โอเวอร์คล็อกComputer

( OVER CLOCK Computer)

voodoo3.gif (5362 bytes)

การระบายความร้อนการ์ด VGA By Muhn

การติดตั้งซิงค์ใหม่สำหรับการ์ดVGA ขั้นAdvance

การ์ด VGAสมัยก่อนไม่ได้มีความร้อนสูงเหมือนสมัยนี้และยังเป็นการ์ด 2Dธรรมดาอยู่ แต่เพราะปัจจุบันความต้องการใช้งานคอมพิวเตอร์ทำงานหลายอย่างลักษณะครอบจักรวาล ส่วนใหญ่ผู้ใช้คอมพิวเตอร์ตามบ้านและสำนักงานจะใช้คอมพิวเตอร์เท่าที่จำเป็นเท่านั้น และมีประสิทธิภาพสูงไม่ช้าเกินไป นอกจากพิมพ์รายงานยังใช้งานด้านมัลติมีเดียต่างๆเช่น
ดูหนังฟังเพลงและเล่นเกมส์บนเครื่องคอมพิวเตอร์โดยเฉพาะเกมส์ 3มิติ ทำให้ความร้อนของการ์ดสูงขึ้นกว่าปกติ ขอไม่พูดถึงนับผู้ใช้ระดับมืออาชีพหรือองค์กรครับ เอาผู้ใช้ทั่วไปก่อนครับ
ในปัจจุบันการ์ดVGAรุ่นใหม่ๆมีความเร็วในการส่งข้อมูลสูงกว่าเดิม เพราะใช้บัสAGPเข้ามาช่วย และต้องมีการสนับสนุนมาตรฐานมัลติมีเดียและระบบ3มิติ คือแสดงภาพวีดีโอ ภาพเคลื่อนไหว ทั้ง 2มิติและ3มิต
ิ โดยลักษณะเป็นการ์ด 2D/3D ทำให้ความร้อนของชิพประมวลผลการ์ดนั้นสูงมากกว่าเก่า จึงต้องมีการติดฮีทซิงค์เพื่อระบายความร้อนในรุ่นหลังๆติดฮีทซิงค์เกือบทุกรุ่น และมีพัดลมมาให้ด้วย
ถ้าไม่ทำเช่นนั้น คอมพิวเตอร์ของเราจะทำงานกระตุกมาก ระบบอาจจะแฮงค์และrestartในที่สุด ยิ่งบ้านเราร้อนกว่าเมืองนอกมาก การ์ดก็ยิ่งร้อนเร็วกว่าเดิม ถึงคุณพยายามติดตั้งเครื่องปรับอากาศก็ตาม ยังช่วยไม่ได้มาก ถ้าตราบใดที่ระบบระบายความร้อนของคอมพิวเตอร์ยังมีแค่พัดลมPS ตัวเดียวอยู่มันก็เหมือนกับพัดลมตัวเดียวเป่าลมร้อนภายในห้องอบ ร้อนกว่าเก่าเสียอีก

โดยทั่วไปแล้วตัวการ์ดVGA จะมีการระบายความร้อนได้ดีถึงระดับหนึ่ง และถ้าใช้งานระยะยาวนานและงานที่เกี่ยวข้องกับระบบ 3มิติ โดยเฉพาะเล่นเกมส์กับออกแบบ3D CAD CAM ความร้อนจะสูงขึ้นกว่าเดิมและหากใช้งานติดๆกันนานๆการ์ดจะร้อนจนทนไม่ไหวและทำให้คอมพิวเตอร์แฮงค์ไป ยิ่งถ้าหากคุณไปโอเวอร์คล็อกตัวการ์ดด้วยทำให้ความร้อนสูงกว่าเดิมอีก จึงจำเป็นแล้วที่ต้องปรับปรุงการระบายความร้อนเพิ่มเติม แต่จะทำอย่างไร

วิธีการระบายความร้อนการ์ด 2D/3D

จุดที่เราต้องสนใจการระบายความร้อนมี 3จุดหลักๆคือ ชิพ2D/3D ชิพหน่วยความจำการ์ด ด้านหลังการ์ดตรงชิพ 2D/3D ลักษณะนี้ใช้ได้ทั้งการ์ดที่เป็น PCI และAGPครับ เพราะหลักใหญ่ๆอยู่ตรงนี้

1.ชิพ 2D/3D

จุดที่เราจะต้องทำการระบายความร้อนจะอยู่ที่ชิพ 2D/3D สังเกตได้จากชิพที่ใหญ่ที่สุดบนตัวการ์ด หรือดูที่ฮีทซิงค์แปะไว้ก็ได้ นี่คือจุดที่เราจะทำการระบายความร้อนกับมัน ตัวชิพนั้นอาจมีตัวเดียว หรือมากกว่า2ตัวขึ้นไป การ์ด3Dล้วนๆอย่างเช่น Voodoo1 Voodoo2 นั้นจะมีชิพประมวลผล 2-3ตัว อาจต้องมีฮีทซิงค์ระบายความร้อน2-3อัน เพราะการใช้งานนั้นตัวชิพก็ร้อนมากแล้ว เพื่อยืดอายุการใช้งานจึงควรจะทำครับ

vodo-s.jpg (14758 bytes)

นี่คือลักษณะการแปะฮีทซิงค์ระบายความร้อนการ์ด VoodooII

ทำได้โดยการเปลี่ยนฮีทซิงค์ตัวใหญ่ขึ้นและติดพัดลมให้ระบายความร้อนได้ดีกว่าเดิม และการถอดฮีทซิงค์การ์ดจอนั้นถอดค่อนข้างยากสักนิดเพราะถูกติดด้วยกาวซิลิโคน ก่อนถอดควรเอาไดร์เป่าผมมาเป่าที่ตัวฮีทซิงค์ให้ร้อนพอประมาณ ให้กาวละลายและจับบิดไปๆมาจนฮีทซิงค์หลุดออก และเปลี่ยนฮีทซิงค์ตัวใหม่ลงไป ปัจจุบันการ์ดVGA2D/3D รุ่นใหม่ๆมักมีพัดลมติดมาด้วยหรือมีที่ยึดพัดลมสำหรับติดตั้งพัดลมได้โดยไม่ต้องใช้กาวซิลิโคน แต่จำเป็นต้องใช้ซิลิโคนเป็นตัวประสานระบายความร้อนอยู่ดี ฮีทซิงค์ในท้องตลาดสำหรับการ์ด2D/3Dนั้น เท่าที่ดูๆมามักไม่ค่อยจะมีขนาดใหญ่ตามที่เราต้องการนัก มีแต่ตัวเล็กพร้อมพัดลม และราคาสูง อย่างน้อย300บาทขึ้นไปในเวลานี้
เพราะพัดลมตัวเล็กการติดตั้งไม่เปลืองพื้นที่บดบังสล็อตPCIตัวข้างๆ แต่มันก็ไม่ระบายความร้อนได้เพียงพอเท่าไหร่ ถ้าหากคุณต้องการฮีทซิงค์ตัวใหญ่ๆจริง ก็ทำใจกับการไม่ใช้งานสล็อตPCI แต่ไม่น่าห่วงมากสำหรับเมนบอร์ดที่มีสล็อตPCIมากเพียงพอ และการติดตั้งระบบระบายความร้อนตัวการ์ดใช้ได้ทั้ง PCIและAGP 2D/3D หากคุณไม่ต้องการฮีทซิงค์ขนาดเล็กเพราะดูยังไงก็ไม่มีทางระบายความร้อนได้ดีแน่นอน คุณก็ต้องดัดแปลงเอง ฮีทซิงค์ที่ขนาดพอๆกับชิพการ์ด 2D/3D เท่าที่ดูจะเป็น ซิงค์ ซีพียู486 ตัวนี้สามารถนำมาติดตั้งระบายความร้อนการ์ด 2D/3Dได้ราคาประมาณ50-200บาท แต่ดูๆไปรูปร่างค่อนข้างเทอะทะดังรูป และบังสล็อตPCIแน่นอนไป 1 ช่องแต่สามารถระบายความร้อนตัวชิพ2D/3Dได้ดีกว่าเดิมพัดลมใหญ่ๆนี้ควรหาฟองน้ำมารองพัดลมไว้ด้วยดูท่าทางหนักเอาการ เดี๋ยวมันหล่น หล่นหลุดออกมาจริงๆนะครับ เคยโดนมาแล้ว ฮิ ฮิ

ยังงี้ล่ะครับพอติดตั้งพัดลมตัวใหญ่แล้วอลังการมาก...อิ อิ กลัวหลุด

ถ้าหากคุณจะใช้ฮีทซิงค์ 486จริงๆ ผมแนะนำหาพัดลมตัวใหม่แบบBall ดีๆมาตัวนึง(ราคาประมาณ 100-300บาท) แทนพัดลมตัวเก่าจะช่วยระบายความร้อนการ์ด 2D/3Dได้ดีกว่า เดิมและเสียงหมุนของพัดลมค่อนข้างเงียบกว่าเยอะเลย ทำให้ยืดอายุการใช้งานไปได้ยืนยาวเมื่อเทียบกับการลงทุนเล็กๆน้อยๆแล้ว คุ้มค่าครับ

2)การ์ด 2D/3Dมีฮีทซิงค์ติดอยู่แล้วและคุณรู้แน่ว่า ความร้อนการ์ดไม่ได้สูงเกินไปเวลาใช้งาน และหากคุณต้องการประหยัดเงินค่าใช้จ่าย ถ้าคุณทำงานในห้องแอร์และเปิดเคสด้วย ก็ติดตั้งพัดลมเป่าเฉพาะที่ตัวการ์ดเลยก็ได้ครับ แต่หมั่นทำความสะอาหน่อย เพราะฝุ่นจับเยอะขึ้น โดยอาจติดพัดที่ฮีทซิงค์ ลักษณะเหมือนรูปในข้อ1แต่พัดลมจะเป็นพัดลมการ์ด 2D/3Dโดยเฉพาะหรือจะเป็นพัดลม486หรือเพนเทียมก็ได้ มีพัดลมให้เลือกหลายเกรดแล้วแต่งบประมาณคุณ การติดตั้งอาจขันน็อตยึดตัวฮีทซิงค์ที่ติดอยู่เดิมลงไป ควรขันให้แน่นพอประมาณเพื่อป้องกันอาการสั่นสะเทือนของพัดลม ถ้าขันน็อตแน่นเกินไป พัดลมก็จะติดแหงกกับตัว ฮีทซิงค์ไม่ยอมหมุน เพราะฮีทซิงค์การ์ด 2D/3Dนั้นเป็นแบบแท่งๆยื่นๆออกมา แนะนำหาแท่งพลาสติกมารองขอบพัดลม4จุดแล้วค่อยขันน็อตลงไปและเอานิ้วปั่นดูว่าพัดลมไม่โดนตัวฮีทซิงค์หรือหมุนฟรีตามปกติ หรือติดพัดลมเฉยๆแล้วมัดเชือกฟางก็ได้ แต่ระวังเชือกไปโดนพัดลมนะครับ

ขั้นแรกใช้ไดรฟ์เป่าผมตั้งความร้อนสุดเป่าที่ซิงค์ให้ร้อนพอประมาณ แล้วเอาผ้าแห้งจับฮีทซิงค์จับบิดไปๆมาๆจนหลุด

หากการ์ดของคุณยังอยู่ในประกัน ก็อย่าพยายามแกะฮีทซิงค์ออกมาให้ถอดน็อตพัดลมตัวเดิมออก และหาพัดลม 486 หรือพัดลมซีพียูไซริกส์ มาใช้แทนกันได้ หรือถ้าคุณสังเกตดีๆจะเห็นว่า ฮีทซิงค์ติดกาวไว้ ให้ถอดพัดลมออกก่อนแล้วเอาไดร์เป่าผมเป่าใส่ฮีทซิงค์ให้ร้อนๆ แล้วเอาผ้าจับตัวฮีทซิงค์ไว้ ค่อยๆบิดไปๆมาๆเดี๋ยวก็หลุดออกมาแล้วครับ จากนั้นติดตั้งฮ๊ทซิงค์ตัวใหม่ใหญ่กว่าเดิมลงไป ส่วนตัวเก่าเก็บเอาไว้ครับ ไว้ใช้งานคราวหลังหรือเกิดปัญหาส่งเคลมก็เอามาติดไว้เหมือนเดิมก็ได้ครับ

3)ติดพัดลมเพาวเวอร์ซัพพลายตัวใหญ่2-3ตัว เป่าตรงสล็อตของการ์ด วิธีนี้ไม่ระบายความร้อนได้ดีเท่าวิธีแรก แต่แรงลมจากพัดลม3ตัวช่วยให้การ์ดต่างๆเย็นลงบ้าง การติดตั้งจะติดที่ตัวเคส โดยยึดพัดลมไว้กับแผ่นเหล็กขันน็อตไว้แล้วนำมาติดตั้งบริเวณการ์ดที่จะระบายความร้อน วิธีนี้ก็ต้องดัดแปลงเอา ถ้าให้ง่ายกว่านั้นก็เอาพัดลมมัดเชือกแนวตั้งกับเคสด้านหลังก็ได้ เคสATXไม่มีปัญหาเพราะมีรูให้เชือกสอดเข้าได้ แต่เคสATเจาะรูเพิ่มครับ

2.หน่วยความจำแรมบนการ์ด

เป็นจุดที่เกิดความร้อนสูงรองลงมาเป็นอันดับสอง เพราะการแสดงผลออกทางจอมอนิเตอร์ จะเร็วหรือช้า ขึ้นกับความเร็วของหน่วยความจำการ์ด สมัยแรกๆความเร็วยังไม่สูงมาก ไม่เกิน 60MHz แต่ปัจจุบัน(1999 ) ความเร็วสูงถึง 166MHzและอาจสูง200MHz ทำให้ความร้อนสูงขึ้น ยิ่งคุณโอเวอร์คล็อกการ์ด และไม่ทำการระบายความร้อนแล้ว อายุการใช้งานก็ยิ่งลดน้อยลงไปอีก

การระบายความร้อนการ์ดอาจทำได้โดย คุณต้องดัดแปลงเอา ให้หาฮีทซิงค์บางๆ หาซื้อตามบ้านหม้อ และตัดให้พอดีกับตัวแถวของชิพหน่วยความจำ ความหนาไม่ต้องหนามาก เอาสัก 2mm ก็ใช้ได้แล้ว ให้บังคับลมไหลทางเดียวทำให้มีอากาศไหลเวียนทางเดียวกันและทำการแปะกาวซิลิโคนนำความร้อน แค่นี้ก็ช่วยระบายความร้อนได้มากขึ้นครับ

3.ด้านหลังชิพ 2D/3D

ด้านหลัง ส่วนนี้จะเกิดความร้อนสูงเหมือนกัน เพราะตำแหน่งเดียวกับชิพ 2D/3D แต่จะมีลายทองแดงมารวมกันตรงขาชิพ และอาจมีกลุ่มตัวต้านทานตัวเก็บประจุด้วย การระบายความร้อนอาจเพิ่มฮีทซิงค์แปะด้านหลังลงไปได้ ถ้าการ์ดนั้นไม่มีตัวเก็บประจุ หรือตัวต้านทานนูนออกมา มีแต่ลายทองแดง

รูปนี้แปะเทปนำความร้อนหลังการ์ดตรงด้านหลังชิพเซ็ตแล้วแปะพัดลมลงไป

รูปหลังจากติดตั้งพัดลมด้านหลังเรียบร้อยแล้ว

สามารถแปะฮีทซิงค์ลงไปได้เพราะตัวการ์ดเคลือบฉนวนไว้แล้ว ไม่ซ๊อตครับ หากมี คงไม่สามารถแปะฮีทซิงค์ลงไปได้ อาจต้องหาแผ่นนำความร้อน 2หน้ารองลงไปก่อน แต่วิธีนี้อาจทำให้ฮีทซิงค์หลุด เสียหายตามมาภายหลัง ระวังนิดนึงครับ

หากการ์ดของคุณไม่สามารถระบายความร้อนด้านหลังชิพได้เลย อาจจำเป็นต้องติดตั้งพัดลมเป่าระบายที่เฉพาะตัวการ์ดโดยตรงแทน ถ้าคุณไม่ต้องการเสี่ยงมาก วิธีนี้อาจต้องออกแรงดัดแปลงเล็กน้อยถึงจะทำได้ครับ เพราะอาจต้องติดตั้วพัดลมกับตัวเคส หรือเจาะรูติดตั้งพัดลมลงไป

กลับไปหัวข้อการระบายความร้อนคอมพิวเตอร์ CPU VGA SYSTEM

 

surprise.gif (3432 bytes)กลับไปเมนูหลัก new start

กลับไปหัวข้อComputer Turbo

 
ICQ
16489378


email to

muhn@hotmail.com

กลับไปเมนูหลัก new start

© Copyright 2000. MUHN-Computer. All Rights Reserved.

WebMaster

muhn@hotmail.com

 

1