ปีที่ 3 ฉบับที่ 976 ประจำวันพฤหัสบดีที่ 16 เดือนมีนาคม พ.ศ. 2543 |
แฉ! เบื้องหลังลวงพระเถระ เพื่อรื้อฟื้นนิคหกรรม
แฉ! เบื้องหลังหลองลวงพระเถระ เพื่อรื้อฟื้นนิคหกรรม โดยเป็นที่ทราบกันดีว่า ในกรณีนิคหกรรม ที่มีนายมาณพ พลไพรินทร์ และนายสมพร เทพสิทธา
เป็นผู้กล่าวหาต่อ
พระราชภาวนาวิสุทธิ์ และพระภาวนาวิริยคุณนั้น
คณะผู้พิจารณาชั้นต้นอันประกอบด้วย พระพรหมโมลี เจ้าคณะภาค 1 ในฐานะหัวหน้าคณะผู้พิจารณาชั้นต้น พระเทพสุธี รองเจ้าคณะภาค 1 คณะผู้พิจารณาชั้นต้น พระสุเมธาภรณ์ เจ้าคณะจังหวัดปทุมธานี คณะผู้พิจารณาชั้นต้นได้มีมติ ไม่รับคำกล่าวหาของคฤหัสถ์ทั้งสอง เมื่อวันที่ 13 สิงหาคม 2542 อันเป็นผลให้กฎนิคหกรรมกรณีนี้ ต้องยุติลงอย่างสิ้นเชิง ซึ่งเป็นคำสั่งที่ชอบด้วยพระธรรมวินัย, กฎหมาย และกฎมหาเถรสมาคมไปแล้วนั้น
ต่อมาปรากฏว่า นายไพบูลย์ กับพวก ได้ทำการรายงานเท็จโดยบิดเบือนเอกสารข้อเท็จจริงในการดำเนินการตามกฎนิคหกรรมของคณะผู้พิจารณาชั้นต้น
ต่อกรรมการมหาเถร สมาคม
ทุกรูป เพื่อที่จะได้มีการรื้อฟื้นการพิจารณาตามกฎนิคหกรรมขึ้นมาใหม่ เพื่อหวังรวบรัดตัดตอนให้มหาเถรสมาคมมีมติให้พระราชภาวนาวิสุทธิ์ และพระภาวนาวิริยคุณ สละสมณเพศตามกฎมหาเถรสมาคมฉบับที่ 21 (กฎฉบับนี้ได้เคยใช้กับกรณีของพระยันตระมาแล้ว)
บัดนี้ทางชมรมชาวพุทธสากลแห่งประเทศไทย เห็นว่าถึงเวลาแล้วที่จะต้องเปิดเผยเบื้องหน้า และเบื้องหลัง
ของรายงานที่บิดเบือนดังกล่าว
ต่อพุทธศาสนิกชนชาวไทย
ที่รักความ เป็นธรรมทุกท่าน อันอาจแสดงให้เห็นถึงธาตุแท้ ของกลุ่มบุคคลดังกล่าวที่มีความพยายามทำลายพระพุทธศาสนา
โดยแสดงข้อความอันเป็นเท็จ
ให้แก่กรรมการมหาเถรสมาคม
ทุกรูปเข้าใจผิดในข้อเท็จจริง และขั้นตอนวิธีดำเนินการที่ผ่านมาของคณะผู้พิจารณาชั้นต้น อันทำให้มหาเถรสมาคมเกิดความเข้าใจผิดต่อพระพรหมโมลี
ว่าไม่ปฏิบัติตามมติ
มหาเถรสมาคม จนกระทั่งพระพรหมโมลีได้ถูกให้ออกจากตำแหน่งเจ้าคณะภาค 1 มาแล้วนั้น
และทางชมรมฯ ได้รวบรวมข้อมูล หลักฐาน อันเป็นพยานเอกสาร พร้อมกันนั้นยังได้ทำการวิเคราะห์ทุกขั้นตอน ว่าขั้นตอนใดที่นายไพบูลย์กับพวกได้ร่วมกันทำการบิดเบือน ดังสรุปเป็นข้อมูลได้ดังตามตารางข้างล่างนี้
รายงานอันเป็นเท็จของนายไพบูลย์กับพวก ทำให้สมเด็จพระมหาธีราจารย์เข้าใจผิด |
|
ข้อมูลที่เป็นจริง |
ข้อมูลที่ถูกบิดเบือนจากความจริง รายงานโดยกรมการศาสนา |
1.หนังสือทัดทานมีความว่า ผู้พิจารณาไม่มีอำนาจ สั่งรับคำกล่าวหา
เพราะกฎไม่ได้ให้ อำนาจไว้?
หมายความว่าผู้พิจารณารับคำกล่าวหาของคฤหัสถ์ไม่ได้ เพราะกฎไม่ได้ให้ อำนาจไว้ |
1.รายงานว่า "ผู้ถูกกล่าวหาได้มีหนังสือทัดทานว่า คฤหัสถ์ไม่มีสิทธิกล่าวหาพระภิกษุได้?" |
2.คณะผู้พิจารณาชั้นต้น ประกอบด้วย เจ้าคณะภาค 1 รองเจ้าคณะภาค 1
และ
เจ้าคณะจังหวัดปทุมธานี ประชุมพิจารณาแล้วมีมติว่า คำทัดทานนั้นฟังได้
จึงแนะนำ
ให้ผู้พิจารณาดำเนินการให้เป็นไปตามกฎมหาเถรสมาคม โดยเคร่งครัด
(หมายถึงคณะผู้พิจารณาชั้นต้นทั้ง 3 รูป มีมติเห็นด้วยกับหนังสือทัดทาน มิใช่เกิดจากหัวหน้าคณะผู้พิจารณาเพียงคนเดียว) |
2.รายงานว่า "หัวหน้าคณะผู้พิจารณาชั้นต้นเห็นว่า
หนังสือทัดทานของผู้ถูกกล่าวหา
รับฟังได้?"
(ทำให้มส.เข้าใจผิดว่า พระพรหมโมลี ในฐานะหัวหน้าคณะผู้พิจารณาชั้นต้น เป็นผู้ลุแก่ อำนาจ เอาความเห็นของตนเป็นใหญ่ อาจทำให้กรรมการ มส. เกิดความเกลียดชัง พระพรหมโมลี เพื่อให้สะดวก ในการปลดจากตำแหน่ง เจ้าคณะภาค 1 โดยไม่มีใครขัดขวาง) |
3. การสั่งไม่รับคำกล่าวหาของผู้พิจารณา เป็นการปฏิบัติอย่างเคร่งครัดตามกฎมส. ทั้งนี้เป็นดุลยพินิจอันเป็นเอกสิทธิ์ของผู้พิจารณากล่าวคือ
|
3.รายงานว่า "ผู้พิจารณาจึงทำหนังสือ
ขอรับความเห็นชอบ
ในการไม่รับคำ กล่าวหา
ต่อคณะผู้พิจารณาชั้นต้น
ซึ่งคณะผู้พิจารณาชั้นต้น
เห็นชอบในการสั่ง
ไม่รับคำกล่าวหา?"
(ทำให้มส. เข้าใจผิดว่า การที่ผู้พิจารณาเปลี่ยนแปลง คำสั่ง จากรับคำกล่าวหามาเป็นไม่รับคำกล่าวหานั้น พระสุเมธาภรณ์ทำไปด้วยความจำใจ ถูกบังคับโดย พระพรหมโมลี ซึ่งเป็นหัวหน้าคณะผู้พิจารณาชั้นต้น) |
4.กฎมหาเถรสมาคมเป็นกฎหมายที่ใช้ในการปกครองคณะสงฆ์ให้เป็นไปตามพระธรรมวินัยย่อมสูงกว่ามติมส.(มติมส. จะมาลบล้างกฎมส. ไม่ได้)
|
4.รายงานว่า "มติของมหาเถรสมาคมในฐานะเป็นองค์กรสูงสุด และเป็นผู้ตรากฎนิคหกรรมนี้ จึงย่อมต้องถือเป็นที่สุด?"
(ทำให้มส.เข้าใจผิดถือเอามติเป็นสำคัญ หากทางวัดพระธรรมกาย ฟ้องร้องกล่าวโทษมส. ผู้คนก็จะเสื่อมศรัทธาคณะสงฆ์ เรียกว่า เสี้ยมให้ทะเลาะกัน และเพื่อให้คนเบื่อพุทธศาสนา จะได้ถือเป็น ข้ออ้าง ว่า มส. ต้องปรับปรุง คณะสงฆ์ต้องเปลี่ยนแปลง โดยให้มีการ ออกกฎหมายสงฆ์ฉบับใหม่ เพื่อเอาเงินบริจาคของวัด ทั่วประเทศ ไปใช้หนี้ IMF และปรนเปรอพวกของตน) |
5.กฎมหาเถรสมาคมอนุญาตให้ฆราวาสมีสิทธิกล่าวหาพระได้ แต่ไม่อนุญาตผู้พิจารณารับคำกล่าวหานั้น กล่าวคือ
|
5.รายงานว่า "พระภิกษุผู้พิจารณาและคณะผู้พิจารณาชั้นต้น ได้ดำเนินการไปแล้ว ขัดต่อมติมหาเถรสมาคมดังกล่าว คือได้สั่งไม่รับคำกล่าวหา เพราะเห็นว่า คฤหัสถ์ไม่มีสิทธิกล่าวหาพระภิกษุ?" |
6.คำสั่งไม่รับคำกล่าวหาของผู้พิจารณา มีผลให้กรณีนิคหกรรม จำต้องยุติลงอย่างสิ้นเชิง เพราะมีบทบัญญัติไว้ใน กฎมหาเถรสมาคมว่าด้วยการลงนิคหกรรมว่า คำสั่งไม่รับคำกล่าวหาดังกล่าวนั้น ให้เป็นอันถึงที่สุด ไม่สามารถรื้อฟื้น ขึ้นมาใหม่ได้ | 6.รายงานว่า "เรื่องที่มีการกล่าวหาพระภิกษุ
มาหยุดอยู่ตรงที่
ผู้พิจารณาได้รับคำกล่าวหาไว้และได้แจ้งให้ผู้ถูกกล่าวหาทราบ ขั้นตอนหลังจากนั้น ต้องถือว่ายังมิได้มีการดำเนินการ?"
(จึงเห็นได้ชัดเจนว่า นายไพบูลย์กับพวก พยายามรื้อฟื้น นิคหกรรมขึ้นมาใหม่ ถึงแม้ตามกฎจะระบุไว้ชัดเจนว่า ให้เป็นอันถึงที่สุด พวกเขาทำเพื่ออะไร หรือเพื่อผลักดันให้ใช้กฎ มส. ฉบับที่ ๒๑ เพื่อจับสึกหลวงพ่อทั้งสองของชาวธรรมกาย และชาวธรรมกายก็จะลุกฮือขึ้นต่อต้าน มส. ย่อมเกิดความวุ่นวาย ในสังฆมณฑล อย่างแน่นอน และเป็นที่มา แห่งการออกกฎหมาย ฉบับใหม่ เพื่อให้มีอำนาจ ควบคุมดูแลคณะสงฆ์ โดยไม่มีใครต่อต้าน เพราะสถานการณ์ เอื้ออำนวย และพลังชาวพุทธถูกสลายเสียแล้ว) |
(รูป)
เอกสารชี้แจงของคณะผู้พิจารณาชั้นต้น ที่มีต่อท่านเจ้าคณะใหญ่หนกลาง (สมเด็จพระมหาธีราจารย์) |
(รูป) เอกสารของนายไพบูลย์กับพวก |
ชมรมชาวพุทธสากลแห่งประเทศไทย