โอเวอร์คล็อกComputer ( OVER CLOCK Computer) |
อุปกรณ์สำหรับโอเวอร์คล็อกคอมพิวเตอร์ สิ่งพิจารณาอุปกรณ์สำหรับการโอเวอร์คล็อกตามความสำคัญ คือ ซีพียู เมนเบอร์ด แรม ระบบระบายความร้อน สำหรับผู้กระหายความเร็ว การเลือกชนิดของซีพียู
เป็นหัวใจสำคัญในการโอเวอร์คล็อก เลือกใช้ซีพียูที่มีประสิทธิภาพสูง เหมาะสมสำหรับการโอเวอร์คล็อก
ซีพียูความเร็วเดียวกัน รุ่นเดียวกัน แต่จะมีความสามารถในการโอเวอร์คล็อกไม่เท่ากัน
ขึ้นอยู่กับการผลิตจากโรงงานครับ แต่ไม่ควรนำซีพียูรีมาร์คมาใช้โอเวอร์คล็อก
เพราะซีพียูประเภทนี้จะถูกเซตให้มีการโอเวอร์คล็อกอยู่แล้วโอเวอร์คล็อกต่อก็ยิ่งร้อนไปกันใหญ่ขึ้นอีก
หรือไม่สามารถเพิ่มความเร็วได้อีก ซีพียูของอินเทล( INTEL )
ซีพียู ของไซริกซ์ ( Cyrix )
ซีพียูของเอเอ็มดี ( AMD )
ซีพียของบริษัท ไอดีที( IDT )
เหตุที่ซีพียูจากค่ายอื่นที่ไม่ใช่อินเทลโอเวอร์คล็อกยาก เพราะการพัฒนาตามหลังซีพียูของอินเทลเสมอ พวกเขาพยายามออกแบบซีพียูให้มีประสิทธิภาพมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ และราคาถูกกว่า แต่มีปัญหาที่เหมือนกันคือ ความร้อนสูงมากขณะทำงาน เมื่อเทียบกับซีพียูของอินเทลที่มีความน่าเชื่อถือกว่าในประสิทธิภาพ ความร้อนต่ำและเสถียรภาพในการทำงาน มีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าซีพียูเป็นหัวใจของการโอเวอร์คล็อก เมนบอร์ดต้องมีคุณภาพสูง ความเสถียรสูง เพราะหลังการโอเวอร์คล็อก ซีพียูและเมนบอร์ดจะไวต่อสิ่งผิดปกติต่างๆมากขึ้น เช่นสัญญาณรบกวน ความไม่สมบูรณ์สัญญาณนาฬิการะบบบัส หากเป็นเมนบอร์ดเกรดต่ำ ภายหลังการโอเวอร์คล็อก อาจจะทำให้ไม่เสถียรภาพ ทำให้ระบบคอมพิวเตอร์อยุดทำงาน หรือแฮงค์ไม่ทราบสาเหตุบ่อยขึ้น การตัดปัญหาโดยเลือกซื้อเมนบอร์ดมียี่ห้อแบนด์เนมเช่น ASUS Aopen Abit MSI ECS Epox Soltek Gigabyte ฯลฯ จะช่วยทำให้การโอเวอร์คล็อกได้ผลและมีเสถียรภาพขึ้น ถ้าซื้อคอมฯควรเลือกเผื่อกรณีนี้ด้วยครับ เมื่อเราจะอัพเกรดหรือทำการโอเวอร์คล็อก
เมนบอร์ด ควรจะสนับสนุนการจ่ายแรงดันไฟได้กว้าง สำหรับมาตรฐานแรงดันไฟทั่วไปที่สนับสนุนมีระดับ
แรงดันSTD สำหรับเพนเทียมต่ำกว่า133 MHz( 3.3 โวลต์ ) VREสำหรับเพนเทียม133MHzขึ้นไป
( 3.45-3.6 โวลต์ หรือเฉลี่ย 5.2 โวลต์ )สำหรับซีพียูเพนเทียม 6x86 และK5
ถ้าต้องการใช้เพนเทียมMMX, 6x86L, 6x86MX, K6 เมนบอร์ดต้องสนับสนุนแรงดันไฟแบบ
Split Voltage มี 2 ระดับ และในตลาดมีเมนบอร์ดหลายชนิดหลายยี่ห้อ
มีทั้งตระกูลซ็อกเก็ต 7ใช้ชิพเซ็ตอินเทลTX ชิพเซ็ตVIA ชิพเซ็ตอินเทลSis หรือชิพเซ็ตที่สนับสนุนระบบบัส
50-83.3 MHz หรือระบบบัสสูงกว่า เช่น 100MHz ชิพเซ็ตอินเทลBX ZX เป็นต้น
เมื่อความเร็วถูกปรับเปลี่ยนเป็นระบบบัส 133MHz ชิพเช็ตก็ต้องสนับสนุนความเร็วนี้ด้วย รูปแบบเมนบอร์กก็เปลี่ยนมาใช้แบบซ็อกเก็ตอีกครั้งหนึ่งสำหรับซีพียูตระกูลSocket370ที่สนับสนุนบัส 133MHzที่นิยมใช้เป็น VIA694x i810 ,i815E,i815EP ถ้าทำการโอเวอร์คล็อกซีพียูโดยวิธีเพิ่มความเร็วของระบบบัส แรมจะสำคัญมาก เพราะการเปลี่ยนระบบบัส 66MHz เป็นระบบบัส 133MHzจะทำให้การส่งข้อมูล การติดต่อระหว่างซีพียูกับอุปกรณ์ มีความเร็วสูงขึ้น นั่นคือประสิทธิภาพของคอมพิวเตอร์สูงขึ้น ควรเลือกหน่วยความจำแรมที่มีประสิทธิภาพสูง ชนิดที่มีความเร็วในการเข้าถึงข้อมูลต่ำกว่า 60 ns ไม่นั้นหลังการโอเวอร์คล็อกจะแฮงค์บ่อย ควรเลือกแรมชนิดจะให้ดีที่สุดในเมนบอร์ดรุ่นใหม่ๆเวลานี้เลือก SDRAM ไปเลย เพราะแรมชนิดนี้ส่งข้อมูลที่ความเร็วเดียวกับซีพียู สามารถรองรับความเร็วในการทำงานของระบบบัสสูงสุดถึง 100 MHz -133MHz ยี่ห้อแรมมีผลต่อเสถียรภาพในการใช้งาน และควรเลือกยี่ห้อเดียวกันดีกว่า จะได้ลดปัญหาความเร็วแรมและการไม่เข้ากันของฮาร์ดแวร์ เป็นสิ่งที่สำคัญมาก เพราะระบบจะแฮงค์หรือไม่หลังการโอเวอร์คล็อก
ขึ้นอยู่กับความสามารถการระบายความร้อนของซีพียู ดังนั้นจึงต้องใส่ใจเป็นพิเศษ
และแผ่นระบายความร้อนกับพัดลมซีพียูที่ให้มาเป็นมาตรฐานซีพียูนั้นใช้ระบายความร้อนกับซีพียูปกติเท่านั้น
ไม่เหมาะที่จะรองรับกับซีพียูที่ถูกทำการโอเวอร์คล็อก ซีพียูในรุ่นปัจจุบันและรุ่นใหม่
จะใช้เทคโนโลยีการผลิตแบบ0.35 ไมครอน และ0.25ไมครอน ( เช่น เพนเทียม 90ขึ้นไปจนถึงเพนเทียมทู
,เซลเลอลอน, K6, K6-2 3DNOW ) มักไม่พบปัญหามากนัก แต่ถ้าผู้ใช้คอมใช้ซีพียูรุ่นเก่าที่ใช้เทคโนโลยีการผลิตแบบ
0.6ไมครอน ( ซีพียู เพนเทียม60, K5,ไซริกซ์6x86)แน่นอนว่าต้องเปลี่ยนระบบระบายความร้อนหรือเพิ่มให้อีกชุดเพื่อระบายความร้อนได้ดีขึ้น
ภายหลังการโอเวอร์คล็อก แผ่นระบายความร้อนสำหรับซีพียูที่ถูกทำการโอเวอร์คล็อกควรมีขนาดใหญ่เป็นพิเศษ
ไม่มีขายตามร้านคอมพิวเตอร์ทั่วไป และมีขายแต่ขนาดมาตรฐานซีพียูปกติ ควรจะไปซื้อแถวร้านอิเล็คโทรนิกส์ทั่วๆไป
แถวบ้านหม้อ และสั่งทำให้มีขนาดพอเหมาะกับซีพียู และควรติดพัดลมระบายความร้อนไว้ด้วย
เพื่อการระบายความร้อนที่สมบูรณ์มากขึ้น ถ้าซีพียูที่ผู้ใช้คอมซื้อมา มีฮีทซิงค์ติดมาพร้อมกับพัดลมซีพียูในตัวเลย
ไม่สามารถจะเปลี่ยนฮีทซิงค์ระบายความร้อนกับพัดลมได้ง่ายนัก อาจต้องแงะออกมา
ถ้าไม่อยากเสี่ยงงัดแงะมันก็ต้องดัดแปลงเอาเอง หรือให้ช่างคอมช่วยงัดให้
(ระวังนะ) หรืออาจใช้วิธีตัดแผ่นระบายความร้อนที่ติดกับซีพียูด้วยเครื่องมือพิเศษ
หรือไม่ก็ติดตั้งระบบระบายความร้อนในตัวเคสหรือจากในเครื่องออกภายนอกแทน
เพราะภายในเคสเป็นระบบปิดความร้อนที่เกิดขึ้นจากอุปกรณ์ต่างๆภายใน เช่นเกิดจากซีพียู
ชิพเซ็ต วงจรภาคจ่ายไฟบนเมนบอร์ด ฮาร์ดดิสก์ ชิพเร่งความเร็วกราฟฟิก ชิพประมวลผลเสียง
ไดรฟ์ ซีดีรอม การ์ดแฟกส์โมเด็ม ชิพคอนโครลเลอร์SCSI และชิพเร่งความเร็ว
3 มิติ จะถูกระบายความร้อนออกโดยเพาเวอร์ซัพพลายเท่านั้นคงไม่เพียงพอแน่ที่เพาเวอร์ซัพพลายตัวเดียวจะระบายได้หมด
ถ้าคอมพิวเตอร์ของคุณมีอุปกรณ์ภายในครบตามที่ผมเขียน คิดดูครับ อุปกรณ์ความเร็วสูงๆเมื่อทำงานแล้วจะเกิดความร้อนสูงตามมาและการจัดวางจะอยู่ใกล้กันมาก
ก็ควรติดพัดลมดูดอากาศออกอีกตัวหนึ่งและเป่าเข้าเครื่องอีกตัว (ถ้าทำได้)เพื่อที่อุณหภูมิภายในเคสคงที่
หากไม่ติดตั้งพัดลมดูดอากาศออกเมื่อใช้ไปสักพักก็อาจเกิดอาการแฮงค์ได้เพราะความร้อนที่เกิดจากอุปกรณ์จะถูกสะสมให้สูงขึ้นภายในเครื่อง
อากาศที่ร้อนก็หมุนเวียนอยู่ภานในเคสไม่ถูกระบายออก ก็เหมือนกับเป่าลมร้อนภายในเครื่อง
ยิ่งอากาศบ้านเรา ก็ร้อนทุกฤดูอยู่แล้ว ถ้าทำงานในห้องแอร์ก็ไม่เป็นไรมาก
อุปกรณ์คอมพิวเตอร์บางชิ้นไม่ได้ตรวจสอบอุณหภูมิตามมาตรฐานเมืองไทย และทำงานในอุณหภูมิไม่เหมือนบ้านเรา
จึงควรจะใส่ใจข้อนี้ด้วยครับแม้จะไม่ได้โอเวอร์คล็อกซีพียูก็ตาม การติดตั้งพัดลม ถ้าเป็นเคสปกติจะสามารถติดตั้งได้ตัวเดียวนอกจากเพาเวอร์ซับพลาย
ถ้าเป็นเคสแบบ มิเดียมเทาเวอร์( Middle Tower )หรือฟูลเทาเวอร์( Full Tower
) หรือเคสรุ่นใหม่แบบATX ที่ออกแบบเรื่องการระบายความร้อนไว้ จะมีที่ว่างสำหรับติดตั้งพัดลมตัวที่สองไว้ด้วย
ส่วนเคสรุ่นเก่า หรือประเภทวางนอนหรือมินิเทาวเวอร์จะยุ่งยากในการติดตั้งเพราะไม่มีที่สำหรับพัดลม
จึงต้องดัดแปลงเอา โดยเจาะรูหรือหาที่ยึดพัดลมเพิ่มเอง ถ้าซีพียูที่ซื้อมาไม่ได้ติดตั้งฮีทซิงค์หรือแผ่นระบายความร้อนมาตายตัวและพัดลม
สังเกตว่าแผ่นระบายความร้อนกับซีพียูไม่ได้ติดเป็นชิ้นเดียวกัน ยังมีช่องว่างอยู่
ถ้าเราลดช่องว่างระหว่างซีพียูกับแผ่นระบายความร้อน ก็จะช่วยให้สามารถระบายความร้อนได้มากขึ้น
คือให้หน้าสัมผัสมีพื้นที่เพิ่มขึ้น แต่เราเพิ่มพื้นที่หน้าสัมผัสซีพียูนั้นเป็นไปได้ยาก
เพราะมีพื้นที่ซีพียูจำกัดแล้ว แต่ใช้วัสดุหรือน้ำยาพิเศษเรียกว่าซิลิโคน
เพื่อเชื่อมประสานซีพียูกับแผ่นระบายความร้อนให้สนิทกันมากขึ้นทำให้สามารถนำพาความร้อนได้ดียิ่งขึ้น
ซิลิโคนเป็นน้ำยาสีขาวๆมีทั้งหลอดและแผ่น มีขายตามบ้านหม้อ เป็นฉนวน ไม่ต้องห่วงว่าจะซ็อตเมื่อทาเลอะเทอะไปโดนอุปกรณ์อื่นเข้า
ก่อนทาซิลิโคนควรทำความสะอาดหน้าสัมผัสซีพียูกับฮีทซิงค์เสียก่อน และเมื่อติดซิลิโคนแล้วซีพียูกับฮีทซิงค์จะยึดกันแน่น
หากจะเอาออกต้องแงะเอา ถ้าขี้เกียจทาก็หาแผ่นซิลิโคนเอา เพราะติดง่ายกว่า |
© Copyright 2000-2001. MUHN-Computer. All Rights Reserved. WebMaster |