ข้อเสนอของเครือข่ายองค์กรพัฒนาเอกชนด้านสาธารณสุข และเครือข่ายที่เกี่ยวข้องต่อกรอบนโยบายด้านสาธารณสุขของ ADB


1. การจัดบริการทางสังคม โดยเฉพาะด้านสาธารณสุขควรถือเป็น "สิทธิ" ที่ประชาชนควรจะได้รับ โดยควรจัดในรูประบบรัฐสวัสดิการ (welfare
state) ซึ่งเป็นระบบที่จัดได้ทั่วถึงสำหรับทุกคน ในลักษณะเป็นองค์รวมและเป็นระบบเดียว ไม่มีเงื่อนไขเรื่องรายได้เป็นข้อจำกัด และไม่อิงกลไกตลาด
เป็นการลดบทบาทและการใช้ภาษีของรัฐ แต่จะไปเพิ่มเงินสมทบระหว่างลูกจ้างและนายจ้าง


2. ระบบการรักษาพยาบาลและการบริการ รวมทั้งการฝึกอบรมบุคลาการด้านสาธารณสุข ควรเน้นให้ผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง และควรใส่ใจผู้ป่วยหญิง
และประเด็นเกี่ยวกับผู้หญิง เนื่องจากจะช่วยให้สามารถบริการสนองตอบความต้องการ ข้อจำกัดทางวัฒนธรรม
วิถีชีวิตและปัญหาทางสุขภาพของผู้ป่วย หรือผู้มารับบริการโดยเฉพาะผู้ป่วยที่เป็นหญิงได้ดียิ่งขึ้น


3. ประชาชนควรมีสิทธิที่จะได้รับข้อมูลข่าวสารที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ และการรักษาพยาบาลที่เป็นข้อเท็จจริง เพื่อที่จะสามารถเลือกใช้บริการ
ตัดสินใจในการรักษพยาบาล และมีความเข้มแข็งในการดูแลสุขภาพของตนเอง แม้ ADB จะมีมาตรการชั่วคราว
ในการบรรเทาผลกระทบชองวิกฤติเศรษฐกิจ แต่การปรับโครงสร้างด้านสาธารณสุขโดยการแปรรูป โรงพยาบาลนั้นจะมีผลกระทบ
อย่างมากต่อประชาชนไทยโดยเฉพาะกลุ่มคนยากจนหรือผู้มีรายได้น้อย เนื่องจากยังไม่มีหลักประกันด้านสุขภาพ
และมาตรการรองรับผลกระทบที่เกิดขึ้น

1