7 Days smooth at surf... |
การแต่งร้อยกรอง |
กลอน | กลอนสี่ กลอนแปด กลอนนิราศ กลอนสักวา กลอนเปล่า และ วรรณรูป ฯลฯ | |
โคลง | โคลงสี่สุภาพ ฯลฯ | |
ร่าย | ร่ายโบราณ ร่ายยาว ฯลฯ | |
กาพย์ | กาพย์ยานี ๑๑ กาพย์สุรางคนางค์ ๒๘ ฯลฯ | |
ฉันท์ | ฉันท์ ๘ ฉันท์ ๑๑ ฉันท์ที่ประดิษฐ์ขึ้นใหม่ - ภูมิพลอดุลยเดชฉันท์ ๑๔ - รพีพัฒนฉันท์ ๖ - ฯลฯ ฯลฯ |
ตัวอย่าง
เค็กไทยวันนี้
ต้องดีต้องเก่ง |
กฎ- ๑. บทหนึ่งมี ๒ บาท บาทที่ ๑ เรียกว่าบาทเอกมี ๒ วรรค คือวรรคสลับและวรรครับ บาทที่ ๒ เรียกว่าบาทโทมี ๒ วรรค คือวรรครองและวรรคส่ง แต่ละวรรคจะมีคำวรรค ละ ๔ คำรวมบทหนึ่งมี ๑๖ คำ ๒. สัมผัสมีดังนี้ คำสุดท้ายของวรรคสลับ สัมผัสกับคำที่ ๒ ของวรรครับ คำสุดท้ายของวรรครับสัมผัสกับคำสุดท้ายของวรรครอง คำสุดท้ายของวรรครอง สัมผัสกับคำที่ ๒ ของวรรคส่ง ถ้าจะแต่งบทต่อไปต้องให้คำสุดท้ายของวรรคส่งของบทต้น สัมผัสกับคำสุดท้ายของวรรครับของบทต่อไปเสมอ เรียกว่า สัมผัสระหว่างบท |
กลอนแปดเป็นกลอนสุภาพที่มีผู้นิยมแต่งกันมากที่สุด เนื่องจากจำนวนคำไม่มากไม่น้อยเกินไป สามารถเก็บความได้พอดีถือเป็นกลอนพื้นฐานของกลอนต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นกลอนนิราศ กลอนนิทาน ฯลฯ
กฎ- ๑. บทหนึ่งมี ๒ บาท บาทที่ ๑ เรียกว่าบาทเอกมี ๒ วรรค คือวรรคสลับและวรรครับ บาทที่ ๒ เรียกว่าบาทโทมี ๒ วรรค คือวรรครองและวรรคส่ง แต่ละวรรคจะมีคำวรรค ละ ๘ คำ ๒. สัมผัสมีดังนี้ คำสุดท้ายของวรรคสลับ สัมผัสกับคำที่ ๓หรือ ๕ ของวรรครับ คำสุดท้ายของวรรครับ สัมผัสกับคำสุดท้ายของ วรรครอง คำสุดท้ายของวรรครอง สัมผัสกับคำที่ ๓ หรือ ๕ ของวรรคส่ง ถ้าจะแต่งบทต่อไปต้องให้คำสุดท้ายของวรรคส่งของ บทต้น สัมผัสกับคำสุดท้ายของวรรครับของบทต่อไป เสมอ เรียกว่าสัมผัสระหว่างบท |
ตัวอย่าง | บัดเดี๋ยวดังหง่างเหง่งวังเวงแว่ว สะดุ้งแล้วเหลียวแลชะแง้หา เห็นโยคีขี่รุ้งพุ่งออกมา ประคองพาขึ้นไปจนพนบรรพต แล้วสอนว่าอย่าไว้ใจมนุษย์ มันแสนสุดลึกล้ำเหลือกำหนด ถึงเถาวัลย์พันเกี่ยวที่เลี้ยวลด ก็ไม่คดเหมือนหนึ่งในน้ำใจคน (พระอภัยมณี) |
นิราศ แปลว่า การจากไป
การพรากไป ในทางฉันทลักษณ์
หมายถึง
บทประพันธ์ที่พรรณนาถึงการจากถิ่น
ฐานที่อยู่ไปในที่ต่างๆและต้องรำพึงรำพัน
การจากคนรัก
ถ้าไม่มีก็ต้องสมมติขึ้น
จึงจะนับว่าถูกต้องตามแบบนิยมของ
นิราศ
กฎ- ๑. ขึ้นต้นด้วยวรรครับของบาทเอก ส่วนวรรค สลับเว้นว่างไว้ ๒. วรรคหนึ่งใช้คำตั้งแต่ ๗ ถึง ๙ คำ ๓. สัมผัสและความไพเราะอื่นๆเหมือนกับ กลอนแปด ๔. กลอนนิราศ มักนิยมขึ้นต้นด้วยคำว่า "นิราศ" จบด้วย บาทโท และคำสุดท้ายจะต้องลงด้วย "เอย" เสมอ |
ตัวอย่าง |
|
กฎ- ๑. กลอนสักวาบทหนึ่งมี ๘ วรรค หรือ ๒ คำ กลอน วรรค หนึ่งใช้คำตั้งแต่ ๖-๙ คำ ถ้าจะ แต่งบทต่อไป ต้องขึ้น บทใหม่ ไม่ต้องมี สัมผัสเกี่ยวข้องกับบทต้น ๒. ต้องขึ้นต้นด้วยคำว่า "สักวา" และลงท้าย ด้วยคำว่า "เอย" ๓. สัมผัสและความไพเราะ เหมือนกับกลอน สุภาพ |
ตัวอย่าง | ๐ สักวาหวานอื่นมีหมื่นแสน ไม่เหมือนแม้นพจมานที่หวานหอม กลิ่นประเทียบเปรียบดวงพวงพยอม อาจจะน้อมจิตโน้มด้วยโลมลม แม้นล้อลามหยามหยาบไม่ปลาบปลื้ม ดังดูดดื่มบอระเพ็ดต้องเข็ดขม ผู้ดีไพร่ไม่ประกอบชอบอารมณ์ ใครฟังลมเมินหน้าระอาเอย (พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงบดินทรไพศาลโสภณ) |
กลอนเปล่า
งานร้อยกรองประเภทหนึ่งที่ไม่มีรูปแบบที่แน่นอน
ใช้สัมผัส
ใช้กลวิธีในการแต่งอย่างอิสระ
โดยมีลักษณะ
พื้นฐานคือเขียนวรรคละหนึ่งบรรทัด
และไม่บังคับสัมผัส
ปัจจุบันนิยมแต่งกัน
ไม่บังคับสัมผัสอย่างร้อยกรอง
แต่ใช้ลีลาและจังหวะโวหารแบบร้อยกรอง
จึงไม่จัดอยู่ในคำประพันธ์แบบ
ร้อยแก้ว
ตัวอย่าง |
|
วรรณรูป หรือ กวีนิพนธ์รูปธรรม
จากกลอนเปล่ากวีนำเสนองาน
ที่ใช้ตัวหนังสือประกอบกันเป็นรูปภาพที่ช่วยสื่อความหมายเป็นการ
ผสมผสานงานทัศนคติศิลป์และวรรณศิลป์เข้าด้วยกัน
ตัวอย่าง |
|
ตัวอย่าง
เสียงลือเสียงเล่าอ้าง
อันใด
พี่เอย
|
กฎ- ๑. โคลงสี่สุภาพบทหนึ่งมี ๔ บาท บาทหนึ่งมี ๒ วรรค คือวรรค หน้ากับวรรคหลัง วรรคหน้าของทุกบาทมีวรรคละ ๕ คำ วรรค หลังของบาทที่ ๑,๒ และ ๓ มีวรรคละ ๒ คำ ส่วนของบาทที่ ๔ มี ๔ คำ รวมโคลงสี่สุภาพบทหนึ่งมี ๓0 คำ ๒. สัมผัสมีดังนี้ คำที่ ๗ ของบาทที่ ๑ สัมผัสกับคำที่ ๕ ของบาทที่ ๒ และ ๓ คำที่ ๗ ของ บาทที่ ๒ สัมผัสกับคำที่ ๕ ของบาทที่ ๔ ถ้าจะให้โคลงแต่งไพเราะขึ้น ควรมีสัมผัสใน และสัมผัสอักษร ระหว่างวรรคด้วย กล่าวคือ ควรให้คำสุดท้ายของวรรคหน้า สัมผัสอักษรกับคำหน้าของวรรคหลัง จากตัวอย่าง ได้แก่คำ "อ้าง" กับ "อัน" "ใหล" กับ "ลืม" ๓. เอกโท และคำเป็นคำตาย มีดังนี้ ๑) ต้องมีคำเอก ๗ แห่ง และคำโท ๔ แห่งตามตำเหน่งที่ เขียนไว้ ๒) ตำเหน่งคำเอกและโท ในบทที่ ๑ อาจสลับที่กันได้ ๓) คำที่ ๗ ของบาทที่ ๑ และคำที่ ๕ ของบาทที่ ๒ และ ๓ ห้ามใช้คำที่ มีรูปวรรณยุกต์ |
๔)
ห้ามใช้คำตายที่ผันด้วยวรรณยุกต์โท
ในตำเหน่งโท ๕) คำสุดท้ายของบทห้ามใช้คำตาย และคำที่มีรูปวรรณยุกต์ และเสียงที่นิยมกันว่าไพเราะ คือเสียงจัตวาไม่มีรูปหรือ ใช้เสียงสามัญก็ได้ เพราะเป็นคำจบ จะต้องอ่านเอื้อนลากเสียงยาว ๖) คำที่เป็นเอกโทษ แดละโทโทษ ไม่ควรฬช้อย่างยิ่ง เพราะเป็นการขอ ไปที่อย่างมักง่าย ทั้งทำให้รูปคำเสียไปด้วย ๗) คำตายใช้แทนคำเอกได้ ๔. ถ้าเนื้อความยังไม่สิ้นกระแส สามารถเติมคำสร้อยลงในท้ายบทที่ ๑ และ ที่ ๓ ได้อีก ๒ คำ |
|
กฎ- ๑. บทหนึ่งจะมีกี่วรรคก็ได้ แต่มักจะมีตั้งแต่ ๕ วรรคขึ้นไป และคำในวรรคหนึ่งๆ กำหนดไว้ ๕ คำทุกวรรค ๒. สัมผัสมีดังนี้ คำสุดท้ายของวรรคหน้า ต้องสัมผัสคำที่ ๑ หรือ ๒ หรือ ๓ ของวรรคถัดไปทุกวรรค ส่วนคำสุดท้ายบทนั้น ห้าม ใช้คำตายและคำที่ผันด้วย วรรณยุกต์เอก โท ตรี จัตวา ๓. เติมได้ ๒ คำตอนท้ายบท หรือจะเติมสลับกันไปทุกวรรค ก็ได้ |
ตัวอย่าง | ชมข่าวสองพี่น้อง ต้องหฤทัยจอมราช พระบาทให้รางวัล ปันเสื้อผ้าสนอบ ขอบใจสูเอาข่าว มากล่าวต้องตัดใจ บารนี (ลิลิตพระลอ) |
กฎ- ๑. บทหนึ่งจะมีกี่วรรคก็ได้ แต่มักจะมี ตั้งแต่ ๕ วรรค ขึ้นไป และคำในวรรค หนึ่งๆ ก็ไม่กำหนด ไว้ตายตัว มักจะ อยู่ระหว่าง ๗-๑๓ คำ ๒. สัมผัสมีดังนี้ คำสุดท้ายของวรรคต้น จะส่งสัมผัส ไปยังวรรค ต่อไปคำใดก็ได้ยกเว้นคำ แรกและคำสุดท้ายซึ่งไม่นิยมรับสัมผัส ส่วนการสั่งและการรับสัมผัส ด้วยเอก โท ไม่ถือเป็นระเบียบเคร่งครัด การแต่ง ร่ายยาวผู้แต่งจะต้องรู้จักเลือกใช้ถ้อยคำ และ สัมผัสใน ให้มีจังหวะรับกันอย่าง สละสลวยและจำนวนคำในวรรคหนึ่งๆ ก็ไม่ควรยาวเกินกว่า ช่วงระยะหายใจ ครั้งหนึ่งๆ |
ตัวอย่าง
เรื่อยเรื่อยมารอนรอน
ทิพากรจะตกต่ำ |
กฎ- ๑. บทหนึ่งมี ๒ บาท บาทหนึ่งมีสองวรรค วรรคแรกมี ๕ คำ วรรคหลังมี ๖ คำรวมเป็น ๑๑ คำ จึงเรียกว่ากาพย์ยานี ๑๑ ๒. สัมผัสมีดังนี้ คำสุดท้ายของวรรคที่ ๑ สัมผัสกับคำที่ ๓ หรือ ๑,๒ ของ วรรคที่ ๒ คำสุดท้ายของ วรรคที่ ๒ สัมผัสกับคำสุดท้าย ของวรรคที่ ๓ ถ้ามีบทต่อไป จะต้องให้คำสุดท้ายของ บทต้น สัมผัสกับคำสุดท้ายของ วรรค ๒ ของบทต่อไป ซึ่งถือเป็นสัมผัสระหว่างบท ถ้าจะให้คำสุดท้ายของวรรค ที่ ๓ สัมผัสกับคำที่ ๑ หรือ ๒ หรือ ๓ ของวรรคที่ ๔ ด้วย ก็จะเป็นการเพิ่มความไพเราะยิ่งขึ้น ๓. ถ้อยคำที่ใช้ในวรรคเดียวกันนิยมให้มีสัมผัสในเหมือน กลอน จึงจะไพเราะ ๔. คำสุดท้ายของบท ห้ามใช้คำตายหรือคำที่มีรูปวรรณยุกต์ และนิยมใช้เสียงวรรณยุกต์สามัญ หรือจัตวา |
กฎ- ๑. บทหนึ่งมี ๗ วรรค วรรคนึ่งมี ๔ คำ รวมเป็น ๒๘ คำจึงเรียก ว่ากาพย์สุรางคนางค์ ๒๘ ๒. สัมผัสมีดังนี้ คำสุดท้ายของวรรคที่ ๑ สัมผัสกับคำสุดท้ายของวรรคที่ ๒ คำสุดท้ายของวรรคที่ ๓ สัมผัสกับคำสุดท้ายของวรรคที่ ๕ คำสุดท้ายของวรรคที่ ๕ สัมผัสกับคำสุดท้ายของวรรคที่ ๖ ถ้าจะแต่งบทต่อไป ต้องให้คำสุดท้ายของวรรคที่ ๗ ของบท ต้นสัมผัส กับคำสุดท้ายของวรรคที่ ๓ ของบทต่อไปเสมอ |
ตัวอย่าง | ๐ สุรางคนางค์ เว้นวรรคจัดวาง ให้เห็นวิธี สัมผัสมีหลัก ควรวรรคละสี่ ยี่สิบแปดมี ครบบทจดจำ ๐ สุรางคนางค์ แต่งเป็นตัวอย่าง เหมาะสมคมขำ คิดนึกตรึกตรา เลือกหาถ้อยคำ สอดเสียงสูงต่ำ ฟังเพราะเสนาะแล (ฐะปะนีย์ นาครทรรพ) |
อ้างอิงจากหนังสือ
ลักษณะคำประพันธ์ไทย (รศ. วิเชียร
เกษประทุม)
หาซื้อได้ตามร้านหนังสือชั้นนำทั่วไป
๕๐บาท
| Home | การแต่งร้อยแก้ว
| การแต่งร้อยกรอง
| วิธีการร่วมสนุก | About Us | Top |
Weekly Poems | วันจันทร์ | วันอังคาร | วันพุธ | วันพฤหัสบดี | วันศุกร์ | วันเสาร์ |
วันอาทิตย์ |
| นวนิยาย | บทละคร | เรื่องสั้น | บทความ | เรื่องที่อยากเล่า | นิทาน | ตำนาน-ชาดก | แนะนำหนังสือ | สาระ-เกร็ดความรู้ |
7Smooth.com Group
Copy Right 1999
poet2543@hotmail.com | poet2543@7smooth.com