Rubber Duct . . . ทำเองก็ได้. - = ครูดนตรี = -
            ผมไม่ใช่คนเขียนหนังสือที่เก่งสักเท่าไร แต่บังเอิญก็รักการสร้างสายอากาศเล่นเอง เพราะทำให้เรา
      ได้ความรู้และเป็นเรื่องจูงใจให้เราไม่เบื่อความถี่ไปเสียก่อนเวลาอันควร วันหนึ่งมีเพื่อนสมาชิกท่านหนึ่ง
      สนใจอยากได้รายละเอียดวิธีสร้างสายอากาศยางหรือ Rubber Duct สำหรับใช้เองสักต้นหนึ่ง ผมก็เลย
      เขียนขึ้นมาเป็นบทความบทนี้ หลังจากที่เขียนเสร็จแล้วก็นึกขึ้นมาได้ว่า ยังมีเพื่อนสมาชิกอีกหลายท่าน
      ที่มีความสนใจอยากสร้างสายอากาศขึ้นใช้เองโดยไม่รู้ว่าจะเริ่มต้นอย่างไร จึงอยากจะให้บทความนี้เป็น
      ของฝากแด่เพื่อนสมาชิกทุกท่านที่สนใจในการสร้างสายอากาศ อย่างไรก็ตามขอออกตัวไว้ก่อนว่าผมก็
      ไม่ได้เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านสายอากาศแต่อย่างใด สิ่งที่อยู่ในบทความนี้เป็นเพียงแค่ประสบการณ์ที่ได้จาก
      การทำสายอากาศเล่นเท่านั้นและสายอากาศชนิดนี้ก็เป็นสายอากาศที่สมาชิกที่สร้างเล่นเอง มักทำเป็น
      กันทั่วไปโดยไม่ทราบที่มาว่าท่านใดเป็นผู้ริเริ่มหรือเป็นต้นแบบ

      หลักการเบื้องต้น
            สายอากาศ Rubber Duct เป็นสายอากาศที่สร้างขึ้นจากการนำเส้นลวดขนาดเล็กมาขดเป็นคอยล์
      (Coil) เพื่อลดขนาดความยาวทางกายภาพของสายอากาศให้ดูสั้นลงโดยยอมลดประสิทธิภาพและคุณภาพ
      บางด้านลงจากปกติ ความยาวเมื่อนำมายืดเป็นเส้นตรงของขดลวดจะมีความยาวใกล้เคียงขนาด 5/8
      ของความยาวคลื่นโดยประมาณ โครงสร้างมีลักษณะพื้นฐานใกล้เคียงกับสายอากาศ 1/4 แลมด้า คือ
      ส่วนที่ทำหน้าที่เป็นสายอากาศจะไม่สัมผัสทางไฟฟ้ากับส่วนที่ทำหน้าที่เป็น Ground Plane ซึ่งในที่
      นี้ก็คือ ส่วนที่เป็น Ground หรือตัวถังของเครื่อง 2 Meter นั่นเอง

      วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้


        1. สายโทรศัพท์ชนิดไส้ในเป็นเส้นคู่ความยาวประมาณ 1.30-1.50 เมตร ( 1 เส้นสามารนำมา
        ใช้ทำ Rubber Duct ได้ 2 ต้น)

        2. หัว BNC (เมื่อไปเลือกซื้อควรทดลองนำมาสวมกับ 2 Meter ดู หากหลวมคลอนสามารถจับ
        เขย่าไป-มาได้แสดงว่าคุณภาพไม่ดีไม่ควรนำมาใช้กับ 2 Meter หรือนำมาทำ Rubber Duct)

        3. ท่อหดขนาดต่างๆ เช่น 5 mm. 8 mm. 11 mm. หรือขนาดใกล้เคียงอย่างละ 1 เส้น และ
        ขนาดความโต 11 หรือ 12 mm.สำหรับสวมทับหัว BNC อีกต่างหาก 1 เส้น (สีอะไรก็ได้ โดย
        มากมักใช้สีเทาหรือสีดำ) ท่อ 1 ชุดสามารถนำมาใช้ทำ Rubber Duct ได้ราวๆ 3-4 ต้น ท่อหด
        นี้สามารถหาซื้อได้ที่ร้านขายอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ บ้านหม้อ หรือร้านจำหน่าย 2 Meter ทั่วไป

        4. กาว Epoxy ชนิดแห้งเร็ว (หากทำน้อยใช้หลอดเล็ก ราคาประมาณชุดละ 40-50 บาทก็ได้)

        5. ลวดเชื่อมขนาดเส้นเล็กๆ (ความโตในราว 2.5 mm.) หรือเส้นใหญ่ (โตราวๆ 3.00 mm.)
        ขนาดใดๆ ก็ได้หรือสายอากาศชักที่ชำรุดไม่ใช้แล้ว(ใช้เฉพาะท่อนปลายสุดหรือท่อนที่ 2 ) ขึ้น
        อยู่กับความชอบ คือ หากชอบทำสายอากาศชนิดต้นผอมๆ ยาวๆ ก็ให้ใช้แกนขนาดเล็ก (ได้
        สายอากาศต้นยาวราวๆ 6-8 นิ้ว โดยประมาณ) หากใช้แกนขนาดใหญ่สายอากาศที่ได้จะเป็น
        รูปแบบตรงกันข้ามคือต้นอ้วนและสั้น (ความยาวประมาณ 3-4 นิ้ว)

        6. ตะกั่วบัคกรีและอุปกรณ์บัคกรี

      วิธีทำ
            นำสายโทรศัพท์มาถอดเอาเฉพาะไส้ในออกซึ่งสายเส้นในนี้จะเป็นสายที่มีพลาสติก (โดยมากมัก
      เป็นสีเขียวและแดงคู่กัน) หุ้มอยู่ นำมาใช้เพียง 1 เส้น ปอกปลายด้านหนึ่งออกเล็กน้อย (ประมาณ 3
      mm.) นำลวดเชื่อมที่เตรียมไว้มาทำเป็นแกนเอาสายโทรศัพท์พันรอบแกนนี้โดยวิธีพันให้พันให้แน่น
      รอบชิดกันโดยตลอด
            เมื่อพันเสร็จแล้วจะได้โครงของ Rubber Duct คร่าวๆ ต่อจากนี้ให้นำท่อหดขนาดใกล้เคียง
      ความโตของแกนนี้ (ท่อเล็กขนาด 5-7 mm.) มาสวมหุ้มแล้วนำไปลนไฟ(ทางที่ดีควรใช้ลมร้อนจาก
      ที่เป่าผมจะดีที่สุด)
            จากนั้นรอจนท่อหดรัดตัวเต็มที่แล้วจึงค่อยๆ ถอดแกนในออก (ท่อหดควรหุ้มประมาณ 2-3 ชั้น
      เพื่อความแข็งแรง ก่อนหุ้มท่อหดอย่าลืมเผื่อปลายด้านที่เป็นลวดทองแดงไว้นิดหนึ่งด้วยสำหรับนำ
      มาบัคกรีกับเข็มของ BNC เสร็จแล้วนำไปบัคกรีติดกับหัวเข็มของ BNC นำ Rubber Duct พร้อม
      หัวเข็มบรรจุลงในตัวเรือน BNC โดยมีหลักการคร่าวๆ คือ


        - เข็มและส่วนที่เป็น Rubber Duct จะต้องไม่สัมผัสกันทางไฟฟ้ากับตัวเรือนหรือตัวถังของ
        BNC

        - ส่วนที่เป็น Coil หรือเป็นขดลวดใน Rubber Duct ควรหาวิธีทำให้ลอยอยู่เหนือตัวถัง BNC

        - พยายามบรรจุเข็มและแกน Rubber Duct ให้อยู่ในแนวกึ่งกลางหรือ Center ให้ได้มาก
        ที่สุด

            เมื่อแน่ใจว่าเข็ม BNC ลงที่เรียบร้อยแล้ว ต่อจากนั้นให้ผสมกาว Epoxy แล้วนำมาหยอดใส่ลง
      รอบๆ แกน Rubber Duct เฉพาะส่วนที่จมอยู่ในหัว BNC รอจนกาวแห้งดีแล้ว ให้นำท่อหดมาหุ้ม-
      คลุมให้ถึงฐาน BNC อีกชั้นหนึ่งเพื่อความสวยงามและความแข็งแรงเพิ่มขั้น

      การปรับแต่ง
            การปรับแต่งหรือที่เราเรียกกันโดยทั่วๆไปว่าการ Trim สายอากาศสามารถทำได้หลายวิธีเช่น


        - การปรับแต่งโดยใช้เครื่องมือวัดค่า VSWR ของสายอากาศหรือเรียกว่าการใช้ VSWR meter

        - ปรับแต่งด้วยเครื่องวัดค่าความแรงสัญญาณ RFS Meter (Relative Fieldstrength meter)

        - การปรับแต่งโดยอาศัยเทียบจาก S-Meter ของเครื่องรับ ในกรณีที่ไม่มีเครื่องมือช่วยอื่นๆ

            หากมีเวลาและต้องการความละเอียดมากๆ ควรใช้วิธีการทั้ง 3 วิธีร่วมกัน สำหรับวิธีที่สามารถให้
      ค่าความมั่นใจได้มากที่สุดว่าสายอากาศที่ใช้จะปลอดภัยต่อเครื่อง 2 Meter คือการวัดด้วย VSWR
      Meter (แต่ไม่ได้หมายความว่าสัญญาณจะไปได้ดีที่สุดหรือแรงที่สุด)

            โดยทั่วๆ ไปจุดมุ่งหมายของการใช้สายอากาศก็คือให้สามารถส่งสัญญาณไปได้ดีที่สุด สัญญาณ
      แรงที่สุด ความไวในการรับมากที่สุดหรือเรียกว่าหูไวที่สุดและค่ าVSWR ณ.ความถี่ที่ใช้งานมีค่าต่ำ
      ที่สุด ส่วนความสามารถอื่นๆ นั้นเป็นองค์ประกอบรองลงมา เช่น ขนาดกระทัดรัดหรือใช้ได้หลายย่าน
      ความถี่ ฯลฯ

            การปรับแต่งสายอากาศโดยทั่วๆไปที่เรากระทำกันอยู่มักจะเพ่งเล็งกันไปที่ค่า VSWR เป็นสำคัญ
      แต่ในบางครั้งและกับสายอากาศบางชนิดค่าคุณสมบัติทั้ง 3 แบบที่กล่าวมาแล้วนั้นมักจะมีค่าที่สวนทาง
      กันคือในขณะที่ค่า VSWR ของสายอากาศวัดได้ต่ำที่สุด ความแรงของสัญญาณที่ส่งออกไปอาจจะไม่
      แรงที่สุดแต่เมื่อค่าความแรงของสัญญาณมีค่าสูงที่สุด ค่า VSWR ที่วัดได้อาจจะไม่ใช่ค่าที่ต่ำที่สุดก็ได้

            บางครั้งเราสามารถทำให้สายอากาศส่งไปได้ดีและมีค่า VSWR ที่พอเหมาะแต่สายอากาศอาจรับ
      สัญญาณได้ไม่ค่อยดี จุดมุ่งหมายของการปรับแต่งสายอากาศก็คือการทำให้เกิดความพอดีเหมาะสม
      และลงตัวระหว่างเรื่อง 3 เรื่องซึ่งก็คือจุดที่คุณสมบัติทั้ง3 มาพบกันนั่นเอง และนี่คือเหตุผลของการใช้
      วิธีวัดทั้ง 3 วิธีร่วมกัน

            สำหรับการปรับแต่งสายอากาศ Rubber Duct นี้จะเป็นการใช้วิธีผสมผสานกันระหว่างวิธีทั้ง 3
      วิธีร่วมกัน โดยเริ่มต้นหนทางที่ดีที่สุดก็คือเราควรจะมีสายอากาศไว้คอยเปรียบเทียบสัก1 ต้นซึ่งถ้า
      เป็นสายอากาศชนิดเดียวกันกับที่เราจะจัดสร้างยิ่งดีมากๆ การปรับแต่งเราอาจจะเริ่มต้นได้ในหลายๆ
      วิธีตามแต่ความถนัด

            แต่ที่มักจะนิยมใช้กันมากที่สุดสำหรับการปรับแต่งสายอากาศ Rubber Duct ก็คือ การทดสอบ
      ความแรงสัญญาณเปรียบเทียบด้วยเครื่องวัด RFS Meter โดยการใช้กำลังส่งต่ำๆ (เพื่อป้องกัน
      ไม่ให้เกิดอันตรายกับเครื่อง 2 Meter ในกรณีที่ค่า VSWR ยังไม่ลงตัวและอาจยังมีค่าสูงอยู่ในช่วง
      เริ่มต้นของการปรับแต่ง) ตรวจสอบเปรียบเทียบความแรงของสัญญาณที่ได้จากสายอากาศ 2 ต้น
      ปรับแต่งสายอากาศต้นที่ต้องการโดย Trim ให้มีค่าความแรงของสัญญาณใกล้เคียงหรือมากกว่า
      สายอากาศต้นแบบ (ในกรณีที่ไม่มีเครื่องวัด RFS Meter อาจใช้วิธีดูความไวในการรับเปรียบเทียบ
      กันแทนก็ได้)

            การ Trim ทำได้โดยการใช้กรรไกรหรือเครื่องมือตัดลวดค่อยๆ ตัดส่วนปลายของสายอากาศ
      ออกทีละครึ่งรอบหรือทีละ 1 รอบของขด Coil (ในกรณีที่ยังมีค่าที่วัดได้แตกต่างจากต้นแบบมากๆ
      อาจสามารถ Trim ได้ทีละมากกว่า 1 รอบ) สำหรับสายอากาศ Rubber Duct ที่มีขนาดของขดวง
      รอบ Coil เล็กมากนี้บางครั้งอาจจำเป็นต้องใช้ปลายแบนของไขควงขนาดเล็กหรือปลายไม้จิ้มฟัน 
      ช่วยในการงัดปลายของขดลวดขึ้นมาเพื่อตัด Trim และจัดแต่งให้เข้าที่เมื่อจะวัดค่า

            หลังจากแต่งค่าความแรงของสัญญาณได้ใกล้เคียงกันแล้ว ควรจะนำสายอากาศต้นที่จัดทำมา
      วัดค่า VSWR เพื่อความแน่ใจอีกครั้งหนึ่งก่อนนำไปใช้งาน สำหรับเครื่องวัด VSWR Meter ที่
      นำมาใช้วัดควรใช้ชนิดที่มีตัวถังเป็นโลหะเช่น SX 200 SX 400 SX 600 หรือรุ่นอื่นๆ ที่มี
      ลักษณะใกล้เคียงกันกับรุ่นที่ระบุ (VSWR Meter ของ Kaise รุ่น 2200 หรือ 2100 มีตัวถัง
      เป็นพลาสติกหากนำมาใช้วัดค่า VSWR เฉพาะของสายอากาศชนิด Rubber Duct นี้ จะได้
      ค่าที่คลาดเคลื่อนสูงมากแต่ VSWR Meter รุ่นนี้จะมี RFS Meter  มาให้ในตัวด้วย เพราะ-
      ฉะนั้นจึงมีประโยชน์ในอีกแง่หนึ่ง)ให้ใช้ Adapter BNC/PL-259  ชนิดตรงเพื่อใช้ติดสาย-
      อากาศ Rubber Duct (ไม่ควรใช้ข้อต่อชนิดงอ) การวัดจะทำในลักษณะคว่ำเครื่องวัดลงเมื่อ
      อ่านค่า และควรระวังผลรบกวนจากสายนำสัญญาณที่ต่ออยู่อีกขั้วหนึ่ง ของเครื่องวัดจะทำให้
      การอ่านค่าเกิดการคลาดเคลื่อนหากปล่อยให้สายนำสัญญาณอยู่ใกล้ๆ และอยู่ในระดับเดียวกัน
      กับสายอากาศ  วิธีการวัดโดยอ่านค่าจากเครื่องวัดค่า VSWR Meter ให้เปรียบเทียบค่า VSWR
      ของความถี่ที่ใช้งานกับค่าความถี่ต่ำสุด, ความถี่สูงสุดของย่านความถี่ใช้งานเช่นวัดค่า VSWR
      เปรียบเทียบระหว่างความถี่ 144.000 Mhz 145.000 Mhz 146.000Mhz ค่าที่วัดได้ที่ถูก
      ต้องอาจจะไม่ใช่ค่าที่ต่ำที่สุดแต่จุดที่ค่อนข้างดีที่สุดก็คือตำแหน่งที่ค่า VSWR ในทั้ง3 ความถี่
      สามารถวัดได้ตรงกันหรือใกล้เคียงกันโดยดีที่สุดก็คือค่า VSWR ต่ำที่สุดที่ความถี่กลางคือ
      145.00 Mhz การปรับ Trim สายอากาศกระทำเช่นเดียวกันกับเมื่อใช้ RFS Meter คือเมื่อ
      ค่า VSWR วัดได้สูงมากทั้ง 3 ความถี่  (เช่น วัดได้ 3:1,4:1) สามารถ Trim ได้ทีละมากกว่า 1
      รอบ แต่หากว่าค่า VSWR ที่วัดได้มีค่าต่ำกว่า 2:1 ลงมา ควร Trim ครั้งละ 1/2 รอบ หรือ 1/4
      ถึง 1/8 รอบเพื่อความละเอียด ในครั้งแรกๆ ควรทำสายอากาศ ไว้เผื่อเสียจำนวน 2-3 ต้นด้วย

            เนื่องจากการปรับแต่งในขั้นละเอียดต้องการทั้งประสบการณ์ และความเที่ยงในการปรับแต่ง

      หมายเหตุ : -

      - ลวดที่นำมาทำสายอากาศสามารถดัดแปลงใช้ลวดอาบน้ำยาหลายขนาดความโตมาทำได้โดยมี
      ตัวแปรดังนี้ คือ

            * หากใช้แกนพันขดลวดขนาดโต สายอากาศที่ทำได้จะมีขนาดสั้น

            ** หากใช้แกนพันขดลวดขนาดเล็ก สายอากาศที่ทำได้จะมีขนาดยาว

      - สำหรับแกนขนาด 3.00 mm. จะได้สายอากาศต้นยาวประมาณ 4-4.5 นิ้ว

      - หากใช้ลวดอาบน้ำยาขนาดความโตราวๆ 3.00 mm. ทำสายอากาศและใช้แกนขนาดใกล้เคียง
      เส้นผ่าศูนย์กลาง 1 นิ้ว จะได้สายอากาศอีกชนิดหนึ่งที่สั้นราวๆ 1 นิ้ว ความโตราวๆนิ้วหัวแม่โป้ง
      แต่มีความสั้นมากๆ (การปรับแต่งทำได้ยากมากๆและต้องมีความเที่ยงสูงมาก)

      - การลนไฟเพื่อให้ท่อหดรัดตัวควรใช้ไฟอ่อน เพื่อป้องกันส่วนที่เป็นฉนวนพลาสติคของสายอากาศ
      ละลายทำให้เกิดการลัดวงจรในขดลวดได้

      - เทคนิคการทำให้สายอากาศแข็งแรงและเป็นการทำให้ส่วนที่เป็นสายอากาศอยู่พ้นตัวถังของ BNC
      ด้วย ก็คือเผื่อความยาวของลวดที่ใช้ทำสายอากาศยาวออกไปอีกราวๆ 10-15 ซ.ม.โดยให้ความยาว
      ส่วนที่เพิ่มขึ้นมานั้นเป็นสายทองแดงเปลือยเมื่อขดลวดเข้า กับแกนจนหมดแล้วให้บัคกรีทองแดง
      ส่วนที่เปลือยเชื่อมติดกันจนหมดนำปลายของด้านนี้บัคกรีเข้ากับเข็ม BNC โครงสร้างของส่วนนี้
      จะทำหน้าที่เสมือนแกนส่วน Inner ของสายนำสัญญาณที่มีขนาดโตและแข็งแรงพอที่จะรับแรงบิด,
      ดึง ขณะใช้งานได้ดีขึ้น

      - สำหรับจุกยางหากต้องการนำมาใช้เพื่อความสวยงาม ควรวัดค่า VSWR อีกครั้งหนึ่งเสียก่อนที่จะ
      นำการใช้งาน เนื่องจากเนื้อยางสีดำส่วนมากมักมีส่วนผสมของโลหะเป็นพื้น ซึ่งเมื่อนำมาใช้มักก่อ
      ให้เกิดผลมีค่า VSWR เพิ่มสูงเกินปกติหรืออาจทำให้คุณสมบัติของสายอากาศลดลง ซึ่งเป็นสิ่งที่
      ควรระมัด-ระวังด้วยเช่นกัน


1