสามารถใช้งานได้มีเสถียรภาพ โดยความเร็วระบบบัสที่ 75MHzสำหรับเซลเลอลอนและ 103,112MHzสำหรับK6-2 แต่ควรเพิ่มระบบระบายความร้อนด้วยครับ จะได้ยืดอายุการใช้งานไปได้นานๆ
ส่วนระดับปานกลางถึงระดับสูง
เห็นได้ว่าเพนเทียมทรีรุ่น 500MHzขึ้นไปยังน่าเลือกใช้ โดยเฉพาะรุ่นCoppermine 0.18ไมครอน แคชระดับ2 256Kความเร็วเท่าซีพียู ชุดคำสั่งSSE เหมือนกับเพนเทียมทรีรุ่นเดิม ทั้งแบบSEEC2 กับ FC-PPGAแต่รุ่นFC-PPGAจำเป็นต้องมีslocketแปลงใช้งานลงในบอร์ดสล็อตวันครับเมนบอร์ดที่ใช้ได้กับFCรุ่นนี้คือรุ่น 810Eขึ้นไปเท่านั้น
ซีพียูแอรลอน ก็มีให้เลือกตั้งแต่ 500MHz-900MHz (500-700MHzใช้รุ่น0.25ไมครอน 750MHzขึ้นไปใช้0.18ไมครอน) ที่วางขายล่าสุดในเมืองไทย) ราคาถูกกว่าของอินเทล 25 % ประสิทธิภาพดีกว่า และสนับสนุนซอฟต์แวร์3D-Nowที่ออกมาก่อนหน้านั้น แต่ว่าต้องใช้เมนบอร์ดสำหรับแอรลอนด้วย ราคาพอๆกับเมนบอร์ดสล็อตวันครับ แล้วแต่ว่าผู้ซื้อจะเลือกใช้งานกับซีพียูตัวไหน หากเป็นมืออาชีพ งานอนิเมชั่น 3D นักเล่นเกมส์ เลือกความเร็วสูงสุดในท้องตลาดเลยก็ได้ครับ หากงบน้อยแต่อยากใช้เล่นเกมส์3Dราคาประหยัดคุ้มค่าหรือใช้งาน3Dอื่น เลือกรุ่น 500MHz-650MHzของAMD หรือIntelก็ได้ ตามงบประมาณ แล้วหาการ์ดVGA G-Force มาใช้ ลดกำลังการคำนวณของซีพียูด้านแสง-เงา (Transform-Lithing) ลงให้การ์ดช่วยคำนวณ เกมส์จะเล่นได้ไหลลื่นขึ้น ด้วยฮาร์ดแวร์ของการ์ด หากเงินเหลือพอ เอามาเพิ่มแรมสัก128-256Mb ก็ได้ครับ เหลืออีกก็ซื้อออพชั่นเพิ่มเติม เช่นZip อุปกรณ์สำรองข้อมูล อื่นๆได้อีก เพราะราคาซีพียูค่อนข้างสมน้ำสมเนื้อแล้วในเวลานี้ หรือจะซื้อcoppermine500E-550E แล้วโอเวอร์คล็อกไม่เกิน600MHz มาใช้เล่นเกมส์ก็ได้ แต่ต้องระบายความร้อนด้วย …ซื้อมาแพ๊ง..แพง อิ อิ
หรือประหยัดที่สุดจะใช้ซีพียูเซลเลอลอน 433MHzโอเวอร์คล็อกระบบบัส 75MHzไปที่ 487.5MHz กับการ์ดG-Force และ แรม128Mb ก็ได้ ถ้าต้องการใช้งานทั่วๆไปกับเล่นเกมส์หรือใช้งาน3D ที่ความละเอียด ไม่เกิน 1024x1078 ความเร็วมากกว่า 30เฟรม การเล่นเกมไหลลื่นตลอดครับ แถมไม่กินแรงซีพียูมาก
แต่กระแสโอเวอร์คล็อกแรงเหลือเกิน เพนเทียมทรีรุ่น 500-550Eสามารถโอเวอร์คล็อกไปเกิน800MHzได้ 733MHz ก็สามารถโอเวอร์คล็อกไปได้สบาย โอเวอร์คล็อกได้มากเหมือนเซลเลอลอนรุ่น 300Aไป 450MHzเลย มุนไม่อยากสนับสนุนการโอเวอร์คล็อกมากเกินไปครับ นอกจากลดอายุการใช้งานซีพียูอย่างรวดเร็วแล้ว เสียเงินด้วย จุดประสงค์แท้จริงของมุนในการโอเวอร์คล็อกคือยืดอายุการใช้งานคอมพิวเตอร์ออกไปอีกนิด ประหยัดค่าใช้จ่ายเพิ่มประสิทธิภาพคอมพิวเตอร์รุ่นเดิมให้ทำงานได้สนองการใช้งานที่ยอมรับได้เท่านั้น กรณีว่า ซีพียูเซลเลอลอน300MHz หากอัพเกรดไปรุ่น 333MHz โดยการเปลี่ยนซีพียูก็คือเสียเงินซื้อ ถ้าโอเวอร์คล็อกไปที่ 300MHzไปที่ความเร็ว337MHz จะเป็นการประหยัดไม่ต้องซื้อซีพียู เป็นการยืดการอัพเกรดออกไป เพราะการใช้งานทั่วๆไปนับว่าเกินพอแล้ว แต่มุนเห็นจุดประสงค์การโอเวอร์คล็อกที่ผิดเพี้ยนไป คือเป็นการสนองตัญหาครับ ไม่ใช่ความต้องการ เพราะความต้องการคือต้องการประหยัดและใช้งานในระดับที่ยอมรับได้และใช้งานต่อไปเรื่อยๆโดยยังไม่อัพเกรดจนกว่าแอฟฟิเคชั่นมันใหญ่เกินกว่าซีพียูจะทำไม่ไหว หรือใช้จนกว่าตกรุ่นนานเกินไป หรือช้าเกินไปแล้วค่อยอัพเกรด หากเห็นว่าเป็นการสนองตัญหาของคนที่ต้องการใช้ความเร็วสูง และเอามาคุยข่มคนอื่น ไม่ว่าหรอกครับ ถ้าเงินหามาเองทำงานหาเงินด้วยตัวเอง และทำเพื่อเป็นการศึกษาหาความรู้และสามารถนำความรู้นั้นเป็นแนวทางในการศึกษา พัฒนาในวงการคอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าชนิดหนึ่ง เป็นหนึ่งในสารสนเทศที่จำเป็นต้องมี มีอายุการใช้งาน มีการเสื่อมราคาตามอายุการใช้งาน เช่นทีวีจอแบนเวก้า14นิ้วกับทีวีสีธรรมดา 14นิ้ว มันก็คือทีวีครับ ใช้ดูข่าวสาร ซีพียูรุ่นไหนๆก็มีจุดประสงค์คือเป็นส่วนหนึ่งของอุปกรณ์คอมพิวเตอร์เอามา ใช้งานกับคอมพิวเตอร์ แต่การกระทำให้เสียเงินและดึงกระแสให้คนอื่นทำตามเพื่อได้มาซึ่งความเร็วสูงนั้น มันคุ้มเหรอครับที่จะทำ ถ้ามีผลประโยชน์แอบแฝงหรือทำให้สะใจอะไรก็ตาม ขอโทษมาในที่นี้ด้วยครับ บางทีมุนรู้สึกผิดที่เห็นบทความที่มุนเขียนขึ้นมาแนะนำวิธีการโอเวอร์คล็อก และบทความของคนอื่น ทั้งๆที่มุนพยายามแนะนำไม่ควรโอเวอร์คล็อกเกินตัวก็ยังมีคนทำสนองตัญหาอีก ขนาดเอามาเขียนเป็นคู่มือวางขาย และขายดีด้วย อยากให้เข้าใจจุดประสงค์ตรงกันด้วยครับ

17/3/2000

ซีพียูความเร็วสูงๆตระกูลใหม่ออกมาวางขายกันแล้ว ทั้งแอรลอน เพนเทียมทรีคอปเปอร์มายส์ ไซริกส์3ของVIA ที่กำลังมาแรงมากคือแอรลอนครับราคายังคงสูงมาก และสินค้าขาดตลาดทำให้ราคายังคงแพงอยู่ ส่วนซีพียูเซลเลอลอนและ K6-2ยังคงนิยมสำหรับผู้ทุนน้อยเบี้ยน้อยอยู่ K6-3นั้นตอนนี้ทางAmdยกเลิกการผลิตสำหรับเครื่องแบบตั้งโต๊ะไปแล้ว เพราะราคาใกล้เคียงแอรลอน 500MHzกับการตจลาดไม่ต้องการซีพียูรุ่นK6-3มากจึงเปลี่ยนการผลิตเป็นสำหรับโน๊ตบุ๊คแทน และผลักดัน k6-2+500-550MHz ซึ่งมีแคชระดับสอง 128Kรวมลงไปวางตลาดแทน ณ วันนี้ 15มีนาคม 2543 ซีพียูระดับ 450MHzขึ้นไปยังนิยมใช้กันเป็นมาตรฐานทั่วๆไปครับ ถึงความเร็ว 1 GHz ออกมาแล้วก็ตาม และความเร็ว900MHz ยังมาไม่ถึงเมืองไทย ยังขายรุ่น700-850MHz อยู่ทั้งรุ่นบัส 100MHzและ133MHz เท่าที่มุนดูๆแล้ว ระบบบัส133MHzให้ประสิทธิภาพไม่ห่างกันเลยกับ 100MHz ตอนเล่นเกมส์เฟรมเรตต่างกันไม่เกิน 5-10 เฟรม ใช้งานทั่วๆไปแทบไม่รู้สึกว่าเร็วกว่าเลย แม้ว่าจะเปลี่ยนมาใช้การ์ด G-Force ที่ความละเอียดสูงๆ ประสิทธิภาพของซีพียูระบบบัส100กับ133MHzไม่กินกันได้ลงครับ ราคาดันกลับต่างกันเลย …ว้า…Lถ
มุนเห็นว่าซีพียูที่น่าเลือกซื้อในระดับล่างยังเป็น K6-2 450MHz และ500MHz สำหรับซ็อกเก็ต7อยู่ และน่าซื้อรองลงมาคือ ซีพียูเซลเลอลอน 466Mhz กับ500MHz สำหรับผู้ใช้บอร์ดสล็อตวันและซ็อกเก็ต370 ราคาซีพียูยังใกล้เคียงกันมาก อยู่ที่ประมาณ 3200-4600 บาทและราคาจะลดลงเรื่อยๆ เพราะซีพียูความเร็วสูงออกมาวางขายกันมากขึ้น เป็นการเปลี่ยนมาตรฐานความเร็ว กับลดราคาลงมาเพื่อเปิดโอกาสให้ซีพียูรุ่นใหม่ตีตลาด ใช้เมนบอร์ดซ็อกเก็ต7 สำหรับK6-2 กับสล็อตวันและซ็อกเก็ต370สำหรับซีพียูเซลเลอลอน หากนำไปใช้งานในระดับทั่วๆไป นับว่าความเร็วนี้เหลือเฟือจริงๆครับ หากจะโอเวอร์คล็อกก็สามารถไต่ได้ 2ระดับ ความเร็วเพิ่มขึ้นในระดับที่น่าพอใจ ความร้อนไม่สูงมาก และสามารถใช้งานได้มีเสถียรภาพ โดยความเร็วระบบบัสที่ 75MHzสำหรับเซลเลอลอนและ 103,112MHzสำหรับK6-2 แต่ควรเพิ่มระบบระบายความร้อนด้วยครับ จะได้ยืดอายุการใช้งานไปได้นานๆ
ส่วนระดับปานกลางถึงระดับสูง
เห็นได้ว่าเพนเทียมทรีรุ่น 500MHzขึ้นไปยังน่าเลือกใช้ โดยเฉพาะรุ่นCoppermine 0.18ไมครอน แคชระดับ2 256Kความเร็วเท่าซีพียู ชุดคำสั่งSSE เหมือนกับเพนเทียมทรีรุ่นเดิม ทั้งแบบSEEC2 กับ FC-PPGAแต่รุ่นFC-PPGAจำเป็นต้องมีslocketแปลงใช้งานลงในบอร์ดสล็อตวันครับเมนบอร์ดที่ใช้ได้กับFCรุ่นนี้คือรุ่น 810Eขึ้นไปเท่านั้น
ซีพียูแอรลอน ก็มีให้เลือกตั้งแต่ 500MHz-900MHz (500-700MHzใช้รุ่น0.25ไมครอน 750MHzขึ้นไปใช้0.18ไมครอน) ที่วางขายล่าสุดในเมืองไทย) ราคาถูกกว่าของอินเทล 25 % ประสิทธิภาพดีกว่า และสนับสนุนซอฟต์แวร์3D-Nowที่ออกมาก่อนหน้านั้น แต่ว่าต้องใช้เมนบอร์ดสำหรับแอรลอนด้วย ราคาพอๆกับเมนบอร์ดสล็อตวันครับ แล้วแต่ว่าผู้ซื้อจะเลือกใช้งานกับซีพียูตัวไหน หากเป็นมืออาชีพ งานอนิเมชั่น 3D นักเล่นเกมส์ เลือกความเร็วสูงสุดในท้องตลาดเลยก็ได้ครับ หากงบน้อยแต่อยากใช้เล่นเกมส์3Dราคาประหยัดคุ้มค่าหรือใช้งาน3Dอื่น เลือกรุ่น 500MHz-650MHzของAMD หรือIntelก็ได้ ตามงบประมาณ แล้วหาการ์ดVGA G-Force มาใช้ ลดกำลังการคำนวณของซีพียูด้านแสง-เงา (Transform-Lithing) ลงให้การ์ดช่วยคำนวณ เกมส์จะเล่นได้ไหลลื่นขึ้น ด้วยฮาร์ดแวร์ของการ์ด หากเงินเหลือพอ เอามาเพิ่มแรมสัก128-256Mb ก็ได้ครับ เหลืออีกก็ซื้อออพชั่นเพิ่มเติม เช่นZip อุปกรณ์สำรองข้อมูล อื่นๆได้อีก เพราะราคาซีพียูค่อนข้างสมน้ำสมเนื้อแล้วในเวลานี้ หรือจะซื้อcoppermine500E-550E แล้วโอเวอร์คล็อกไม่เกิน600MHz มาใช้เล่นเกมส์ก็ได้ แต่ต้องระบายความร้อนด้วย …ซื้อมาแพ๊ง..แพง อิ อิ
หรือประหยัดที่สุดจะใช้ซีพียูเซลเลอลอน 433MHzโอเวอร์คล็อกระบบบัส 75MHzไปที่ 487.5MHz กับการ์ดG-Force และ แรม128Mb ก็ได้ ถ้าต้องการใช้งานทั่วๆไปกับเล่นเกมส์หรือใช้งาน3D ที่ความละเอียด ไม่เกิน 1024x1078 ความเร็วมากกว่า 30เฟรม การเล่นเกมไหลลื่นตลอดครับ แถมไม่กินแรงซีพียูมาก
แต่กระแสโอเวอร์คล็อกแรงเหลือเกิน เพนเทียมทรีรุ่น 500-550Eสามารถโอเวอร์คล็อกไปเกิน800MHzได้ 733MHz ก็สามารถโอเวอร์คล็อกไปได้สบาย โอเวอร์คล็อกได้มากเหมือนเซลเลอลอนรุ่น 300Aไป 450MHzเลย มุนไม่อยากสนับสนุนการโอเวอร์คล็อกมากเกินไปครับ นอกจากลดอายุการใช้งานซีพียูอย่างรวดเร็วแล้ว เสียเงินด้วย จุดประสงค์แท้จริงของมุนในการโอเวอร์คล็อกคือยืดอายุการใช้งานคอมพิวเตอร์ออกไปอีกนิด ประหยัดค่าใช้จ่ายเพิ่มประสิทธิภาพคอมพิวเตอร์รุ่นเดิมให้ทำงานได้สนองการใช้งานที่ยอมรับได้เท่านั้น กรณีว่า ซีพียูเซลเลอลอน300MHz หากอัพเกรดไปรุ่น 333MHz โดยการเปลี่ยนซีพียูก็คือเสียเงินซื้อ ถ้าโอเวอร์คล็อกไปที่ 300MHzไปที่ความเร็ว337MHz จะเป็นการประหยัดไม่ต้องซื้อซีพียู เป็นการยืดการอัพเกรดออกไป เพราะการใช้งานทั่วๆไปนับว่าเกินพอแล้ว แต่มุนเห็นจุดประสงค์การโอเวอร์คล็อกที่ผิดเพี้ยนไป คือเป็นการสนองตัญหาครับ ไม่ใช่ความต้องการ เพราะความต้องการคือต้องการประหยัดและใช้งานในระดับที่ยอมรับได้และใช้งานต่อไปเรื่อยๆโดยยังไม่อัพเกรดจนกว่าแอฟฟิเคชั่นมันใหญ่เกินกว่าซีพียูจะทำไม่ไหว หรือใช้จนกว่าตกรุ่นนานเกินไป หรือช้าเกินไปแล้วค่อยอัพเกรด หากเห็นว่าเป็นการสนองตัญหาของคนที่ต้องการใช้ความเร็วสูง และเอามาคุยข่มคนอื่น ไม่ว่าหรอกครับ ถ้าเงินหามาเองทำงานหาเงินด้วยตัวเอง และทำเพื่อเป็นการศึกษาหาความรู้และสามารถนำความรู้นั้นเป็นแนวทางในการศึกษา พัฒนาในวงการคอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าชนิดหนึ่ง เป็นหนึ่งในสารสนเทศที่จำเป็นต้องมี มีอายุการใช้งาน มีการเสื่อมราคาตามอายุการใช้งาน เช่นทีวีจอแบนเวก้า14นิ้วกับทีวีสีธรรมดา 14นิ้ว มันก็คือทีวีครับ ใช้ดูข่าวสาร ซีพียูรุ่นไหนๆก็มีจุดประสงค์คือเป็นส่วนหนึ่งของอุปกรณ์คอมพิวเตอร์เอามา ใช้งานกับคอมพิวเตอร์ แต่การกระทำให้เสียเงินและดึงกระแสให้คนอื่นทำตามเพื่อได้มาซึ่งความเร็วสูงนั้น มันคุ้มเหรอครับที่จะทำ ถ้ามีผลประโยชน์แอบแฝงหรือทำให้สะใจอะไรก็ตาม ขอโทษมาในที่นี้ด้วยครับ บางทีมุนรู้สึกผิดที่เห็นบทความที่มุนเขียนขึ้นมาแนะนำวิธีการโอเวอร์คล็อก และบทความของคนอื่น ทั้งๆที่มุนพยายามแนะนำไม่ควรโอเวอร์คล็อกเกินตัวก็ยังมีคนทำสนองตัญหาอีก ขนาดเอามาเขียนเป็นคู่มือวางขาย และขายดีด้วย อยากให้เข้าใจจุดประสงค์ตรงกันด้วยครับ

surprise.gif (3432 bytes)กลับไปหน้าแรก

1