เอดีบีพิจารณาว่าที่ผ่านมารัฐบาลไทยใช้งบประมาณสนับสนุนการศึกษาสูงเกินจำเป็นซึ่งงบประมาณด้านการศึกษาเป็นงบประมาณ
รายจ่ายที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ จึงเสนอให้รัฐบาลไทยแปรรูประบบการศึกษาโดยให้ภาคเอกชนเข้ามารับช่วงดำเนินธุรกิจด้านการศึกษาแทนรัฐบาล
โดยทิศทางการศึกษาไทยต่อไปจะถูกกำกับควบคุมโดยภาคธุรกิจเอกชน ซึ่งจะเข้ามาจัดการควบคุมให้ระบบการศึกษาผลิตแรงงานที่เอื้อต่อการลงทุนทางธุรกิจ
โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รวมถึงการเพิ่มสัดส่วนของแรงงานในระดับพื้นฐาน
(การศึกษาในระดับมัธยมต้น) การขยายการศึกษาด้านอาชีพเพื่อพัฒนาฝีมือแรงงานที่ตอบสนองตลาด
และการพัฒนาฝีมือแรงงานหญิง เป็นต้น
ผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจากการปล่อยให้ภาคธุรกิจเอกชนเข้ามากำกับดูแลระบบการศึกษาคือ
ต่อไประบบการศึกษาจะถูกบริหารในเชิงธุรกิจ ค่าใช้จ่ายการศึกษาและค่าเล่าเรียนจะสูง
รัฐจะไม่อุดหนุนภาคการศึกษาให้กับลูกคนยากจนอีกต่อไป ลูกหลานคนจนที่ไม่มีทุน
จะไม่สามารถศึกษาต่อในระดับสูงหรือในระกับมหาวิทยาลัยได้ แต่จะต้องเป็นแรงงานที่มีประสิทธิภาพให้กับภาคอุตสาหกรรมและธุรกิจเอกชน
เงื่อนไขที่ให้มหาวิทยาลัยทุกแห่งออกนอกระบบภายในปี 2545 มีผลต่อสถาบันราชภัฎ
และสถาบันราชมงคลด้วย แต่การถกถียงเกี่ยวกับเรื่องนี้กลับอยู่ในแวดวงของมหาวิทยาลัยมากว่า
และการถกเถียงจะให้น้ำหนักกับประเด็นการบริหารบุคลากร และการบริหารจัดการของมหาวิทยาลัย
ไม่ค่อยมีใครให้ความสนใจกับประเด็นสำคัญที่ว่าเมื่อออกนอกระบบแล้ว
บทบาทของมหาวิทยาลัยต่อสังคมและคนด้อยโอกาสจะเป็นอย่างไร
ข้อสังเกตเกี่ยวกับเงื่อนไขนี้ก็คือ มีแนวโน้มว่าการออกนอกระบบของมหาวิทยาลัย
จะเกิดผลดังนี้
-
คนจนจะมีโอกาสเข้าเรียนระดับอุดมศึกษาน้อยลง
เมื่อผู้เรียนจะต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายตามจริงจะทำให้กลุ่มคนรวยเท่านั้นที่มีโอกาสได้เข้าเรียนในระดับอุดมศึกษา
ในขณะที่คนจนต้องพึ่งกองทุนกู้ยืมฯ หรือทุนการศึกษา ซึ่งมีแนวโน้มว่าจะมีจำกัดเนื่องจากรัฐต้องการลดค่าใช้จ่าย
นอกจานี้ยังเป็นไปไม่ได้ที่ทุนการศึกษาหรือเงินกู้จะกระจายอย่างทั่วถึงและเป็นธรรม
-
งานทางวิชาการสำหรับภาคที่ด้อยโอกาส
จะน้อยลงหรือเป็นไปได้ยาก เมื่อรัฐต้องการลดภาระค่าใช้จ่าย มหาวิทยาลัยก็ต้องหาเงินเองมากขึ้น
แลเพื่อดึงดูดคนให้มาสร้างความเป็นเลิศทางวิชาการ มหาวิทยาลัยก็ต้องมีงบประมาณเพิ่มสูงขึ้น
ทางออกคือการพึ่งพาภาคธุรกิจ - อุตสาหกรรม
โดยการรับจ้างวิจัย ด้วยเหตุผลนี้ประเด็นการค้นคว้าจึงย่อมถูกกำหนดโดยเจ้าของเงิน
-
คณะ สาขา
และสถาบันที่มีประโยชน์แต่ไม่มีผลตอบแทนเป็นตัวเงินจะอยู่ได้ยาก
เมือมหาวิทยาลัยต้องหาเงินเอง บริหารเงินเอง คณะ สาขา เช่น
สาขาปรัชญา วิทยาศาสตร์พื้นฐาน หรือสถาบันที่ทำประโยชน์แต่ไม่มีผลตอบแทนเป็นตัวเงินที่ชัดเจนคงได้รับการสนับสนุนน้อยลง
หรือไม่ได้รับการสนับสนุนเลย
-
จำนวนอาจารย์ที่มีสำนึกต่อสังคมและคนด้อยโอกาสจะยิ่งน้อยลง
เพราะมหาวิทยาลัยย่อมมีทิศทางในการสร้างความเป็นเลิศทางวิชาการที่ขายได้
ซึ่งไม่จำเป็นต้องเป็นเรื่องเดียวกับความเป็นเลิศในการเข้าใจและแก้ปัญหาสังคม
บรรยากาศเช่นนี้จึงไม่น่าส่งเสริมให้มีอาจารย์
ที่มีสำนึกต่อสังคมเพิ่มขึ้นจากที่มีน้อยอยู่แล้ว
ในส่วนของการส่งเสริมภาคธุรกิจในการจัดการศึกษาและฝึกอบรมอบรม
เงื่อนไขข้อนี้สะท้อนชัดเจนว่า ADB จะรักษาผลประโยชน์ของภาคเอกชนจนถึงกับให้รัฐบาลช่วยเหลือเอกชนทุกด้าน
และแก้ไขระเบียบให้สามารถใช้เงินจากกองทุนพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ได้ โดยไม่คำนึงว่าจะทำให้รัฐบาลไทยต้องเสียงบประมาณไปกับการนี้มากเพียงไรและสังคมรวมทั้งคนด้อยโอกาสจะได้อะไรจากการส่งเสริมภาคธุรกิจในลักษณะน
|