ผลการใช้พัดลมซีพียูผิดประเภท

ผลการใช้พัดลมซีพียูผิดประเภท

... เนื่องจากซีพียูรุ่นใหม่จะใช้สายการผลิตที่เล็กลงระดับ 0.18U และมีการเปลี่ยนแพลตฟอร์มจากสล็อตเป็นแบบซ็อกเก็ต และออกแบบการระบายความร้อนแบบเดิมจากที่เคยฝังชิพใต้ซีพียู เปลี่ยนมาเป็นการฝังชิพยื่นออกนอกซีพียูเพื่อที่จะได้สัมผัสฮีทซิงค์ระบายความร้อนได้โดยตรงและดีกว่าแบบเก่าที่ฝังชิพลงไปใต้ตัวกระเบื้องเซรามิคหรือใต้ฝาครอบนำความร้อนที่พบในซ็อกเก็ตแบบเก่า และพื้นที่ชิพซิลิกอนมีขนาดเล็กลงแต่จำนวนทรานซีสเตอร์มากขึ้น ซึ่งเป้นการลดต้นทุนการผลิตแผ่นเวเฟอร์สำหรับชิพซีพียูครับ ตัวชิพแบบใหม่จะมีขนาดไม่เกิน 10ตารางซ.ม.ด้วยซ้ำ

เห็นอะไรไหมครับ บิ่นๆปริๆ..อูวว์...3,700บาท หายวับ

ส่วนที่สัมผัสฮีทซิงค์จะเป็นส่วนที่เป็นชิพนูนยื่นออกมาโดยตรง แต่ข้อเสียที่ตามมาคือ ถ้าใช้ฮีทซิงค์ตัวใหญ่และการล็อกซีพียูที่แน่นเกินไปจะทำให้ซีพียูเกิดแตก หรือซีพียูบริเสียเลยใช้การไม่ได้ เรียกได้ว่าเกิดอาการ.."กินซีพียู"

ดูครับ เฮ้อ... 3700บาทหายไปกับสายลม...

พัดลมระบายความร้อนซีพียูถูกออกแบบให้ใช้กับซีพียูประเภทนั้น และถ้ามีคนนำมาใช้กับซีพียูอีกชนิดหนึ่งทำการดัดแปลงเพื่อให้สามารถระบายความร้อนได้ดีกว่าเดิม แต่ความสูงต่ำของฮีทซิงค์กับซีพียูของแต่ละตระกูลไม่เหมือนกัน พอทำการล็อกซีพียูก็จะแน่นมาก แรงกดที่มากเกินไปทำใช้ชิพที่ยื่นออกมาเกิดอาการบิ่น แตกหัก แน่นอน...คือการรับประกันจากร้านที่ซื้อมาสิ้นสุดทันที... ตัวอย่างที่เห็นได้ชัด มีการนำเอาฮีทซิงค์Golden Orb ที่เป็นกระบอกสีทองๆมีครีบรอบๆเยอะๆ

ก่อนซีพียูแตกและซีพียูแตกหลังใส่พัดลมที่มีแรงกดมากไป...โอวว

ฮีทซิงค์บางตัวที่ออกแบบมาสำหรับซีพียูอินเทลซ็อกเก็ต370 FCPPGA มาใช้งานกับซีพียูของเอเอ็มดีแบบซ็อกเก็ตA 463ขา ทั้งDuron และT-Birdทุกรุ่น และพัดลมตัวนี้มีตัวล็อกซีพียูที่แน่นมากเกินไป แรงกดที่มากเกินไปนี้เมื่อทำการติดตั้งแล้วมีโอกาสสูงมากที่ตัวแกนซีพียูจะเกิดอาการแตก แกนบิ่น จะเกิดทันทีที่ติดตั้ง

จะรู้ได้..พอทำการล็อกหรือปลดล๊อกคุณอาจทราบโดยมีเสียงเหมือนหินบดหรือทรายบด...(ว้ากก)..หรือไม่หลังจากใช้งานและสาเหตุแรงสั่นสะเทื่อนของพัดลมความเร็วสูง ทำให้เหมือนกับตัวซีพียูถูกค้อนกระหน่ำด้วยความเร็วสูง มีสิทธิซีพียูป่นได้เหมือนกัน(พยายามนึกถึงตอนนั่งรถเมล์ขณะกำลังเร่งเครื่อง ก็ได้ครับ) แรงสั่นสะเทือนนี่ล่ะครับเป็นตัวการเร่งให้ซีพียูเกิดรอยร้าวแตกได้ไวขึ้น ยิ่งติดตั้งฮีทซิงค์หลุดขอบเอียงข้างไม่สัมผัสล่ะก็.....โดยมากมักเกิดกับพัดลมฮีทซิงค์รุ่นใหญ่ๆและมีน้ำหนักกดซีพียูมาก ทางแก้ไขคือ ใช้ฮีทซิงค์ให้ถูกกับชนิดของซีพียูนั้นๆ และทำการติดตั้งพัดลมซีพียูอย่างระมัดระวัง อย่าลืมว่าชิพบนซีพียูที่ยื่นออกมา นั้นมันเล็กพอสมควรเล็กกว่าตัวฮีทซิงค์อันเบ่อเร่อ...พูดง่ายๆไม่ควรหนักมือครับและก่อนที่จะติดตั้งพัดลมระบายความร้อนซีพียู ก็ควรดูคู่มือวิธีการใช้ให้แน่ใจและสอบถามช่างเทคนิคที่ชำนาญเฉพาะด้านให้แน่ใจก่อน

หากติดตั้งแล้วรู้สึกว่าตัวล็อกล็อกยากลำบากผิดปกติ ไม่ควรทำต่อไป ไม่เพียงแต่ฮีทซิงค์ที่กล่าวมา ตัวอื่นก็มีสิทธิ์ได้เหมือนกัน ถ้าไม่มีการนำมาดัดแปลงหรือโมดิฟลายก็ไม่น่าห่วงมาก แต่การติดตั้งไม่ถูกวิธีและตัวฮีทซิงค์ไม่สัมผัสซีพียู เกิดเอียงข้างใดข้างหนึ่ง ไม่ตรงอาจทำให้ไม่ระบายความร้อนมากเท่าที่ควรจะเป็นมีผลให้เกิดความร้อนสูงซีพียูมาก จนซีพียูไหม้ได้ครับ และหน้าสัมผัสซีพียูต้องแนบสนิทจริงๆ เพราะพื้นที่สัมผัสชิพรุ่น 0.18ไมครอนเหลือเพียงประมาณ 100ตารางมิลลิเมตร เล็กกว่า0.25ไมครอนมาก และใช่ว่าความร้อนจะลดลงด้วย

จริงอยู่ที่เว็บต่างๆกล่าวไว้ว่า ความร้อนของกระบวนการผลิต 0.18ไมครอนทำให้ความร้อนน้อยลง แต่อัตราการเกิดความร้อนต่อหน่วยพื้นที่มีมากตาม ยิ่งพื้นที่เล็กมากเท่าไหร่ พลังงานความร้อนที่เกิดในหน่วยพื้นที่ ย่อมมากขึ้นตามเท่านั้น ลองนึกถึงหัวแร้งบัดกรีก็ได้ครับ..ที่ปลายหัวแร้งจะมีจุดรวมความร้อน เมื่อให้กระแสไฟฟ้าก็จะเกิดความร้อนรวมกันที่จุดเล็กๆพื้นที่เล็กย่อมมีค่าความร้อนมากกว่าพื้นที่ใหญ่

การป้องกันแกนซีพียูแตก

ในซีพียูตระกูลsocketA ของAMD ดูรอนและธันเดอร์เบิร์ท จะมีปุ่มฟองน้ำกันกระแทกที่มุมทั้ง 4ของซีพียู สามารถหนุนรอบรับการกระแทกของซีพียูได้ระดับหนุ่งแต่สำหรับซีพียูตระกูลsocket370 แพนเทีนททรีหรือเซลเลอลอนคอปเปอร์มายส์ นั้นจะไม่มีปุ่มยางกันกระแทกนั้นได้ หากจะทำปุ่มยางกันกระแทกเองไว้ใช้กับซีพียูตระกูลsocket370ก็ไม่ใช่เรื่องยากครับ เพียงหาฟองน้ำมาตัดเป็นฐานบางๆ ก่อนติดตั้งฮีทซิงค์ก็เพียงพอแล้วครับ หรือเอาฟองน้ำมาแปะฮีทซิงค์กันเหนียวก็ดีครับ

ฟองน้ำกันกระแทกเอามารองฮีทซิงค์กันแรงสะเทือนจากพัดลมและหนุนแรงกดของคลิบล็อก ต้องหนาๆถึงจะช่วยได้บ้าง

และควรเลือกฮีทซิงค์ให้เหมาะสมกับชนิดของซีพียูด้วยครับ เพราะ ความสูงของตัวcoreที่ยื่อนออกมาสูงไม่เท่ากัน ของดูรอนและแอรลอนTBจะมีแกนcoreที่สูงกว่าเพนเทียมทรีและเซลเลอลอนเล็กน้อย หากนำฮีทซิงค์สำหรับเพนเทียมทรีที่ออกแบบตัวคลิบล็อกที่แน่นและฐานรองรับต่ำกว่าความสูงของดูรอน จริงอยู่ที่ว่าจะแนบสนิทยิ่งขึ้นแต่รูปแบบการติดตั้งG.orbจะล็อกคลิบโดยการบิดหมุนเกลียว ทำให้แนบสนิทมากขึ้นและเกิดแรงกดมากเกินไปก็มีเปอร์เซนต์สูงมากที่แกนจะแตกได้

นี่คือรูปฮีทซิงค์C.orbและG.orb ตัวขวามือออกแบบสำหรับsocket370ตัวซ้ายมือสำหรับsocketA จะเห็นว่าความสูงที่สัมผัสซีพียูไม่เหมือนกัน

ตัวอย่างที่เห็นชัดเลยคือฮีทซิงค์ตระกูลOrb คือ G.Orbสีทองฐานของซิงค์จะมีการออกแบบมาสำหรับความสูงของแกนcoreเพนเทียมทรีเท่านั้น หากติดตั้งและล็อกคลิบยึดอย่างไม่ระมัดระวังแล้วแรงกดจะมีมากเกินไปจนเกิดcoreแตกได้เกือบทันที ดังรูปบนที่ติดตั้งฮีทซิงค์G.orb เพราะความสูงของcoreซีพียูสูงกว่านิดเดียวเท่านั้น

ทางแก้ไขพอมี คือ หาตัวรองกันcoreแตกของซีพียู ในซีพียูดูรอนและแอรลอนTB จะมีแผ่นทองแดงกันแตก ซึ่งเมื่อติดตั้งลงไปแล้วจะทำให้ฮีทซิงค์ไม่เอียงข้าง และลดอาการแตกขณะติดตั้งหรือถอดฮีทซิงค์ออกมา และสามารถช่วยระบายความร้อนได้เช่นกันเพราะเป็นทองแดง ส่วนแกนกันแตกสำหรับซีพียูเพนเทียมทรีCuก็มีขายเช่นกันครับ
แต่ต้องระวังเรื่องของไฟรั่วด้วย เพราะทองแดงนำไฟฟ้าได้ หากใส่ลงในซีพียูAMD อาจจะโดนขาตัวต้านทาน ตัวเก็บประจุและพยายามอย่าใช้งานร่วมกับซิลิโคนที่นำไฟฟ้าได้ เพราะมันจะลัดวงจรซ็อตไหม้ได้ หากจำเป็นให้ติดกาวก่อน ไม่ให้แผ่นทองแดงขยับเขยื้อน หรือเลือกหาแผ่นรองซีพียูแบบอื่นที่ไม่นำไฟฟ้าแทนแผ่นทองแดง

จากรูปบนคือแผ่นกันซีพียูแตกสำหรับดูรอนครับ ทำจากทองแดง ใช้รองฐานฮีทซิงค์ไม่ให้เอียงที่เป็นสาเหตุของแกนซีพียูแตก


แบบนี้เป็นรุ่นไม่นำไฟฟ้าครับ

การติดตั้งตัวกันcore cpuแตก

และการติดตั้งฮีทซิงค์ถูกวิธีก็มีความสำคัญเช่นกัน หากติดตั้งกลับด้านแล้วนอกจากจะลดประสิทธิภาพการระบายความร้อนแล้วยังอาจทำให้แกนแตกเร็วกว่าเดิม การติดตั้งนั้น ให้สังเกตรอยบากที่ด้านล่างซิงค์จะมีด้านหนึ่งที่ยุบลงไป ให้หันด้านนั้นตรงกับฐานนูนของซ็อกเก็ตซีพียู และติดตั้งคลิบล็อกด้านหลังเข้าร่องซ็อกเก็ตที่อยู่หลังเคสATXก่อน แล้วทำการล็อกด้านหน้าอีกทีด้วยไขควงปากแบนอีกที

การเลือกฮีทซิงค์ให้เหมาะสมกับชนิดซีพียูควรคิดพิจารณาสักนิด ไม่ควรคิดเพียงประหยัดค่าใช้จ่าย เล็กๆน้อยๆเพื่ออายุการใช้งานคุ้มค่าเราควรใส่ใจสักนิด เพื่อซีพียูของเราไม่ให้มีอันเป็นไปก่อนถึงเวลาครับ

surprise.gif (3432 bytes)กลับไปเมนูหลัก new start

กลับไปหัวข้อComputer Turbo


 
 

 
ICQ
16489378


email to

muhn@hotmail.com

กลับไปเมนูหลัก new start

© Copyright 2000-2001. MUHN-Computer. All Rights Reserved.

WebMaster:muhn@hotmail.com

 

 

1