การผลิตรถยนต์แต่ละรุ่นเพื่อให้ได้มาตรฐาน นอกเหนือจากโครงสร้างตัวถัง เครื่องยนต์ และชิ้นส่วนประกอบต่าง ๆ แล้ว วิศวกรยานยนต์ ได้กำหนดค่าเรขาคณิต และออกแบบระบบควบคุมทิศทาง ระบบรองรับน้ำหนัก และระบบกันสะเทือน เพื่อให้เป็นค่ามาตรฐานเฉพาะรถยนต์รุ่นนั้น ๆ อันมีผลทำให้รถใหม่ที่ผลิตจากโรงงาน ทุกคันมีประสิทธิภาพ และมีสมรรถนะในการขับขี่ กอปรกับการยึดเกาะถนน และการควบคุมพวงมาลัยให้เป็นไปอย่างสมบูรณ์ที่สุด
สำหรับรถยนต์ที่ถูกใช้งานอย่างสมบุกสมบัน บนพื้นผิวถนนที่ขรุขระ หรือเกิดอุบัติเหตุ หรือเกิดการสึกหรอของชิ้นส่วนที่เกี่ยวข้อง อันเนื่องจากอายุการใช้งาน มักจะมีผลทำให้การบังคับทิศทางของรถคันนั้นวิ่งไม่ตรงตามทิศทางที่กำหนด ซึ่งอาจเกิดอาการกินซ้าย หรือกินขวา เนื่องมาจากค่าเรขาคณิตผิดไปจากค่ามาตรฐาน ที่กำหนด เราจึงเรียกอาการดังกล่าวว่า "เสียศูนย์"
เมื่อรถมีอาการเสียศูนย์ ผู้ขับขี่สามารถสังเกตได้ด้วยตนเองดังนี้
อาการเสียศูนย์ |
|
อาการเหล่านี้หากไม่รุนแรง ผู้ขับขี่สามารถนำรถเข้ารับการเช็กที่ศูนย์บริการใกล้บ้าน เพื่อให้ช่างปรับตั้งศูนย์ล้อใหม่ แต่ถ้าอาการดังกล่าวอยู่ในขั้นรุนแรง ควรนำรถเข้าซ่อมทั้งระบบทันที ซึ่งอาจจะต้องเปลี่ยนลูกหมากทั้งชุด ปรับแต่งองศาปีกนกและส่วนอื่น ๆ ให้ได้ค่าองศามาตรฐานตามเดิมที่ออกมาจาก โรงงานผลิต
นอกจากนี้ควรเลือกศูนย์บริการที่ได้มาตรฐาน พร้อมช่างที่มีความรู้ ความชำนาญ และมีประสบการณ์สูง เพราะหากซ่อมไม่ถูกวิธี หรือใช้เครื่องดึงตัวถังที่ไม่ได้มาตรฐาน องศาหรือค่ามาตรฐานของโครงสร้างตัวถังจะเสียไป ซึ่งจะส่งผลให้ประสิทธิภาพ การยึดเกาะถนนด้อยลง
ฉะนั้นผู้ขับขี่รถ จึงควรดูแลรักษาระบบช่วงล่าง รวมทั้งลูกหมาก คันชักคันส่ง เมื่อมีการเสื่อมสภาพ "ไม่ควรฝืนใช้งานไปเรื่อย ๆ เพราะจะก่อให้เกิดผลเสียอย่างอื่น ตามมา เช่น อาจทำให้เกิดอุบัติเหตุ ควรหลีกเลี่ยงการขับขี่บนถนนขรุขระ หรือหากหลีกเลี่ยงไม่ได้ ก็ไม่ควรใช้ความเร็วสูง ควรชะลอความเร็ว และหลีกเลี่ยงบริเวณที่เป็นหลุมขนาดใหญ่"
สำหรับรถยนต์ที่ทำการดัดแปลงช่วงล่าง เช่น เปลี่ยนโช้กอัพทำให้รถต่ำลง ยกสูงใส่ยางขนาดใหญ่กว่ามาตรฐาน เพื่อให้รถมีความสวยงามโดดเด่นมากยิ่งขึ้น แต่การปรับแต่งเหล่านี้จะส่งผลทำให้รถเกิดอาการเสียศูนย์ได้ง่ายขึ้น
ทางที่ดีควรคงไว้ซึ่งมาตรฐานเดิมจะช่วยยืดอายุการใช้งานของรถได้ยาวนานกว่า
ช่างฮอนด้าคาร์ส์
main |