เวทีประชาชน ๒๐๐๐ : การพัฒนาต้องมาจากประชาชน
๓ - ๕ พฤษภาคม ๒๕๔๓
ณ ห้องแกรนด์ภูคำ โรงแรมเชียงใหม่ภูคำ จ.เชียงใหม่
กล่าวต้อนรับ โดย อ.ศิริชัย นฤมิตรเรขการ
นมัสการพระคุณเจ้า สวัสดีท่านสุภาพชนทั้งหลายที่มาร่วมชุมนุมในห้องนี้ ในโอกาสช่วงสำคัญของประเทศไทย ท่านที่เข้าร่วมประชุมมีทั้งผู้แทนองค์กรเอกชน องค์กรประชาชน นักวิชาการ แนวร่วมรัฐวิสาหกิจ นักศึกษา และประชาชนทั่วไป
การแก้ปัญหาของรัฐบาลต่อวิกฤตประเทศไทย ได้ดำเนินการตามแนวทางของสถาบันการเงินระหว่างประเทศ ได้แก่ ไอ เอ็ม เอฟ ธนาคารโลก และ เอดีบี ข้อเสนอต่อประเทศไทยก็คือประเทศไทยต้องรักษาแนวทางการพัฒนาแบบเศรษฐกิจเสรี ที่นำมาสู่การแปรรูปด้านการเงินการคลัง โรงพยาบาล การศึกษา และรัฐวิสาหกิจ รัฐบาลกำลังพิจารณาสิ่งต่างๆ เหล่านี้ให้เป็นแผนพัฒนาฉบับที่ ๙ ในโอกาสที่ไทยเป็นเจ้าภาพจัดการประชุม เอดีบีครั้งนี้ กป.อพช.ได้ร่วมกับองค์กรประชาชน นักวิชาการ ตั้งคณะกรรมการติดตามผลกระทบเอดีบี โดยจัดเป็นเวทีการประชุมคู่ขนาน โดยใช้ชื่อว่า เวทีประชาชน ๒๐๐๐ : การพัฒนาต้องมาจากประชาชน ในระหว่างวันที่ ๓ - ๕ พ.ค.๔๓ โดยมีวัตถุประสงค์ดังนี้
ขอต้อนรับท่านทั้งหลายที่เข้าร่วมประชุมในครั้งนี้และหวังว่าจะมีข้อเสนอไปยังรัฐบาลให้พิจารณาอย่างท่องแท้ถึงผลกระทบต่อชีวิตของลูกหลานของเราต่อไป ขอบคุณครับ
การแสดงธรรมให้โอวาส โดย พระธรรมดิลก
ท่านผู้มีเกียรติทั้งหลายในวาระต่อไปนี้ อาตมาได้มีโอกาสมาพูดมในที่ประชุม ในหัวข้อแนวทางการพัฒนาสู่การพึ่งตนเอง การพึ่ง ที่พึ่ง เป็นสิ่งสำคัญของชีวิต ที่พึ่งในทางใจเป็นอีกระดับหนึ่ง คนเรานี้บางคนพึ่งตนเองได้พึ่งคนอื่นได้ พึ่งตนเองได้พึ่งคนอื่นไมได้ พึ่งตนเองไม่ได้พึ่งคนอื่นได้ พึ่งตนเองไม่ได้พึ่งคนอื่นก็ไม่ได้ การพึ่งตนเองหมายถึงการมีอวัยวะครบ จึงพี่งตนเองได้ คนพึ่งตนเองไม่ได้เป็นคนพิการ ทางที่ดีพึ่งตนเองก็ได้พึ่งคนอื่นก็ได้ จะทำอย่างไร ก็ต้องพิจารณาจากตัวเราว่าเราทำอะไรได้บ้าง พิจารณาจากอวัยวะว่า แข็งแรง มีความรู้ความฉลาดอย่างไร ในทางธรรมท่านว่าต้องมี "อตันยุตา" คือพิจารณาให้ถี่ถ้วน เมื่อพิจารณาแล้วว่าเราพึ่งตนเองได้อย่างนี้ก็สบายใจ แต่ถ้ารู้ว่าเรารู้ไม่พอต้องพึ่งคนอื่นอย่างนี้ก็ควรพิจารณา ดังนั้นแนวทางการพัฒนาที่จะนำไปสู่การพึ่งตนเองก็ต้องเป็นไปตามหลักอตันยุตา เราเป็นส่วนหนึ่งของประเทศชาติก็ต้องพิจารณาว่าอะไรพึ่งตนเองได้ อะไรต้องพึ่งต่างชาติ แต่เราจะต้องพึ่งตนเองก่อน พระพุทธเจ้าตรัสว่า อัตตา หิ อัตโน นาโถ ตนเองเป็นที่พึ่งแห่งตน การที่จะพึ่งคนอื่นเป็นคนไม่รู้จักโตเป็นไปเพื่อความเสื่อม ประชาชนก็เช่นกัน ถ้าเราไม่พึ่งตนเองเอาแต่พึ่งคนอื่นก็ไม่เป็นการพัฒนา อาตมามีหลักในการทำงานพัฒนา คือ ส่งเสริมกสิกร มุ่งสอนพัฒนา ส่งเสริมศาสนา
การส่งเสริมกสิกร คือการพัฒนาประเทศต้องนึกคนส่วนใหญ่ คือชาวไร่ชาวนา เนื่องจากเขามีโอกาสในการได้รับการศึกษาน้อย ต้องพิจารณาว่าเขาทำอะไร ทำนา ทำไร่ ก็ส่งเสริมอย่างนั้น การทำให้เขาได้รับการศึกษามีความรู้ความเข้าใจ เรียกว่า มุ่งสอนพัฒนา ส่วนการส่งเสริมศาสนา คำสอนในศาสนามุ่งพัฒนาไปจากตน พุทธศาสนานั้นเพื่ออำนวยประโยชน์ให้ประชาชน
การอำนวยประโยชน์แก่ตน ตามหลักธรรมะ แยกออกเป็นสามครอง คือ
๑. ธรรมครองตน มีหลักในการถือครองตน เหมือนการขับรถที่ต้องมีสติ การใช้ชีวิตประจำวันต้องควบคุมจิตใจ โดยใช้ธรรมะง่ายๆ คือ ขันติธรรม
๒. ธรรมครองคน คือครองใจคน เราจะอยู่ร่วมกับญาติมิตร การคบหาสมาคม ตามหลักธรรมคำสอน คือ ทานะ ช่วยเหลือเจือจาน เอื้อเฟื้อ เผื่อแผ่ และต้องระมัดระวังคำพูด อย่าไปพูดเหน็บแนม ไม่ดีเป็นการทำลายความสามัคคี เพราะเมื่อมีแผลในใจแล้วการเกลียดจะตามมา มีคนถามว่าคนเราไม่มีศาสนาอยู่อย่างธรรมดาได้ไหม ก็ตอบว่าได้ก็อยู่อย่างวัวควายกินแล้วก็นอน ศสาสนาเป็นหลักในการครองชีวิตว่าใครเป็นพ่อแม่ วัวควายไม่รู้ การครองใจคนอื่นเป็นการเอื้อเฟื้อเจือจาน มีลักษณะประพฤติตนให้เป็นประโยชน์ ถามไถ่สารทุกข์สุกดิบ การครองคนหมายความว่าสามาถอยึดเหนี่ยวจิตใจ
ธรรมครองงาน คนเราต้องมีงาน รู้จักทำตนให้เป็นประโยชน์ ไม่ใช่อาศัยพ่อแม่เป็นการฝาก โบารณกล่าวว่าอยู่บ้านท่านอย่านิ่งดูดายปั้นวัวปั้นควายให้ลูกท่านเล่น อย่าเบื่อในการทำงาน คนที่รู้สึกเบื่อเป็นคนที่ไร้ค่า อย่าเบื่อ วันหนึ่งให้มีฉันทะ คือความพอใจ เมื่อไม่เบื่อก็จะเกิดการสนุก
ลักษณะที่กล่าวมานี้เป็นการพัฒนาเพื่อพึ่งตนเอง อย่าเบื่อการทำงานอยู่ที่ไหนต้องมีค่า มีความเพียรพยายาม อยู่ที่ไหนก็มีค่าสามารถทำประโยชน์ได้ หลักศาสนาไม่สอนให้คนเกียรติคร้าน ทุกศาสนาสอนให้เป็นคนมีประโยชน์อยู่ที่ไหนก็มีคนต้องการ ขออนุโมทนาทุกคนทีเข้าร่วมการประชุมนี้ ถ้าประชาชนสนใจประเทศชาติ ประเทศชาติก็จะพัฒนา ขอส่งความปราณรถนาดีมายังทุกท่าน เทอญ
ปาฐกถานำเรื่อง "จักรวรรดินิยมกับความเป็นชาติของคนไทย"
โดย อ.สุลักษณ์ ศิวรักษ์
ก่อนการแสดงปาฐกถาต้องอธิบายว่าการพัฒนาจะทำให้ประชาชรดีขึ้น นั่นเป็นเท็จ และประการที่สองเมื่อระบบทุนนิยมขยายตัวมากขึ้นเท่าไรจะทำประชาชธิปไตยมั่นคงยึ่งขึ้น นั้นก็เป็นเท็จเช่นกัน กล่าวคือเป็นระบบเดียวกันกับจักรวรรดินิยม ฝรั่งที่ขยายดินแดนออกไปสามารถสร้างค่านิยมว่าคนผิวขาวเท่านั้นสามารถปกครองดนเองได้ เฉพาะชนชั้นผู้ดีจาก ยุโรป เท่านั้นที่เสียสละออกไปปกครองดินแดน และให้การศึกษาคนพื้นเมืองเพื่อที่จะให้มีความรู้และศิวิไลซ์ ถึงแม้ว่าประเทศไทยจะไม่ได้เป็นเมืองขึ้นฝรั่งแต่ก็มีเชื้อพระวงค์ในราชสำนักได้รับการเรียกว่าศิวิไลซ์
พวกเราคงลืมแล้วกระมังที่ ร.๕ ได้เสด็จออกนอกประเทศเพื่อไปดูและเลียนแบบฝรั่งโดยเฉพาะการเสด็จอินเดีย ได้ทรงเรียนรู้วิธีการปราบปราบคนพื้นเมืองซึ่งนำมาสู่การปราบกบฎผีบุญในภาคอีสาน ลัทธิเอาอย่างของกองทัพไทยจึงเป็นกองทัพที่ใช้ปราบปรามประชาชน ถึงแม้ว่าเรามีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมเป็นพลเรือนแต่ก็ต้องระวังเพราะอาจจะสั่งให้กองทัพปราบปรามประชาชนได้
ในกรณีของสยามเรามีบุคคลอย่างนายปรีดี ซึ่งถูกพวกเจ้าแย่งเอาไป เมื่อนายปรีดีสถาปนาประชาธิปไตย ท่านพยายามกลับสู่รากเง้า พยายามแก้ไขกฎหมายจนต่างชาติยอมรับ และเพื่อนนายปรีดีได้ชักน้ำเข้าลึกชักศึกเข้าบ้านให้ญี่ป่นเข้ามาครอบครองประเทศไทส แต่เราก็ได้นายปรีดีมาช่วยประเทศชาติอีกครั้งหนึ่งโดยการตั้งเสรีไทย ทำให้เราไม่แพ้สงครามเช่น เยออรมัน และญี่ป่น แต่เราก็ถูกจอมพล ป. เอาประเทศไปให้อเมริกาปกครองจนถึงปัจจุบัน นายปรีดี ได้จัดตั้งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการเมืองขึ้นเพื่อวางรากฐานประชาธิปไตย และหลังจากชนะสงครามนายปรีดีได้นำอาวุธไปให้ประชาชนในเวียตนาม จนกระทั่งโฮจมินท์ตั้งชื่อว่ากองกำลังสยามเพื่อระลึกถึงการเอาใจใส่ร่วมมือ ถ้าประชาชนในภูมภาคนี้ร่วมกันก็จะสามารถสู้กับจักรวรรดินิยมได้
เมื่อจอมพล ป.รู้ว่า ออเมริการพยายามครอบครองประเทศ จึงได้เชิญนายปรีดีกลับมาอีกครั้งหนึ่ง แต่ออเมริกาก็ได้ร่วมกับ จอมพล ส. ธนะรัตน์ โดยได้รับความร่วมมือกับคนในวังยึดการปกครอง และเปลี่ยนจักรวรรดินิยมมาเป็นการพัฒนา สองศตวรรษที่ผ่านมาการพัฒนาทำให้ประชาชนยิ่งยากจนลง และในปัจจุบันการพัฒนาใช้คำเรียกว่าโลกาภิวัตน์ ยิ่งจะรุนแรงมากยิ่งขึ้นกว่าเดิม โดยใช้เทคโนโลยีสื่อสารมวลชนเป็นเครื่องมือ ทำให้คนหาเงินมากขึ้นเพื่อซื้อ นำไปสู่ลัทธิบริโภคนิยม คนส่วนใหญ่ไม่เห็นการทำลายของแมคโดนัล เคนตักกี้ เซเว่นอีเลฟเว่น ซึ่งทำลายคนท้องถิ่น โดยใช้อำนาจในการครอบครองสื่อสารมวลชน ทำให้คนไม่รู้จักสันโดด คนเล็กคนน้อย คนชายขอบ
ขอยกตัวอย่างภาคอีสานที่เป็นภาคที่ถูกกระทำจากกการพัฒนาเรื่อยมา เริ่มจากดงพญาไฟถูกทำลาย มีทางรถไฟไปหนองคาย และมีระบบการศึกษากำหนดจากส่วนกลาง ทำให้เห็นว่าภูมิปัญญาดั้งเดิมของชาวบ้านด้อยค่า ไม่เทียบเท่าความรู้จากคนในเมืองกรุง ยิ่งตัดถนนอกไปมากเท่าไหร่ยิ่งทำให้ทีดินชาวบ้านเป็นของนายทุนขุนศึกมากยิ่งขึ้น ยิ่งในยุคที่มีการสร้างเขื่อน ทำให้ชเกิดการทำลายทรัพยากรและระบบครอบครัวมากยิ่งกว่าในสมัยรัฐการที่ ๕ ทำให้คนต้องออกไปหางานรับจ้าง ขุดคุ้ยขยะกินประทังชีวิต นิมิตรดีที่มีพระดีแต่ไม่ดังอย่างหลวงพ่อนานที่ช่วยคนจนให้พ้นจากอบายมุข หรือที่กุดชุมที่พยายามสร้างระบบเงินตราชุมชนซึ่งมีใช้อย่างแพร่หลายในต่างประเทศ เป็นการพยายามพึ่งตนเอง นิมิตรดีก็คือชาวบ้านพยายามพึ่งตนเองในเรืองการทำการเกษตรทางเลือกปลอดสารพิษ การใช้สมุนไพร เป็นการต่อสู้อย่างสันติวิธีในการต่อสู้กับจักรวรรดินิยม เราควรเรียนจากธรรมชาติ สร้างสันติภาพจากภายใน แม้การศึกษาจะพยามสร้างให้เราหลงไปใน กระแสโลกาภิวัตน์ เราควรหวนไปหาภูมิปัญญาชาวบ้าน ที่มรความเป็นไท และ เป็นไทย ซึ่งหมายถึงอิสระเสรี ถึงแม้ว่าจะต่างภาษากัน
สำหรับโลกาภิวัตน์ พวกนี้เห็นทรัพยากรเป็นเพียงสิ่งพิ่มค่าเท่านั้นเมื่อหมดก็จะย้ายไปหาที่ใหม่ พวกนี้รวมถึงพวก จี ๗ ว่ามีความรับผิดชอบหรือไม่ ถ้าไม่รับผิดชอบก็ควรไล่มันไป ถ้าพูดกันได้ก็ใช้ไม้นวม แต่ถ้าพูดไม่ได้ก็ต้องใช้อย่างที่ อพช.ต่างประเทศทำในอเมริกา แต่อย่าทำอะไรโง่ๆ สำคัญที่สุดต้องลงสู่ชาวบ้านอย่างปากมูล คนปกากเญอ เราน่าจะหาพลังทางออกได้ ปลดพันธนาการออกได้จากการพัฒนา การกล้าท้าทายบริษัทข้ามชาติ
เอดีบี : ความช่วยเหลือจากเงินกู้เพื่อการพัฒนา
โดย Prof. Kazuo Sumi , Nigata National University , Japan
หลังสงครามโลกครั้งที่ ๒ ทาเคชิถูกขึ้นศาลในฐานะอาชญากรสงครามแต่ไม่ถูกตัดสินเด็ดขาดเนื่องจากอเมริกาต้องการสร้างพันธมิตร
อะไรคือจุดต่างระหว่าง ไอเอ็มเอฟกับเอดีบี ขณะนี้เอดีบีให้เงินภายใต้การกู้เพื่อปรับโครงสร้าง ฉะนั้นถ้ารัฐบาลไทยกู้เงิน เงินก็จะกลับคืนไปยังนักลงทุนญี่ป่น ไม่ใช่ประชาชนที่กู้เงินมา ฉะนั้นหนี้สินจะเพิ่มขึ้นๆ และสถานการณ์จะเลวลง เราต้องพยายามหาทางให้เอดีบีเปลี่ยนตนเอง
เอดีบีพยายามให้ประเทศกำลังพัฒนาขอยืมเงิน พอใจกับการสร้างโครงการขนาดใหญ่เสมอ เช่นโครงการการก่อสร้างพื้นฐาน ซึ่งเป็นประโยชน์ต่ออเมริกันและญี่ปุ่น เมื่อมีการก่อสร้างเอดีบีก็จะสั่งให้ใช้ที่ปรึกาาจากอเมริการหรือญี่ปุ่น คนพวกนี้จะเข้ามาบอกว่าเทคโนโลยีท้องถิ่นล้าหลังและต้องก่อสร้างตามที่ที่ปรึกาากำหนดเช่น ระบบเหมืองฝายในภาคเหนือ ที่ปรึกษาพยายามบอกว่าล้าหลังต้องสร้างเป็นฝายคอนกรีต ผลก็คือได้รับน้ำน้อยลง
ดังนั้นถึงเวลาแล้วที่เราต้องกับมาทบทวนว่าแบบจำลองในการพัฒนาเป็นอย่างไร ตัวอย่างหนึ่งคือการปฏิวัติเขียว ที่ทำให้เกิดการเสื่อมโทรมของดิน น้ำ และผลผลิตตกต่ำลงเรื่อย แต่เอดีบี ปฏิเสธการรับรู้ปฏิวัติเขียวและไม่รับผิดชอบ เราต้องเปลี่ยนรูปแบบการจำลองของการพัฒนาเช่นนี้
เบื้องหลังของการพัฒนา เอดีบี คือการส่งเสริมการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ในนามของการพัฒนาเศรษฐกิจทำให้เกิดการทำลายทรัพยากรที่มีค่าลงไปและมีคนรวยไม่กี่คนได้รับผลประโยชน์ และเชื่อในทฤษฎี........... ที่เมื่อคนรวยได้รับประโยชน์เต็มที่แล้วจะไหลลงสู่คนจน อย่างไร ประเทศไทยก็ยังไม่มีผลร้ายแรงมาก เอดีบีพูดถึงการบรรเทาความยาก จน การรักษาสิ่งแวดล้อมเหล่านี้เป็นการโฆษณาชวนเชื่อที่ไม่เคยนำไปปฏิบัติจริง ผมประหลาดใจมากที่ที่ประธานเอดีบีปฏิเสธการพูดคุยกับประชาชน ทำไมประธานเอดีบีต้องกลัวประชาชน อพช. คนท้องถิ่น
ผู้ดำเนินรายการ เดช พุ่มคชา
นมัสการพระคุณเจ้า เพราะโลกทั้งผองเป็นพี่น้องกัน เราจึงต้องเดินทางไกลมาพบกับ กัลยาณมิตรครับผมคิดว่าประเทศต่างๆในโลกนี้ มีอาการคล้ายกันในการพัฒนา นั่นคือการศึกษา ทีอยู่ในคนหมู่พวกคนกลุ่มน้อยทำให้คนยากคนจนคนเล็กคนน้อยถูกละเลย ในประเทศไทยมีกลุ่มคนกลุ่มหนึ่งที่เรียกว่า สยามสมาคม ได้ถกเถียงกันเกี่ยวกับประเทศไทย และมีสังคมศาสมรตร์ปริทรรศ์เป็นหนังสือที่ถ่ายทอดถึงแนวคิดในการถกเถียงทางสติปัญญาของสยามสมาคม ทำให้นักวิชาการ นักศึกษาสนใจและตั้งคำถามเกี่ยวกับประเทศไทย และนำไปสู่การเกิดขบวนการประชาชนในปัจจุบัน ในหลายคนมีผู้ที่ซื่อสัตย์ต่อขบวนการประชาชน คือ ศาสตราจารย์สุลักษณ์ สิวรักษ์ ซึ่งประชาชนตั้งให้ ท่านผู้นี้ได้รับรางวัลโนเบลภาคประชาชน ขอกราบเรียนเชิญท่านอาจารย์ครับ
เพื่อนๆครับในประเทศไทยมีคนเล็กๆอยู่เพียงจำนวนน้อย ในญี่ปุ่นมีนักวิชาการมหาวิทยาลัยจำนวนเล็กน้อยที่ไม่รังเกียจการพูดคุยกับคนยากคนจน และได้เขียนหนังสือเกี่ยวกับ โอดีเอ ท่านเป็นบุคคลที่ลุกขึ้นคัดค้านรัฐบาลยี่ปุ่นในการสร้างเขื่อนจนเป็นที่สำเร็จ ท่านเป็นนักกฎหมาย ขอเชิญท่านพบกับกัลยาณมิตรจากญี่ปุ่น
ผู้อภิปราย
การอภิปรายเรื่อง " เอดีบี กับ การเปิดเสรีภูมิภาคเอเซีย "
ชามารี เอดีบีทำงานร่วมกับธนาคารโลกและช่วยเหลือการพัฒนาในทิศทางเดียวกัน ในช่วงการพัฒนา ๓๐ ปีที่ผ่านมาได้ให้เงินช่วยการพัฒนาต่างและประกาศตนเองว่าเป็นองค์กรพัฒนาที่เปลี่ยนประเทศต่างๆ สนับสนุนปรัชญาของ เอดีบี และมีจุดยืนว่าจะให้องค์กรเอกชนมีส่วนร่วมในพัฒนาความเป็นอยู่ของคนให้ดีขึ้น เอดีบี ธนาคารโลกจะไปด้วยกัน ธนาคารโลกได้ปรับเปลี่ยนโครงสร้างทางเศรษฐกิจ และเอดีบีได้ปรับเปลี่ยนระบบโครงสร้างทางบัญชีรองรับ ทั้งเอดีบีและธนาคารโลกจึงไม่แตกต่างกัน เงื่อนไขต่างๆ มีการส่งดอกเบี้ยแต่ไม่เปิดกว้างอย่างธนาคารเอกชนเหมือนกัน
มีความพยายามผลักดันภาคเกษตรกรมากขึ้น ส่งเสริมให้มีการเก็บภาษีน้ำ สนับสนุนไอเอ็มเอฟทุกอย่าง และขณะนี้เริ่มไม่พอใจไอเอ็มเอฟที่ อเมริกาและอังกฤษเข้ามาจัดการเอเซีย ซึ่งน่าจะเป็นบทบาทของเอดีบี และเห็นว่าการทำงานของไอเอ็มเอฟไม่ได้ผล ประมาณ ปี ๒๕๓๖ นอกจากการปรับโรงสร้างและการบรรเทาความยากจนแล้วได้ปรับการทำงานเป็นภูมิภาคเหมือนเป็นการขโมยงานไป
อ.วรพล
ประเด็นหลักที่จะพูดมี ๒ ส่วน คือ การเชื่อมโยงสถาบันการเงินระหว่างประเทศในส่วนที่จะเพิ่มเติม ส่วนที่ สิอองจะพูดถึงเอดีบีที่เกี่ยวพันประเทศไทย ซึ่งจะใช้เวลาส่วนใหญ่มากกว่า สวนแรก
การเชื่อมโยงสถาบันการเงินระหว่างประเทศเอกสารต่างๆ มักจะเชื่อมโยงไปยังการประชุมที่ลิตเติ้ลวูด ที่ทำให้เกิดธนาคารโลก ซึ่งก่อนหน้านั้นมี ๒ องค์เป็นกลุ่มทุนการเงินและอุตสาหกรรมของสหรัฐ เรียกว่า CFR มีสมาชิกทั่วโลก เช่น จอรฮ์จ โซลอส สมาชิกมักจะทำงานสัมพันธ์กับธนาคารโลก ออยากจะเรียกองค์กรเหล่านี้เป็นองค์กรครอบโลกาภิวัตน์ ในการที่จะผนวกดินแดนต่างๆให้เข้าเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนา อยากให้เข้าไปศึกษาการวิจัยเกี่ยวกับ ซีเอฟอาร์ ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ สอง ที่เสนอให้มีการจัดการธนาคารโลก และธนาคารเพื่อการฟื้นฟูพัฒนา ดังนั้นจึงเห็นว่าจุดเริ่มตนเป็นการผลักดันของประเทศกลุ่มทุน
ในประเทศไทย รัฐบาล จอมพล ป. ได้ทำสัญญากับสหรัฐ ผ่านโครงการยูซอม โดยเข้ามาเกี่ยวข้องกับการศึกษา การพัฒนา และการสร้างเส้นทางสายหลัง คือถนนมิตรภาพ นอกจากนี้ยังได้เข้าทำการพัฒนาระบบชลประทานคือโครงการชลประทานชัยนาท และต่อมารัฐบาลอเมริกันก็ให้เงินในการพัฒนาระบบพลังงาน จะเห็นได้ว่าทั้งอเมริกาและองค์กรเหล่านี้มีความสำพันธ์กัน และนำไปสู่การทำแผนพัฒนาประเทศในเวลาต่อมา ซึ่งสอดคล้องกับการประกาศของ ยูเอ็นในขณะนั้นที่ประการว่าทุกประเทศต้องพัฒนา
ผลกระทบคือ ผลกระทบด้านเศรษฐกิจทั้งภายในและภายนอกประเทศ ผลกระทบประการที่ สองคือด้านการเมืองที่ทำให้คนมีสิทธิแตกต่างกัน อีกส่วนหนนึ่งเป็นผลกระทบด้านทรัพยากร ในส่วนนี้เอง เอดีบีได้เข้าไปมีส่วนร่วมในการปรับเปลี่ยนโครงสร้างทางอุตสาหกรรมไทยและบางส่วนเข้าไปเกี่ยวข้องกับการเกษตร
ตั้งแต่ ๒๕๔๐ บทบาทของไอเอ็มเอฟ รัฐบาลไทยได้ให้ ไอเอ็มเอฟ แปลงหนี้สินเอกชนเป็นหนี้สินสาธารณะ และเป็นเงินกู้ของกระทรวงการคลัง ซึ่งหมายความว่าประชาชนต้องหาเงินมาช่วยกันใช้หนี้ การโอนหนี้สินของสถาบันการเงินเป็นบทบาทที่ไอเอ็มเอฟ จัดการให้
บทบาทที่สองเป็นการกระตุ้นให้มีการกู้เงินจากสถาบันการเงินต่างประเทศมากขึ้น เงินกู้เหล่านี้ถูกนำมาใช้ในการอำนวยความสะดวกให้กับนักลงทุนในประเทศไทย และส่งเสริมการดำเนินกิจกรรม "การพัฒนา" เช่นการซื้อบัตรสุขภาพ การกู้เงินเพื่อการศึกษา การกู้เงินเพื่อปรับโครงสร้างทางการเกษตร ธนาคารโลกมักจะอธิบายว่าเงินกู้เหล่านี้เป็นประโยชน์กับประชาชน และภาระของประชาชน ในความเป็นจริงก็คือคำเหล่านี้เป็นเท็จ เนื่องจากประชาชนมีภาระในการใช้หนี้คืน
ปัญหาคือเงินกองกลางสาธารณะลดลง รัฐจะลดการบริการประชาชนลง แต่รัฐก็เก็บเงินกองกลางจากประชาชนมากขึ้น ตัวอย่างก็คือการลดจำนวนข้าราชการ การแปรรูปรัฐวิสาหกิจ แต่ไม่ลดภาษีให้ประชาชน ผลโดยรวมเกี่ยวกับนโยบายที่สถาบันเหล่านี้กระทำต่อประเทศไทยก็คือการใช้เทคโนโลยีมากขึ้น เพื่อสร้างมูลค่า จีดีพี แต่ผลของจีดีพี จะได้เป็นประโยชน์ของนักลงทุนรายใหญ่ ประชาชนทั่วไปจะถูกกำหนดให้เป็นผู้ผลิตให้กับกลุ่มทุนรายใหญ่ ซึ่งระบบทาสแบบใหม่