แปรรูปโรงพยาบาล หาผลประโยชน์จากสวัสดิการคนจน

 
 



ปัจจุบันรัฐบาลไทยใช้งบประมาณอุดหนุนการสาธารณสุข ซึ่งถือเป็นกิจการด้านสวัสดิการสังคม
มีเป้าหมายเพื่อช่วยเหลือประชาชนไม่ว่าจะเป็นคนรวยหรือคนจนให้มีสุขภาพดีและเข้าถึงบริการสาธารณสุขของรัฐโดยทั่วถึง
ดังเช่นนโยบายสุขภาพดีถ้วนหน้าปี 2543

หากเอดีบีมองว่ารัฐบาลไทยมีภาระค่าใช้จ่ายด้านสาธารณสุข ทั้งค่ายา และเวชภัณฑ์ สูงเกินไปและไม่มีประสิทธิภาพในการบริหารด้านการลงทุน
จึงเสนอให้รัฐลดต้นทุนด้านสาธารณสุขด้วยการแปรรูประบบสาธารณสุขให้เป็นธุรกิจของเอกชนที่จะต้องพึ่งตนเองให้ได้
โดยปราศจากการอุดหนุนจากภาครัฐ

ภายใต้เงื่อนไขของเอดีบี ปัจจุบันได้มีโรงพยาบาลนำร่องเข้าสู่การแปรรูป 7 แห่ง คือ โรงพยาบาลหาดใหญ่ ยะลา สตูล โรงพยาบาลนครพิงค์
โรงพยาบาลขอนแก่น โรงพยาบาลสระบุรี บ้านแพ้ว และสมุทรสาคร

การแปรรูปโรงพยาบาลจะมีผลกระทบ ดังนี้

  • เป็นการผลักภาระให้ประชาชน

    ขณะที่ประชาชนส่วนใหญ่ยังไม่พร้อม อ.ใจ อึ๊งภากรณ์ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยวิจารณ์ว่าระบบโรงพยาบาลที่เป็นเอกชนมากขึ้น
    มีผลกระทบดังนี้

    ก) การดูแลผู้ป่วยในระบบโรงพยาบาลเอกชนจะขึ้นกับความสามารถในการจ่ายเงิน
    หรือสถานภาพทางเศรษฐกิจของผู้ป่วยมากกว่าความต้องการของผู้ป่วย
    หรืออีกนัยหนึ่งโรงพยาบาลจะสนใจเฉพาะผู้ป่วยที่มีเงินที่สามารถจ่ายค่ารักษาพยาบาลได้เท่านั้น

    ข) ประชาชนจะต้องจ่ายค่ารักษาพยาบาลเองมากขึ้น ขณะที่รัฐบาลจะประหยัดงบประมาณลง

    ค) ระบบโรงพยาบาลแบบเอกชนสร้างความเลื่อมล้ำระหว่างประชาชน ชนชั้นต่าง ๆ และระหว่างโรงพยาบาลท้องถิ่น

    ง) โรงพยาบาลที่ยากจน จะมีมาตรฐานที่ด้อยกว่าที่อื่น เนื่องจากหารายได้เพิ่มเติมได้ยาก

    จ) เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลระดับกลางและระดับล่างจะลดลง และเจ้าหน้าที่ที่เหลืออยู่ต้องทำงานหนักขึ้น สภาพการจ้างงานไม่มั่นคง
    โดยเฉพาะพยาบาลจะตกงาน ขณะที่ประชาชนยังขาดแคลน

    * เป็นตัวเร่งให้ระบบสาธารณสุขอ่อนแอมากกว่าจะเป็นตัวเร่งให้เกิดการปฏิรูประบบอย่างแท้จริง

    ในขณะที่มีการเตรียมดำเนินการแปรรูปโรงพยาบาลให้เป็นเอกชนหรือมีอิสระมากขึ้น ยังมีปัญหาและอุปสรรคที่ทาง ADB
    และกระทรวงสาธารณสุขยังไม่ได้ดำเนินการหรือเตรียมการ ดังนี้

    ก) ระบบชุมชนของไทยส่วนใหญ่ยังไม่เข้มแข็งพอ เนื่องจากที่ผ่านมาการบริหารท้องถิ่นตกอยู่ภายใต้การนำของกระทรวงมหาดไทยเป็นส่วนใหญ่

    ข) ระบบบริหารโรงพยาบาลเอกชน ยังขาดหลักประกันหรือมาตรการเข้าถึงการรักษาพยาบาลที่จำเป็นสำหรับกลุ่มคนยากจน

    ค) การแปรรูป.โรงพยาบาลที่มีการนำเสนอยังไม่มีแนวทางที่ชัดเจนในทางปฏิบัติ เช่น
    การสร้างประสิทธิภาพและการยอมรับการมีส่วนร่วมของชุมชน เนื่องจากในคณะกรรมการบริหารของโรงพยาบาลท้องถิ่นจำนวน 11 คนมีตัวแทนชุมชนเพียง 3 คน

    หากการแปรรูปและการปฏิรูประบบสุขภาพยังไม่มีแนวทางและมาตรการที่ชัดเจน
    โดยเฉพาะในเรื่องการสร้างความเข้มแข็งและการมีส่วนร่วมของชุมชน
    สิ่งที่เกิดขึ้นอาจจะสร้างความอ่อนแอแก่ระบบมากกว่าจะสามารถปฏิรูประบบสุขภาพได้อย่างแท้จริง
    การแปรรูปโรงยาบาลที่กำลังเกิดขึ้นนี้ จะทำให้โรงพยาบาลดำเนินนโยบายเพื่อการค้า และหาเงินเข้าโรงพยาบาลให้มากกว่าการให้บริการสาธารณะ
    ซึ่งคนยากจนคือผู้ได้รับผลกระทบสูงสุด เนื่องจากไม่สามารถจ่ายค่ารักษาพยาบาลได้ในอัตราเท่ากับคนทั่วไป การเข้าถึงบริการด้านสาธารณสุข
    สวัสดิการและสวัสดิภาพของคนจนจึงถูกริดรอนมากขึ้น
 
 
หน้าแรก ADB.
 

 

1