| เพลงกราวกีฬา | พระบิดาแห่งวงการฟุตบอลไทย | 10อันดับผู้ทำประตูสูงสุดของทีมชาติไทย |
home | result | cover | standing | back |
| พระบิดาแห่งวงการฟุตบอลไทย |
 

"ข้าพเจ้าต้องขอแสดงตนว่าเป็นผู้หนึ่งซึ่งเห็นชอบด้วยกับการเล่นของอังกฤษชนิดนี้ และมีตวามปรารถนาจะให้ได้แพร่หลายต่อไป การที่ ข้าพเจ้าชอบและเล็งเห็นคุณประโยชน์ของฟุตบอลนี้ บางทีจะเป็นด้วยข้าพเจ้าได้รับการศึกษามาอย่างอังกฤษก็เป็นได้ แต่ข้าพเจ้า หวังใจว่าผู้อ่านของท่านคงไม่เหมาเอาว่าเป็นเพราะเหตุนั้นอย่างเดียว ที่ทำให้ข้าพเจ้าพอใจ และส่งเสริมฟุตบอลข้าพเจ้าหวังใจและ เชื่อว่าผู้อ่านของท่านทั้งหลายคงจะได้รู้สึกอยู่แล้วเหมือนกันว่าฟุตบอลนี้ได้ทำประโยชน์ให้แก่คนไทยผู้ร่วมชาติของข้าพเจ้ารุ่นใหม่นี้เพียง ใด และด้วยเหตุนั้นคงจะช่วยกันปรารถนาให้การเล่นชนิดนี้ ซึ่งชาวอังกฤษผู้มีนิสัยรักใคร่การกรีฑาได้ทำให้ปรากฎซึ่งคุณประโยชน์แล้วนั้น ยืนดำรงอยู่ชั่วกาลนาน"

พระราชนิพนธ์บางตอนจากบทความเรื่อง"ความนิยมฟุตบอลในเมืองไทย" ใน พระบามสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัขกาลที่ 6 โดยใช้ นามปากกาว่า "นิสิตออกซ์ฟอร์ด" ลงตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ฉบับหนึ่งเมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2548

เกมลูกหนังเข้ามาสู่ประเทศสยามปี พ.ศ. ใดไม่ปรากฎหลักฐานที่แน่นอนแต่คาดว่าคงอยู่ในรัชสมัยของ พระบาทสม เด็จพระจุลจอมเกล้า เจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เนื่องจากชาวตะวันตกเริ่มเข้ามาอาศัยอยู่ในสยามมากขึ้น และมีการก่อตั้ง สโมสรรอยัลบางกอก สปอร์ตคลับ (ROYAL BANGKOK SPORT CLUB) สระปทุมวันเมื่อประมาณปี พ.ศ. 2433 เพื่อสร้างความสัมพันธ์อันดีโดยใช้กีฬาเป็นสื่อสมานฉันท์ ต่อมาจึงประกาศในราชกิจจานุเบกษาว่าด้วยกีฬา พ.ศ. 2440 อันกล่าวถึงกรีฑา จักรยานและฟุตบอล คือยุคแห่งการเริ่มต้น"กีฬาสากล"
จากข้อมูลและหนังสือหลายเล่มบางแห่งระบุว่า เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี (สนั่น เทพหัสดิน ณ อยุธยา) หรือครูเทพผู้แต่งเพลงอมตะ "กราวกีฬา" คือผู้นำการเล่นฟุตบอลเข้ามาเผยแพร่เมื่อประมาณ พ.ศ. 2540 สมัยนั้นผู้เล่นลูกหนังจะถูกขนานนามว่า "นักเลงฟุตบอล" และ เรียกการเล่นนี้ว่า"หมากเตะ" สนามก็อาศัยพื้นที่บริเวณลานวัด โดยจะนำลูกยาง ลูกเทนนิส และผลส้มโอมาใช้เตะแทนลูกบอล
ณ.ท้องสนามหลวง เมื่อวันเสาร์ที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2443 มีการแข่งขันฟุตบอลอย่างเป็นทางการครั้งแรกในเมืองสยาม ระหว่างทีมบาง กอกกับทีมศึกษาธิการ ผลเสมอกัน 2-2 ต่อมาเจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี ทำการแปลหนังสือจากต้นฉบับภาษาอังกฤษว่าด้วยกติกา การแข่งขันลงในหนังสือวิทยาจารย์เล่มที่ 1 ตอนที่ 7 เดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2444
เมื่อโรงเรียนและสถานที่ศึกษาหลายแห่ง เริ่มให้ความสนใจเล่นกันอย่างกว้างขวาง แม้จะมีเสียงคัดค้านบ้าง เพราะการปะทะกันที่รุนแรง แต่กรมศึกษาธิการก็จัดการแข่งขันฟุตบอลนักเรียน รุ่นอายุไม่เกิน 20 ปี ขึ้นเป็นประเภทแรกในปี 2444 และภายหลังจึงเพิ่มการแข่งขันอีก หลายรุ่นหลายประเภท
รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 คือ "ยุคทองของฟุตบอลสยาม" เนื่องจากทรงให้การสนับสนุนทั้ง ในทางตรง และทางอ้อม กล่าวคือ นอกจากการเสด็จทอดพระเนตรการแข่งขันฟุตบอลหน้าพระที่นั่งอยู่เนืองนิตย์แล้วพระองค์ยังทรงติดต่อ ชาว อังกฤษให้มาสอนทักษะการเล่นลูกหนังแก่นักเตะชาวสยาม
ในระหว่างวันที่ 11 กันยายน-27 ตุลาคม 2458 ทรงจัดการแข่งขันฟุตบอลสำหรับพระราชทานถ้วยทองของหลวง และถือเป็นถ้วยฟุตบอล พระราชทานใบแรกของวงการฟุตบอลไทยมีสโมสรส่งเข่าร่วมแข่งขัน 12 ทีม ณ.สนามสโมสรเสือป่าหรือสนามม้าสวนดุสิต ถนนหน้าพระ ลาน ในบางนัดมีผู้เข้าชมกว่า 8000 คน ทีมครองถ้วยทองและได้รับพระราชทานแหนบสายนาฬิกาลงยามีตราพระมหามงกุฎคือ "ทีมนักเรียนนายเรือ" ภายหลังเสร็จสิ้นการแข่งขันเพื่อความเรียบร้อยในครั้งต่อไป รัชกาลที่ 6 ทรงจัดตั้ง กรรมการคณะฟุตบอลแห่งสยาม เมื่อวันที่ 1 พฤษจิกายน 2458
"สมาคมฟุตบอลแห่งสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์" ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 25 เมษายน 2459 สมาคมกีฬาแห่งแรกของประเทศไทยที่จดทะเปียน ถูกต้องตามกฎหมาย สภานายกสมาคมคือ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว และเลขาคือ พระยาประสิทธิ์ศุภการ โดยมีการ ประกาศข้อบังคับ ลักษณะปกครองคณะฟุตบอลแห่งสยามในราชกิจจานุเบกษา ภาค 1 เล่ม 33 วันที่ 30 เมษายน 2459 ข้อบังคับดัง กล่าวแบ่งออกเป็น 5 หมวดรวม 22 ข้อ
ในปีนั้นฟุตบอลถ้วยใหญ่และถ้วยน้อยจึงเริ่มจัดการแข่งขันเป็นปีแรก ทีมชนะเลิศถ้วยใหญ่คือ สโมสรกรมมโหรสพและถ้วยน้อยเป็นของ สโมสรทหารบกราชวัลลภ ขณะที่รายการถ้วยทองของหลวงเปลี่ยนชื่อเป็น"ฟุตบอลชิงถ้วยนักรบ"
ในสมัยของพระองค์ทรงประกาศให้ธงไตรรงค์ คือธงชาติสยามประเทศ เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2460 แทนธงสีแดง ธงจักร และธงช้างทรง เครื่อง (ธงช้างเผือก) ที่เคยใช้มาแล้วในอดีตและภายหลังคือสัญลักษณ์ติดหน้าอกเสื้อของนักฟุตบอลทีมชาติไทยมาตราบเท่าทุกวันนี้
วันที่ 25 มิถุนายน 2468 สมาคมฟุตบอลแห่งประเทศสยามสมัครเข้าเป็นภาคีสมาชิกสมาพันธ์ฟุตบอลนานาชาติ (fedration internation l of football association) หรือ fifa องค์กรควบคุมการแข่งขันฟุตบอลระดับทั่วโลก

Contact me at wiroon@thaimail.com
 

 

1