แผนความช่วยเหลือประเทศไทยของเอดีบี
 

 

เบนเป้าจากพัฒนาโครงสร้างขนาดใหญ
สู่…การยึดกุมภาคการเงิน สวัสดิการสังคม และภาคเกษตรกรรม
แผนความช่วยเหลือประเทศ (Country Assistance Plan: CAP) หรือเรียกกันสั้นๆ ว่า "แคป" คือแผนความช่วยเหลือประเทศไทย
โดยธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเชีย ครอบคลุมระยะเวลาดำเนินการ 3 ปี จากปี 2542 ถึงปี 2544 แผนความช่วยเหลือนี้ประกอบด้วยเงินกู้ยืม
600 ล้านเหรียญสหรัฐ พร้อมกับเงื่อนไขให้รัฐบาลไทยปรับโครงสร้างภาคการเงินให้มีการลงทุนจากต่างชาติมากขึ้น ปรับโครงสร้าง
ภาคเกษตรเพื่อการส่งออก แปรรูประบบการศึกษาและระบบสาธารณสุขให้คุ้มกับการลงทุนค่าใช้จ่าย

 
เป้าหมายสวยหรูที่ระบุไว้ในCAP คือ
1. สร้างเสถียรภาพและปรับปรุงเพื่อทำให้เศรษฐกิจกลับมาสู่ภาวะเติบโต
2. เพิ่มความสามารถในการแข่งขันเพื่อส่งเสริมประสิทธิภาพ ความสมดุลย์ระหว่างภูมิภาคและการเจริญเติบโตที่ยั่งยืน
3. การพัฒนาคุณภาพชีวิต
   
 

ปรับโครงสร้างภาคการเงิน
ดึงดูดนักลงทุนต่างชาติ

เอดีบีทำงานอย่างใกล้ชิดร่วมกับไอเอ็มเอฟและธนาคารโลกในการปฏิรูปภาคการเงินในไทย โดยมีเป้าหมายเพื่อเพื่อความมั่นใจกับนักลงทุนต่างชาติ
และฟื้นฟูการเติบโตทางเศรษฐกิจ โดยไอเอ็มเอฟทำหน้าที่หลักกำกับควบคุมนโยบายการเงินการคลังของธนาคารแห่งประเทศไทย และธนาคารโลก
กำกับดูแลสถาบันการเงินที่ไม่ใช่ธนาคาร ส่วนเอดีบีทำหน้าที่เปิดช่องทางระดมทุนจากต่างประเทศเพื่อเพิ่มทุนให้กับสถาบันการเงินและธนาคารพาณิชย์
เนื่องด้วยสถาบันเหล่านี้คือกลไกที่สำคัญยิ่งต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจและธุรกิจการส่งออกที่เอื้อผลประโยชน์ต่อบริษัทต่างชาตินั่นเอง

ปัจจุบันธนาคารพาณิชย์และสถาบันการเงินในประเทศไทยหลายแห่ง จึงถูกถือหุ้นส่วนใหญ่โดยนักลงทุนต่างชาติที่เข้ามาซื้อกิจการ
สถาบันการเงินในช่วงที่ประเทศไทยเกิดวิกฤต สิ่งที่เอดีบีต้องการและกดดันให้รัฐบาลไทยทำคือ การปรับปรุงกฎหมายและนโยบาย
ที่เอื้ออำนวยและสร้างความมั่นใจในการลงทุนให้กับนักลงทุนต่างชาติ

หน้าแรก ADB.
 
1