ปีที่ 3 ฉบับที่ 976 ประจำวันศุกร์ที่ 17 เดือนมีนาคม พ.ศ. 2543 |
เปิดโปงตัวการรายงานเท็จ รื้อฟื้นนิคหกรรม
เอกสารฉบับที่ 1,2 ของนายไพบูลย์กับพวก |
เอกสารฉบับที่ 3 หนังสือทัดทานของผู้ถูกกล่าวหา |
เอกสารฉบับที่ 4,5,6 |
เรียน คุณไอ้ทิดที่นับถือ
ผมเป็นข้าราชการกรมการศาสนา ได้เฝ้าสังเกตพฤติกรรมของเจ้านายผมที่มีต่อวัดพระธรรมกายมานานแล้ว แสนจะอึดอัด เพราะผมรู้ว่า ได้มีการหลอกต้มพระผู้ใหญ่ และคนไทย ชาวพุทธทั้งประเทศ ต่อปัญหาการดำเนินการตามขั้นตอน ของกรณีนิคหกรรม จนเป็นผลสำเร็จ ทั้งนี้สมเด็จพระมหาธีราจารย์ เจ้าคณะใหญ่หนกลาง ลงมาผลักดันเอง ถึงขนาด สั่งพักพระพรหมโมลี เจ้าคณะภาค 1 ฐานไม่ปฏิบัติตามมติ (มติที่เกิดจากอิทธิพลคนบางคน) จนตกตะลึงกันไปทั้งประเทศนั้น
บัดนี้ความลับได้ถูกเปิดเผยแล้ว ปรากฏว่า มีเอกสารชิ้นหนึ่งที่เป็นกุญแจสำคัญ ที่ทำให้รู้ว่าการที่เรื่องนิคหกรรมถูกรื้อฟื้นขึ้นมาได้นั้น เพราะมีการรายงานเท็จ จนสมเด็จ พระมหาธีราจารย์เข้าใจผิด คิดว่าเป็นจริง ดังคำชี้แจงของชมรมชาวพุทธสากลแห่งประเทศไทย ดังที่หนังสือพิมพ์ "พิมพ์ไทย" ได้ลงบทวิเคราะห์ไปก่อนหน้านี้ (เอกสารฉบับที่ 1, 2) ทำให้ผมตัดสินใจนำเอาเอกสารที่ผมได้มา โดยลางลับ มาเปิดเผยต่อสาธารณชน เพื่อปกป้องพระพุทธศาสนา พระธรรมวินัย พระเถระผู้ใหญ่ ตลอดจนพระหนุ่มเณรน้อย ทั้งสังฆมณฑล ให้ทราบความเป็นจริง เพื่อไม่ให้ผู้ที่ปกป้องพระพุทธศาสนาอย่างแท้จริง ดังเช่น หนังสือพิมพ์พิมพ์ไทย และชมรมชาวพุทธสากลแห่งประเทศไทย ได้เปิดตัวอย่าง โดดเด่นในครั้งนี้ ต้องต่อสู้อย่างโดดเดี่ยวเพียงผู้เดียว
ผมจึงได้ตัดสินใจส่งเอกสารประกอบบางส่วนมาให้ปรากฏแก่สาธารณชน และผมขอแนะนำว่า เรานั้น สามารถแจ้งความดำเนินคดี กับผู้ปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบทั้ง 4 คน ดังรายนามต่อไปนี้คือ
1. นายมีชัย ฤชุพันธ์
2. นายจรวย หนูคง
3. นายไพบูลย์ เสียงก้อง
4. นายประนัย วณิชชนนท์
บุคคลทั้ง 4 ได้เซ็นชื่อรับรองคำชี้แจง ประกอบมติมหาเถรสมาคม ซึ่งคำชี้แจงนี้ เป็นรายงานที่ผิดไปจากความเป็นจริง รายงานโดย นายไพบูลย์ เสียงก้อง ในฐานะอธิบดีกรมการ ศาสนา และพบว่า ลายเซ็นของนายไพบูลย์ ทั้งสองแห่งไม่เหมือนกันเลย (อาจมีการปลอมแปลงขึ้น ใช่หรือไม่) ซึ่งรายงานดังกล่าวได้ก่อให้เกิดความแตกแยกขึ้นในสังฆมณฑล เพราะเป็นการหลอกลวงพระมหาเถระ ที่เป็นกรรมการมหาเถรสมาคม หลอกลวงชาวพุทธทั่วประเทศ ดังรายละเอียดจากเอกสารประกอบต่อไปนี้
1. บุคคลทั้ง 4 ได้บังอาจร่วมกันกระทำความผิด ด้วยการแจ้งความเท็จต่อกรรมการมหาเถรสมาคม ซึ่งเป็นพระสังฆาธิการ ทำการปกครองคณะสงฆ์
และเป็นเจ้าพนักงาน ตาม
ประมวลกฎหมายอาญา อันเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญาตามมาตราที่ 137 โดยได้ทำการแอบอ้างว่า "ผู้ถูกกล่าวหาได้มีหนังสือทัดทานว่า
คฤหัสถ์ไม่มีสิทธิกล่าวหา
พระภิกษุได้" แต่ความจริงที่ปรากฏในหนังสือพิมพ์ทัดทานของ ผู้ถูกกล่าวหาตามเอกสารฉบับที่ 3
ก็คือ "การที่พระเดชพระคุณไม่ปฏิบัติตามกฎมหาเถรสมาคม ฉบับที่ 11 (พ.ศ.2521) โดยรับคำกล่าวหาของผู้กล่าวหาของผู้กล่าวหาตามข้อ 4 (8)ข.
ซึ่งไม่มีบัญญัติไว้ในกฎ
มหาเถรสมาคม ฉบับดังกล่าว จึงถือว่า พระเดชพระคุณ ไม่มีอำนาจในการออกคำสั่งรับคำกล่าวหา" ซึ่งบุคคลทั้ง 4 ได้แจ้งข้อความไม่ตรงกับที่ผู้ทัดทาน ได้ทำการแจ้งว่า "ผู้พิจารณา
ไม่มีอำนาจในการออกคำสั่งรับคำกล่าวหา ทำให้การบิดเบือนข้อเท็จจริงของบุคคลทั้ง 4 จึงเป็นการแจ้งความเท็จ อันก่อให้เกิดการล่วงละเมิดกฎหมายแผ่นดิน โดยเกิดการรื้อฟื้นการพิจารณาตามกฎนิคหกรรมขึ้นมาใหม่ ที่มีคำตัดสินให้ถึงที่สุดลงไปแล้วนั้น จึงเป็นการเข้าข่าวกระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 116 (3) มีโทษจำคุกไม่เกิน 7 ปี
2. บุคคลทั้ง 4 ยังได้บังอาจทำการ โกหก หลอกลวงโดยการแสดงข้อความให้ท่านเจ้าพระคุณสมเด็จพระมหาธีราจารย์ รวมทั้งบุคคลทั่วไปเข้าใจผิด
และอาจสร้างความรู้สึก
เหล่านั้น เกียจชังต่อ พระพรหมโมลี โดยแสดงข้อความเพียงบางส่วนของความจริง ทั้งหมดดังนี้คือ ตามข้อความที่ขีดเส้นใต้ที่ 2 ในเอกสารฉบับที่ 1 ที่ว่า "หัวหน้าคณะผู้พิจารณา
ชั้นต้นเห็นว่า หนังสือทัดทานของผู้ถูกกล่าวหา รับฟังได้ ผู้พิจารณาจึงทำหนังสือขอรับความเห็นชอบในการไม่รับคำกล่าวหาต่อ คณะผู้พิจารณาชั้นต้น" ซึ่งหมายความว่า
การไม่รับคำกล่าวหาของผู้พิจารณา (เจ้าคณะจังหวัดปทุมธานี) เป็นความเห็นของพระพรหมโมลี ในฐานะหัวหน้าคณะผู้พิจารณา แต่เพียงผู้เดียว แต่ความเป็นจริงที่เกิดขึ้น เมื่อดูตามเอกสารฉบับที่ 4, 5, 6
คือบันทึกรายงานการประชุมของ คณะผู้พิจารณาชั้นต้น (พระพรหมโมลี, พระราชปริยัติบดี, พระสุเมธาภรณ์) เมื่อ 11 สิงหาคม 2542 ในข้อ 3.
เรื่องการทัดทานคำสั่ง รับคำ
กล่าวหา จะพบข้อความที่ว่า "คณะผู้พิจารณาชั้นต้นได้พิจารณากันโดยรอบคอบแล้ว มีมติเห็นพ้องต้องกัน ว่าคำทัดทานคำสั่งรับคำกล่าวหาของ พระราชภาวนาวิสุทธิ์ และพระภาวนาวิริยคุณ ในกรณีนี้ ฟังได้ ให้เจ้าคณะจังหวัดปทุมธานี ในฐานะ ผู้พิจารณาดำเนินการตามกฎมหาเถรสมาคม ฉบับที่ 11 (พ.ศ.2521) ว่าด้วยการลงนิคหกรรม โดยเคร่งครัด" ซึ่งเป็นการแสดงว่า ความเห็นที่ว่า หนังสือทัดทานของผู้ถูกกล่าวหารับฟังได้นั้น เป็นมติของคณะผู้พิจารณาทั้ง 3 รูป (พระพรหมโมลี, พระราชปริยัติบดี, พระสุเมธาภรณ์) มิได้เกิดจาก พระพรหมโมลีเพียงรูปเดียว ตามที่บุคคลทั้งสี่คน ได้อ้างไว้ตามเอกสาร ฉบับที่ 1 ดังกล่าว
และเพื่อเป็นที่ยืนยันว่า คำสั่งไม่รับคำกล่าวหานั้น เป็นความเห็นเพิ่มเติมจากท่านเจ้าคณะภาคหนึ่ง และรองเจ้าคณะภาคหนึ่ง เพื่อให้ครบองค์คณะผู้พิจารณาเบื้องต้น
และ ถูกต้อง ตามกฎนิคหกรรม ก็สามารถดูได้จากข้อความที่ขีดเส้นใต้ตามเอกสาร ฉบับที่ 4 และผลของการแสดงข้อความเท็จประโยคนี้เอง ทำให้สมเด็จพระมหาธีราจารย์เข้าใจผิด และได้สั่งให้พระพรหมโมลี ออกจากตำแหน่งเจ้าคณะภาค 1 ดังกล่าว
(อ่านต่อฉบับหน้า)