|
โอเวอร์คล็อกComputer ( OVER CLOCK Computer)
|
Overclock เป็นวิธีการที่ทำให้ซีพียูของเราทำงานเร็วสูงกว่าที่กำหนดจากความเร็วเดิม
เช่น ซีพียูเพนเทียมความเร็ว 90 MHz โอเวอร์คล็อกไปเป็น เพนเทียมความเร็วที่
100 MHz โดยซีพียูยังเป็นเพนเทียม 90 MHzตัวเดิมอยู่ ความเร็วและประสิทธิภาพจะเทียบเท่า
จนแทบไม่เห็นความแตกต่าง เมื่อเทียบกับซีพียูความเร็วจริง เตือนไว้อย่างครับ การโอเวอร์คล็อกที่ไม่ถูกวิธีการที่ตั้งไว้ในกติกาการโอเวอร์คล็อก อาจจะทำให้ซีพียูของเราเสื่อมสภาพเร็วกว่าปกติ ภายในอายุการใช้งานซีพียูปกตินั้นเป็น 15 ปี อาจลดลงเหลือ 6-7ปี ขึ้นกับว่าผู้ใช้คอมฯนั้นโอเวอร์คล็อกมากน้อยแค่ไหน การโอเวอร์คล็อกซีพียูมากเกินไป หรือผิดวิธีการก็มีผลกระทบต่อซีพียู และเมนบอร์ดด้วย โดยซีพียูจะเกิดความร้อนสูงขึ้นเกินกว่าปกติที่ซีพียูจะทนได้ และอาจเกิดความเสียหายต่อซีพียูและอุปกรณ์คอมพิวเตอร์อื่นด้วย เพราะซีพียูเป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์วงจรรวมประเภทชิพซิลิกอน มีทรานซิสเตอร์และตัวต้านทานอัดแน่นในวงจรที่พื้นที่เล็กมากๆจำกัดในชิพ ขนาด 10 x 10 ตารางมิลลิเมตร หากเกิดความร้อนสูงจัดเป็นเวลานานวงจรภายในเกิดปฏิกิริยา Electromigration ขึ้น ภายในซีพียูคือเส้นลวดสายไฟอลูมิเนียมขนาดเล็กกว่าเส้นผมมากๆเชื่อมต่อวงจรทรานซีสเตอร์เกิดการไหลของอิเล็กตรอนจนลวดขาดครับ อธิบายยากสักนิดนึงคือลวดที่ว่าเล็กมากขนาดเล็กกว่า 0.35ไมครอน-0.18ไมครอนเป็นปฏิกิริยาที่อิเล็กตรอนถูกเร่งในภาวะไม่ปกติทำให้ลวดตัวนำนั้นเกิดการเปลี่ยนสภาพทำให้นำกระแสอิเล็กตรอนมากขึ้น เกิดช่องว่างในลวดตัวนำและทำให้ลวดตัวนำนั้นขาดได้และและปฏิกิริยาที่ว่า จะเกิดเมื่ออุณหภูมิสูงมาก คือ 80 องศาเซลเซียสขึ้นไป จริงๆแล้วทุกครั้งที่เปิดใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ ปฏิกิริยาที่ว่าเกิดอยู่ตลอดเวลาและไม่ได้เกิดที่เฉพาะซีพียูอย่างเดียวเท่านั้น อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่มีทรานซีสเตอร์ ตัวต้านทาน และตัวเก็บประจุรวมกันอย่างชิพการ์ดแสดงผล ภายในไอซีต่างๆ หรือLSI ก็สามารถเกิดปฎิกิริยา Electromigrationได้เช่นกันครับ แต่กว่าจะถึงจุดที่ลวดตัวนำ0.35ไมครอนนั่นเสียคุณสมบัติแล้วแต่ผู้ผลิตทำการป้องกันหรือกำหนดอายุการใช้งาน ส่วนใหญ่กำหนดว่า อายุการใช้งานไม่ต่ำกว่า 10 ปีโดยใช้การระบายความร้อนแบบธรรมดาไม่มีพัดลม และการโอเวอร์คล็อกเร่งปฏิกิริยาให้ไวขึ้นจะลดอายุการใช้งานจาก12ปีเหลือเพียง 7-9ปีหรือต่ำกว่า แล้วแต่ว่าคุณโอเวอร์คล็อกมากน้อยแค่ไหน ครับว่าทำไมอายุการใช้งานซีพียูจึงไม่เกิน15 ปี
เกิดเมื่อซีพียูทำงานในภาวะที่มีอุณหภูมิร้อนจัดเป็นเวลานานๆมาก ก็ส่งผลให้เสื่อมสภาพถึงขั้นเสียหายถาวร เรียกง่ายๆคือ เจ๊งครับ....หึ.. หึ.แน่ใจป่ะ.. ปกติซีพียูถูกออกแบบให้ทำงานได้ที่อุณหภูมิ
-25 ถึง 90 องศาเซลเซียส แต่ควรทำให้ซีพียูนั้นมีอุณหภูมิต่ำกว่า 45 องศาเซลเซียส
ไม่เกิน 55 องศาเซลเซียส เพราะจะได้แน่ใจว่าอุณหภูมิภายในตัวซีพียูบนชิพซิลิกอนจะมีอุณหภูมิต่ำกว่า
80 องศาเซลเซียส เมื่อไหร่ที่ฮีทซิงค์ระบายความร้อนสูงเกิน70-80องศาเซลเซียส
นั่นแสดงว่า ตัวCoreซีพียูร้อนเกินกว่า 90องศาเซลเซียสแล้ว ทำให้อุปกรณ์อีเล็กทรอนิกส์เสื่อมสภาพไวกว่าเดิมเร็วขึ้นอีก
เงื่อนไขของการโอเวอร์คล็อก ใช่ว่าโอเวอร์คล็อกแล้วจะทำให้ประสิทธิภาพของระบบคอมพิวเตอร์สูงเสมอไป
หลังการโอเวอร์คล็อกจะมีปัญหาตามมามากมายถ้าทำการโอเวอร์คล็อกไม่ถูกวิธี
หรือไม่ทำตามเงื่อนไขบางประการ ที่กำหนดกติกาไว้เท่านั้นครับ ไม่นั้นต่อให้ไม่มีปัญหาหลังการโอเวอร์คล็อกก็ยังมีสิทธ์ที่ซีพียูและอุปกรณ์อื่นเจ๊งได้ครับ
และควรให้ความสำคัญกับการระบายความร้อนซีพียูที่สูงมากกว่าเดิมเป็นพิเศษ
เพราะโอเวอร์คล็อกแล้วความร้อนซีพียูจะสูงขึ้นมากเกินกว่าที่ฮีทซิงค์ระบายความร้อนเดิมนั้นใช้ระบายความร้อนซีพียูได้ทัน
ควรจะทำให้ซีพียูเย็นลงที่สุดเท่าที่จะทำให้เย็นลงได้โดยไม่เป็นอันตรายต่อซีพียูและอุปกรณ์รอบข้าง
เย็นมากไปแบบเอาหม้อน้ำหรือใช้Plateterอาจพบปัญหาหยดน้ำเกาะและทำให้ไฟซ็อตได้ แต่ถ้าสำหรับนักเล่นเกมส์หรือนักคอมพิวเตอร์หรือใครคิดว่าไม่สำคัญไม่หยี่หระ...และใช้งานคอมพิวเตอร์ไม่เกิน 3 ปี แล้วจะอัพเกรดใหม่ หรืองบประมาณไม่พอที่จะอัพเกรดความเร็วที่สูงๆได้ การโอเวอร์คล็อกเป็นทางเลือกที่น่าสนใจเช่นกันครับ เพราะจะทำให้ประหยัดเงินค่าซีพียูแพงๆไปได้เยอะทีเดียว และได้ประสิทธิภาพระบบคอมพิวเตอร์เพิ่มขึ้นโดยเสียเงินน้อยที่สุด หรือเสียเงินสำหรับอุปกรณ์เพิ่มเติม เช่น ตัวระบายความร้อนที่ทำให้มีเสถียรภาพขึ้น หรืออาจไม่เสียเงินเลยสักบาท เมื่อเทียบกับประสิทธิภาพที่ได้จากซีพียูเทียบกับความเร็วปกติแล้วไม่แตกต่างกัน....แต่ว่า ต้องโอเวอร์คล็อกมากๆ จึงจะเห็นความแตกต่างและประสิทธิภาพในการใช้งานซีพียูตัวนั้น และเวลานี้มาตรฐานและคุณภาพของอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ขยับไปสูงขึ้น
ทำให้มีโอกาสที่จะสามารถโอเวอร์คล็อกได้มากกว่าเดิมเช่น ใช้SDRAMที่มีช่วงกว้างถ่ายโอนข้อมูล
หรือแบนวิธสูงกว่าEDOแรมและขยับมาตรฐานFSBจาก 66MHzไปใช้ที่ 100MHzและ133MHz
แล้วก็จะปรับเปลี่ยนไปใช้สถาปัตยกรรมrambus DDR ram ทำให้แบนวิธของข้อมูลสูงกว่าเดิม
โอนถ่ายได้เร็วขึ้น และสามารถเพิ่มโอกาสในการโอเวอร์คล็อกได้สำเร็จมีเสถียรภาพขึ้นกว่าเดิม
ฃีพียูAMD.....
ซีพียูIntel.....
General how to Overclocking CPU.... สิ่งที่ควรกระทำเมื่อทำการOverclock CPU....
|
© Copyright 2000-2001. MUHN-Computer. All Rights Reserved. WebMaster |