( เรื่องนี้คัดลอกมาจาก นิตยสาร BCM ปีที่ 9 ฉบับที่ 110 เมษายน 2541 )
© 1998 by AR.Information & Publication Co.,ltd. Contact Webmaster Webmaster@arip.co.th



Feature : Yahoo! เจ้าแห่งเสิร์ซเอ็นจิ้น

ประทีป ยงเขต

ถ้าจะพูดถึงเสิร์ซเอ็นเจิ้นแล้ว Yahoo! คงเป็นเว็บไซต์ในอันดับต้น ๆ ที่ทุกคนจะนึกถึง ซึ่ง เว็บไซต์แห่งนี้เกิดขึ้นจาก ไอเดียแห่งความรัก ในคอมพิวเตอร์ และอินเทอร์เน็ต ของเจอร์รี่ หยาง (Jerry Yang) และ เดวิด ฟิโล (David Filo) นักศึกษาจากสแตนฟอร์ด ที่ร่วมมือกันเขียนโปรแกรม สำหรับใช้แบ่งกลุ่มเว็บไซต์ต่าง ๆ ตามประเภทของเว็บไซต์นั้น ๆ เพื่อเพิ่มความสะดวก ในการค้นหาเว็บไซต์ที่ต้องการ

จากจุดประกายความคิดเล็ก ๆ ในคราวนั้น มาในทุกวันนี้ Yahoo! มีผู้แวะเวียน เข้ามาใช้บริการเว็บไซต์ของ พวกเขามากกว่า เดือนละ 25 ล้านราย ซึ่งด้วยจำนวน ผู้ที่เข้ามาใช้งาน มากมายขนาดนั้น อนาคตของ Yahoo! จะสามารถทำเงิน จากการขายโฆษณาได้มหาศาล เมื่อปลายปี 1997 Yahoo! มีจำนวนหน้าโฆษณา มากถึง 1,700 หน้า อะไรคือเคล็ดลับ แห่งความสำเร็จของ Yahoo! พวกเขามาจากที่ไหน และจะนำบริษัท ที่เปี่ยมไปด้วยพลัง แห่งนี้ไปสู่จุดหมายใด บทความนี้ คงสามารถตอบปัญหาต่าง ๆ เกี่ยวกับความมหัศจรรย์ของ Yahoo! ที่หลายคนสงสัยมานานได้

Yahoo! บริษัทที่เมื่อเปรียบเทียบ จากมาตรฐานของ นิตยสารฟอร์จูน อาจจะไม่ติด 1 ใน 10,000 เมื่อคำนวณ จากฐานรายได้ แต่บริษัทนี้แหละ ที่กำลังเป็นที่รัก และหลงไหล ของนักลงทุนในวอลล์สตรีท

อะไรคือเคล็ดลับแห่ง ความสำเร็จของ Yahoo! พวกเขามาจากที่ไหน และจะนำบริษัท ที่เปี่ยมไปด้วยพลัง แห่งนี้ไปสู่จุดหมายใด บทความต่อไปนี้ คงสามารถ ตอบปัญหาต่าง ๆ เกี่ยวกับความมหัศจรรย์ของ Yahoo! ที่หลายคนสงสัยมานานได้

การเริ่มต้น

Yahoo! เกิดจากผลผลิต ในความสามารถ ทางด้านคอมพิวเตอร์ ของนักศึกษา จากมหาวิทยาลัย สแตนฟอร์ด 2 คน คือ เจอร์รี่ หยาง(Jerry Yang) และ เดวิด ฟิโล(David Filo) เรื่องที่น่าแปลกใจคือ ทั้ง 2 คนไม่ได้เรียน มาทางด้านคอมพิวเตอร์ โดยตรง ทั้งคู่เป็นนักศึกษา ในระดับปริญญาเอก ของคณะวิศวกรรมไฟฟ้า แต่สิ่งที่ทั้ง 2 คนให้ ความสนใจเป็นพิเศษ คือคอมพิวเตอร์ ปัจจุบัน หยางซึ่งมีเชื้อสายของชาวไต้หวัน อยู่ในสายเลือด อายุเพียงแค่ 29 ปี ในขณะที่ ฟิโลมีอายุแก่กว่า หยางเล็กน้อยคืออายุ 31 ปี

ย้อนกลับไปในช่วงปลายปี 1993 อินเทอร์เน็ตกลับมามีบทบาท ในอุตสาหกรรม คอมพิวเตอร์อีกครั้งหนึ่ง หลังจากที่ นอนสงบนิ่งมาร่วม 2 ทศวรรษ ความสำเร็จของมาร์ค แอนเดรียสเซ่น (Mark Andreessen) และทีมงานในการสร้างโปรแกรม NCSA Mosaic Software ซึ่งใช้ในการท่องไป ตามเว็บไซต์ต่าง ๆ บนอินเทอร์เน็ต ทำให้การใช้งานอินเทอร์เน็ต ได้รับความสะดวก สบายมากขึ้น ฟิโลซึ่งติดตาม เรื่องราวของ อินเทอร์เน็ตมาตั้งแต่ต้น มีปัญหากับ จำนวนรายชื่อเว็บไซต์ ที่เขาชอบ และบันทึกเอาไว้ เขามีรายชื่อเว็บไซต์ ดังกล่าวมากกว่า 200 รายชื่อ ฟิโลพบว่ามันมากเกินไป และเขาไม่สามารถใ ช้ประโยชน์จากมัน ได้อย่างเต็มที่ ขณะเดียวกัน โปรแกรมบราวเซอร์ ที่เขาใช้งานอยู่ ในเวลานั้น ไม่สามารถแสดงผล ของรายชื่อเว็บไซต์ทั้งหมด บนหน้าจอคอมพิวเตอร์ได้ ฟิโลและหยางร่วมมือกัน เขียนโปรแกรม สำหรับใช้แบ่งกลุ่ม เว็บไซต์ต่าง ๆ ตามประเภทของเว็บไซต์นั้น ๆ และตั้งชื่อให้มันว่า "Jerry's Guide to the World Wide Web"

หยางและฟิโล แสดงผลงานที่พวกเขาสร้างขึ้นมา ผ่านทางเวิร์ลด์ไวด์เว็บ ผู้คนจากทั่วโลกที่ใช้อินเทอร์เน็ต หลั่งไหลเข้าไปชมผลงานของ 2 นักศึกษา จากสแตนฟอร์ด มีอีเมล์ที่เขียนถึงพวกเขา โดยตรงเป็นจำนวนมาก คนเหล่านั้นชื่นชม ในผลงานที่ยอดเยี่ยม ของคนทั้งสอง และหวังว่าทั้ง 2 คนจะสามารถสร้าง สิ่งที่มีประโยชน์สำหรับทุก ๆ คน มากไปกว่านี้

จากนั้นเป็นต้นมา ทั้งคู่ต้องทำงานหนักมากขึ้น หยางและฟิโลใช้เวลา อยู่กับอินเทอร์เน็ต วันละหลาย ๆ ชั่วโมง พวกเขาแวะ เข้าไปเยี่ยมชมเว็บไซต์ต่าง ๆ มากกว่าวันละ 1,000 ไซต์ และแบ่งมันออก เป็นหมวดหมู่ต่าง ๆ เมื่อจำนวนของเว็บไซต์ ในหมวดหมู่ใด หมวดหมู่หนึ่งมีมากเกินไป มันจะถูกซอยย่อย ออกเป็นหมวดหมู่ย่อย ๆ การแบ่งประเภทของเว็บไซต์ ออกไปดังกล่าว ทำให้แม้แต่คน ที่เป็นมือใหม่ สำหรับอินเทอร์เน็ต ก็สามารถค้นหาเว็บไซต์ ที่ตนเองต้องการ ได้อย่างรวดเร็ว

"Jerry's Guide" ของหยางและฟิโล เป็นการทุ่มเทแรงงาน อย่างมหาศาลของคนทั้งสอง ทั้งคู่พูดถึงเรื่องนี้อย่าง ติดตลก ว่ามันเป็นแรงงานแห่งความรัก -ความรักในคอมพิวเตอร์ และอินเทอร์เน็ต- เพราะในยุคสมัยของทั้งคู่ ยังไม่มีโปรแกรมใด ๆ ที่สามารถประเมิน และแบ่งแยกประเภทของไซต์ต่าง ๆ ออกเป็นหมวดหมู่ได้โดย อัตโนมัติ ฟิโลพยายาม เกลี้ยกล่อมหยางตลอดเวลา ไม่ให้หยางโอนอ่อนผ่อนตาม ความคิดของบรรดาวิศวกร ทั้งหลายที่จะใช้โปรแกรม สำเร็จรูปต่าง ๆ ในการดำเนินกระบวนการ จัดหมวดหมู่เว็บไซต์ต่าง ๆ ฟิโลบอกว่า ไม่มีเทคโนโลยีใด ๆ ที่สามารถเอาชนะการตรวจสอบ ของมนุษย์ได้ สิ่งนี้ ต่อมากลายมาเป็นจุดแข็ง ที่คู่แข่งไม่สามารถ เอาชนะได้ของ Yahoo!

ในความเป็นวิศวกร หยางและฟิโลรู้ดีว่า จริง ๆ แล้ว สิ่งที่คนเราต้องการ คืออะไร พวกเขาบอกว่า จากการคลุกคลี กับเทคโนโลยีสมัยใหม่ มาเป็นเวลานาน พวกเขาพบว่า สิ่งที่คนเราต้องการคือ การผสมผสาน ในสัดส่วนที่ พอเหมาะระหว่าง เทคโนโลยี กับความเป็นมนุษย์ ไม่มีใครต้องการ เทคโนโลยี ที่ล้ำหน้ามากเกินไป จนขาดความเข้าใจ ในความเป็นมนุษย์ ขณะเดียวกัน คนเราก็ต้องการ ได้รับความสะดวก สบายจาก เทคโนโลยีสมัย ใหม่ เพราะว่าด้วยแรงงาน ของมนุษย์ เพียงอย่างเดียว ไม่สามารถสร้าง สิ่งที่มนุษย์เราต้องการ ได้อย่างเพียงพอ

กำเนิด Yahoo!

หยางไม่ค่อยชอบนักกับชื่อ "Jerry's Guide" เขาต้องการเปลี่ยน ให้มันดูน่าสนใจมากขึ้น ฟิโลเห็นด้วย ทั้งคู่นึกถึงชื่อต่าง ๆ มากมาย ในที่สุด พวกเขานึกถึงชื่อ "Yahoo!" หลาย ๆ คนเชื่อกันว่าชื่อนี้ มีที่มาจากอักษรตัวแรก ของวลีที่ว่า "Yet Another Hierarchical Officious Oracle" ซึ่งเป็นเรื่องตลก ที่เล่ากันในหมู่นักศึกษา ผู้สนใจในคอมพิวเตอร์ ที่สแตนฟอร์ด หยางพอใจ ในชื่อนี้มาก เขาบอกว่า มันเต็มไปด้วยพลังทางการตลาด

ด้วยประสิทธิภาพในสิ่งที่พวกเขาคิดและชื่อที่ดูแปลก ดึงดูดให้ผู้คนจำนวนมาก แวะเข้ามาเยี่ยมชมเว็บไซต์ ของพวกเขา เรื่องราวของ Yahoo! เริ่มส่งเสียงดังมากขึ้นเรื่อย ๆ จนกระทั่ง ไปเข้าหูของยักษ์ใหญ่ อย่างอเมริกา ออนไลน์และเน็ตสเคป ทั้งสองแห่ง เสนอเงินจำนวนมาก ให้แก่คนทั้งสอง เพื่อที่จะซื้อ Yahoo! ไปดำเนินการเอง แต่หยางและฟิโลมอง เห็นโอกาส ในระยะยาวสำหรับพวกเขา ที่จะมีกิจการเป็นของตนเอง ทั้งคู่ตัดสินใจที่จะหยุด การเรียนที่สแตนฟอร์ด เอาไว้ชั่วคราว และเริ่มต้นดำเนินธุรกิจ กับ Yahoo! อย่างจริงจัง

ฤดูใบไม้ผลิ ปี 1995 วันเวลาของคนหนุ่ม 2 คนที่จะดำเนินธุรกิจ เป็นของตนเอง ก็เริ่มขึ้น หยางและฟิโลก้าวเข้าสู่วงการธุรกิจ ด้วยไอเดียใหม่ ๆ เกี่ยวกับอินเทอร์เน็ต และความสามารถที่จะแปร ไอเดียนั้นให้เปลี่ยนเป็นเงินมูลค่ามหาศาล ในอนาคต ตอนนั้น เน็ตสเคป บริษัทผู้ผลิตซอฟต์แวร์ สำหรับอินเทอร์เน็ต ยังไม่ได้เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ด้วยซ้ำ แต่อนาคตของเน็ตสเคป ก็ดูสดใสเหลือเกิน และทุกคนก็มั่นใจว่า เมื่อไรก็ตาม ที่เน็ตสเคปเข้าจดทะเบียน ในตลาดหลักทรัพย์ มันจะสร้างผลตอบแทน มูลค่ามหาศาล ให้กับผู้ถือหุ้น บทเรียนที่ได้รับจากเน็ตสเคป ทำให้บรรดาเวนเจอร์แคปปิตอล ในซิลิคอนวัลเล่ย์ พยายามสอดสายตา มองหาบริษัทใหม่ ๆ ที่มีไอเดียดี ๆ เกี่ยวกับอินเทอร์เน็ต เพื่อเข้ามาร่วมลงทุน โดยหวังว่าผลตอบแทน ที่พวกเขาได้รับในอนาคต จะคุ้มค่า กับความเสี่ยงที่พวกเขาต้องเผชิญ

Yahoo! ก็เช่นเดียวกับบริษัทต่าง ๆ ที่ดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับอินเทอร์เน็ต มีเวนเจอร์แคปปิตอล แวะเวียนเข้ามาพูดคุยกับพวกเขา ชนิดหัวบันไดบ้านไม่แห้ง เวนเจอร์แคปปิตอล แห่งหนึ่งที่ เข้าใกล้ความเป็นจริงมากที่สุดในการเข้าร่วมทุนกับ Yahoo! คือ ไคลน์เนอร์ เพอร์กินส์(Kleineer Perkins) เวนเจอร์แคปปิตอลที่ใหญ่ที่สุด ในซิลิคอนวัลเล่ย์ แต่สิ่งหนึ่งที่เพอร์กินส์ มีความเห็นแตกต่างจากหยางและฟิโลคือ เพอร์กินส์ต้องการให้ Yahoo! รวมกิจการกับ เอ็กไซต์(Excite) บริษัทที่ทำธุรกิจ ด้านเสิร์ซเอ็นจิ้นอีกแห่งหนึ่ง และเปลี่ยนชื่อใหม่ เป็นอาร์คีเท็กซ์(Architext) การเจรจาไม่คืบหน้า ในที่สุด หยางและฟิโล หันกลับไปเซ็นสัญญา กับซีโควเวียแคปปิตอล (Sequoia Capital) เวนเจอร์แคปปิตอล อีกแห่งหนึ่งที่เคย ให้การสนับสนุนทางการเงิน แก่แอปเปิล คอมพิวเตอร์ และซิสโก ซิสเต็มส์มาก่อน ซีโควเวียแคปปิตอล ร่วมลงทุนกับพวกเขา 1 ล้านดอลลาร์ เพื่อเป็นทุนเริ่มแรก ในการดำเนินการ คุณลองเดาดูสิว่า เงินดังกล่าวมีมูลค่าเท่าไหร่ ในปัจจุบัน? ผมเชื่อว่าคุณเดาไม่ถูกหรอก เงิน 1 ล้านดอลลาร์ ที่ซีโควเวียแคปปิตอล ร่วมลงทุนกับ Yahoo! ในปี 1995 มีมูลค่าสูงถึง 560 ล้านดอลลาร์เมื่อสิ้นปี 1997 มูลค่าที่เพิ่มสูงขึ้นดังกล่าว คงทำให้ผู้บริหารของ ไคลน์เนอร์ เพอร์กินส์ ต้องแอบถอนหายใจ ด้วยความเสียดาย

ไมเคิล มอร์ริทซ์(Michael Moritz) ผู้บริหารคนหนึ่งของซีโควเวียแคปปิตอล เปิดเผยในภายหลังว่า ทันทีที่เขาได้ยิน รายละเอียดต่าง ๆ เกี่ยวกับ Yahoo! เขามั่นใจว่า นี่เป็นบริษัทที่ทำธุรกิจ เกี่ยวกับอินเทอร์เน็ต อีกแห่งหนึ่งที่ จะประสบความสำเร็จ กุญแจที่สำคัญของมัน คือสินค้าที่พวกเขามี เป็นสินค้าที่ยอดเยี่ยม มันให้บริการฟรี แก่ผู้คนที่สนใจ ซึ่งจะเป็นการดึงดูด ให้ผู้คนที่อยู่ในวงการอินเทอร์เน็ต เข้ามาห้อมล้อมอยู่รอบ ๆ ตัวเอง ผลที่ตามมาคือ การโฆษณาที่ จะวิ่งเข้ามาหา และเมื่อนั้น ประตูแห่งความสำเร็จ ก็จะเปิดกว้างสำหรับ Yahoo! ดังนั้น เขาไม่ลังเลใจเลย ที่จะยื่นข้อเสนอที่ดีที่สุดในการลงทุนร่วมกับ Yahoo!

เงื่อนไขแห่งความสำเร็จ

Yahoo! ก็เหมือนกับบริษัทเกิดใหม่ในซิลิคอนวัลเล่ย์ทั้งหลาย ที่ได้รับการสนับสนุน ทางการเงิน จากบรรดาเวนเจอร์ แคปปิตอล นั่นคือมีข้อเสนอบางอย่าง ที่พวกเขาต้องทำตาม ข้อเสนอดังกล่าว เป็นประสบการณ์ ที่เวนเจอร์แคปปิตอล ได้รับจากการร่วมลงทุน กับคนหนุ่มสาวรุ่นใหม่ ที่มีความรู้ และจินตนาการ เกี่ยวกับ คอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีใหม่ ๆ แต่ขาดประสบการณ์ ในการบริหารงาน สำหรับ Yahoo! ข้อเสนอคือ พวกเขาจะต้องหา ประธานคณะเจ้าหน้าที่บริหาร (CEO) ที่มีประสบการณ์ มาบริหารงาน

ข้อเสนอที่ Yahoo! ได้รับไม่ใช่สิ่งที่น่าแปลกใจ บริษัทต่าง ๆ ในอุตสาหกรรมนี้ บริษัทโดยส่วนใหญ่มักจะ ประกอบไปด้วย ความคิดและความรู้ ในเรื่องที่เกี่ยวกับ เทคโนโลยีของคนรุ่นใหม่ และมีผู้บริหารระดับสูงที่มีประสบการณ์ และความชำนาญ ในการบริหาร และการจัดการ เข้ามาทำให้ทุกสิ่งทุกอย่าง ของบริษัทสามารถ ดำเนินไปได้ อย่างราบรื่น ที่ไมโครซอฟท์ มีโรเบิร์ต เฮอร์โบลด์ (Robert Herbold, 53) เป็นประธานคณะ เจ้าหน้าที่ปฎิบัติการ ขณะที่เกตส์มีอายุแค่ 42 ปี หรือที่เดลล์ พวกเขามีมอร์ตัน ทอปเฟอร์(Morton Topfer, 61)ทำหน้าที่ เป็นประธานร่วม ช่วยจัดการปัญหา และวางระบบการบริหารทุกอย่าง ภายในบริษัท ขณะที่ตัวไมเคิล เดลล์เองมี อายุแค่ 33 ปีเท่านั้น การผสมผสานดังกล่าว เป็นเคล็ดลับของความสำเร็จ ของบริษัทหลายแห่ง ในซิลิคอนวัลเล่ย์ และเรื่องอย่างนี้ บรรดาเวนเจอร์แคปปิตอลรู้ดี

หยาง ฟิโลและมอร์ริทซ์ร่วมกันสัมภาษณ์ ผู้สมัครจำนวนมาก ที่จะเข้ามารับตำแหน่งนี้ จุดหนึ่งที่พวกเขาสนใจเป็นพิเศษ คือทัศนะของคนเหล่านั้น ในเรื่องที่เกี่ยวกับชื่อของ Yahoo! หยางและฟิโล มั่นใจว่า ในบรรดาบริษัทต่าง ๆ ที่กำลังดำเนินธุรกิจ เกี่ยวกับเสิร์ซเอ็นจิ้น ไม่ว่าจะเป็นอินโฟซีค (Infoseek) ลีคอส(Lycos) ห รือเอ็กไซต์ ชื่อของ Yahoo! เป็น ชื่อที่ดีที่สุด และมีพลังทางการตลาด ที่สูงที่สุด มีผู้สมัครบางคน ที่แสดงความเห็น ว่า สิ่งหนึ่งที่เขาจะทำ ถ้าหากเขาได้รับการคัดเลือก เข้ามาเป็นประธานคณะ เจ้าหน้าที่บริหาร ของที่นี่ คือการเปลี่ยนชื่อ ของ Yahoo! เสียใหม่ หยางและฟิโล ชี้ประตูที่เป็นทางออก สำหรับพวกเขาเหล่านั้นทันที

CEO Koogle แห่ง Yahoo

ในที่สุด พวกเขาเลือกได้คนที่ต้องการ ชื่อทิม คูเกิล(Tim Koogle) อายุ 45 ปี เป็นวิศวกร ที่มาจากสแตนฟอร์ดเช่นเดียว กับหยางและฟิโล คูเกิล ผ่านประสบการณ์การทำงาน ในระดับบริหาร กับโมโตโรล่ามานาน 9 ปี สิ่งที่เขาต้องทำ ก็คือ นำประสบการณ์การ บริหารแบบมืออาชีพเ ข้ามาปรับใช้ กับบรรดาเด็กหนุ่ม ที่มีความรู้และความสามารถ ทางด้านเทคโนโลยี ซึ่งไม่ใช่เป็นงานที่ง่าย ๆ เลย แต่คูเกิล สามารถทำมันได้ เป็นอย่างดี เขาทำให้ทุกสิ่งทุกอย่างภายใน บริษัทกลายเป็นเรื่องที่ง่าย ๆ สำหรับหยางและฟิโล เขาไม่เคยทำอะไร ที่ข้ามหน้าข้ามตา หรือก้าวก่าย ในพลังอำนาจของทั้งคู่ นำสิ่งที่คนทั้ง 2 คิด และเสนอออกมา ไปสู่การปฎิบัติ เขานำความคิด ของหยางและฟิโล ที่เสนอให้มีการโฆษณา Yahoo! ผ่านทางโทรทัศน์ ซึ่งจะทำให้ผู้ชมรู้จักกับ Yahoo! มากยิ่งขึ้นไปสู่ความเป็นจริง นอกเหนือจากนั้น สิ่งที่คูเกิลทำก้คือ พยายามควบคุม ทิศทางของบริษัท ให้เป็นไปในทิศทาง ที่หยางและฟิโลต้องการ นั่นเป็นสิ่งที่มีความสำคัญมาก เพราะการเติบใหญ่ขึ้นทุกวัน ของอินเทอร์เน็ต ทำให้บริษัทมีพนักงาน เพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก

ในระหว่างปี 1995 ต่อปี 1996 ด้วยเงินจำนวนมหาศาล จากบรรดาเวนเจอร์แคปปิตอล บริษัทที่ทำธุรกิจเกี่ยวกับ เสิร์ซเอ็นจิ้นบนอินเทอร์เน็ต เติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว คู่แข่งของ Yahoo! หลาย ๆ แห่งรับเจ้าหน้าที่ในระดับบริหาร ที่มาจากการเป็น ผู้เชี่ยวชาญด้านสื่อโฆษณา แต่ความเป็นจริง ที่เกิดขึ้นก็คือ โลกของเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ กับสื่อต่าง ๆ มักจะขัดแย้งกันอยู่บ่อย ๆ ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจน คือกรณีของ อินโฟซีค ต้นปี 1996 สตีฟ เคิร์ช (Steve Kirsch) ผู้ก่อตั้งและผู้บริหาร ของอินโฟซีคเ สนอให้ทีมบริหาร ของเขาลงทุน ในด้านบุคคลากรให้มากขึ้น โดยแทนที่ จะรวบรวม และจัดแบ่งเว็บไซต์ ออกเป็นหมวดหมู่ ด้วยโปรแกรมต่าง ๆ ควรที่จะใช้คนทำแทน แต่ทีมงานของเขา ไม่เห็นด้วย พวกเขาต้องการ ใช้เทคโนโลยี ในการรวบรวม และจัดแบ่งหมวดหมู่ ของเว็บไซต์ต่าง ๆ ต่อไป และข้อเสนอของเคิร์ชตกไป ด้วยความคิดชี้นำ ดังกล่าวของทีมบริหาร ของอินโฟซีค การลงทุน ในด้านเทคโนโลยี ของบริษัทเพิ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆ แต่การบริหาร และการจัดการ ของพวกเขาไม่สามารถ สนองตอบ ต่อความต้องการ ของบริษัทได้ และประสบกับความยากลำบาก มากขึ้น ยุทธศาสตร์ดังกล่าว ของอินโฟซีค ทำให้พวกเขา ไม่เติบโตเท่าที่ควร และถูก Yahoo! ทิ้งห่างไปหลายช่วงตัว

การแข่งขันในตลาดเสิร์ซเอ็นจิ้น

ไม่ใช่มีเพียง Yahoo! เพียงบริษัทเดียวที่ทำธุรกิจนี้อยู่ พวกเขา มีคู่แข่งที่เข้มแข็งอยู่อีก อย่างน้อย 3 ราย นั่นคือ นั่นคืออินโฟซีคของสตีฟ เคิร์ช เอ็กไซต์ของโจ เคร้าส์ (Joe Kraus) และลีคอส (Lycos) ของคาร์เนกี้ เมลลอน (Carnegie Mellon) แต่อะไรที่ทำให้ Yahoo! สามารถขึ้น มายืนอยู่เหนือคู่แข่ง ที่เข้มแข็งทั้งสามได้

ในขณะที่บริษัทเสิร์ซเอ็นจิ้นต่าง ๆ พยายามที่จะแข่งขันกัน ในเรื่องของความเร็ว ของการตอบสนอง ต่อสิ่งที่ผู้คนค้นหา จากอินเทอร์เน็ต และจำนวนเว็บไซต์ ที่ตนเองบันทึกเอาไว้ ได้เป็นจุดแข็งของตนเอง ลีคอสประกาศว่าโปรแกรม "สไปเดอร์(Spider)" ของตนซึ่งเป็นโปรแกรมที่ใช้ ในการสำรวจเว็บไซต์ต่าง ๆ สามารถสำรวจเว็บไซต์ บนอินเทอร์เน็ต ได้มากกว่าบริษัทคู่แข่งอื่น ๆ ที่อยู่ในธุรกิจเดียวกัน ตัวเลขที่ลีคอส ประกาศคือ สไปเดอร์ สามารถท่องไป ในเว็บไซต์ต่าง ๆ ได้มากกว่า วันละ 10 ล้านเว็บไซต์ ซึ่งจะทำให้ลีคอสสามารถ อัพเดท เว็บไซต์ต่าง ๆ ของตนได้อยางรวดเร็ว กว่าเสิร์ซเอ็นจิ้นเจ้าอื่น ๆ อินโฟซีคยืนยัน ว่าโปรแกรม เสิร์ซเอ็นจิ้น ของพวกเขามีความเร็ว ที่เหนือกว่าทุก ๆ แห่งและเว็บไซต์ต่าง ๆ ที่พวกเขามีรายชื่ออยู่ มีความทันสมัย มากที่สุด ขณะที่เอ็กไซต์มี เทคโนโลยีเกี่ยวกับเสิร์ซเอ็นจิ้น ที่ได้รับการยอมรับ และได้รับการพิสูจน์ว่ายอดเยี่ยม โจ เคร้าส์ ผู้ก่อตั้งเอ็กไซต์ เป็นอีกคนหนึ่ง ที่มาจากสแตนฟอร์ด เขาร่วมกับเพื่อนในชั้นเรียนเดียวกัน ก่อตั้งเอ็กไซต์ขึ้นมา และเป็นคู่แข่งที่สำคัญของ Yahoo! มาตั้งแต่ต้น ถ้าคุณคิดว่าหยาง อายุน้อยเหลือเกิน สำหรับการเป็นผู้บริหารของ Yahoo! ผู้ที่ออกแบบเสิร์ซเอ็นจิ้น จนเป็นที่ยอมรับกัน ว่าเป็นเสิร์ซเอ็นจิ้น ที่มีเทคโนโลยีที่ยอดเยี่ยมที่สุดชื่อเกรแฮม สเปนเซอร์ (Graham Spencer) อายุเพียงแค่ 25 ปีเท่านั้น แต่ไม่ว่าคู่แข่งจะประกาศ หรือแถลงประการใด Yahoo!  ยังคงยึดมั่น อยู่ในวิถีทาง ที่พวกเขาเชื่อว่า เป็นกุญแจแห่งความ สำเร็จ ในการดำเนินธุรกิจ บนอินเทอร์เน็ต

Yahoo! ไม่ทุ่มลงทุนหมดไปกับเทคโนโลยีมากมายนัก ถ้าคุณรู้ความเป็นจริง เกี่ยวกับเทคโนโลยีข องพวกเขา คุณอาจจะรู้สึกแปลกใจเ สียด้วยซ้ำไป เมื่อไรก็ตาม ที่คุณมีโอกาสแวะไปเยี่ยมชม สำนักงานของเอ็กไซต์ หรืออินโฟซีค คุณคงมีโอกาสที่จะได้เห็น ห้องกระจกที่เต็มไปด้วย เครื่องคอมพิวเตอร์ ระดับเซิร์ฟเวอ และเวิร์กสเตชันที่เปี่ยมไปด้วย พลังเรียงรายกันอยู่ เต็มไปหมด บริษัทคู่แข่งของ Yahoo! เหล่านี้ ลงทุนในเครื่องคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยี ในด้านนี้เป็นเ งินมหาศาล แต่สำหรับ Yahoo! แล้ว ข้อมูลต่าง ๆ ของพวกเขาทำงานอยู่บนเครื่องคอมพิวเตอร์เซิร์ฟเวอร์ธรรมดา และที่สำคัญ เครื่องคอมพิวเตอร์เหล่านี้ ถูกบริหารและจัดการโดยบริษัทที่ 3

แทนที่จะทุ่มเงินลงทุนไปกับเครื่องคอมพิวเตอร์ ทีมีประสิทธิภาพสูง และมีราคาแพง Yahoo! ใช้เงินหมดไป กับการจ้างพนักงาน จำนวนมาก เว็บไซต์ต่าง ๆ ที่พวกเขาไปสำรวจ และบันทึกไว้บนฐานข้อมูล ของพวกเขา เพื่อให้ผู้ใช้อินเทอร์เน็ต เข้ามาใช้บริการ ส่วนใหญ่ทำขึ้น โดยคน กระบวนการต่าง ๆ ในการรวบรวม รายละเอียดเกี่ยวกับเว็บไซต์ต่าง ๆ เหมือนกับที่หยาง และฟิโลเคยทำ เมื่อครั้งที่ทั้ง 2 คน ยังอยู่ที่สแตนฟอร์ด หยางและฟิโลเชื่อว่า นี่เป็นสิ่งที่ Yahoo! แตกต่าง จากบริษัทเสิร์ซเอ็นจิ้นอื่น ๆ และนี่เป็นจุดแข็งของ Yahoo!

การที่คู่แข่งของ Yahoo! ใช้คอมพิวเตอร์ และโปรแกรมต่าง ๆ ช่วยในการสำรวจ เว็บไซต์ที่มีอยู่บนอินเทอร์เน็ต อาจจะทำให้พวกเขา สามารถสำรวจ เว็บไซต์ต่าง ๆ ได้นับพันแห่งต่อวัน แต่สำหรับ Yahoo! แล้ว การใช้คน ในการสำรวจ และจัดแบ่งหมวดหมู่ ของเว็บไซต์ ทำให้ผลงาน ที่พวกเขานำเสนอออกมา เป็นที่ชื่นชอบของ ผู้ใช้งานมากกว่า

ในด้านของความเร็วในการค้นหา Yahoo! ยอมรับอย่างหน้าชื่น ตาบานว่า พวกเขาไม่คิดจะแข่งขัน กับคู่แข่งในจุดนั้น ในงานสัมมนาแห่งหนึ่ง คูเกิลมีโอกาสพบกับเคิร์ช ประธานคณะเจ้าหน้าที่ บริหารของ อินโฟซีค เคิร์ชคุยข่มคูเกิลทันที ว่าอินโฟซีค สามารถค้นหาสิ่งเดียวกันกับ Yahoo! และได้ผลลัพธ์ ที่ต้องการในเวลาที่เร็วกว่า 5 วินาที คูเกิลรู้สึกตกใจ เขารีบวิ่งกลับไป ขอคำยืนยันจากหยาง หยางตอบเขาว่า เขามั่นใจว่าเคิร์ชพูดถูก แต่นั่นไม่ใช่สิ่งที่ Yahoo! ต้องการแข่งขันด้วย และผู้ใช้งาน ก็ไม่ต้องการสิ่งนั้น หยางยังบอกคูเกิลด้วยว่า สิ่งที่บริษัทที่ดำเนินธุรกิจ เกี่ยวกับเสิร์ซเอ็นจิ้นทำ ไม่ใช่การแข่งขันระหว่างกัน แต่ควรจะเป็นการพยายาม ช่วยเหลือ ผู้ที่ต้องการค้นหา สิ่งที่เขาต้องการ บนอินเทอร์เน็ต ให้ได้พบสิ่งนั้น การใช้คอมพิวเตอร์ที่ มีประสิทธิภาพสูง เทคโนโลยีเกี่ยวกับ เสิร์ซเอ็นจิ้นต่าง ๆ ที่มีราคาแพง อาจจะสามารถส่งคำตอบ จำนวนมาก แก่ผู้ที่ถาม แต่นั่นอาจจะไม่ใช่สิ่งที่เขาต้องการก็ได้ หยางยกตัวอย่างว่า เมื่อคุณพิมพ์คำว่า มาดอนนา ลงไปบนเสิร์ซเอ็นจิ้น และคุณได้รับคำตอบเกี่ยวกับ มาดอนนา สัก 13 เว็บไซต์ คุณอาจจะ ไม่ต้องการเว็บไซต์ที่ 14 อีกต่อไป และนั่นคือสิ่ง Yahoo! ทำ

ความสำเร็จของ Yahoo! ไม่ใช่สิ่งที่ได้มาง่าย ๆ ความหลงไหล ในคอมพิวเตอร์ และการมีวิธีคิด อย่างนักการตลาด ของหยางและฟิโล มีส่วนเป็นอย่างมาก ต่อความสำเร็จของพวกเขา ทั้งคู่เชื่อว่า เขาจะต้องพยายาม สร้างสรรค์ผลงาน จำนวนมาก และอย่างสม่ำเสมอ แก่ผู้ใช้งานเพื่อทำให้ คนเหล่านั้นแวะเ ข้ามาที่ Yahoo! ขณะเดียวกัน เขาก็เชื่อมั่น ในอิทธิพลของการ โฆษณาว่า จะสามารถช่วยทำให้ Yahoo! ได้รับความสำเร็จ ที่เร็วขึ้น และมากขึ้น หยางและฟิโล ตัดสินใจดึงตัวคาเร็น เอ้ดเวิร์ด (Karen Edwards) จากบีบีดีโอ (BBDO) เอเจนซี่ใหญ่ แห่งหนึ่งมาร่วมงาน ในตำแหน่ง ผู้จัดการผลิตภัณฑ์ เอ็ดเวิร์ด เป็นผู้ดูแลบัญชี ของแอปเปิลคอมพิวเตอร์ ในบีบีดีโอ หลังจากเข้าร่วมงานกับ Yahoo! ได้ไม่นาน เอ้ดเวิร์ดเสนอแผนการโฆษณา Yahoo! ทางโทรทัศน์และได้รับการสนับสนุน ด้วยดีจากทีมบริหาร

แคมเปญ "What is Yahoo!?" เป็นแคมเปญทางโทรทัศน์ ที่มีมูลค่า 5 ล้านดอลลาร์ มากที่สุดเท่าที่ Yahoo! เคยใช้เงิน ในการรณรงค์ ทางด้านการตลาด เอ็ดเวิร์ด กล่าวว่ามันเป็นเช็ค ที่มีมูลค่าสูงที่สุดที่ Yahoo! เคยเขียนออกไป ก่อนหน้านั้น พวกเขาเคยสำรวจ ประชาชนอเมริกา ทั่วประเทศ ผลที่ได้รับ คือมีคนที่รู้จัก Yahoo! เพียงแค่ 8 เปอร์เซนต์ เท่านั้น บางคนบอกว่า ชื่อดังกล่าวฟังดูเหมือนกับ เครื่องดื่มประเภท ช็อคโกแล็ต ภายหลังจากที่แคมเปญ ดังกล่าวเริ่มขึ้น ตัวเลขข้างต้นก็เพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ และโฆษณาก็เริ่มหลั่งไหลเข้ามาที่ Yahoo! ตามจำนวนผู้ใช้งานที่เพิ่มมากขึ้น

เอ็ดเวิร์ดดำเนินการรุกทางการตลาดอย่างต่อเนื่อง เธอใช้กลยุทธ์ ทางการตลาดที่เรียกว่า "การตลาด แบบกองโจร (Geerilla Marketing )" ในการนำชื่อของ Yahoo! ออกไปยังผู้คน ตามสถานที่ต่าง ๆ และ ย้ำเตือนให้พวกเขา จดจำมันให้ได้ คุณจะได้เห็นชื่อของ Yahoo! ในสนามแข่งขัน กีฬา ในงานคอนเสิร์ต ในนิตยสารต่าง ๆ หรือแม้กระทั่ง บนกระจกหลัง ของรถของพนักงาน ทุกคน

ในขณะเดียวกัน การแข่งขันทางการตลาด ที่รุนแรงในตลาด เสิร์ซเอ็นจิ้น ทำให้ Yahoo! ต้องใช้กลยุทธ์ ทุกวิถีทาง ที่จะหยุดความร้อนแรง ของคู่แข่งขัน และทำให้ตัวเอง อยู่ในฐานะที่ได้เปรียบ หรืออย่าง น้อยที่สุดไม่เสียเปรียบคู่แข่งขัน ต้นปี 1996 Yahoo! ตัดสินใจยอมจ่ายเงิน 5 ล้านดอลลาร์ ให้แก่เน็ตสเคป เพื่อที่จะได้รับการคัดเลือกให้เป็น 1 ใน 5 ของเสิร์ซเอ็นจิ้น บนเว็บไซต์ ของเน็ตสเคป ที่ผ่านมา อินโฟซีคเป็นเสิร์ซเอ็นจิ้น เพียงรายเดียว บนเว็บไซต์ของ เน็ตสเคป และพวกเขารู้สึก มีความสุขกับการ ที่ปราศจากคู่แข่งขัน ในเดือนแรกของการเพิ่มจำนวน ของเสิร์ซเอ็นจิ้นขึ้นอีก 4 ราย จำนวนของผู้เข้ามาใช้งาน อินโฟซีคลดลงครึ่งหนึ่ง และ Yahoo! ถือว่านั่นเป็นความสำเร็จ ประการหนึ่งของพวกเขา เพราะพวกเขาสามารถ สกัดความร้อนแรงข องคู่แข่งลงได้ และเปิดโอกาส ให้ตัวเองในการก้าวเข้าสู่ การเป็นอันดับหนึ่งในการแข่งขัน

แต่ความสำเร็จของ Yahoo! ไม่ได้ขึ้นอยู่กับการได้เป็น เสิร์ซเอ็นจิ้นอย่างเป็นทางการ ของเว็บไซต์อย่างเน็ตสเคป หรือไมโครซอฟท์ ผู้ใช้งานรู้ดีว่าพวกเขาต้องการอะไร และที่ไหนสามารถ สนองตอบต่อความต้องการของพวกเขาได้ ทุกครั้งที่พวกเขา แวะเข้าไปที่ Yahoo! เพื่อที่จะค้นหาสิ่งใด สิ่งหนึ่ง เขาจะพบว่า มีอะไรบางอย่างใหม่ ๆ น่าตื่นเต้น และที่สำคัญฟรี เกิดขึ้นที่นี่ ไม่ว่าจะเป็น ราคาหุ้น แผนที่ แชตรูม ข่าวสาร พยากรณ์อากาศ กีฬา สมุดหน้าเหลือง และหน้าโฆษณา สิ่งต่าง ๆ ทั้งหมดดังกล่าว ทำให้ผู้เข้า มาใช้บริการ เกิดความรู้สึกที่ว่าที่นี่เป็นสถานที่ ที่ให้บริการออนไลน์ อย่างแท้จริง

สำหรับ Yahoo! เองแล้ว การที่มีเรื่องราวต่าง ๆ ที่น่าสนใจจำนวนมาก อยู่ในเว็บไซต์ เป็นสิ่งที่เป็น ประโยชน์อย่างมาก สำหรับพวกเขา เพราะว่า 1. การที่มีเรื่องราวต่าง ๆ จำนวนมาก ทำให้มีพื้นที่ ในการเข้าชมสำหรับผู้ใช้งานมากขึ้น และก็มีพื้นที่สำหรับ การโฆษณามากขึ้นด้วย และ 2. การแบ่งหมวดหมู่ เว็บไซต์ต่าง ๆ อย่างชัดเจน ทำให้พวกเขา สามารถกำหนดกลุ่มเป้าหมายา สำหรับสิ่งที่ต้องการ โฆษณาได้ชัดเจน มากขึ้น และทำให้โฆษณาที่ทำผ่าน Yahoo! มีประสิทธิภาพ ตรงตามความต้องการ ของลูกค้า

นอกจากนี้ บริษัทหลาย ๆ แห่งที่ดำเนินธุรกิจ บนอินเทอร์เน็ตเช่น อเมซอน(Amazon.com) หรือซีดีนาว(CDNow) ล้วนแล้วแต่ เป็นลูกค้าทางด้าน โฆษณาของ Yahoo! หยางบอกว่า บริษัทเหล่านี้ ใช้บริการโฆษณาของเรา เพราะพวกเขาเชื่อมั่นว่า จะทำให้สินค้าของเขา ขายได้ ถ้าเราไม่ทำงานของเรา ให้ดีพอ ทำให้สินค้าของพวกเขา ไม่สามารถขายได้มากขึ้น พวกเขาก็จะทิ้งเราไป เราระลึกถึงเรื่องนี้อยู่เสมอ และเราพยายามปรับปรุงเว็บไซต์ของเรา ให้ผู้ใช้งาน ได้รับประโยชน์อย่างเต็มที่ อยู่ตลอดเวลา

หยางและฟิโลทำอย่างที่พวกเขาพูดเอาไว้จริง ๆ ตุลาคมที่แล้ว Yahoo! ยอมจ่ายเงิน 81 ล้านดอลลาร์ซื้อ Four-11 เพื่อ นำมาให้บริการฟรีอี-เมล์แก่ ผู้ใช้งานของตน และได้รับการตอบรับ เป็นอย่างดีจ ากผู้ที่ใช้บริการ ของ Yahoo!

การให้บริการฟรีแก่ผู้เข้ามาใช้งาน การมีเบรนด์เนม ที่แข็งแกร่ง และการใช้คน ในการรวบรวมและจัดหมวดหมู่ เว็บไซต์ต่าง ๆ เป็นกุญแจสำคัญ ที่ทำให้ Yahoo! ได้รับการยอมรับ มากกว่าคู่แข่งขันรายอื่น ๆ ในไตรมาสแรกของปี 1996 Yahoo! เอ็กไซต์ อินโฟซีค และลีคอส มีจำนวนของหน้าที่ผู้ใช้งาน เปิดเข้ามาดู ในจำนวนที่พอ ๆ กัน แต่พอมาถึงปลายปี Yahoo! มีจำนวนหน้าที่ผู้ใช้งาน คลิ้กเข้าดูมากเป็น 2 เท่า ของเ อ็กไซต์ซึ่ งอยู่ในอันดับที่ 2 และในไตรมาสที่ 3 ของปี 1997 ผู้ที่แวะเข้าที่ Yahoo! ตรวจสอบจำนวนหน้าต่าง ๆ มากถึง 50 ล้านหน้าต่อวัน มากกว่า จำนวนหน้าของคู่แข่งทั้ง 3 รายที่เหลือรวมกันเสียอีก

ทุกวันนี้ Yahoo! มีผู้ แวะเวียนเข้ามา ใช้บริการเว็บไซต์ของพวกเขา มากกว่าเดือนละ 25 ล้านราย ในเดือนที่มี ผู้เข้ามาใช้บริการมาก เป็นพิเศษ ตัวเลขดังกล่าว จะพุ่งสูงขึ้นถึง 40 ล้านราย (กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา Hit rate ของ yahoo! อยู่ที่ 31 ล้านคน) จำนวนคนที่แวะ เข้ามาที่ Yahoo! สูงกว่าจำนวนคน ที่แวะเข้าไปที่เน็ตสเคป หรือที่อเมริกาออนไลน์ อย่างเห็นได้ชัด คนจำนวนมากใช้งาน Yahoo! มากกว่า การอ่านหนังสือ ในเว็บไซต์ของนิตยสาร ชั้นนำ เช่น ไทม์ นิวสวีค หรือไลฟ์ นักวิเคราะห์เชิ่อว่า ด้วยจำนวนผู้ที่เข้ามา ใช้งานมากมาย ขนาดนั้น อนาคตของ Yahoo! ที่จะสามารถทำเงิน จากการขายโฆษณา เป็นสิ่งที่แน่นอน และชัดเจน และพวกเขาวิเคราะห์ได้ถูกต้อง

ปลายปี 1997 Yahoo! มีจำนวนหน้าโฆษณามากถึง 1,700 หน้า เพิ่มขึ้นจากหน้าโฆษณาที่มีเพียง 112 หน้าในต้นปี 1996 รายได้ของพวกเขาเพิ่มขึ้น 3 เท่าตัว เป็น 67 ล้านดอลลาร์ ถ้าไม่นับจำนวนเงิน ที่พวกเขาต้องจ่าย ออกไปเพื่อซื้อ "Four-11" พวกเขาจะมีกำไร 2.5 ล้านดอลลาร์ แทนที่จะขาดทุน 23 ล้านดอลลาร์ และแนวโน้ม การเติบโตนี้ ยังคงสูงขึ้นเรื่อย ๆ

หยางและฟิโลมีทัศนะที่ชัดเจนและมั่นคงเกี่ยวกับการดำเนินธุรกิจของ Yahoo! นั่นคือ เสนอสิ่งที่ ผู้ใช้งานต้องการ โดยผสมผสานสัดส่วน ระหว่างเทคโนโลยี กับความเป็นมนุษย์ เข้าด้วยกัน ในสัดส่วนที่เหมาะสม ทำทุกอย่างให้ผู้ใช้บริการ พึงพอใจ และแวะเวียน เข้ามาที่เว็บไซต์ของพวกเขา ให้มาก และบ่อยครั้งที่สุด เมื่อนั้นรายได้ จากการโฆษณา ก็จะไหลเข้ามา หาพวกเขาเอง

Yahoo! หุ้นขวัญใจชาววอลล์สตรีท Yahoo! เป็นอีกบริษัทหนึ่งที่ถือได้ว่าเป็นขวัญใจของวอลล์สตรีท (Wall Street Darking) ก่อนหน้านั้น เน็ตสเคป เคยเป็นที่ชื่นชอบ ของบรรดานักลงทุน ในวอลล์สตรีทมาก่อน แต่หุ้นของ Yahoo! มีผลลัพธ์ที่แตกต่างจาก หุ้นของเน็ตสเคป หุ้นของพวกเขาทำกำไร ให้กับทุกคน ที่ถือมันเอาไว้ Yahoo! นำหุ้นของพวกเขา ออกจำหน่าย ให้กับสาธาณชน และเข้าจดทะเบียน ในตลาดหุ้นนาสแดค ในเดือนเมษายน 1996 ปีนั้นเป็นปีที่ บริษัทที่ทำธุรกิจเกี่ยวกับ เสิร์ซเอ็นจิ้นหลายแห่ง นำหุ้นของตน ออกจำน่ายให้กับ สาธารณชน และเข้าจดทะเบียน เพื่อระดมทุน ในตลาดหุ้น ในเดือนเดียวกันกับที่ Yahoo! นำหุ้นเข้าจำหน่ายในตลาดหุ้น ลีคอส และ เอ็กไซต์นำหุ้นของพวกเขา เข้าจดทะเบียน ในตลาดหุ้นนาสแดค ด้วย ขณะที่อินโฟซีค เข้ามาจดทะเบียน ในตลาดหุ้นใน เดือนมิถุนายน ปีเดียวกัน

Yahoo! นำหุ้นจำนวน 2.6 ล้านหุ้น ออกจำหน่ายแก่ สาธารณชน ในราคาเสนอขายที่ 13 ดอลลาร์ ต่อหุ้น หุ้นของ Yahoo! เข้าซื้อขายวันแรก ในตลาดนาสแดค (11 เม.ย. 1996) ด้วยบรรยากาศที่สดใส ราคาของหุ้น วิ่งขึ้นไปปิด ที่ระดับที่สูงกว่า ราคาเสนอขายถึง 154 เปอร์เซนต์ ทำสถิติสูงกว่า ราคาปิดในการเข้าซื้อขาย วันแรกของหุ้นของ เน็ตสเคป ซึ่งปิดในระดับ ที่สูงกว่าราคาเสนอขาย 105 เปอร์เซนต์ มูลค่าหุ้น ตามราคาตลาด (Market Capitalization) ของ Yahoo! วิ่งขึ้นไปที่ 848 ล้านดอลลาร์ นักวิเคราะห์ ในวอลล์สตรีท พากันกล่าวว่า นักลงทุนต่าง กลัวกันว่า พวกเขาจะต้อง ซื้อหุ้นของ Yahoo! ในราคา ที่แพงมากขึ้นเรื่อย ๆ จึงรีบเข้าซื้อ ในทันที ที่หุ้นตัวนี้ เข้าซื้อขายในตลาด จากนี้ไป ผลประกอบการของ Yahoo! เองจะเป็นตัววัดว่า มันมีคุณค่า ที่สมกับราคา หรือไม่ การนำหุ้นออกขาย แก่ประชาชนทั่วไป ทำให้มีเงินทุน ไหลเข้ามาในบริษัท ทันที 35 ล้านดอลลาร์ นั่นทำให้ การดำเนินงานต่าง ๆ ของหยาง และฟิโล ง่ายขึ้นอีกมาก และทำให้พวกเขา มีผู้ถือหุ้นเพิ่มขึ้นมาในทันที

วันที่สองของการซื้อขาย นักลงทุนพากันเทขายหุ้นของ Yahoo! ออกมาเป็นจำนวนมาก ราคาหุ้น ตกลงมาครึ่งหนึ่ง ของราคาปิด ในวันแรก และเคลื่อนไหวอ ยู่ในระดับราคานั้น ตลอดช่วงที่เหลือ ของปี 1996 หลาย ๆ คนคิดว่า Yahoo! ก็คงเหมือนกับ เน็ตสเคปที่ ราคาหุ้นถอยหลัง มาตลอด และสร้างความเสียหาย ให้แก่นักลงทุน ที่เข้าไปลงทุน ในหุ้นตัวนี้ เป็นจำนวนมหาศาล

แต่ Yahoo! ไม่เหมือนกับเน็ตสเคป ที่สำคัญคู่แข่งของเขา ไม่ยิ่งใหญ่เหมือนกับ ไมโครซอฟท์ ที่เน็ตสเคปกำลังต่อกรด้วย การมีผลิตภัณฑ์ที่ยอดเยี่ยม เมื่อประสานเข้ากับ การโฆษณา และประชาสัมพันธ์ จากมืออาชีพ Yahoo! ก็เหมือนกับพยัคฆ์ติดปีก พวกเขาสามารถ สร้างผลประกอบการ ที่ยอดเยี่ยม ตั้งแต่ไตรมาสแรก ของปี 1997 ซึ่งฉุดให้ราคาหุ้นของ Yahoo! ค่อย ๆ ไต่ระดับ ขึ้นมาอย่างช้า ๆ แต่นักลงทุน มืออาชีพหลาย ๆ คน ในวอลล์สตรีทสังเกตเห็น การเปลี่ยนแปลงนี้ และเริ่มเข้าลงทุนในหุ้นของ Yahoo! เมื่อสิ้นปี 1997 ราคาหุ้นของ Yahoo! วิ่งสูงขึ้น 511 เปอร์เซนต์ จากราคาปิด เมื่อสิ้นปี 1996 ทุกคนพากันยิ้มร่า ด้วยความดีใจ

จนถึงวันนี้ราคาหุ้นของ Yahoo! ยังคงวิ่งขึ้นไป อย่างช้า ๆ มูลค่าตามราคาตลาดข องพวกเขาขึ้นมาถึงระดับ 3.5 พันล้าน ดอลลาร์ ประเมินกันว่า จำนวนหุ้นของ Yahoo! ทั้งหมดที่ หมุนเวียนอยู่ในตลาด ในปัจจุบันมีทั้งสิ้น 11.5 ล้านหุ้น จากจำนวนหุ้นทั้งหมด 53 ล้านหุ้น

การที่ราคาหุ้นของ Yahoo! วิ่งขึ้นมาอย่างรวดเร็ว ในระยะเวลาเพียง 1 ปี ทำให้นักวิเคราะห์ หลายคนเกิดความกังวล ราคาปิดต่อกำไรต่อหุ้น (Price/Earning Ratio, P/E) ของ Yahoo! มีค่าสูงถึง 171 ลองเปรียบเทียบกับอินเทลที่มี P/E อยู่ที่แค่ 20 คุณจะรู้ว่า มันสูงเพียงใด แต่นักวิเคราะห์บางคน ที่มองโลกในแง่ดี ก็ยังเชื่อว่า ผลประกอบการ ที่ดีขึ้นเรื่อย ๆ ของ Yahoo! จะทำให้ตัวเลข ตัวนี้ค่อย ๆ ลดลง และความเสี่ยง ของนักลงทุน ก็จะลดตามลงมาด้วย

Yahoo! บริษัทเล็ก ๆ ที่เติบโตขึ้นมาจากการเฟื่องฟูของอินเทอร์เน็ต ไม่ได้พอใจเพียงแค่ สิ่งที่พวกเขามี และดำเนินการอยู่ หยางและฟิโล กำลังวางแผนการ สำหรับการเติบโต และอนาคตของ Yahoo! อยู่อย่างเอาจริง เอาจัง ทั้งสองมั่นใจว่า พวกเขาจะยังคงสามารถ ทำกำไรจากการดำเนิน ธุรกิจได้ โดยไม่ต้องเก็บ ค่าบริการจาก ผู้ที่เข้ามาใข้บริการ นักวิเคราะห์หลายคน บอกว่า Yahoo! อาจจะกลายเป็น MSNBC รายต่อไป แต่นั่นไม่ใช่สิ่งที่แน่นอนเสมอไป และพวกเขาก็เลือก ทางเดินของตนเอง เดือนมกราคม ที่ผ่านมา Yahoo! ประกาศแผนการ ร่วมมือทางการตลาด กับเอ็มซีไอ (MCI) ยักษ์ใหญ่ในวงการสื่อสาร และโทรคมนาคม พวกเขาคาดว่า ภายในกลางเดือนมีนาคม พวกเขาคงจะสามารถ ให้บริการต่าง ๆ ทางด้านอินเทอร์เน็ต แก่ผู้ที่สนใจได้ เ อ็มซีไอจะเป็นผู้เก็บค่าบริการ จากผู้ใช้งาน ขณะที่ Yahoo! จะได้รับประโยชน์ จากการที่มีผู้เข้าใช้บริการ จากพวกเขา มากขึ้น และถ้าสิ่งที่พวกเขา เริ่มต้นกับ เอ็มซีไอดำเนินไปได้ ด้วยดี หยางและฟิโลหวังว่า ในอนาคต พวกเขาจะสามารถ เติบใหญ่และขึ้นมา แข่งขันกับ อเมริกาออนไลน์ได้ และนั่นไม่ใช่สิ่งที่ ไกลเกินฝัน สำหรับนักศึกษา จากสแตนฟอร์ดทั้ง 2 คนเลย

สแตนฟอร์ด : แหล่งสร้างคนสำหรับวิลิคอนวัลเล่ย์

ถ้าคุณสังเกตดูผู้บริหารของบริษัทต่าง ๆ ในซิลิคอนวัลเลย์ให้ดี คุณจะพบว่า พวกเขามีสิ่งหนึ่ง ที่เหมือน ๆ กัน นั่นคือหลาย ๆ คน ผ่านการศึกษา างด้านวิศวกรรมศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด ลองดูรายชื่อ ของผู้บริหารต่อไปนี้ แล้วคุณจะรู้ว่า สแตนฟอร์ดสร้างคน มาให้ซิลิคอนวัลลเย์มากมายเพียงใด
1. สก็อต แมคนีลลี่ CEO ซัน ไมโครซิสเต็มส์ : ปริญญาโท
2. สตีฟ บอลล์เมอร์ Vice Pressident ไมโครซอฟท์ : ปริญญาโท(ไม่จบ)
3. เจอร์รี่ หยาง Founder Yahoo! : ปริญญาเอก(ไม่จบ)
4. เดวิด ฟิโล Founder Yahoo! : ปริญญาเอก(ไม่จบ)
5. โจ เคร้าส์ Founder เอ็กไซต์
6. เคร็ก บาร์เร็ตต์ COO อินเทล : ปริญญาเอก
ฯลฯ



[BACK TO INTERNET]
main พบแพทย์ คอมพิวเตอร์ เรื่องบ้าน เรื่องรถ เรื่องกฏหมาย เรื่องของผู้บริโภค เรื่องเบาๆ คลายเครียด
1