เครื่องรับวิทยุ AM สามารถแบ่งประเภท ได้ดังนี้

1. เครื่องรับวิทยุแร่ (Crystal Receiver )

2. เครื่องรับแบบจูนความถี่วิทยุ ( Tuned Radio Frequency Receiver : TRF )

3. เครื่องรับแบบซุปเปอร์เฮทเตอร์โรดายน์ ( Supperheterodyne Receiver )

แต่ ในปัจจุบันเครื่องรับแบบเครื่องรับวิทยุแร่ และเครื่องรับแบบจูนความถี่วิทยุ ไม่นิยมใช้งานแล้ว เพราะขาดประสิทธิภาพในการเลือกรับสถานีและเกิดการแทรกแซงของคลื่นที่มีความแรงกว่า จึงมีการใช้งานเฉพาะเครื่องรับแบบซุปเปอร์เฮทเตอร์โรดายน์เพียงแบบเดียว
หลักการทำงานของเครื่องรับวิทยุแร่ {Back}
เครื่องรับวิทยุแร่จะใช้วงจรจูน เลือกความถี่เข้ามาเพียงความถี่เดียว แล้วใช้วงจรแยกคลื่น (Demodulator)แยกสัญญาณเสียง ออกจากสัญญาณวิทยุและวงจรกรองความถี่ เพื่อกรองสัญญาณพาหะให้หมดไปเหลือเฉพาะสัญญาณเสียง ส่งต่อไปยังหูฟัง
หลักการทำงานของภาคต่างๆ ในเครื่องรับแบบ TRF {Back}
1. วงจรจูน 1 (Tune Circuit) ทำหน้าที่คัดเลือกให้คลื่นวิทยุผ่านไปได้แค่เพียงความถี่เดียวเท่านั้น
2. ภาคขยาย RF (RF Amplifier) ทำหน้าที่รับคลื่นวิทยุจากภาคจูนเนอร์มาขยายให้คลื่นวิทยุมีความถี่สูงขึ้น
3. วงจรจูน 2 (Tune Circuit) รับสัญญาณจากภาคขยาย RF เข้ามาจูนความถี่อีกครั้ง ให้มีความถี่ตรงกับวงจรจูน 1
4. ภาคดีเทคเตอร์ (Detector) รับสัญญาณจากวงจรจูน 2 มาตัดสัญญาณให้เหลือเพียงซีกเดียว แล้วกรองสัญญาณพาหะออกไป เหลือเฉพาะสัญญาณเสียง
5. ภาคขยายเสียง (AF Amplifier) รับสัญญาณจากภาคดีเทคเตอร์มาขยายสัญญาณ ให้มีความแรงพอที่จะขับลำโพงให้เปล่งเสียงออกมาได้
ข้อดีและข้อเสียของเครื่องรับแบบ TRF
ข้อดี ข้อดีของเครื่องรับแบบ TRF มีดังนี้
1. มีความไวต่อการรับดีขึ้น (sensivity)
2. สามารถแยกรับสัญญาณได้ดีขึ้น
3. มีความชัดเจนดี (fidelity)
ข้อเสีย ข้อเสียของเครื่องรับแบบ TRF มีดังนี้ คือ
1. ต้องสร้างวงจรจูนหลายวงจร
2. ต้องสร้างวงจรขยายความถี่วิทยุหลายวงจร
3. มีการแพร่กระจายคลื่นออกไปรบกวนเครื่องรับข้างเคียง
4. ความชัดเจนในการรับสัญญาณไม่ดี
5. แต่ละสถานีมีระดับความแรงของสัญญาณเสียงไม่เท่ากัน
หลักการรับวิทยุแบบซุปเปอร์เฮทเตอร์โรดายน์ {Back}
หลักการ คือ คลื่นวิทยุทุกความถี่ที่ถูกจูนเข้ามา เมื่อเข้ามาในเครื่องรับแล้วจะถูกเปลี่ยนให้เป็นความถี่ปานกลาง หรือความถี่ IF (Intermediate Frequency) ซึ่งมีค่า 455 Khz เหมือนกันหมดทุกสถานี
การเปลี่ยนความถี่แบบซุปเปอร์เฮทเตอร์โรดายน์การเปลี่ยนความถี่ มีอยู่ 4 ภาค ดังนี้คือ
1. ภาคจูนเนอร์ (Tuner)
ทำการคัดเลือกความถี่ของสถานีที่ต้องการเพียงความถี่เดียว ซึ่งอาจจะใช้วิธีจูนตัวเก็บประจุแบบปรับค่าได้
2. วงจรโลคอล ออสซิลเลเตอร์ (Local Oscillator)
ทำหน้าที่ผลิตความถี่ RF ที่มีความถี่สูงกว่าความถี่ที่จูนเนอร์เลือกรับเข้ามาเท่ากับความถี่ IF คือ 455 KHz เสมอ ดังนี้
3. ภาคมิกเซอร์ (Mixer)
ทำหน้าที่ผสมสัญญาณกัน ระหว่างคลื่นวิทยุและความถี่ที่ออสซิลเลเตอร์ผลิตขึ้นเข้ามา ซึ่งสัญญาณที่ออกจากภาคมิกเซอร์มีทั้งหมด 4 ความถี่ คือ
  • ความถี่ RF ที่รับเข้ามาจากวงจรจูนความถี่
  • ความถี่ OSC ที่ผลิตขึ้นโดยภาคโลคอล ออสซิลเลเตอร์
  • ความถี่ผลต่าง ระหว่าง OSC กับ RF ซึ่ง (OSC - RF) = IF = 455 KHz
  • ความถี่ผลบวก ระหว่าง OSC กับ RF (OSC + R F แต่ความถี่ที่สามารถผ่านไปเข้าภาคขยาย IF มีเพียงความถี่เดียว คือ ความถี่ผลต่างระหว่าง OSC กับ RF ซึ่งมีค่า 455 KHz
4. ภาคขยายไอเอฟ (IF Amplifier)
ทำหน้าที่กรองความถี่ IF ผ่าน เข้าไปขยายในภาคขยายความถี่ IF ให้มีความแรงมากขึ้น ซึ่งมีเพียงความถี่เดียว คือ ความถี่ผลต่างระหว่าง OSC กับ RF ซึ่งมีค่า 455 KHz
หลักการทำงานภาคต่างๆของวิทยุแบบซุปเปอร์เฮทเตอร์โรดายน์
  • ภาคขยายความถี่วิทยุ (RF Amplifier) ทำหน้าที่ขยายสัญญาณวิทยุจากสถานีที่ผ่านวงจรจูนเข้ามา ให้มีความแรงขึ้น
  • ภาคโลคอล ออสซิสเลเตอร์ ( Local Oscillator )
  • ทำหน้าที่ผลิตความถี่ OSC ขึ้นมา ความถี่ที่ผลิตขึ้นจะสูงกว่าความถี่ RF อยู่เท่ากับความถี่ IF หรือ 455 KHz
  • ภาคมิกเซอร์ ( Mixer ) ทำหน้าที่ ผสมคลื่นความถี่ระหว่างความถี่ RF และความถี่OSC ที่ภาคโลคอลออสซิลเลเตอร์ผลิตขึ้น Q ในวิทยุ AM บางรุ่นการทำงานของภาคจูนเนอร์ ภาคมิกเซอร์และภาคออสซิลเลเตอร์จะอยู่รวมกันเรียกว่า ภาครับหรือภาคคอลเวอร์เตอร์ (Converter)
  • ภาคขยายความถี่ไอ.เอฟ (IF Amplifier) ทำหน้าที่กรองความถี่ IF ผ่าน แล้วขยายสัญญาณให้มีความแรงขึ้น
  • ภาคดีเทคเตอร์ (Detector) ทำหน้าที่ตัดสัญญาณ IF ออกไปเหลือเฉพาะความถี่เสียง (AF) ส่งต่อไปยังภาคขยายเสียง บางส่วนของสัญญาณเสียงจะถูกฟิลเตอร์เป็นไฟ DC ส่งไปยังภาคขยาย IF เพื่อควบคุมอัตราขยายโดยอัตโนมัติ ทำให้สัญญาณที่รับได้ แต่ละสถานีมีระดับความแรงเท่าๆกัน เรียกแรงดัน DC นั้นว่า แรงไฟ AGC (Automatic Gain Control)
  • ภาคขยายเสียง (AF Amplifirer) ทำหน้าที่ขยายสัญญาณเสียงให้มีความแรงมากพอที่จะไปขับลำโพง
  • ภาคจ่ายไฟ (Power Supply) ทำหน้าที่จ่ายแรงดันไฟ DC เลี้ยงวงจรของเครื่องรับวิทยุ AM ทั้งเครื่องให้สามารถทำงานได้
The end.
ต้องการกลับด้านบนคลิ๊ก { Back }
ต้องการกลับไปหน้าแรก






หากใครสนใจจะแลกลิ้งค์เมล์มาได้เลยครับ.

1