บทความใหม่สำหรับสัปดาห์นี้มีทั้งหมด
3 บทความด้วยกันนะครับ บทความแรก
โดยปัญญพร เหลืองจินดา หัวข้อ ISO 14000 กับ IPE ซึ่งกล่าวถึงบทบาทของ
ISO ในฐานะของ International Governmental Organization
ซึ่งทำหน้าที่
ในการกำหนดมาตรฐานขององค์กร
ในระดับระหว่างประเทศ
และผลกระทบต่อการดำเนินนโยบายขององค์กร
บทความที่สองนี้เป็นประเด็นของ
Intellectual Properties โดย สุภาวดี ปรางจันทร์
ในหัวข้อ ระหว่างผลประโยชน์กับความถูกต้องที่เราต้องเลือก
เป็นเรื่องของลิขสิทธิ์ของ
software ต่าง ๆ
ที่ถูกละเมิดอย่างรุนแรงในประเทศไทย
( คนที่ไปพันธุ์ทิพย์คงรู้ดี )
ผู้บริโภคคนไทยอย่างเราก็ต้องเลือกระหว่าง
software
ราคาแพงเกินความสามารถในการจ่าย
( ปกติ software package
ตัวหนึ่งจะมีราคาตกประมาณ 4,000 - 20,000
บาท ) หรือจะเป็นการซึ้อจาก
ตลาดมืด ( ความจริงออกจะเปิดเผย )
ในราคาที่ถูกกว่าหลายเท่าตัว (
แผ่น CDROM 1 แผ่น ซึ่งประกอบด้วย software
package หลายโปรแกรมรวมกับ
ปัจจุบันมีการ dump
ราคาลงเหลือประมาณแผ่นละ 80-100 บาท )
ปัญหาการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา
ยังคงเป็นประเด็นปัญหาระหว่างไทยกับต่างประเทศโดยเฉพาะสหรัฐอเมริกา
ทางออกอยู่ที่ไหน?
ลองเข้าไปอ่านบทความดูได้ครับ
ส่วนบทความสุดท้ายก็เกี่ยวกับวิกฤตการณ์เศรษฐกิจ
(อีกแล้ว) ในหัวข้อ วิกฤตเศรษฐกิจเอเชีย
กับบทบาทของอเมริกาและญี่ปุ่น โดย ต่อศักดิ์
จันทร์เพียร
ซึ่งเป็นมุมมองที่โต้แย้งกับบทความของจิรายุ
( สหรัฐฯ ผู้น่าสงสาร )
โดยในบทความนี้ได้ชี้ให้เห็นถึงระบบเศรษฐกิจของเอเชีย
หรือ Asian Model ซึ่งนำโดยญี่ปุ่น
ที่เคยมีประสิทธิภาพ
และยังคงมีประสิทธิภาพ
แต่ความสามารถของระบบดังกล่าว
ถูกทำลายลงภายหลังการเข้ามามีบทบาท
ชี้นำในการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ |