การจัดกระบวนทัพในสเปกตรัลฟอร์ซ
จุดเด่นจุดหนึ่งของเกมในซีรีส์ Spectral Force คือ ส่วนที่เป็นการทำสงคราม
การรบระหว่างแคว้น จะเริ่มขึ้นเมื่อมีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งบุกรุกดินแดนของอีกแคว้นหนึ่ง
จำนวนแม่ทัพที่เข้าร่วมสงครามของแต่ละฝ่าย สูงสุดได้ฝ่ายละ 5 คน
และจำนวนทหารของแม่ทัพแต่ละคนมีได้สูงสุด 1000 คน โดยที่ จำนวนทหารรวมของแคว้น ขึ้นกับพารามิเตอร์ที่เรียกว่า ระดับความเข้มแข็งโดยรวม ซึ่งปัจจัยใหญ่ที่สุด คือ จำนวนดินแดนที่อยู่ในปกครองนั่นเอง (ยิ่งมีดินแดนมาก ยิ่งเรียกเกณฑ์ไพร่พลได้จำนวนมาก)
ในการทำสงครามจะเป็นการประทะกันทีละคู่ คือ ดวลกันตัวต่อตัวระหว่างแม่ทัพของทั้งสองฝ่าย จนกว่าแม่ทัพของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะแพ้หมดทุกคน ฝ่ายนั้นก็ตกเป็นฝ่ายแพ้
ปัจจัยในการกำหนดผลแพ้ชนะ ได้แก่ ความสามารถของแม่ทัพเอง, คลาส (ชนิด) ของไพร่พล, ลักษณะภูมิประเทศ (สมรภูมิคือแคว้นที่เป็นฝ่ายรับ), ลักษณะภูมิอากาศ (เปลี่ยนแปลงได้ด้วยเวทย์มนต์), ขวัญกำลังใจของทหาร, จังหวะการใช้ท่าไม้ตายของแม่ทัพแต่ละฝ่าย และสุดท้ายคือ การจัดกระบวนทัพ
สำหรับในบทนี้ จะกล่าวถึงการจัดกระบวนทัพเท่านั้น
กระบวนทัพที่ใช้ในเนฟเวอร์แลนด์มีอยู่ด้วยกันหลายแบบ แต่ละแบบก็มีข้อดีข้อเสียต่างกันไป ดังนี้
- กระบวนทัพวงเดือน (ต้นฉบับภาษาญี่ปุ่นเป็น เกียวริง หรือ เกล็ดปลา)
เป็นกระบวนทัพมาตรฐานหรือ ดีฟอลท์ ถ้าไม่สั่งการใดพิเศษ ทหารจะอยู่ในกระบวนทัพนี้เสมอ เช่น กรณีที่แม่ทัพจะใช้ท่าไม้ตาย เป็นกระบวนทัพกลาง ๆ ไม่มีจุดแข็งจุดอ่อนมากนัก
- กระบวนทัพหัวหอก (ต้นฉบับภาษาญี่ปุ่นเป็น ฮิจู หรือนกโผบิน)
เป็นกระบวนทัพสำหรับบุกทะลวงทัพข้าศึกโดยเฉพาะ เน้นที่การบุกทะลวงและอำนาจในการทำลายล้างทัพข้าศึก จุดอ่อนคือ ตกเป็นเหยื่อของท่าไม้ตายต่าง ๆ ได้โดยง่าย โอกาสที่จะใช้รูปขบวนนี้แทบจะไม่มี นอกจากว่าแน่ใจจริง ๆ ว่าแม่ทัพฝ่ายตรงข้ามไม่มีท่าไม้ตายเหลืออยู่แล้ว (ในเกม แม่ทัพหนึ่งคนใช้ท่าไม้ตายแต่ละท่าได้เพียงหนึ่งครั้งเท่านั้นในแต่ละสมรภูมิ)
- กระบวนทัพปีกหงส์ (ต้นฉบับภาษาญี่ปุ่นเป็น คะริ หรือหงส์ป่า)
จัดกำลังทหารเน้นหนักไปทางปีกด้านขวา เป็นกระบวนทัพที่ช่วยลดความเสียหายจากการประทะให้น้อยที่สุด รวมทั้งความเสียหายจากท่าไม้ตายของแม่ทัพข้าศึกด้วย
- กระบวนทัพปีกหงส์กลับข้าง (ต้นฉบับภาษาญี่ปุ่นเป็น อุระคะริหรือหงส์ป่ากลับข้าง)
จัดกำลังทหารเน้นหนักไปทางปีกซ้าย ใช้รบหน่วงเวลาได้ดีเช่นกัน
- กระบวนทัพภูผา (ต้นฉบับภาษาญี่ปุ่นเป็น มิชชู หรืออัดแน่น)
จัดกำลังทหารยืนชิด ๆ กันแน่นหนา เน้นที่การตั้งรับอย่างเดียว
- กระบวนทัพสายน้ำ (ต้นฉบับภาษาญี่ปุ่นเป็นโจจะ หรืองูยาว)
จัดกำลังทหารเป็นขบวนแถวตอนตามยาว เน้นที่การบุกทะลวงทัพข้าศึกเท่านั้น ไม่คำนึงถึงผลเสียหาย
- กระบวนทัพก้ามปู (ต้นฉบับภาษาญี่ปุ่นเป็น ทสึรุทสึบาสะ หรือปีกหงส์ฟ้า)
จัดทหารเน้นหนักไปที่ปีกทั้งสองข้าง ใช้สำหรับโอบล้อมข้าศึกเวลาที่กำลังฝ่ายตนเหนือกว่าอย่างเห็นได้ชัด
- กระบวนทัพบุก (ต้นฉบับภาษาญี่ปุ่นเป็น เซนโค หรือเน้นบุก)
รูปแบบกระบวนทัพสำหรับทะลวงทัพข้าศึก กรณีที่ฝ่ายตนมีกำลังทหารน้อย (น้อยกว่าหนึ่งร้อยคน)
- กระบวนทัพรุกรับ (ต้นฉบับภาษาญี่ปุ่นเป็นโคฉุ หรือรุกรับ)
รูปแบบกระบวนทัพที่สมดุลสำหรับทั้งรุกและรับ กรณีที่ฝ่ายตนมีกำลังทหารน้อย
- กระบวนทัพรับ (ต้นฉบับภาษาญี่ปุ่นเป็น เซนฉุ หรือเน้นรับ)
รูปแบบกระบวนทัพสำหรับตั้งรับ กรณีที่ฝ่ายตนมีกำลังทหารน้อย
สำหรับจุดแข็งจุดอ่อน ของแต่ละกระบวนทัพ ว่าแบบใดแพ้ทาง/ชนะทางแบบใดนั้น คงไม่นำมากล่าวในที่นี้ เพราะในเนื้อหาของนิยายที่ผมเขียนขึ้นเองนั้น ก็ไม่ได้เขียนตามตัวเกมเสียทั้งหมด
(อัพเดทล่าสุด 12 มีนาคม 2545)
กลับไปหน้าสารบัญของ "มหากาพย์สงครามเนฟเวอร์แลนด์"
กลับไปหน้าบ้าน