บทบาทของภูมิคุ้มกันต่อการเกิดพยาธิสภาพของโรคพยาธิใบไม้ตับในสัตว์ทดลอง*
Role of Host immune response on pathogenesis of opisthorchiasis
in laboratory animal

สมพงษ์ สิทธิพรหม


บทคัดย่อ

เนื่องจากกลไกที่เกี่ยวข้องกับพยาธิกำเนิดของระบบท่อน้ำดีที่เกิดจากพยาธิใบไม้ตับ(Opisthorchis viverrini) ยังไม่เป็นที่เข้าใจอย่างชัดเจน โดยเฉพาะเกี่ยวกับบทบาทของภูมิคุ้มกันของโฮสต์ต่อ
พยาธิสภาพที่เกิดขึ้น ดังนั้นการศึกษาครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาหาผลกระทบและอิทธิพล
ของภูมิคุ้มกันของโฮสต์ว่ามีผลต่อสรีรวิทยาของตับและระบบท่อน้ำดีที่เกิดจากการติดเชื้อพยาธิ
ใบไม้ตับ(O.viverrini) อย่างไร โดยใช้หนูแฮมสเตอร์เป็นสัตว์ทดลอง

ในการทดลองนี้ใช้หนูแฮมสเตอร์เพศผู้ อายุ 6-8 สัปดาห์ แบ่งหนูออกเป็น 3 กลุ่มคือ กลุ่ม immunized
ซึ่งได้รับการกระตุ้นภูมิคุ้มกันด้วยแอนติเจนของพยาธิใบไม้ตับก่อน 1 เดือนแล้วจีงป้อนพยาธิ 50
metacercaria/หนู 1 ตัว กลุ่มที่ 2 คือ กลุ่ม naive เป็นกลุ่มที่ไม่ได้รับการกระตุ้นภูมิคุ้มกันแต่
ได้รับพยาธิเท่ากับกลุ่ม immunized กลุ่มที่ 3 เป็นกลุ่มควบคุมซึ่งไม่ได้รับแอนติเจนและพยาธิ
หนูทั้งหมดจะถูกนำมาเก็บข้อมูลต่างๆที่ 1,2,4 และ 6 เดือนหลังจากติดเชื้อพยาธิ

ผลการศึกษาพบว่าในกลุ่ม immunized มีลักษณะทางจุลพยาธิวิทยาประกอบด้วย periductal
fibrosis ทั้งบริเวณ second order duct, second order main duct และ secondary biliary
cirrhosis มีความรุนแรงสูงกว่ากลุ่ม naive อย่างมีนัยสำคัญ (p<0.05) โดยเฉพาะในช่วงเดือนที่
1-2 หลังการติดเชื้อ นอกจากนั้นยังพบว่าเวลาที่ 2 เดือนภายหลังการติดเชื้อระดับเอนไซม์ในซีรั่ม
คือ ALT และ AST ในกลุ่มนี้ยังมีค่าสูงกว่ากลุ่ม naive อย่างมีนัยสำคัญเช่นเดียวกัน

ในทางตรงกันข้ามก็พบว่าลักษณะทางจุลพยาธิวิทยาคือ mononuclear cell infiltration,lymphoid
follicle ของกลุ่ม naive มีค่าความรุนแรงสูงกว่ากลุ่ม immunized อย่างมีนัยสำคัญ (p<0.05)
โดยเฉพาะในช่วงตั้งแต่เดือนที่ 2 หลังการติดเชื้อพยาธิเป็นต้นไป

ส่วนผลทางจุลพยาธิวิทยาอื่นๆเช่น จำนวนเซลล์อีโอสิโนฟิล (eosinophil),เยื่อบุผิวท่อน้ำดีหนาขึ้น
(epithelial hyperplasia), พังผืดรอบ lobule ของตับ (portal fibrosis), การเพิ่มจำนวนท่อ
น้ำดีเล็ก (bile ductule proliferation), มี granuloma และแผลในท่อน้ำดีใหญ่และแขนงท่อน้ำดี
ใหญ่และส่วนของแขนงท่อน้ำดีใหญ่ (ulceration of second order duct and second order main
duct with granuloma) และมี granuloma รอบไข่หรือรอบตัวพยาธิ (egg or parasite granuloma)
รวมถึงระดับ ALP ในซีรั่มไม่มีความแตกต่างอย่างชัดเจนระหว่างกลุ่มการทดลองทั้ง 2 กลุ่ม

สำหรับข้อมูลด้านปรสิตวิทยานั้น พบว่าการกระตุ้นภูมิคุ้มกันด้วยแอนติเจนของพยาธิใบไม้ตับไม่มี
ผลต่อจำนวนพยาธิและจำนวนไข่ที่ผลิตได้แต่อย่างใด

ผลการทดลองครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าผลของการกระตุ้นภูมิคุ้มกันโดยการฉีดแอนติเจนของพยาธิใบไม้ ตับมีผลทั้งการส่งเสริมให้พยาธิสภาพของระบบท่อน้ำดีรุนแรงขึ้น ในระหว่างการติดเชื้อพยาธิเดือน
แรกก่อนนำไปสู่ภาวะกดภูมิคุ้มกันได้ในเวลาต่อมา ซึ่งผลการสึกษาครั้งนี้เป็นพื้นฐานสำคัญที่จะนำ
ไปสู่การค้นหาเพื่อแยกแยะองค์ประกอบของแอนติเจนของพยาธิใบไม้ตับว่าส่วนใดที่จำเพาะต่อการ
กระตุ้นหรือกดภูมิคุ้มกันและผลต่อพยาธิสภาพที่เกิดขึ้นต่อไป
Abstract
since the mechanism involving pathogenesis of biliary tract in liver fluke(Opisthorchis viverrini) infection is not fully understood,particularly on the role of host immunological response on bile duct pathology. This study is therefore conducted to examine the impact and consequence of host immune response on the pathophysiology of liver and biliary tract of the hamster with the liver fluke.

The experiment animals are divided into 3 groups. Group 1 is the immunized group which recieve antigen of O.viverrini (OV) 1 month prioi to infection with 50 metacercaria/hamster. Group 2 is the native group which recieve only OV infection with the dose identical to group 1 while group 3 is the control group which recieved neither OV antigen nor OV infection. The animals were sampled for data collection at 1,2,1, and 6 months post infection.

The results revealed that the histopathological funding in the immunized group which consisted of periductal fibrosis both in second order and second order main duct and secondarybiliary cirrhosis were more pronounced than those of the naive group especially at 1-2 month post infection (p<0.05). At two month of infection the levels of liver enzyme, aspartate amino transferase (AST) and alanine amino transferase (ALT) of the imminized group, were significantly higher than the naive group (p<0.05)

On the contrary,some of the histopathological features were less severe in the immunized group than the naive group (p<0.05). These features included mononuclear cell infiltration and lymphoid follicle and the differences were obvious beginning from 2 month post infection

Other pathological feature examined such as eosinophil,epithelial hyperplasia,portal fibrosis,bile ductule proliferation,ulceration of second order duct and second order main duct with granuloma, egg or parasite granuloma showed no difference between immunized and naive group, Levels of alkaline phophatase (ALP) also showed no difference between these two experimental groups.

Immunization with OV antigen did not have significant influence on the parasitological observations, ie. worm recovery and egg production in the immunized group are comparable to the naive group.

The results of this study suggested that stimulation of host immune response by using OV antigen appeared to begin by enhancing the severity of bile duct pathology in infected a considerable degree of cellular immunosuppression.

This study forms a basis for further study to seek for an existance of a specific component of OV antigen which responsible for selective stimulations or suppression of host response that influence the biliary tract pathology in opisthorchiasis.


*วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต

BACK|MAIN|FORWARD

1