arrowแผนกถ่ายภาพ
arrowชมรมถ่ายภาพ
arrowผลงานนักศึกษา
arrowภาพเป็นข่าว
arrowคม ชัด ลึก
arrowGame Jigsew
arrowอุบลราชธานี
arrowถาม-ตอบ กับอ.เสก

a8.gif (1226 bytes)

บทความ...มองอดีตของแผนกการถ่ายภาพ..โดย โชคชัย ตักโพธิ์

มองอดีตของแผนกถ่ายภาพ

การศึกษาเป็นเรื่องของการลงทุน   โดยเฉพาะการลงทุนด้านเทคโนโลยี   ในลักษณะของ วัสดุอุปกรณ์การศึกษาซึ่งถือเป็นสิ่งจำ

เป็นมากดังคติว่า...อุปกรณ์ดีมีชัยไปกว่าครึ่ง  ประเทศของเราด้อยกว่าประเทศที่พัฒนาไปแล้ว ก็ตรงที่เขามีทุนสำหรับลงทุน

ทางการศึกษาสร้างคนให้มีคุณภาพทำได้มากกว่าเรา

                  แผนกวิชาการถ่ายภาพเป็นชื่อซึ่งสร้างความสับสนงงงวยแก่คนทั่วไป   เพราะคนทั่วไปมักเข้าใจว่าเป็นว่าเป็นวิชา

ที่ไม่ต้องร่ำเรียนอะไรมากมาย  เพียงแต่มีเงินซื้อกล้องราคาแพงๆก็สามารถศึกษาใช้งานได้ด้วยตนเอง  ดังเราซื้อโทรทัศน์มา

เปิดดูเพื่อความบันเทิง

            ในแวดวงการศึกษาเมื่อพูดถึงการถ่ายภาพ ใครๆก็นึกถึงวิทยาเขตเทคนิคกรุงเทพ ซึ่งเน้นหนักการถ่ายทำภาพยนตร์      

เป็นความจริงที่ขมขื่นสำหรับการศึกษาไทยที่ว่าการเรียนการสอนด้านนี้ยังไม่กว้างขวางมากนัก กรมอาชีวศึกษาภาคภูมิใจใน

เกียรติทางวิชาชีพที่ว่า ได้อนุมัติให้เปิดสอนแผนกวิชาการถ่ายภาพขึ้นครั้งแรกของประเทศ  สังกัดกรมอาชีวศึกษาในส่วนภูมิ-

ภาคที่วิทยาลัยอาชีวศึกษาอุบลราชธานีซึ่งแผนกวิชาการถ่ายภาพนี้ถือเป็นแผนกหนึ่งในคณะศิลปกรรม

                   การดำเนินการสอนระยะแรกมีอุปสรรคบ้าง  แต่สามารถแก้ปัญหาได้มากเพราะครูผู้สอนเสียสละสิ่งต่างๆ ชนิด 

"ร่วมด้วยช่วยกัน "จนส่งผลให้แผนกนี้โดดเด่นเป็นดาวดวงเด่นของการศึกษาวิชาชีพหัวใจของความสำเร็จของเราคือบุคคลกร

ของเรามีความรู้ความสามารถในการประสานการจัดการเทคโนโลยีให้เกิดประโยชน์สูงสุดในแง่ต่างๆได้ครอบคลุมทั่วทุกด้าน 

จะมีประโยชน์อันใดเล่า    หากคุณมีรถยนต์ราคาแพงจอดในบ้าน   แต่คุณไม่สามารถในการใช้มันให้ทำงานคุ้มค่า

         ความรู้ คือ อำนาจ  ปรัชญาหรือข้อคิดนี้มุ่งอธิบายว่า  ใครมีข้อมูลมาก ใครรู้ข้อมูลก่อนใคร ใครคนนั้น ประเทศชาตินั้นๆ 

จะได้เปรียบในเชิงรุกคือ   เป็นผู้ริเริ่ม  คิด  ทำก่อนใคร    แผนกวิชาการถ่ายภาพมีคุณสมบัติทางวิธีการดังกล่าวครบเพราะ

บุคคลกรของเราผ่านการตรากตรำอย่างหนักทางการศึกษาค้นคว้าด้วยทุนส่วนตัวแต่ด้วยหัวใจของการเป็นครูคือผู้เสียสละ     

ที่ตรงนี้ มีปรากฎการณ์ทางความพร้อมสำหรับให้นักศึกษา   มันบังเกิดผลขึ้น

      พวกเด็กอาชีวะนี้ใครๆมักมองว่า  เป็นพวกหัวไม่ดี   เรียนไม่เก่ง ซึ่งคงจริงแง่เด็กไม่เก่งด้านการวัดผลทางความรู้ความจำ

จากตำรา   เด็กก็เลยไม่ได้คะแนนสูง     พอเขาเรียนรู้การใช้เครื่องคิดเลขพวกเขาสามารถเป็น แม่ค้าที่ประสบผลสำเร็จทางต่อ

รองธุรกิจ   ซึ่งมีเครื่องคิดเลขเป็นเครื่องมือช่วย

        เด็กอาชีวะคงไม่มีความรู้ไปสร้างวัสดุอุปกรณ์ต่างๆอันเรียกว่า"เทคโนโลยีได้ "ซึ่งมันก็เหมือนกับคนไทยยังไม่มีขีดความ

สามารถสร้างวัสดุอุปกรณ์ทางเทคโนโลยีด้วยตนเองได้ คนไทยผลิตเทคโนโลยีไม่ได้แต่คนไทยต้องรู้จัก ใช้เทคโนโลยีให้เกิด

ประโยชน์ได้

         เราสอนเด็ก ให้รู้จักเลือกใช้เทคโนโลยีอย่างเหมาะสม คือ มันเป็นเทคโนโลยีที่ก่อเกิดประโยชน์ทางสร้างสรรค์อันคุ้มค่า 

เมื่อถูกใช้โดยมนุษย์ที่มีมันสมอง   รู้จักคิด  รู้จักแก้ปัญหา   ดังปรัชญาการศึกษาที่ว่าใว้   เราจึงสอนเด็กให้    คิดเป็น    ทำเป็น

 และแก้ปัญหาเป็น       

     อดีตนั้น   คนเรียนถ่ายภาพได้ต้องเป็น " ลูกคนรวย "   เพราะลงทุนสูง   แต่กรมอาชีวศึกษา ช่วยลดช่อง ว่างนี้ โดยทุ่มทุน 

ลงทุนทางการศึกษาสาขานี้ในจังหวัดอุบลราชธานี  เพื่อช่วยให้ลูกชาวบ้าน  มีโอกาศศึกษา   ความรู้สาขาการถ่ายภาพ เพื่อนำไป

ประกอบอาชีพให้สอดคล้องกระแสสังคมปัจจุบัน  " ไม่รวยก็เรียน ถ่ายภาพได้ "  สนใจแวะคุยกับเราซิครับ  

บทความโดย   โชคชัย     ตักโพธิ์

แผนกเทคโนโลยีการถ่ายภาพและวีดีทัศน์
วิทยาลัยอาชีวศึกษาอุบลราชธานี

Back to main

1