การสำรวจพืชดินเค็มในเขตเมืองขอนแก่น
Survey of Vegetation in Saline Condition of Muang Khon kaen

สมพงษ์ ธรรมถาวร., อัจฉรา ธรรมถาวร และ ประนอม จันทรโณทัย


Abstract
Certain areas in khon kaen are known to be ocupied by saline soil. There areas are sparsely covered by certain kind of salt toterant species. It is interesting to carry out a preliminary survey of these plants. Collection of salt tolerant plants and analysis of saline soil have been carried out in 11 regions in Khon kaen. The total of 28 species are found. These are classified into 9 families 14 species of dicotyledon and 2 families 14 species of monocotyledon. Species with high tolerance being able to grow both during summer and rainy season are Eriochloa procera, Pluchia indica, Synostemon bacciformis, Maytenus diversifolia, Azima sarmentosa, Acacia auriculaeformis and Pithecellobium dulca. Some species are succulent such as P. indica, Lindernia crustacea and S.baccoformis. E.procera, P. indica and S. bacciformis are among the most widely distributed. E. procera which has relatively high percentage of ground cover should probably be promoted to be cultivated as a forage crop in the Northeast. The soil salinity from 11 regions ranges from 0.15 to 7.25 millimho/cm.
บทคัดย่อ
พื้นที่บางแห่งของเมืองขอนแก่นนั้นมีสภาพเป็นดินเค็ม บริเวณดังกล่าวแม้ว่าจะเป็นที่ โล่งเตียน แต่ก็พบว่ายังมีพืชอีกหลายชนิดสามารถเจริญทนความเค็มของดินนั้นได้ ซึ่งเป็นสิ่งที่ น่าสนใจว่ามีพืชอะไรบ้าง โครงการนี้จึงทำการสำรวจพืชเหล่านั้น โดยกำหนดท้องที่สำรวจออกเป็น 11 เขต ได้เก็บตัวอย่างพืชและ วิเคราะห์ดินในแหล่งสำรวจ ผลปรากฏว่ามีพืชทั้งหมด 28 ชนิด จัดเป็นพืชใบเลี้ยงคู่ 9 วงศ์ 14 ชนิด และ พืชใบเลี้ยงเดี่ยว 2 วงศ์ 14 ชนิด พืชชนิดที่มีความทนทานเป็นพิเศษสามารถเจริญ ได้ทั้งในฤดูแล้งและฤดูฝน ได้แก่ หญ้านก ขลู่ สร้อยนกเขา หนามแดง หนามพุงดอ กระถินณรงค์ และมะขามเทศ พืชบางชนิดมีลักษณะอวบน้ำ เช่น ขลู่ หญ้ากาบหอย และสร้อยนกเขา สำหรับพืชที่มีการกระจายค่อนข้างสูง ได้แก่ หญ้านก ขลู่ และ สร้อยนกเขา โดยเฉพาะหญ้านกนั้น มีเปอร์เซ็นต์การปกคลุมพื้นที่ค่อนข้างมาก น่าจะส่งเสริมให้ใช้เป็นหญ้าเลี้ยงสัตว์ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือได้ จากการวิเคราะห์ดินทั้ง 11 เขต ที่ทำการสำรวจพบว่า มีความเค็มอยู่ระหว่าง 150 ไมโครโมห์/ซม.-7.25 มิลลิโมห์/ซม.



BACK|MAIN| Forward 1