วัดวาอาราม I  TOURIST ATTRACTION I  สถานที่ท่องเที่ยว I  แผนที่แหล่งท่องเที่ยว I  คู่มือข้ามโขงไปลาว

วัดหนองป่าพง ตั้งอยู่ในเขต อ.วาริน ชำราบเป็นวัดที่มีบรรยากาศร่มรื่น เงียบสงบ เหมาะแก่การเล่าเรียนพระ ธรรมวินัยและวิปัสสนากัมมัฏฐานเป็นที่ตั้งของ
พพิธภัณฑ์หลวงปู่ชาอยู่บนทาง หลวงหมายเลข 2178 ห่างจากตัวอำเภอประมาณ
6 กม.ตัวโบสถ์เป็นสถาปัตยกรรมไทยประยุกต์ มีหุ่นขี้ผึ้งของพระอาจารย์หลวงปู่ชา
ผู้เริ่มก่อสร้างวัดนี้ขึ้นมาเป็นที่เครารพนับถือของคนทั่วไป

วัดพระธาตุหนองบัว เป็นที่ตั้งของ มหาเจดีย์วัดพระธาตุหนองบัว สร้างขึ้น
เพื่อเป็นสัญลักษณ์ครบ 25 ศตวรรษ ของพุทธศาสนา จำลองแบบมาจาก เจดีย์ที่พุทธคยา ประเทศอินเดียตั้งอยู่ที่วัดหนองบัว เขต อ.เมือง จ.อุบลราชธานี

วัดทุ่งศรีเมือง ตั้งอยู่ที่ถนนหลวง ตำบลในเมือง อำเภอเมืองอุบลราชธานี สร้างขึ้นในสมัย
พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่ หัวรัชกาลที่ 3 สำหรับปีใน การสร้างวัดนี้ไม่ปรากฏ
อย่างแน่ชัด และไม่เคยกล่าวถึงปี พ.ศ. ในเอกสารใด ๆ ผู้สร้างวัดนี้คือ ท่านเจ้าอริยวงศา
จารย์ญาณวิมลอุบล คณะภิบาลสังฆปาโมก (สุ้ย)เจ้าคณะเมืองอุบลราชธานีใน สมัยนั้นและโดยที่ท่านได้
เคยลงไปศึกษา พระธรรมวินัย ที่วัดสระเกศราช วรวิหารกรุงเทพมหานคร ท่านจึงได้นำ
พระพุทธบาทจำลองจากวัดสระเกศ ฯ มา ยังอุบลราชธานี และได้สร้างหอ พระพุทธบาทขึ้น
เป็นที่ประดิษฐานหอพระพุทธบาทหลังนี้คือ พระอุโบสถที่ พระสงฆ์ใช้ทำสังฆกรรม มีลักษณะของศิลปะ
แบบรัตนโกสินทร์ตอนต้น และศิลปะเวียงจันทร์ผสมกันอยู่ ภายในมีจิตรกรรมฝาผนังทุกด้านเขียน ขึ้นในสมัยเดียวกันกับการก่อสร้าง
ภายในวัดอาคารที่สำคัญอีกหลังหนึ่งคือ
" หอพระไตรปิฏก" เป็นหอไตร ที่สร้างด้วยไม้ตั้งอยุ่กลางสระน้ำเพื่อเป็นที่
เก็บรักษาพระไตรปิฏกป้องกันไม่ให้ มดปลวกไปทำลายมีลักษณะเป็นศิลปผสมระหว่างไทย พม่า และลาว กล่าวคือ ลักษณะอาคารเป็นแบบไทยเป็นเรือนผาประกนขนาด 4 ห้อง ภายในห้องที่เก็บ
ตู้พระธรรมทุกด้านเขียนลงรักปิดทองส่วนของหลังคา มีลักษณะศิลปไทยผสมพม่า คือมีช่อฟ้าใบระกา แต่หลังคาซ้อนกันหลายชั้นแสดงถึงอิทธิพลศิลปกรรมพม่าที่ ส่งผ่านมายังศิลปล้านช้าง ส่วนลวดลาย
แกะสลักบนหน้าบันทั้ง 2 ด้าน เป็นลักษณะศิลปแบบลาวฝีมือชั้นสูง ตรงส่วนฝาปะกนด้านล่างแกะ
เป็นรูปสัตว์ประจำราศรีต่าง ๆ และลวดลายพันธุ์ไม้เป็นช่อง ๆ โดยรอบ นับเป็นหอไตร ที่มีความสวยงามเป็นเอกลักษณ์

    วัดภูเขาแก้ว ตั้งอยู่ที่อำเภอพิบูลมังสาหาร ห่างจาก ตัวจังหวัดอุบลราชธานี 44 กิโลเมตรก่อนถึง อำเภอพิบูลมังสาหารประมาณ 1 กิโลเมตร ตามทาง หลวงแผ่นดิน
    หมายเลข 217 วัดภูเขาแก้ว สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2480 สำหรับให้พระ สงฆ์ปฏิบัติ
    กัมมัฎฐาน สิ่งที่น่าสนใจภาย ในวัดคือ พระอุโบสถที่ประดับด้วย กระเบื้องทั้งหลัง มีรูปแบบ
    สถาปัตยกรรมที่ น่าสนใจ ความงามของอุโบสถได้ถูก ถ่ายทอดจากฝีมือของช่างพื้นบ้าน โดยการออกแบบของเจ้าอาวาสองค์ ปัจจุบัน โดยได้นำรูปแบบศิลปไทย ซึ่งถ่าย ทอดอยู่ใน
    ส่วนบนของ ที่ทำหลังคาเป็นโครงสร้างไม่ มีมุขลดหลั่นกันสี่ชั้นทั้ง ด้านหน้าและด้านหลังมุง
    ด้วยกระเบื้อง เคลือบดินเผา ประดับด้วยช่อฟ้าใบ ระกาหางหงส์ โดยมีคันทรวงรองรับ ชายคาเป็นรูปนาคอยู่โดยรอบ ส่วนบริเวณกลางหลังคาตกแต่งเป็น ยอดปราสาท หน้าบันจำหลักลายรูป ปั้นลายก้านขดที่ยังคงความ อ่อนช้อยและเข้ากันได้ดีกับบัวเสา
    ที่ทำตามแบบศิลปอินเดีย ในขณะที่ส่วนล่างของ บัวหัวเสาลงมาตกแต่งแบบศิลปขอม จากที่กล่าวมาในเบื้องต้นทำให้เห็นว่า ไม่ว่าจะเป็นลักษณะทางสถาปัตยกรรมหรือลวดลาย
    ที่ใช้ตกแต่ง ส่วนใหญ่จะถูกถ่ายทอดมาจากลวดลายของปราสาทขอมทั้งสิ้น ทั้งนางอัปสร หรือทวารบาลที่ยืนเคียงคู่อยู่ที่ประตูพระอุโบสถ
    ภายในพระอุโบสถวัดภูเขาแก้ว จะตกแต่งด้วยภาพนูนสูงอยู่เหนือ บานประตูและหน้าต่างขึ้นไปเป็นเรื่อง ราวเกี่ยวกับพระะาตุที่สำคัญของ ประเทศไทย
    พร้อมทั้งเล่าเรื่องราวประวัติ ของพระธาตุแต่ละองค์โดยสังเขป นอกจากนี้บริเวณชั้นล่างของพระ อุโบสถยังใช้เป็นศาลาการเปรียญและ นั่งปฏิบัติกัมมัฎฐานโดย
    รอบผนังอาคารชั้น ล่างยังทำเป็นโต๊ะตั้งเครื่องปั้น ดินเผาอีกด้วย
    ศาลหลักเมือง อุบลราชธานี ตั้งอยุ่ทางด้านทิศใต้ของทุ่งศรี เมืองและอยุ่ด้านทิศเหนือของพิพิธภัณฑสถาน แห่งชาติอุบลราชธานี บนถนนศรีณรงค์เริ่ม
    การก่อสร้างเมื่อ วันที่ 27 สิงหาคม 2515 โดย กรมศิลปากรได้ออกแบบเสาหลักเมือง เป็น ยอดบัวตูม โดยใช้ไม้ชัยพฤกษ์และใน วันที่ 16 มกราคม 2519
    พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลปัจจุบันสมเด็จพระนางเจ้าพระ บรมราชินีนาถและสมเด็จพระบรมโอรสาธิ ราชสยามกุฎราชกุมารได้เสด็จพระ ราชดำเนิน
    ทรงประกอบพิธีเปิด ทุก วันนี้ศาลหลักเมืองอุบลราชธานีเป็น ที่สักการะ ของชาวอุบลราชธานี และผู้ที่มาเยี่ยมเมืองอุบลราชธานี

BACK I  NEXT
1