เรียน คุณ วรพล สิงห์เขียวพงษ์ สมัย ลึกสมร |
ตอบ
ผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยเปิดเผยว่า พวกเขารู้มานานแล้วว่า การปะทะกับ ถุงลมที่พองตัว เทียบได้กับระดับความเร็ว 320 กิโลเมตร/ชั่วโมง อาจทำให้เสียชีวิตได้
นับแต่รัฐบาลอเมริกาเริ่มบังคับให้มีการติดตั้งถุงลมนิรภัยในปี 1993 ปรากฏว่า เด็กที่เสียชีวิตเพราะอุปกรณ์นี้ มักนั่งในท่าที่ไม่เหมาะสม ตัวเล็กมากไป ไม่ได้คาดเข็มขัดนิรภัย หรืออาจเป็นทารกที่ไม่ควรนำมานั่งบนเบาะหน้า และได้ข้อสรุปว่า เด็กที่นั่งบนเบาะหน้า ของรถยนต์ ที่ติดตั้งถุงลมนิรภัย มีโอกาสเสียชีวิตเพิ่มขึ้นถึง 28 เปอร์เซ็นต์
ที่ปรึกษาด้านระบบความปลอดภัยในรถยนต์รายหนึ่งกล่าวว่า "ผู้ที่ให้การสนับสนุน ถุงลมนิรภัย น่าจะร่วมรับผิดชอบกับเด็กที่ต้องเสียชีวิต สังเวยความเขลา ของพวกเขา ทั้งบริษัทรถยนต์ และ NHTSA ต่างทราบมาตั้งแต่เมื่อ 20 ปีก่อนว่า ถุงลมนิรภัย อาจฆ่าคนได้ โดยเฉพาะกับเด็ก"
ถุงลมนิรภัยควรพองตัวด้วยความเร็วและแรงที่ไม่มากเกินความจำเป็น และควรทำงาน เมื่อจำเป็น เช่น บางข้อกำหนด ระบุให้ถุงลมนิรภัยพองตัวได้ ถ้ารถยนต์แล่น เร็วกว่า 25 กิโลเมตร/ชั่วโมง แต่ผู้ผลิตต้องการ 40 กิโลเมตร/ชั่วโมง รวมถึงสภาพของผู้โดยสาร ที่มีผลต่อการทำงาน ของถุงลมนิรภัย เช่น รถยนต์บางรุ่น จะมีการปิดการทำงาน ของถุงลมนิรภัยเอง หากเบาะผู้โดยสารด้านหน้า มีน้ำหนักกดลงไม่ถึงตามกำหนด
นอกจากนั้นยังมีการประเมินว่า แต่ละปีมีทารกในครรภ์เสียชีวิตจากอุบัติเหตุ ทางรถยนต์มากกว่า 3,000 ราย และในปี 1994 เป็นรายแรก ที่มีการสันนิษฐานว่า การเสียชีวิตมีสาเหตุมาจากถุงลมนิรภัย
อีกมุมมองหนึ่ง แม้ว่าการตายในอุบัติเหตุในสหรัฐอเมริกาในข้อมูลข้างต้น มีสาเหตุมาจากถุงลมนิรภัยหลาย 10 ราย แต่ถ้าเปรียบเทียบกับผู้ที่รอดชีวิต เพราะถุงลมนิรภัยก็มีจำนวนถึง 1,500 รายด้วยกัน และมีการสันนิษฐานว่า ถุงลมนิรภัยมีส่วนในการเสียชีวิตน้อยมาก จึงไม่ต้องกังวลกันนัก และ ปฏิบัติตามการแนะนำข้างต้น อย่างเคร่งครัดเป็นพอ
ถุงลมนิรภัย จะไม่เป็นถุงลมมหาภัย ! ไม่ใช่เรื่องยาก แค่นั่งห่างเข้าไว้ คาดเข็มขัดนิรภัยเสมอ และเด็กไม่ต้องยุ่งเป็นพอ
วรพล สิงห์เขียวพงษ์
main |