|
|
ข้าพเจ้าเติบโตที่ตำบลหนองโพ
ซึ่งเคยเป็นตำบลเล็กๆ ในอำเภอ โพธาราม จังหวัดราชบุรี จบการศึกษาในระดับ ประถม
และ มัธยม ในท้องถิ่นจากนั้น เข้ามาศึกษาในระดับอาชีวะศึกษา ที่โรงเรียนไทยวิจิตรศิลป
กรุงเทพฯ หลังจากจบ ป.ว.ช. ได้ศึกษาในระดับ ป.ว.ส. ต่อที่ วิทยาลัยเพาะช่าง1ปี
แล้ว ENTRANCE เข้าสู่ระดับอุดมศึกษาในคณะมัณฑนศิลปมหาวิทยาลัย ศิลปากร
ช่วงเรียนหนังสือ ใช้วิชาชีพหาเงิน และเดินทางท่องเที่ยวไป JAVA , BALIและ
SUMATAR ตามลำดับ (หากการบินของ JONATHAN LIVINGSTON เป็นบทเรียนของการค้นหาแล้วไซร้
ข้าพเจ้าก็อาจเรียนแบบการบินของนกได้ วันหนึ่ง )
หลังจากจบการศึกษาตามหลักสูตร
ปริญญาตรี เดินทางมุ่งสู่ CALIFORNIA พักอาศัยอยู่ใน SAN FRANCISCO เป็นเวลา
1 ปี แล้วกลับมาเมืองไทย เข้าทำงานประจำกับรุ่นพี่ ที่เคยให้งานทำสมัยเป็นนักศึกษาฯขอลาพักร้อน
เมี่อทำงานครบ 5 เดือน เดินทางไป NEPAL แล้วกลับมาทำงานที่ค้างคาจนเสร็จ หลังจากนั้น
2 เดือนขอลาออก มุ่งหน้าสู่เกาะเต่า อยู่ที่นั่นระยะหนึ่ง แล้วกลับเข้ากรุงเทพฯ
เพื่อเรียนหลักสูตรวิชาช่างไม้เครื่องเรือน ณ. กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ดินแดง
อยู่ราว 3 เดือน
ต่อมามีลูกค้าเก่า ติดต่อรับงานออกแบบ ที่จังหวัดภูเก็ต จนหลังสรุปงานแล้วเสร็จ
ประมาณ 6 เดือน ข้าพเจ้า บ่ายหน้าล่องใต้สู่สวนโมกข์พลาราม ไชยา ด้วยความรู้สึกถึงชีวิตอันไร้แก่น
ออกจากไชยา ข้ามทะเล เข้าเกาะพงัน และ ปลายทางเกาะเต่า ทดลองใช้ชีวิตที่เรียบง่ายขึ้น
(อย่างที่ DAVID THOREAL เคยลองปฏิบัติ ณ.บึงวอเดน ) จนถึงคราวสอบชิงทุนการศึกษา
I C C R ของรัฐบาล INDIA เดินทางเข้ากรุงเทพฯ สมัครสอบ และ ก่อนประกาศผลข้าพเจ้าตัดสินใจเดินทางไป
INDIA ผ่าน CALCUTTA ปลายทางหมู่บ้าน SANTINIKETAN จึงได้เรียนรู้เทคนิคสลักหินกับอดีตศิลปินหญิงรัฐบาล
BENGAL โดยบังเอิญ จากนั้น เดินทางขึ้นเหนือ สู่รัฐ SIKKIM และDARJIRING ครบกำหนด
VISA 3 เดือน เดินทางกลับเมืองไทย พร้อมเครื่องมือสลักหิน ( เป็นตั่งมือและเท้า
) จากแม่จิตตจี( อดีตศิลปิน BENGAL)
ถึงเมืองไทย ใช้เวลา 2 เดือนกว่า สร้างผลงานทั้งงานหิน และงานไม้ รวบรวมผลงานได้กว่า
15 ชิ้น แล้วเดินทางสู่ INDIA อีกครั้ง และ กลับไปที่หมู่บ้าน SANTINIKETAN
นำผลงานเข้า สมัครในคณะ KALABHAWAN มหาวิทยาลัย VISWA BHARATI จากนั้นออกเดินทางลองลงสู่
ORISSA แล้วไปร่วมงานปีใหม่ของชาว ธิเบต ที่ BODHAGAYA
เดินทางต่อไป DARJIRINGรวบรวมเครื่องกันหนาว
เพื่อนำสู่ครอบครัวชาวภูเทียน ในรัฐ SIKKIM ซึ่งเคยช่วยเหลืออาหารที่พัก แก่ข้าพเจ้า
เมื่อครั้งแรกที่มาถึง ( เนื่องจากติดอยู่ในหุบเขาใกล้ค่ำ)
หลังจากนั้นจับรถไฟสายยาวข้ามอนุทวีป สู่ DELHI ด้วยตั้งใจจะไปดูงาน WORK
SHOP ในคณะ FINE ARTS ของมหาวิทยาลัย BARODA รัฐ GUJRAT ซึ่งอยู่ทางตอนใต้ของ
DELHI ระหว่างทางผ่านเข้าสู่เมือง JAIPUR , PUSHKAR ทะลุถึงทะเลทราย แห่ง
JAISALMER และต่อไป UDAIPUR ปลายทาง BARODA.
ที่ DARODA อาจารย์ในภาควิชา ประติมากรรม แนะข้าพเจ้าให้จับรถไป AURANGABAD
ไปดูงานสลักหินที่ยิ่งใหญ่ของโลก ณ. ถ้ำ AJANTA และ ELLORA
จากนั้นลงใต้สู่ BOMBAY จับเครื่องบินมา CALCUTTA ด้วยความเร่งรีบ เนื่องจาก
VISA ครบกำหนด 3 เดือน.
ถึงกรุงเทพฯ. สร้างผลงานไม้ต่อเนื่องจากเดิม พร้อมกับรอจดหมายตอบรับจากทาง
มหาวิทยาลัย VISWA BHARATI จนเงินที่มีสะสมอยู่ขาดหายไป ตัดสินใจเข้าเมืองหมายทำงานในสายอาชีพเพื่อเก็บเงินเป็นทุน.
หนังสือเรียกตัวมาถึงเมืองไทย 2 เดือน หลังจากที่เข้าทำงานประจำ ซึ่งเป็นช่วงรับหน้าที่ดูแลงานออกแบบของบริษัท
ตรีเพชร ISUZU HEAD QUATERโดยเลือกทำหน้าที่จนแล้วเสร็จ รวมเวลากว่า 6 เดือน
จึงลาออกด้วยผลงานของการจราจร ย้ายปทุมวัน แล้วเข้ามาทำงานในบริษัทเล็กๆใกล้บ้าน
หลังจากนั้นอีก 5เดือน จึงลาออก มาขยับประติมากรรม ที่ตั้งใจไว้แต่ต้น จนแล้วเสร็จเป็นผลงาน
ชุดแรก.
ณ.
วันนี้ ข้าพเจ้าต้องการนำเสนอ ผลงานอันเป็นแรงบันดาลใจจากช่วงชีวิต และ ประสบการณ์
ที่ผ่านมา สู่สาธารณะชน ผ่านชิ้นงานประติมากรรมโคมแสง ด้วยความหมายแห่ง สัจจะ
และ คุณค่า ทางด้านจิตใจ ต่อระบบสังคม ที่เน้นค่า แห่งปริมาณ การวัตถุ จนเกิดช่องว่างระหว่างธรรมชาติ
อันเป็นแหล่งกำเนิดของจิตใจ กับมนุษย์ ซึ่งเป็นเพียงกลไกหนึ่ง ในระบบองค์รวม
เท่านั้น เมื่อเรากล่าวถึงสากลจักรวาล.
ข้าพเจ้ามิได้มีเจตนาแปลกแยกตนเอง ออกจากสังคม หรืออ้างตนเป็นผู้หยาบกระด้าง
หากแต่ต้องการเรียนรู้ชีวิต กับ ธรรมชาติ และนำกลับมาประสาน ณ. ช่องว่างในสังคมที่ขาดหาย.