ปีที่ 3 ฉบับที่ 968 ประจำวันพฤหัสบดีที่ 9 เดือนมีนาคม พ.ศ. 2543

ปุจฉา - วิสัชนา

วิถีทางรักษาพุทธศาสนา และความมั่นคงของชาติ

เอกสารประกอบหมายเลข 1 เอกสารประกอบหมายเลข 2

เรียนคุณไอ้ทิดที่นับถือ

ผมได้รับคำสั่ง่ให้เข้าพบผู้บัญชาการท่านหนึ่งเป็นกรณีเร่งด่วน เพื่อบรรยายสรุป ในกรณีมีพุทธศาสนิกชนได้ยื่นคำร้องทุกข์กล่าวโทษ ให้ดำเนินการจับกุม ผู้มีพฤติกรรม อันเป็น การบ่อนทำลายความมั่นคงของชาติ กรณีเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา ไปยังทุกหน่วยงานของทุกกองทัพทั่วประเทศ และได้ปรากฏมีผู้ให้ข้อมูลกับท่านว่า "กองทัพไม่ต้องรับผิดชอบ และไม่ต้องดำเนินการใดๆ กับผู้บ่อนทำลายความมั่นคงเหล่านั้น เพราะไม่มีอำนาจตามกฎหมาย" นั้น จริงเท็จเป็นอย่างไร และผมได้รับอนุญาตให้นำรายละเอียดบางส่วน ที่เปิดเผยได้ในการประชุมนั้น มานำเสนอต่อสาธารณชน โดยเฉพาะพุทธศาสนิกชนให้ได้รับทราบ เพื่อความเข้าใจอันถูกต้องดังนี้

กองทัพมีหน้าที่รักษาความมั่นคงของชาติ ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 72 และสถาบันแห่งความมั่นคงของชาติ มี 3 สถาบัน คือ ชาติ พระพุทธศาสนา และพระมหากษัตริย์

สถาบันพระพุทธศาสนาเป็นความมั่นคงของชาติ เพราะเป็นรากฐานแห่งขนบธรรมเนียม ประเพณี ศิลปวัฒนธรรม หลักศีลธรรมของพระพุทธศาสนา ทำให้ประชาชนมีเอกลักษณ์ ของความเป็นชาติไทย สืบต่อกันมาแต่โบราณ มีความผูกพันต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ เพราะทางเป็นพุทธมามกะ อันทรงเป็นศูนย์รวมของปวงชนชาวไทย ก่อให้เกิดความ สามัคคีของชนในชาติ ทรงปกครองทวยราษฎร์ด้วยหลักทศพิธราชธรรม อันเป็นหลักคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า บรมศาสดาแห่งพระพุทธศาสนา

สภาวะของเศรษฐกิจของประเทศหากตกต่ำมาก จะส่งผลให้เกิดการภาวะการตกงาน อาชญากรรม ยาเสพติด และทุจริตชนเพิ่มมากขึ้น ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดถึงผลกระทบ ของ การสูญเสียความมั่นคงของชาติ ก็คือ ประเทศอินโดนีเซีย ซึ่งเกิดการจลาจลทั่วประเทศ ผลร้ายที่เกิดตามมาคือ การแบ่งแยกประเทศออกไปเป็นส่วน ๆ และเมื่อความมั่นคง ทางเศรษฐกิจ ของชาติสูญเสียไปแล้ว การพัฒนาประเทศในด้านต่าง ๆ ไม่อาจที่จะทำได้ เพราะขาดเงินงบประมาณในด้านนั้น ๆ และก้าวเข้าสู่การเป็นประเทศที่สูญเสีย อิสรภาพทางการบริหาร และตกเป็นเมืองขึ้นของประเทศอื่นในที่สุด ทั้ง ๆ ที่ประเทศของตนมีความอุดมสมบูรณ์ทางด้านทรัพยากรมากมาย

จึงเป็นที่ยอมรับกันโดยสากลว่า ความมั่นคงทางเศรษฐกิจของประเทศ คือความมั่นคงของสถาบันชาติ

แต่ทั้งนี้เศรษฐกิจของชาติจะมั่นคงได้หรือไม่นั้น ย่อมขึ้นอยู่กับสภาพความเป็นอยู่อย่างผาสุก นั่นคือความสามัคคีของชนในชาติ เพราะเหตุที่ประเทศไทยมีพระพุทธศาสนา เป็น ศาสนาประจำชาติ มายาวนาน เป็นหลักธรรมประจำใจของประชาชน มีสถาบันพระมหากษัตริย์เป็นศูนย์รวมความสามัคคี ดังนั้น ประเทศไทยในอดีต จึงมีความมั่นคงทาง เศรษฐกิจ เป็นที่ประจักษ์ในประวัติศาสตร์ตลอดมา จากความสัมพันธ์เป็นหนึ่งเดียวกัน เปรียบประดุจดั่งสายโซ่ เมื่อเกิดผลกระทบกับสถาบันใด ก็จะกระเทือนไปยังสถาบันอื่น ๆ ด้วยเช่นกัน

ประเทศไทยมีบทลงโทษต่อบุคคล องค์กร หรือผู้หนึ่งผู้ใดที่กระทำการอันเป็นการทำลายผลประโยชน์ของชาติ อันเป็นการทำลายความมั่นคงทางเศรษฐกิจ ความมั่นคงทาง พระพุทธศาสนา ซึ่งเป็นศาสนาประจำชาติ และสถาบันพระมหากษัตริย์ นับเป็นความโชคดีสำหรับประเทศไทย ได้ใช้เป็นเครื่องมือ ป้องกันรักษาความมั่นคงของสถาบัน ทั้งสามไว้ภายใต้ชื่อ "พระราชบัญญัติป้องกัน และปราบปรามการกระทำอันเป็นคอมมิวนิสต์" ความหมายคำว่า "การกระทำอันเป็นคอมมิวนิสต์" มิได้หมายถึงเฉพาะบุคคล ที่มีพฤติกรรมฝักใฝ่ในลัทธิคอมมิวนิสต์เท่านั้น แต่หมายถึง การบ่อนทำลายความมั่นคงของชาติ สถาบันพระพุทธศาสนา สถาบันพระมหากษัตริย์ โดย

1. ให้ที่พัก ที่อาศัย หรือที่ประชุม หรือ
2. ชักชวนบุคคลอื่น ให้เกิดความเสื่อมศรัทธาต่อพระพุทธศาสนา หรือกระทำการใดๆ อันเป็นการทำลายขนบธรรมเนียม ประเพณีของชนชาติไทย 

เจตนาของการออก พ.ร.บ. นี้ เพื่อให้อำนาจแก่กองทัพทั้ง 3 เหล่า รักษาความมั่นคงของชาติ ตามบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ (รวมทั้งฉบับ พ.ศ.2540 มาตรา 72 ด้วย) ได้อย่างเต็มที่ กำหนดให้มีหน้าที่เป็นเจ้าพนักงานตาม พ.ร.บ. นี้ ในมาตรา 16 ตรี "ให้ผู้อำนวยการป้องกันการกระทำอันเป็นคอมมิวนิสต์จังหวัด ผู้อำนวยการป้องกันคอมมิวนิสต์ภาค และ ผู้อำนวยการป้องกันคอมมิวนิสต์ทั่วไป เป็นพนักงานฝ่ายปกครอง หรือ ตำรวจชั้นผู้ใหญ่ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

และใน มาตรา 19 " ... ฯลฯ .. โดยให้ถือว่า ผู้บังคับบัญชาทหาร เป็นพนักงานสอบสวน และนายทหารซึ่งมีตำแหน่งผู้บังคับบัญชาในท้องถิ่นการบังคับบัญชาราชการทหาร ที่ควบคุมผู้ต้องหา เป็นอธิบดีกรมตำรวจ หรือถ้าไม่มี นายทหารผู้มีตำแหน่งผู้บัญชาการกองพล หรือ เทียบเท่าในท้องถิ่นนั้น ก็ให้ถือว่า ผู้บัญชาการทหารสูงสุดในท้องถิ่นนั้น เป็นอธิบดีกรมตำรวจ"

ทั้งยังให้มีอำนาจการจับกุมได้ทั่วราชอาณาจักร โดยไม่มียกเว้น แม้แต่นักการเมือง ดังปรากฏในมาตรา 20 " ... มีอำนาจ ค้น หรือจับกุมบุคคลนั้น หรือค้นสถานที่ใด เพื่อหาตัวคน หรือสิ่งของ อันเกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ได้ โดยไม่ต้องมีหมายค้นหรือหมายจับ และให้มีอำนาจค้นหรือจับได้ ในทุกสถานที่และทุกเวลา ... ฯลฯ ..."

เมื่อผมกล่าวถึงอำนาจการจับกุมตรงนี้ ปรากฏว่า ผู้บัญชาการท่านนั้น ได้กล่าวว่า เมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา ผอ.รมน.คนใหม่ ได้มีการประชุมผู้บัญชาการทุกเหล่าทัพ และในการประชุมนั้น ได้สรุปว่า "นับแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ.2543 เป็นต้นไป ทหารมีหน้าที่จับุมได้เฉพาะชายแดนเท่านั้น ไม่มีอำนาจจับกุมผู้บ่อนทำลายความมั่นคง ภายใน ประเทศ ซึ่งให้เป็นอำนาจของตำรวจเท่านั้น" พร้อมนั้น ท่านได้ยื่นเอกสารเป็นคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ให้ผมสองฉบับ (ฉบับหนึ่ง คือ เอกสารหมายเลข 1) เมื่อผมได้อ่านดูแล้ว บอกตรงๆ ครับว่า แทบซ็อค! เพราะเมื่อดูเอกสารประกอบผลสรุปการประชุมที่ท่านว่านั้น ก็พบความไม่ชอบมาพากล และจัดว่า ผู้ที่ได้จัดทำเอกสารดังกล่าวขึ้นนี้ อาจมีความผิด ขั้นอุกฤษฎ์โทษได้ด้วย ซึ่งสามารถนำข้อกฎหมายมาประกอบการพิจารณาได้ดังนี้

1. กรณีการยกเลิก อำนาจการจับกุม อันระบุไว้ในพระราชบัญญัติ

เนื่องจากองค์พระมหากษัตริย์ ทรงมีพระราชอำนาจอันผู้ใดจะละเมิดมิได้ ปรากฏเป็นบทบัญญัติไว้ชัดในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2540 มาตรา 8 "องค์พระมหากษัตริย์ทรงดำรงอยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพ ผู้ใดจะละเมิดมิได้" พระราชบัญญัติ พระราชกฤษฎีกา หรือ กฎหมายใด อันองค์พระมหากษัตริย์ ได้ทรงลง พระปรมาภิไธย มีผลใช้บังคับแล้วนั้น ไม่อาจจะยกเลิกหรือแก้ไขใดๆ ได้ โดยพลการ ในการแก้ไขข้อความใด ๆ หากมีจะต้องเสนอผ่านความเห็นชอบ จากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สามวาระ และผ่านความเห็นชอบของวุฒิสภา ซึ่งทำหน้าที่ผ่านกฎหมาย เรียกว่า อำนาจนิติบัญญัติ  และไม่มีข้อยกเว้นใด ๆ ทั้งสิ้น ที่อนุญาตให้ทำโดยวิธีอื่น ซึ่งหากมีกระกระทำ อันเป็นการแก้ไขเปลี่ยนแปลงใด ๆ โดยวิธีการอันนอกไปจากที่กล่าวนี้ อันเป็นผลทำให้ไม่สามารถใช้อำนาจตามที่กำหนดไว้ใน พ.ร.บ. หรือกฎหมายที่ผ่านความเห็นชอบ โดยฝ่ายนิติบัญญัติไปแล้ว การกระทำนั้น จัดเป็นการล้มล้างอำนาจนิติบัญญัติ เป็นความผิดตามหมวด 2 ว่าด้วยความมั่นคงของรัฐภายในราชอาณาจักร มาตรา 113 (2)

"ล้มล้างอำนาจนิติบัญญัติ .. หรือให้ใช้อำนาจดังกล่าวแล้วไม่ได้ ผู้กระทำนั้น มีความผิดฐานเป็นกบฎ ต้องระวางโทษประหารชีวิตหรือจำคุกตลอดชีวิต" การที่จำกัดอำนาจจับกุม ของทหาร จึงเท่ากับเป็นการละเมิดพระราชอำนาจ โดยตรงอันมิอาจปฏิเสธ รวมทั้งได้มีการกระทำให้ปรากฏแก่สาธารณะ อันบ่งถึงเจตนาประสงค์ให้มีการปฏิบัติตามคำสั่ง ของตน ด้วย จึงอาจเข้าองค์ประกอบความผิดโดยชัดแจ้ง

2. ทำลายศักยภาพ สมรรถภาพของกองทัพ 

เนื่องจากการกระทำหรือการสั่งการดังกล่าว มีผลโดยตรง ทำให้กองทัพไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ อันกำหนดไว้ในบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ มาตรา 72 เพื่อใช้อำนาจการจับกุม ตาม พ.ร.บ. ดังกล่าวได้ อันเป็นการบ่อนทำลายสมรรถภาพของทหาร ให้เสื่อมทรามลง ก็เป็นความผิดอาญา ตามมาตรา 115 วรรค 2 "กระทำโดยมุ่งหมายจะบ่อนทำลายให้วินัย และสมรรถภาพของกรมกองทหาร เสื่อมทรามลง" ซึ่งเป็นสิ่งแน่นอนที่สุดก็คือ พระพุทธศาสนาเป็นสถาบันแห่งความมั่นคงแห่งชาติ ซึ่งทหารทั้งสามเหล่าทัพ จะต้องมีหน้าที่ป้องกัน อันเป็นเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ ดังบัญญัติไว้ในมาตรา 72 ดังนั้น การลดอำนาจทหารในการรักษาความมั่นคงของรัฐลงไป ย่อมจัดต่อความมุ่งหมายของรัฐธรรมนูญ จึงอาจเป็นความผิดอาญา ตามมาตรา 116(1),(3)

เนื่องจากเรื่องของความมั่นคงนั้น เกี่ยวพันต่อประเทศชาติและประชาชน ทำให้ผู้ที่มีส่วนร่วม หรือรู้เห็นการกระทำความผิดดังกล่าวแล้วร่วมกันปกปิดไว้ จึงอาจผิดอาญา ตาม มาตรา 114 

3. ความไม่สมบูรณ์ทางกฎหมายของเอกสาร อันอ้างเป็นคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี (เอกสารหมาย 1) 

ก.ปรากฏว่า ผู้พิมพ์คำสั่งดังกล่าวไม่กระจ่างในข้อกฎหมาย และระเบียบงานสารบรรณ ซึ่งระบุเป็นข้อบังคับแก่หน่วยราชการ ปฏิบัติในการพิมพ์หนังสือราชการ ต้องใช้พุทธศักราช คือ คำว่า พ.ศ. ด้วย ไม่ใช่ใส่เฉพาะตัวเลขปี ปรากฏความผิดพลาดชัดในบรรทัดแรกของคำสั่งนี้ พิมพ์เป็น 5 ธันวาคม 2542 ซึ่งไม่ถูกระเบียบราชการที่จะต้องเป็น 5 ธันวาคม พ.ศ.2542

ข.คำสั่งต้องใช้อำนาจของกฎหมาย แต่การอ้างอำนาจข้อกฎหมาย เพื่อแต่งตั้งตำแหน่ง ผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน (กอ.รมน.) ใช้ข้อกฎหมายผิด เนื่องจากว่า หน่วย งาน กอ.รมน. ตั้งขึ้นโดยอำนาจแห่งพระราชบัญญัติป้องกันปราบปรามการกระทำอันเป็นคอมมิวนิสต์ ดังนั้น การตั้งผู้อำนวยการ กอ.รมน. จึงต้องตั้งขึ้นโดย พ.ร.บ. เดียวกัน แต่ผู้ที่ทำเอกสารนี้ ได้อ้างเอา พ.ร.บ. ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2534 ซึ่งเป็นคนละเรื่องกัน 

ค.เอกสารราชการ ต้องออกในวันราชการทำการ และเวลาราชการเท่านั้น แต่ปรากฏว่า เอกสารดังกล่าว อ้างถึงเอกสารที่ระบุว่า ออกในวันที่ 5 ธันวาคม ซึ่งเป็นวันเฉลิม พระชนม พรรษา องค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เป็นวันหยุดราชการ และตรงกับวันอาทิตย์ วันจันทร์ที่ 6 เป็นวันหยุดชดเชย วันที่ 4 ก็ตรงกับวันเสาร์ ดังนั้น หนังสือนี้ลงนาม ออกใน ช่วงวันหยุด 3 วันได้อย่างไร (คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 187/2542) ใครบ้างที่มาทำงานในวันหยุด โดยคำสั่งราชการพิเศษกรณีใด เพราะเนื่องจากเป็นวันหยุด การทำราชการ ในวันดังกล่าว จึงต้องมีคำสั่งเร่งด่วน ฉุกเฉินเป็นการเฉพาะ (เช่น เตรียมพร้อม) ดังนั้น เอกสารดังกล่าว ไม่มีการอ้างใด ๆ ว่า เป็นกรณีเร่งด่วนดังกล่าวแล้วนั้น จึงไม่ถูกต้อง ตาม ระบบราชการโดยแท้

ง.มติคณะรัฐมนตรี ที่อ้างถึงในคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 187/2542 ไม่อาจยกเลิกพระราชอำนาจในพระราชบัญญัติได้ ปรากฏเป็นหลักฐานในการอ้างว่า มติความเห็นชอบ ของคณะรัฐมนตรี แต่ไม่ระบุในคำสั่งว่า มติการประชุมคณะรัฐมนตรีครั้งใด การประชุมนั้นมีขึ้นในวันที่เท่าใด ทั้งนี้ เพื่อที่จะสามารถสืบค้นบันทึกการประชุมดังกล่าวได้ (คำสั่ง 187/2542 ลง 5 ธันวาคม พ.ศ.2542) เอกสารดังกล่าวจึงขาดความสมบูรณ์ทางกฎหมายและไม่มีผลใช้บังคับใดๆ เป็นโมฆะและอาจเป็นความผิดอาญา

การจัดทำให้ปรากฏโดยเอกสารดังกล่าวนั้น อาจเป็นความผิดอาญาฐานปลอมแปลงเอกสารทางราชการตามมาตรา 265 รวมทั้งเอกสารนี้ ไม่มีเจ้าหน้าที่พิมพ์/ตรวจทาน ซึ่งผิดจากระเบียบงานสารบรรณ โดยสิ้นเชิง


จ.จากที่กล่าวนั้น จะเห็นได้ว่า เอกสารดังกล่าว ไม่มีผลทางกฎหมายทำให้ผู้ที่ได้รับการแต่งตั้งเป็น ผ.อ.รมน. ตามเอกสารดังกล่าว ไม่มีตำแหน่งอำนาจและหน้าที่ใดๆ ทาง กฎหมาย ที่อาจอ้างหรือสั่งการใดๆ ต่อข้าราชการใน กอ.รมน. ได้ด้วยประการทั้งปวง การเรียก/จัดประชุม พร้อมทั้งมีการกำหนดนโยบายจำกัดอำนาจทหาร ไม่ให้มีอำนาจ จับผู้บ่อนทำลายความมั่นคงในประเทศเช่นว่าจริง ก็เป็นการกระทำอันละเมิดต่อพระราชอำนาจขององค์พระมหากษัตริย์ ผู้ที่ร่วมปฏิบัติการได้ตามคำสั่ง ที่เกิดจากการประชุมนั้น ก็อาจมีความผิดสถานเดียวกัน เพราะมิได้กระทำการตามคำสั่งผู้บังคับบัญชา อันชอบด้วยกฎหมาย อีกทั้งโดยมติของวุฒิสภา ในปลายเดือนธันวาคม พ.ศ.2542 คงให้ พ.ร.บ. ป้องกัน และปราบปรามการกระทำอันเป็นคอมมิวนิสต์ฯ มีผลบังคับใช้ไปอีก 1 ปี นั่นหมายถึง พ.ร.บ. ดังกล่าว จะถูกยกเลิกในเดือน ธันวาคม พ.ศ.2543 ไม่ใช่ในเดือน มีนาคมนี้ ดังนั้น สรุปได้โดยทางกฎหมายว่า ทหารยังมีอำนาจจับกุมทั่วราชอาณาจักรเช่นเดิม

จากกรณีเรื่องเอกสารนี้ ผมจึงได้นำเสนอข้อเปรียบเทียบ ถึงสิ่งที่น่าสงสัยเป็นอย่างยิ่ง ก็คือ เอกสารหมายเลข 1 และเอกสารจากรมการศาสนา (เอกสารหมายเลข 2) มีความ ผิดพลาดในเรื่องเดียวกัน คือทั้งสองฉบับ ล้วนไม่ถูกต้องตามหลักราชการ ทำให้เห็นได้ว่า ผู้ที่ทำเอกสารทั้ง 2 ฉบับนี้ ต้องไม่ใช่บุคคลที่รับราชการ เพราะมีข้อผิดพลาดไม่พิมพ์ "พุทธศักราช" เหมือนกัน เป็นไปได้ว่า น่าจะจากแหล่งผลิตเดียวกัน เอกสารหมายเลข 1 อ้างว่า เป็นคำสั่งนายกรัฐมนตรี เอกสารหมายเลข 2 อ้างว่า เป็นคำสั่งกรมการศาสนา แต่ผู้ลงนามกลับไม่มีอำนาจในการบริหาร และตัวเลขที่ใช้กลับเป็นเลขอาระบิค ซึ่งตามระเบียบหนังสือราชการ ต้องเป็นเลขไทย 

สิ่งที่พิสดารอย่างยิ่ง ก็คือ มีการพยายามขอยกเลิก พ.ร.บ.ดังกล่าวนี้ ไปพร้อม ๆ กับการทำลายระบบเศรษฐกิจของประเทศ และการทำลายพระพุทธศาสนา อันเป็นรากฐานทาง วัฒนธรรม ของชาติ ในระยะเวลาเดียวกัน แรงจูงใจใดทำให้มีการทำเอกสารทั้ง 2 ชุดนี้ขึ้น และเพื่อวัตถุประสงค์อะไร และเอกสารฉบับที่ 1 เกี่ยวข้องกับกรณีกองกำลังก๊อตอามี่ ที่บุกยึดโรงพยาบาลราชบุรี และกรณีเครื่องบินเฮลิคอปเตอร์ของ ผบ.พล.9 ซึ่งเป็นหัวหน้าหน่วยปราบปรามกองกำลังก๊อตอามี่ ตกที่กาญจนบุรี เสียชีวิตทั้งคณะ หรือไม่??

ก่อนจะจบการบรรยายสรุป ท่านผู้บัญชาการได้ถามว่า หากกองทัพไม่ดำเนินการจับกุมผู้ทำความผิดฐานบ่อนทำลายความมั่นคง สถาบันพระพุทธศาสนาจะมีผลอย่างไร ? ผมตอบให้ท่านได้ทราบว่า "ผู้บัญชาการทุกเหล่าทัพ แม่ทัพ และ ผอ.รมน.จังหวัด ก็ต้องตกเป็นจำเลย ถูกฟ้องในคดีอาญาตามมาตราข้างต้นนั้น อย่างแน่นอน เพราะมีหลักฐาน พยาน การกระทำความผิดชัดแจ้ง และที่ไม่อาจจะปฏิเสธได้เลย เพราะเป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมาย วิธีพิจารณาความอาญา ตาม พ.ร.บ.นี้ และเหตุผลที่นำมาอ้าง เพื่อปฏิเสธความรับผิดชอบ ว่าไม่มีอำนาจในการจับกุม ก็ฟังไม่ขึ้น เพราะเอกสารที่นำมาอ้าง ไม่สมบูรณ์ทางกฎหมายดังกล่าวแล้ว 

โดยเฉพาะคำร้องทุกข์กล่าวโทษ ที่พุทธศาสนิกชน ยื่นให้กับกองทัพ เพื่อจับกุมผู้บ่อน่ทำลายพระพุทธศาสนานั้น ได้ยื่นก่อนหน้าระยะเวลาที่อ้างว่า ไม่มีอำนาจจับกุมเสียอีก ทั้งการไม่ดำเนินการจับกุม ก็เป็นการกระทำอันขัดต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 72 ทำให้เป็นการกระทำอันไม่สนับสนุนการปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์เป็น องค์พระประมุขอีกด้วย" นี่คือเนื้อหาในการบรรยายสรุปในวันนั้น

ที่กล่าวมาข้างต้นนี้ นับว่า เป็นประเด็นและจุดที่สำคัญ เป็นหัวเลี้ยวหัวต่อของประวัติศาสตร์ การบ่อนทำลายความมั่นคงของชาติ การใช้อิทธิพลการเมือง กดดันทำลาย กระจายขยายตัวแทรกไปทุกสถาบัน ไม่เว้นแม้แต่กองทัพ การทำลายศักยภาพของกรมกองทหาร ให้ใช้อำนาจการจับกุม ก็ไม่ผิดอะไรกับการปลดอาวุธกองทัพ ให้กลายเป็นทาส ซึ่งเป็ฯการละเมิดอำนาจพระมหากษัตริย์ และรัฐธรรมนูญ ดังนั้น ทางเลือกของกองทัพ จึงมีอยู่ทางเดียวเท่านั้นว่า จะรักษาความมั่นคงของชาติ พระพุทธศาสนา และพระมหากษัตริย์ ตามคำปฏิญาณต่อธงชัยเฉลิมพล ที่ประดิษฐานด้วยพระพุทธปฏิมากร หรือไม่เท่านั้น???

นักรบนักกฎหมาย

"ไอ้ทิด"


1