พลอยสังเคราะห์โมซาไนท์
(Synthetic Moissanite) ผลิตได้จาก
แร่ซิลิคอน คาร์ไบด์ (Silicon Carbide)
สูตรเคมี SiC เป็นผลึกเดี่ยว
แรกเริ่มเพื่อใช้เป็นวัตถุกึ่งตัวนำไฟฟ้าและใช้เป็นพลอยเลียบแบบเพชร
แร่ซิลิคอน
คาร์ไบด์ ธรรมชาติ ค้นพบโดยHenri
Moissan เมื่อปี 1904 จึงได้ตั้งชื่อ
แร่ซิลิคอน คาร์ไบด์ เป็น Moissanite
ตามชื่อผู้ค้นพบ
คุณสมบัติทางด้านอัญมณี
การวิเคราะห์คุณสมบัติทางด้านอัญมณีศาสตร์ของเพชร
(Diamond) และพลอยสังเคราะหโมซาไนท์
(Synthetic Moissanite) จากเครื่องมือต่าง ๆ
มีดังนี้
1. เครื่องโพลาริสโคป (Polariscope)
- เพชรแสดงการหักเหเดี่ยว
- พลอยสังเคราะห์โมซาไนท์
(Synthetic Moissanite)
แสดงการหักเหคู่
2.เครื่องรีแฟรคโตมิเตอร์ (Refractometer)
- เพชรแสดงเกินค่าที่จำกัด
(over the limit) ที่ค่า 2.417
- พลอยสังเคราะห์โมซาไนท์ (Synthetic Moissanite)
แสดงเกินค่าที่จำกัด (over the limit)
ที่ค่า 2.648 2.691 ค่าต่าง (birefringence)
0.043
3.น้ำยาเมทิลีนไอโอไดด์ (Methelene
Iodide) มีความถ่วงจำเพาะ 3.32
- เพชรจะจมในน้ำยาเมทิลีนไอโอไดด์
(Methelene Iodide)
เนื่องจากเพชรมีความถ่วงจำเพาะ
3.51 ซึ่งหนักกว่าน้ำยาเมทิลีนไอโอไดด์
- พลอยสังเคราะห์โมซาไนท์(Synthetic Moissanite)จะลอย
เพราะมีความถ่วงจำเพาะ3.22
ที่น้อยกว่าน้ำยาเมทิลีนไอโอไดด์
4.กล้องขยาย (Loupe) หรือกล้องไมโครสโคป
(Microscope)
เพชร (Diamond)
อาจพบตำหนิ เช่น
- ตำหนิผลึก
(crystals) อาจเป็นสีขาว ดำ
น้ำตาล หรือแดง
- ตำหนิขนนก
(feathers)
- ตำหนิคล้ายฝุ่น
(clouds)
- ตำหนิคล้ายเส้นขนที่ขอบเกิลเดิล
(bearding)
- ตำหนิธรรมชาติ
(naturals) ที่เกิลเดิล
เป็นรูปสามเหลี่ยม (trigon)
- รอยแตกแบบขั้นบันได
(cleavage)
พลอยสังเคราะห์โมซาไนท์
(Synthetic Moissanite)
- พบเส้นซ้อน
(Doubling) ที่ขอบเหลี่ยม
เนื่องจากพลอยสังเคราะห์โมซาไนท์ (Synthetic Moissanite)
เป็นหักเหคู่
และมีค่าต่าง (birefringence)
ค่อนข้างกว้าง
จึงเห็นเส้นซ้อน (Doubling)
ได้ง่าย
- พบตำหนิเส้นเข็มยาวสีขาวจำนวนมากเรียงขนานซึ่งกันและกัน
ส่วนมากจะเห็นเส้นเข็มเรียงตั้งฉากกับหน้าพลอย
(Table)
- ขอบเกิลเดิลจะดูคล้ายเทียนขี้ผึ้ง
- ขอบเหลี่ยมจะดูไม่คมเท่าเพชร
- เมื่อคว่ำหน้าพลอยสังเคราะห์โมซาไนท์ (Synthetic Moissanite)
ลงบนแผ่นพลาสติกขาวขุ่นกับมีไฟส่องผ่าน
โดยเฉพาะพลอยสังเคราะห์โมซาไนท์
(Synthetic Moissanite) ที่มีสีตั้งแต่ I
ลงไปจนแลดูอมเหลือง
จะเห็นด้านล่างพาวิลเลี่ยนเป็นสีเทาเขียวอมเหลือง
________________________________________________________________________________
อ้างอิงจากหนังสือ
Gems & Gemology (Winter 1997) Volume 33 No. 4 |