|
ตัวต้านทาน ( Resister )
ตัวต้านทาน ( Resister ) มีหน้าที่จำกัดกระแสที่ไหลผ่าน หน่วยวัดความต้านทานไฟฟ้าคือ โอห์ม
อุปกรณ์ที่มีค่าความต้านทาน 1 โอห์ม คือ หากมีความต่างศักย์ตกคร่อม 1 โวลต์จะยอมให้กระแสไฟฟ้าไหลผ่านได้ 1 แอมแปร์
ซึ่งเท่ากับการไหลของประจุไฟฟ้า 1 คูลอมบ์ (ประมาณ 6.241506 x 1018 อิเล็คตรอน) ต่อวินาที
ชนิดของตัวต้านทานแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
1. ตัวต้านทานแบบค่าคงที่
2. ตัวต้านทานแบบปรับค่าได้
ตัวต้านทานแบบค่าคงที่ (Fixed Resistor)
เป็นแบบที่ไม่สามารถปรับเปลี่ยนค่าความต้านทานได้ แต่ก็มีให้เลือกหลายค่า แบบนี้ จะใช้กันมาก มีขนาดเล็ก ราคาถูก
เมื่อนำไปใช้งาน ควรคำนึงถึงกำลังไฟที่มันทนได้ซึ่งมีหน่วยเป็นวัตต์ ( W ) ยิ่งวัตต์มากตัวยิ่งใหญ่
ตัวต้านทานปรับค่าได้ (Variable Resistor)
ตัวต้านทานปรับค่าได้ เป็นตัวต้านทาน ที่ค่าความต้านทานสามารถปรับเปลี่ยนได้ โดยอาจมีปุ่มสำหรับ หมุน หรือ เลื่อน เพื่อปรับค่าความต้านทาน
และบางครั้งก็เรียก โพเทนติโอมิเตอร์ (potentiometers) หรือ รีโอสแตต (rheostats)
ตัวต้านทานแบบปรับค่าได้ มีทั้งแบบที่หมุนได้เพียงรอบเดียว จนถึง แบบที่หมุนแบบเป็นเกลียวได้หลายรอบ บางชนิดมีอุปกรณ์แสดงนับรอบที่หมุน
มีทั้งแบบที่หมุนได้ด้วยมือและแบบที่ต้องใช้เครื่องมือในการหมุน ที่เรียกว่าทริมเมอร์ (Trimmer)
รีโอสแตต (rheostat): เป็นตัวต้านทานปรับค่าได้มี 2 ขา โดยที่ขาหนึ่งถูกยึดตายตัว ส่วนขาที่เหลือเลื่อนไปมาได้ ปกติใช้สำหรับส่วนที่มีปริมาณกระแสผ่านสูง
โพเทนติโอมิเตอร์ (potentiometer): เป็นตัวต้านทานปรับค่าได้ ที่พบเห็นได้ทั่วไป โดยเป็นปุ่มปรับความดัง สำหรับเครื่องขยายเสียง
ตัวต้านทานชนิดเลือกค่าได้ (Topped Resistor)
ตัวต้านทานบางชนิดอาจมีการเลือกค่าใดค่าหนึ่งได้ โดยปกติตัวต้านทานชนิดนี้จะมีหลายขั้วแยกออกมา
เป็นปุ่มหรือขั้ว การเลือกค่าตัวต้านทานทำโดยวิธีแยกสายหรือโผล่สายออกมาภายนอกที่เรียกว่า แท๊ป (Tap)
การแท๊ปสายอาจทำได้มากกว่าหนึ่งที่
ตัวต้านทานชนิดอื่น ๆ
เทอร์มิสเตอร์ (thermistor) เป็นตัวต้านทานที่มีค่าความต้านทานเปลี่ยนแปลงตามระดับอุณหภูมิ แบ่งเป็นสองประเภท คือ
ตัวต้านทานที่มีค่าสัมประสิทธิ์ของความต้านทานต่ออุณหภูมิเป็นบวก (PTC - Positive Temperature Coefficient) เมื่ออุณหภูมิสูงขึ้น ค่าความต้านทานมีค่าสูงขึ้นตาม
มีพบใช้ในวงจรเครื่องรับโทรทัศน์และจอมอนิเตอร์ CRT โดยต่ออนุกรมกับ ขดลวดลบสนามแม่เหล็ก (demagnetizing coil) เพื่อป้อนกระแสในช่วงเวลาสั้น ๆ
ให้กับขดลวดในขณะเปิดเครื่อง นอกจากนั้นแล้ว ตัวต้านทานประเภทนี้ยังมีการออกแบบเฉพาะเพื่อใช้เป็น ฟิวส์ (fuse) ที่สามารถซ่อมแซมตัวเองได้ เรียกว่า โพลีสวิตช์ (polyswitch)
ตัวต้านทานที่มีค่าสัมประสิทธิ์ของความต้านทานต่ออุณหภูมิเป็นลบ (NTC - Negative Temperature Coefficient) เมื่ออุณหภูมิสูงขึ้น ค่าความต้านทานมีค่าลดลง
ปกติใช้เป็นอุปกรณ์ตรวจวัดอุณหภูมิ
เซนซิสเตอร์ (sensistor) เป็นตัวต้านทานที่สร้างจากสารกึ่งตัวนำ มีค่าสัมประสิทธิ์ของความต้านทานต่ออุณหภูมิเป็นลบ
ใช้ในการชดเชยผลของอุณหภูมิ ในวงจรอิเล็กทรอนิกส์
ตัวต้านทานไวแสง (light dicrearing resistor หรือ Light Dependent Resistor) ใช้อักษรย่อ LDR ตัวต้านทานชนิดนี้
จะเปลี่ยนค่าความต้านทานเมื่อความเข้มของแสงตกกระทบเปลี่ยนแปลง ยิ่งมีแสงตกกระทบมากยิ่งมีความต้านทานต่ำ
วาริสเตอร์ โลหะออกไซด์ (metal oxide varistor-MOV) เป็นตัวต้านทานที่มีคุณสมบัติพิเศษคือ
มีค่าความต้านทาน 2 สถานะ คือ ค่าความต้านทานสูงมากที่ ความต่างศักย์ต่ำ(ต่ำกว่าค่าความต่างศักย์กระตุ้น)
และ ค่าความต้านทานต่ำมากที่ ความต่างศักย์สูง (สูงกว่าความต่างศักย์กระตุ้น)
ใช้ประโยชน์ในการป้องกันวงจร เช่น ใช้ในการป้องกันความเสียหายจากฟ้าผ่า หรือใช้เป็น สนับเบอร์ ในวงจรตัวเหนี่ยวนำ
การอ่านค่าความต้านทาน สัญญลักษณ์และตัวอย่างตัวต้านทานแบบค่าคงที่
ตัวต้านทานจะบอกค่าความต้านทานไว้เป็นแถบสีซึ่งจะมี อ่านค่าแถบสีซึ่งเป็นรหัสบอกค่าความต้านทานดังนี้
รหัสสี |
แทนค่าด้วยเลข |
|
สีดำ |
0 |
|
สีน้ำตาล |
1 |
|
สีแดง |
2 |
|
สีส้ม |
3 |
|
สีแหลือง |
4 |
|
สีเขียว |
5 |
|
สีน้ำเงิน |
6 |
|
สีม่วง |
7 |
|
สีเทา |
8 |
|
สีขาว |
9 |
|
สีทอง |
แทนด้วยค่าความผิดพลาด 5% |
|
สีเงิน |
แทนด้วยค่าความผิดพลาด 10% |
ตัวอย่างการอ่านค่ารหัสแถบสีตัวต้านทาน
สีที่ 1 คือ สีดำ แทนด้วยเลข 1
สีที่ 2 คือ สีเขียว แทนด้วยเลข 5
สีที่ 3 คือ สีเหลือง แทนด้วยเลข 4 เป็นตัวคูณ หมายถึง 10 ยกกำลัง 4 = 10,000
สีที่ 4 คือ สีทอง แทนด้วยค่าความผิดพลาด 5 %
อ่านค่าได้ดังนี้ 15 X 10,000 = 150,000 W
หรือมีค่าเท่ากับ 150 KW
ข้อมูลอ้างอิง
http://geocities.datacellar.net/nutchapols/
http://th.wikipedia.org/wiki/ตัวต้านทาน
|
|