Seminar Class
เรื่อง ความสัมพันธ์ระหว่างเวสเซลกับวิวัฒนาการ ภาควิชาชีววิทยา
Vessel The Relationship of Plant Evolution คณะวิทยาศาสตร์
โดย นาวสาวกมลหทัย พูลพงษ์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น


บทย่อเรื่อง
( Summary )

ระบบเนื้อเยื่อลำเลียงของพืชประกอบด้วยสองส่วนที่สำคัญคือ โฟลเอม (phloem) และไซเลม (xylem) โดยไซเลม
ทำหน้าที่หลักในการลำเลียงน้ำ และพบว่าองค์ประกอบของไซเลมที่ทำหน้าที่นั้นคือ เวสเซล (vessel) และเทรคีด (traceid)
เชื่อว่า เวสเซลมีวิวัฒนาการมาจากเทรคีด Esu (1962) กล่าวว่า บริเวณผนังด้านหัวและท้ายเซลของเวสเซลจะเกิด
เพอร์ฟอเรชันขึ้น เรียกว่า เพอร์ฟอเรชัน เพลท (perforation plate) ลักษณะเช่นนี้ไม่พบในเทรคีด เป็นที่ทราบกันดี
แล้วว่าพืชมีดอก(Angiosperm)มีวิวัฒนาการมาจากพืชไม่มีดอก (Gymnosperm) โดยส่วนใหญ่จะพบเวสเซลในพืช
มีดอก และพืชกลุ่มนี้ยังมีการแบ่งออกไปเป็นพืชมีดอกที่โบราณเนื่องจากพบเวสเซลน้อยหรือแทบจะไม่มีเวสเซลเลย
(Bailey,1994อ้างตามCarlquistและ Schneiden, 1996) จึงมีผู้สนใจศึกษาลักษณะเวสเซลของพืชดอกโบราณ
เหล่านี้ ในปี 1992 Carlquist ได้ศึกษาเวสเซลของพืชมีดอกโบราณหลายชนิด พบว่าการเกิดเพอร์ฟอเรชัน เพลท
ยังเกิดไม่สมบูรณ์ พบส่วนของผนังเซลชั้นที่หนึ่งเหลืออยู่เป็นรูปแบบต่างๆกัน ในปี 1995 และปี1996 Carlquist
และ Schneiden ได้ร่วมกันศึกษาลักษณะเวสเซลในรากและลำต้นเหนือดินของ Barclaya rotundifolia
(Nymphaeaceae) และ Nelumbo nucifera (Nelumbonaceae) ทั้งคู่พบว่า พืชทั้งสองวงศ์นี้แม้จะมีความ
ใกล้ชิดกันทางวิวัฒนาการแต่จากลักษณะเวสเซลที่พบสามารถบอกได้ว่า Nelumbonaceae มีวิวัฒนาการสูงกว่า
Nymphaeaceae เพราะพบเวสเซลที่มีการเกิดเพอร์ฟอเรชัน เพลทชัดเจนกว่า เวสเซลนอกจากใช้บ่งบอกวิวัฒนาการ
ที่แตกต่างกันของพืชไม่มีดอกและพืชมีดอกแล้วยังใช้บอกความโบราณของพืชมีดอกได้จากลักษณะการเกิดเพอร์ฟอเรชัน
ที่ไม่สมบูรณ์ แสดงให้เห็นว่ายังคงลักษณะที่เป็นเทรคีดซึ่งพบในพวกไม่มีดอกเป็นส่วนใหญ่ ดังนั้นเวสเซลจึงควรใช้เป็น
ลักษณะหนึ่งประกอบการศึกษาด้านวิวัฒนาการของพืช


ไปหน้าที่ผ่านมา |back to main page |ไปหน้าต่อไป
1