โดย ผศ.พญ. รวิวรรณ นิวาตพันธุ์
โรคสมองเสื่อมชนิดอัลไซเมอร์ จาการวิจัยที่จังหวัดร้อยเอ็ด (อิงใจ วิทยานิพนธ์ 2539) พบประมาณ 3 เปอร์เซ็นต์ ในผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป เป็นโรคที่มีลักษณะของความจำเสื่อมลงเรื่อย ๆ ในที่สุดผู้ป่วย ไม่สามารถปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน จำญาติไม่ได้ บางคนอาจจะเดินออกนอกบ้านไปอย่างไม่มีจุดหมาย และกลับบ้านไม่ได้ บางคนมีอาการระแวง หลงผิด ก้าวร้าว ฉะนั้นผู้ป่วยโรคนี้จึงจำเป็นต้องมีผู้ดูแล อย่างใกล้ชิด
โรคอัลไซเมอร์ เป็นโรคที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่ขณะนี้มีค้นพบยา ที่ช่วยชะลอความเสื่อม ของสมอง และช่วยให้ความจำของผู้ป่วยดีขึ้น ถ้ารีบรักษาตั้งแต่ระยะแรก ถึงระยะกลาง ฉะนั้นญาติจึงควรพา ผู้ป่วยไปปรึกษาแพทย์เฉพาะทางเสียแต่เนิ่น ๆ ผู้ป่วยและญาติ ก็จะมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
ผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์ไม่สามารถบอกเล่าอาการของตนเองได้ แต่ก็ยังมีความรู้สึกและจิตใจ ต้องการ ความรัก ความเอาใจใส่จากญาติ และผู้ดูแล ซึ่งเป็นงานหนักทั้งร่างกายและจิตใจ จึงเกิดความเครียด และบางครั้ง มีความไม่แน่ใจ ในเรื่องของการดูแล การพบปะสังสรรค์แลกเปลี่ยนความคิดเห็น และประสบการณ์ ในการดูแลคนไข้ของผู้ดูแลด้วยกัน จะทำให้ผู้ดูแลได้ระบายความเครียด และสามารถมีความมั่นใจ ในการดูแลผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์ ทำให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดียิ่งขึ้น
ผศ.พญ. รวิวรรณ นิวาตพันธุ์
main |