ปีที่ 3 ฉบับที่ 977 ประจำวันเสาร์ที่ 18 เดือนมีนาคม พ.ศ. 2543

ปุจฉา - วิสัชนา

เปิดโปงตัวการรายงานเท็จ รื้อฟื้นนิคหกรรม (ตอน 2)

pt430317p1.gif (28069 bytes) pt430317p2.gif (23701 bytes) pt430317p3.gif (24046 bytes) pt430317p4.gif (24768 bytes) pt430317p5.gif (28043 bytes)

เอกสารฉบับที่ 1,2 ของนายไพบูลย์กับพวก

เอกสารฉบับที่ 3 หนังสือทัดทานของผู้ถูกกล่าวหา

เอกสารฉบับที่ 4,5,6
บันทึกการประชุมของคณะผู้พิจารณาชั้นต้น (บางส่วน)


(ต่อจากเมื่อวาน)

3. บุคคลทั้งสี่ ยังได้บังอาจแสดงข้อความอันเป็นเท็จตามความในข้อ 3 ของเอกสารฉบับที่ 1 ว่า "มติของมหาเถรสมาคม ในฐานะเป็นองค์กรสูงสุด และเป็นผู้ตรากฎนิคหกรรมนี้ จึงย่อมต้องถือเป็นที่สุด" ข้อความดังกล่าว ทำให้กระผมรู้สึกสังเวชใจต่อบุคคลทั้งสี่ เป็นอย่างยิ่ง เพราะเป็นคำกล่าวที่ผิดทั้งในแง่กฎหมาย พระธรรมวินัย และหลักความจริง ดังนี้

3.1 มหาเถรสมาคมเป็นองค์กรสูงสุดในการปกครองคณะสงฆ์ก็จริงอยู่ "แต่มติมหาเถรสมาคมจะออกมา ขัดหรือแย้ง ต่อกฎมหาเถรสมาคมฉบับใด ๆ ไม่ได้โดยเด็ดขาด" เพราะ เนื่องจากกฎมหาเถรสมาคมนั้น ศักดิ์ใหญ่ กว่ามติมหาเถรสมาคม โดยจากกฎมหาเถรสมาคมนั้น ได้มีการลงพระนามของสมเด็จพระสังฆราชฯ และได้ประกาศใช้ใน แถลงการณ์ คณะสงฆ์ อย่างเป็นทางการแล้ว ดังนั้นการกล่าวว่า "มติมหาเถรสมาคมจึงย่อมต้องถือเป็นที่สุด" นั้น เป็นการเข้าใจผิดพลาดอย่างมหันต์ ของบุคคลทั้งสี่ เพราะเพียงมติมหาเถร สมาคมนั้น อาจเป็นเพียงมติที่ประชุม ที่เกิดจากโมหะจริตของใครบางคน ข่มขู่บังคับ จนองค์ประชุมเออออ หรือ ตะลึงงัน จนไม่ทันได้แย้งก็เป็นได้ ดังนั้น ไม่ว่าจะเป็นด้วยเหตุผลใด ก็ตาม มติมหาเถรสมาคม จึงไม่อาจ ขัดแย้ง หักล้าง ต่อกฎมหาเถรสมาคมอย่างเด็ดขาด

3.2 โดยทั่วไปตามหลักความเป็นจริง กฎหมาย ที่มีความขัดแย้งกันเอง โดยที่เป็นกฎหมายที่มีศักดิ์ และระดับเดียวกัน หรือ การตีความกฎหมายใด ๆ ก็ตาม จะต้องเป็นองค์กรอื่น ที่มิได้เป็นผู้ออกกฎหมายนั้น เป็นผู้ตัดสินชี้ขาดความถูกต้อง ยกตัวอย่างในทางโลก เช่น พระราชบัญญัติที่ออกโดยรัฐสภา โดยได้ประกาศใช้ในราชกิจจานุเบกษาแล้วนั้น หากว่า มีพระราชบัญญัติ 2 ฉบับ หรือมากกว่า ขัดหรือแย้งกันเอง ก็ต้องใช้องค์กรศาลรัฐธรรมนูญตีความ ช่วยตีความ ดังนั้น แม้กฎมหาเถรสมาคมฉบับดังกล่าว มหาเถรสมาคม เป็นผู้ตราก็จริงอยู่ แต่ก็มิใช่มหาเถรสมาคมชุดปัจจุบัน เป็นผู้ตรากฎนี้ และหากถึงแม้จะมั่วโดยอ้างว่า มหาเถรสมาคมชุดปัจจุบัน เป็นผู้ตรากฎมหาเถรสมาคมฉบับนี้ก็ตาม มติมหาเถรสมาคมชุดดังกล่าว ก็ไม่อาจจะนำมาลบล้างตีความ ขัด หรือ แย้ง ต่อกฎมหาเถรสมาคมได้แต่อย่างใดทั้งสิ้น เพราะจะเป็นการกระทำประดุจสุภาษิตไทย ที่ว่า ทำด้วยมือลบด้วยเท้า เพราะเป็นการเอา กฎเล็กไปล้มกฎที่ใหญ่กว่า หรือคล้ายกับเอา ไม้ซีกไปงัดไม้ซุง หรือ กลืนน้ำลายตัวเอง 

แต่ถึงกระนั้นก็ตาม หากมหาเถรสมาคมพบว่า กฎมหาเถรสมาคมฉบับใดฉบับหนึ่ง มีความบกพร่อง ต้องทำการปรับปรุง หรือแก้ไขอย่างหนึ่งอย่างใดก็ตาม มหาเถรสมาคม ต้องตรากฎมหาเถรสมาคมฉบับใหม่ขึ้นมา เพื่อยกเลิก หรือแก้ไข กฎมหาเถรสมาคมที่ต้องการเปลี่ยนแปลงเท่านั้น อันเป็นเพียงวิธีการเดียวเท่านั้น จะอาศัยมติมหาเถรสมาคม ไปลบล้างกฎมหาเถรสมาคมมิได้ ด้วยเหตุผลต่าง ๆ ที่ยกมากล่าวข้างต้น การแสดงข้อความดังกล่าว จึงเข้าข่ายแจ้งความเท็จต่อเจ้าพนักงานอีกด้วย

3.3 "มติของมหาเถรสมาคม ในฐานะองค์กรสูงสุด จึงย่อมต้องถือเป็นที่สุด" ข้อความดังกล่าวนี้ จะมีผลในทางปฏิบัติได้นั้น มตินั้นต้องไม่ขัดต่อกฎหมาย กฎมหาเถรสมาคมแล้ว มตินั้นต้องไม่ขัดต่อพระธรรมวินัยด้วย แต่ได้พบความจริงว่า เรื่องราวการพิจารณานิคหกรรมนี้ คณะผู้พิจารณาชั้นต้น ได้มีความเห็น ไม่รับคำกล่าวหา อันเป็นอันถึงที่สุกแล้วนั้น แต่กลับปรากฏว่า ให้มีการดำเนินการขึ้นมาใหม่ มติดังกล่าวจึงเป็นการขัดพระวินัย เข้าข่ายล่วงละเมิดอุกโกฎนกรรมสิกขาบทในพุทธบัญญัติ มตินี้จึงเป็นอันไม่มีผลในทางปฏิบัติ เพราะขัดพระวินัย

4. บุคคลทั้งสี่คน ได้บังอาจร่วมกันแสดงข้อความ อันเป็นเท็จที่ว่า "พระภิกษุผู้พิจารณาและคณะผู้พิจารณาชั้นต้น ได้ดำเนินการไปแล้ว ขัดต่อมติมหาเถรสมาคมดังกล่าว คือ ได้สั่งไม่รับคำกล่าวหา เพราะ เห็นว่า คฤหัสถ์ไม่มีสิทธิกล่าวหาพระภิกษุ"  ซึ่งความเป็นจริงที่ปรากฏก็คือ ตามเอกสารที่ 5 เรื่องคำสั่งผู้พิจารณาของพระสุเมธาภรณ์ เอกสารคำสั่ง ของผู้พิจารณา ลงวันที่ 13 สิงหาคม 2542 ตามที่ขีดเส้นใต้ที่ว่า

"ไม่ปรากฏว่า มีบทบัญญัติใด ให้อำนาจผู้พิจารณารับคำกล่าวหา ของผู้กล่าวหา ที่มีลักษณะไม่ต้องตามที่ระบุไว้ในข้อ 15" หมายถึงว่า ไม่สามารถรับคำกล่าวหาได้ เพราะกฎ ไม่ได้ให้อำนาจให้รับคำกล่าวหาที่มีลักษณะบกพร่องตามที่ระบุไว้ในข้อ 15

สรุปก็คือว่า คฤหัสถ์มีสิทธิกล่าวหา แต่การที่ไม่รับคำกล่าวหาก็เพราะ ผู้พิจารณาไม่มีอำนาจรับ ไม่ใช่เพราะ คฤหัสถ์ไม่มีสิทธิกล่าวหาพระภิกษุ ตามที่บุคคลทั้งสี่กล่าวอ้าง ดังนั้น การกระทำของบุคตลทั้งสี่ จึงเข้าข่ายกระทำความผิดฐานแจ้งความเท็จตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 137 และ 116 (3)

5. บุคคลทั้งสี่ ได้บังอาจกระทำความผิด ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 116 (3) โดยได้กระทำให้ปรากฏแก่ประชาชนด้วยหนังสือ เพื่อให้ประชาชนล่วงละเมิด กฎหมาย แผ่นดิน มีโทษจำคุกสถานเดียว ไม่เกิน 7 ปี ด้วยการแสดงข้อความที่ว่า "เรื่องที่มีการกล่าวหาพระภิกษุมา หยุดอยู่ ตรงที่ผู้พิจารณาได้รับคำกล่าวหาไว้ และแจ้งให้ผู้ถูกกล่าวหา ทราบ ขั้นตอนหลังจากนั้น ต้องถือว่า ยังมิได้ดำเนินการ" ซึ่งเป็นการปิดบังอำพรางข้อเท็จจริง เพราะที่ถูกต้องของบุคคลทั้งสี่ ซึ่งหากแม้นว่า บุคคลทั้งสี่มีความซื่อสัตย์จริง เป็นชาวพุทธศาสนิกชนที่แท้จริง เพื่อรักษาพระธรรมวินัย ควรต้องกล่าวว่า

 "เรื่องที่มีการกล่าวหาพระภิกษุต้องมา ยุติลงโดยสมบูรณ์ มิอาจรื้อฟื้นขึ้นมาได้ใหม่ เนื่องจาก ผู้พิจารณาทราบว่า ได้รับคำกล่าวหาไว้โดยมิชอบ ด้วยอำนาจหน้าที่ เพราะกฎฯ ไม่ได้ให้อำนาจไว้ จึงได้มีคำสั่ง ยกเลิกคำสั่งรับ คำกล่าวหา พร้อมกับ มีคำสั่งไม่รับคำกล่าวหาของนายมาณพ และนายสมพร ด้วยความเห็นชอบของคณะผู้พิจารณาชั้นต้น ซึ่งตามกฎฯ ได้ระบุว่า คำสั่งไม่รับคำกล่าวหานั้น ให้เป็นอันถึงที่สุด" จึงมิอาจทำการอุธรณ์ ฎีกา ใดๆ ทั้งสิ้น เป็นการยุติการพิจารณาความผิด ตามกฎนิคหกรรมต่อ พระราชภาวนาวิสุทธิ์ และพระภาวนาวิริยคุณ เพียงเท่านี้

กระผมจึงขอแจ้งความกล่าวโทษร้องทุกข์ต่อพระเดชพระคุณพระมหาเถระทุกรูป ซึ่งเป็นกรรมการมหาเถรสมาคม และต่อพระเถรานุเถระ ที่มีใจเป็นธรรม ยึดพระธรรมวินัย เป็น หลักทั่วทั้งสังฆมณฑล และขอแจ้งความต่อพุทธศาสนิกชนคนไทยทั้งประเทศ ได้โปรดช่วยกันพิจารณาตัดสินลงโทษจำเลยทั้งสี่คน เพื่อปกป้องรักษาพระธรรมวินัย กฎหมาย บ้านเมือง ไม่ให้ใครมาทำลายได้ จึงประทานกราบเรียน (กราบเรียนพระเดชพระคุณทุกรูปด้วยความเคารพอย่างยิ่ง) 

คนในกรมฯ 

ไอ้ทิด


1