ศึกษาผลของสมุนไพรขัดมอญชนิด Sida rhombifolia Linn และ Sida acuta Burm. f. ต่อการฝัง ตัวของตัวอ่อนและการเจริญของตัวอ่อนในหนูขาว โดยการสกัดสมุนไพรทั้งสองชนิดด้วยวิธีต้มกับน้ำ และให้สารนี้แก่สัตว์ทดลองโดยการป้อนทางปาก แบ่งการทดลองเป็นกลุ่มแต่ละกลุ่มให้ในปริมาณ 0,2,4 และ 8 กรัม/กิโลกรัมน้ำหนักตัว/วัน ระหว่างวันที่ 1-วันที่ 5 ของการตั้งครรภ์ ผลปรากฏว่า สัตว์ทดลองที่ได้รับขัดมอญชนิด S.rhombifolia Linn ในปริมาณ 0,2 และ 4 กรัม/กิโลกรัม น้ำหนักตัว/วัน จำนวนการฝังตัวของตัวอ่อนไม่แตกต่างกัน ส่วนกลุ่มที่ได้รับในปริมาณ 8 กรัม/ กิโลกรัมน้ำหนักตัว/วัน สามารถยับยั้งการฝังตัวของตัวอ่อน 26.88% และกลุ่มที่ได้รับมอญขัด ชนิด S.acuta Burm. f. ในปริมาณ 2,4 และ 8 กรัม/กิโลกรัมน้ำหนักตัว/วัน สามารถยับยั้งการ ฝังตัวของตัวอ่อน 17.20,40.86 และ 36.56%ตามลำดับ เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุม นอกจากนี้ผงขัดมอญยังมีผลต่อการเจริญของตัวอ่อนโดยพบว่าสัตว์ทดลองที่ได้รับขัดมอญ ชนิด S.rhombifolia Linn. ในปริมาณ 4 หรือ 8 กรัม/กิโลกรัมน้ำหนักตัว/วัน และ S.acuta Burm. f. ในปริมาณ 8 กรัม/กิโลกรัมน้ำหนักตัว/วัน มีขนาดของตัวอ่อนเล็กกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญ จากการศึกษาครั้งนี้สรุปได้ว่าสมุนไพรขัดมอญชนิด S.rhombifolia Linn.และ S.acuta Burm. f. มีฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาสามารถยับยั้งการฝังตัวของตัวอ่อนและการเจริญของตัวอ่อนในหนูขาว |
Effects of Sida rhombifolia Linn and Sida acuta Burm. f. on implantation and size of
embryoes in mice were studies by feeding the extraction of each sida to the experimental
animals with doses of 0,2,0 and 8 gm/kg.BW./day during day 1- day 5 of pregnancy.
Autopsy was conducted on day 10 of pregnancy for determining number of embryo
implantation,size of embryoes and number of corpora lutea. Results showed that
number of embryo implantation group with 0,2 and 4 gm of S.rhombifolia Linn were not
significantly differen. However, the inhibitory effect on embryo implantation were found
in treated group with 8 gm of S.rhombifolia Linn, 2,4, and 8 gm of S.acuta Burm. f.
/kg.BW./day, with were about 26.88,17.20,40.80 and 36.56% respectively. Furthermore,
the size of embryoes which obtained from the treated groups with 4 and 8 gm of S.rhombifolia
Linn and 8 gm of S.acuta Burm. f./kg.BW./day were significantly smaller than the control.
From these results, it was conceivable that the extraction of S.rhombifolia Linn and S.acuta
Burm. f. was capable to inhibit either embryo implantation or growth of embryoes in mice.
|