Thermal Conductivies
ค่าการนำความร้อนของโลหะแต่ละชนิด
ถ้าให้โลหะสี่เหลี่ยมจัตุรัสแผ่นหนึ่งมีความหนาd พื้นที่A จะมีการนำความร้อนเป็นQต่อหน่วยเวลาt และอุณหภูมิการนำความร้อนจากAด้านหนึ่งไปยังAอีกด้าน
มีสูตรการคำนวณคือ
Q/T มีหน่วยเป็นWatt
K เป็น kcal/m.s.° C
ค่าการนำความร้อนจะแปรตามชนิดของโลหะ สัดส่วนพื้นที่ของโลหะและความหนา ค่าเดลต้าTจะมีT1-T2 คือความร้อนที่จุดเริ่มต้น(หน้าสัมผัสซีพียู)ไปยังอีกด้านของโลหะ หน่วยเป็นเคลวินมีค่าผลของโลหะแต่ละชนิดดังนี้
Material |
k, W/ m.° C | k, kcal/m.s.° C |
Metals(โลหะ) | ||
Aluminum | 205 |
4.9 x 10-2 |
Brass |
109 |
2.6 x 10-2 |
Copper |
385 |
9.2 x 10-2 |
Iron and Steel | 50 |
1.2 x 10-2 |
Silver |
406 |
9.7 x 10-2 |
Air(อากาศ) |
0.024 |
0.06 x 10-4 |
เห็นได้ชัดว่า โลหะชนิดเงินเป็นตัวนำความร้อนดีที่สุดมีค่าการนำความร้อนถึง406 รองลงมาเป็นทองแดง 385และอลูมิเนียม205ตามลำดับ ส่วนเหล็กนั้นนำความร้อนน้อยในบรรดาโลหะ ที่แสดงในตาราง การจัดทำฮีทซิงค์ระบายความร้อนจึงควรเลือกให้เหมาะสมที่สุด
เงินนำความร้อนและกระแสไฟฟ้า สูญเสียพลังงานต่ำแต่ราคาแพงมาก ทองแดงนำไฟฟ้าและความร้อนได้ปานกลางส่วนอลูมิเนียมนำความร้อนน้อยกว่าทองแดงแต่น้ำหนักเบา การนำโลหะมาทำฮีทซิงค์จำเป็นต้องพิจารณาชนิดโลหะ พื้นผิวหน้าตัด และความหนาของเนื้อโลหะ คือถ้าเป็นโลหะเงินตันนำความร้อนได้ดีที่สุด แต่เทียบกับทองแดงบางและมีครีบเป็นจำนวนมาก ประสิทธิภาพการนำความร้อนของทองแดงมีมากกว่า เพราะพื้นผิวหน้าตัดนำความร้อนมากกว่า ถ้าโลหะมีความตันหรือความหนามาก การนำความร้อนจะช้ากว่าโลหะที่บางกว่า
การเลือกฮีทซิงค์ระบายความร้อนจึงมีความสำคัญ
เพราะหากต้องการให้โลหะรับความร้อนจากซีพียูได้ดีมากที่สุด ควรเลือกตัวรับความร้อนที่เป็นโลหะเงินจะดีที่สุด แต่ราคาค่อนข้างสูงและทองแดงเป็นตัวเลือกที่ดีกว่าเพราะทองแดงมีราคาถูกกว่า แต่กระจายความร้อนไม่ดีเท่าอลูมิเนียมเพราะค่อนข้างอมความร้อน แต่สามารถรับและนำความร้อนได้ดีครับการระบายความร้อนคอมพิวเตอร์ CPU VGA SYSTEM(new)
ICQ
16489378
email to
© Copyright 2000-2001. MUHN-Computer. All Rights Reserved.
WebMaster:muhn@hotmail.com