ประวัติศาสตร์ I INTRODUCTION I  ภูมิศาสตร์ I  การปกครอง I  ทำเนียบส่วนราชการ

"พระปทุมวรราชสุริยวงศ์"
เจ้าเมือง อุบลราชธานี คนแรก

แม่น้ำโขงสายน้ำแห่งประวัติศาสตร์ที่มีเรื่องราวมากมาย

แผ่นดินนี้เคยเป็นที่ที่เจ้าพระวอ กับไพร่พลได้มาสร้างบ้านสร้างเมืองมาแล้ว

    เมื่อความทราบถึงพระเจ้าศิริบุญสาร ก็ กล่าวหาว่าเจ้าพระวอกับเจ้าพระตา คิดการ กบฎ จึงได้ส่งกองทัพข้ามมาปราบ แต่ก็ถูก ไพร่พลของเจ้าพระวอ
    และเจ้าพระตา ตีแตกกับไปทุกครั้ง และ ทำการสู้รบกันอยู่ถึง3 ปี ฝ่ายเจ้าพระวอ กับเจ้าพระตาเห็นว่ากำลังของตนมีน้อย
    จึงได้ไปขอกำลังของกองทัพพม่าให้ มาช่วย แต่พม่ากลับส่งกำลังไปช่วยพระเจ้าศิริ บุญสาร ตีเมืองหนองบัวลำภู หรือนครเขื่อน ขันฑ์กาบแก้วบัวบานแตก
    ทำให้เจ้าพระตาเสียชีวิตในที่รบ ส่วน เจ้าพระวอกับไพร่พลที่เหลือ ก็แตกหนีลงไปขอพึ่งเจ้านครจำปาศักดื์
    ต่อมา เจ้าพระวอเกิดหมางใจกับพระ เจ้าองค์หลวงเจ้านครจำปาศักดิ์ จึงได้อพยพย้ายหนีกลับไปตั้งมั่นอยู่ ที่ดอนมดแดง ริมฝั่งแม่น้ำมูล
    และมีหนังสือมาขอพึ่งพระบรมโพธิสมภาร พระบาทสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชพระเจ้ากรุง ธนบุรี เมื่อปี พ.ศ. 2319 เมื่อพระเจ้าศิริบุญสารทราบเรื่อง
    จึงแต่งตั้งให้พระยาสุโพคุมกองทัพยกมา ตี เจ้าพระวอที่ดอนมดแดง แล้วล้อมจับเจ้าพระวอ ได้จึงให้ประหารชีวิตเสีย
    ท้าวก่ำ บุตรเจ้า พระวอ ท้าวคำผง ท้าวทิดพรม บุตรเจ้าพระตา หลบหนีไปได้และแจ้งเรื่องมายังเมืองนครราช สีมา ให้นำความกราบบังคมทูล
    พระเจ้ากรุงธนบุรี เพื่อขอกำลังไปช่วย ซึ่ง พระเจ้ากรุงธนบุร ีได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จเจ้าพระยามหา กษัตริย์ศึกยกกองทัพไปตีเมืองจำปาศักดิ์และ
    เวียงจันทน์ ในปี พ.ศ.2321 แล้วยึดเมืองทั้งสองไว้ และได้อัญเชิญพระแก้วมรกตกับพระบางลงมายังกรุงธนบุรี พร้อมกับคุมตัวเจ้านครจำปาศักดิ์ ลงมาด้วย สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี จึงโปรดเกล้าให้เจ้านครจำปาศักดิ์ กลับไปครองนครจำปาศักดิ์ตามเดิมโดยเป็นเมือง ประเทศราชขึ้นตรงต่อกรุงธนบุรี นับแต่นั้นมา
    ส่วนเจ้าคำผง สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีโปรดฯ ให้แต่งตั้งเป็น พระประทุมสุรราชภัคดี ขึ้นกับเมืองจำปาศักดิ์ ในปี พ.ศ. 2323 เมืองเขมรเกิดจราจล
    พระปทุมฯ ท้าวทิดพรหม และท้าวคำสิงห์ได้ร่วมยกทัพไปปราบ พร้อมกับสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก แต่ก็เกิดเหตุการณ์ทางกรุงธนบุรี เสียก่อน พระปทุมฯ จึงได้ติดตามกองทัพไปยังกรุงธนบุรีด้วย
    ครั้นเมื่อสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกได้ขึ้นครองราชสมบัติแล้ว พระปทุมฯ จึงขอพระราชทานย้ายครอบครัวไปตั้งภูมิลำเนาที่บ้านห้วยแจะระแม
    (ใกล้กับเมืองอุบลฯในปัจจุบัน) และท้าวคำสิงห์ย้ายไปอยู่ที่บ้านโคกสิงห์ สิงห์ท่า
    ต่อมาได้เกิดกบฎอ้ายเชียงแก้วชาวเมืองโขง ซึ่งแสดงตนเป็นผู้วิเศษ ยกกำลังไปล้อมเมืองจำปาศักดิ์ ขณะที่เจ้านครจำปาศักดิ์กำลังประชวนหนัก
    พระปทุมสุรราชภัคดีและท้าวฝ่ายหน้า พากันยกกำลังไปปราบปะทะกับ อ้ายเชียงแก้วที่แก่งตะนะ จับอ้ายเชียงแก้วได้จึงประหารชีวิตเสีย เพื่อเป็นบำเหน็จ
    ความชอบในการทำประโยชน์ต่อบ้านเมือง พระบาทสมเด็จ พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ท้าวฝ่ายหน้าบุตร
    เจ้าพระตาเป็นเจ้าพระไชยราชขัตติยวงศา ครองนครจำปาศักดิ์ สืบแทนพระเจ้าองค์หลวง และให้พระปทุมสุรราชภัคดี เป็น"พระปทุมวรราชสุริยวงศ์"
    ยกฐานะบ้านแจะระแมขึ้นเป็นเมือง"อุบลราชธานีศรีวนาลัย" เมื่อวันจันทร์เดือน 8 แรม 13 ค่ำ ปีชวด พ.ศ.2335 ต่อมาพระปทุมฯ เห็นว่าบ้านห้วยแจะระแม ไม่เหมาะที่จะตั้งเมืองใหญ่ จึงได้ย้ายมาตั้งบ้านเมืองที่ตำบลบ้านร้าง เรียกว่า ดงอู่ผึ้ง ริมฝั่งแม่น้ำมูลอันเป็นที่ตั้งจังหวัดอุบลราชธานีในปัจจุบัน พร้อมกับได้สร้าง
    พระอารามหลวงขึ้นเป็นวัดแรก
    ภายหลังการก่อตั้งเมืองอุบลฯ แล้ว ก็ได้มีการตั้งเมืองสำคัญ ในเขตปกครองของจังหวัดอุบลราชธานีขึ้นอีกหลายเมือง เช่นในปี พ.ศ. 2357 โปรดฯ ให้ตั้ง
    บ้านโคกกงพเนียง เป็นเมืองเขมราฐธานี
  • ปี พ.ศ. 2366 ยกบ้านนาก่อ ขึ้นเป็นเมืองโขงเจียง (โขงเจียม) โดยขึ้นกับนครจำปาศักดิ์
  • ปี พ.ศ. 2388 ในรัชกาลที่ 3 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ยกบ้านช่องนางให้เป็นเมืองเสนางคนิคม ยกบ้านน้ำโดมใหญ่ขึ้นเป็นเมืองเดชอุดม ให้หลวงอภัย
    เป็นหลวงยกกระบัตร หลวงมหาดไทยเป็นหลวงปลัด ตั้งหลวงธิเบศร์เป็นพระศรีสุระ เป็นเจ้าเมือง รักษาราชการเขตแขวงเมืองเดชอุดม
  • ปี พ.ศ. 2390 ตั้งบ้านดงกระชุหรือบ้านไร่ ขึ้นเป็นเมืองบัวกัน ต่อมาได้เปลี่ยนมาเป็นเมืองบัวบุณฑริก หรืออำเภอบุณฑริกในปัจจุบัน
  • ปี พ.ศ. 2401 ตั้งบ้านค้อใหญ่ ให้เป็นเมืองอำนาจเจริญ ของตั้งท้าวจันทบรม เป็นพระอมรอำนาจ เป็นเจัาเมือง ตั้งท้าวบุตตะเป็นอุปฮาด ให้ท้าวสิงหราช
    เป็นราชวงศ์ ท้าวสุริโยเป็นราชบุตร รักษาราชการเมืองอำนาจเจริญ ขึ้นกับเมืองเขมราฐ
  • ปี พ.ศ. 2406 ในรัชกาลที่ 4 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งบ้านกว้างลำชะโด ตำบลปากมูล เป็นเมืองพิบูลมังสาหาร และให้ตั้งบ้านสะพือ เป็น
    เมืองตระการพืชผล ตั้งท้าวสุริยวงศ์ เป็นพระอมรดลใจ เป็นเจ้าเมือง
  • ปี พ.ศ. 2422 ในรัชกาลที่ 5 โปรดเกล้าฯ ให้ตั้งบ้านท่ายักขุเป็นเมืองชานุมานมณฑล และให้ตั้งบ้านเผลา (บ้านพระเหลา) เป็นเมืองพนานิคม
  • ปี พ.ศ. 2423 โปรดเกล้าฯ ให้ตั้งบ้านนากอนจอ เป็นเมืองวารินชำราบ
  • ปี พ.ศ. 2424 โปรดเกล้าฯ ให้ตั้งบ้านจันลานาโดม เป็นเมืองโดมประดิษฐ์ (ปัจจุบันอยู่ในอำเภอน้ำยืน)
  • ปี พ.ศ. 2425 โปรดเกล้าฯ ให้ตั้งบ้านทีเป็นเมืองเกษมสีมา ซึ่งต่อมาเปลี่ยนเป็นอำเภอม่วงสามสิบ
  • อุบลราชธานี จึงเป็นเมืองที่มีเขตการปกครองกว้างขวางที่สุด ทางด้านตะวันออกของภาคอีสานตอนล่าง ครอบคลุมที่ราบและแม่น้ำสายสำคัญของภาคอีสานถึง 3 สายด้วยกัน คือ แม่น้ำชี แม่น้ำมูล และแม่น้ำโขง อีกทั้งยังมีแม่น้ำสายเล็กๆ ที่มีกำเนิดจากเทีอกเขาในพื้นที่ เช่น ลำเซบก ลำเซบาย ลำโดมน้อย ลำโดมใหญ่ เป็นต้น
    แม่น้ำทั้งหลายเหล่านี้ไหลผ่านที่ราบทางด้านเหนือและทางด้าน ใต้ทอดเป็นแนวยาวสู่ปากแม่น้ำมูล และแม่น้ำโขง ยังความอุดมสมบูรณ์ ให้แก่พื้นที่
    ในบริเวณแถบนี้ทั้งหมด ทำให้เกิดสภาวะแวดล้อมที่ ี่เหมาะสมแก่การดำรงชีวิตมนุษย์และสัตว์แต่โบราณกาล
    จากการที่กลุ่มไทย - ลาว ได้อพยพมาสร้างบ้านสร้างเมืองขึ้น ที่บริเวณดงอู่ผึ้ง ริมฝั่งแม่น้ำมูลเมื่อราวสองร้อยกว่าปีมาแล้ว จนกลายเป็นชุมชนขนาดใหญ่
    มีศูนย์กลางการปกครอง การค้า การคมนาคม และเป็น"จังหวัดอุบลราชธานี" จนถึงปัจจุบันนี้

BACK I  NEXT
1