มาที่นี่ที่เดียว ได้อ่านบทความทางด้านการแพทย์ ภาษาไทย จากเกือบทุกโฮมเพจที่มีใน INTERNET
http://geocities.datacellar.net/Tokyo/Harbor/2093/
[ คลีนิกมติชน จากหนังสือพิมพ์มติชนรายวัน ฉบับวันพฤหัสที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2541 ]
อัลไซเมอร์เทียม
เรียบเรียง โดย น.พ.สุรัตน์ บุญญะการกุล
แม้อาการหลงลืม สับสน การตัดสินใจช้า ซึมเศร้า หรือบุคลิกภาพที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม จะเป็นอาการของอัลไซเมอร์ แต่ก็ไม่ใช่ว่าคนที่มีอาการเหล่านี้ จะต้องเป็นโรคอัลไซเมอร์ทุกคน
มีสาเหตุอื่นที่ทำให้ผู้ป่วยมีอาการคล้ายคลึงหรือใกล้เคียงกับโรคนี้ เนื่องจากยังมีโรคทางสมอง และโรคทางจิตเวช หลายโรค ที่อาการคล้ายอัลไซเมอร์ แต่ไม่ใช่ ดังนั้น ก่อนที่แพทย์ จะวินิจฉัยว่า ผู้ป่วยมีอาการของสมองเสื่อมหรือไม่ จำเป็นต้องแยกภาวะต่าง ๆ ตามกลุ่มอาการดังนี้
- ภาวะสับสน มักจะเป็นชั่วคราวหลังจากรักษาสาเหตุ อาการก็จะหายไป สาเหตุที่พบได้แก่ ภาวะสับสนจากเส้นเลือดในสมองอุดตันหรือแตก สมองอักเสบจากไวรัส การชัก ผู้ป่วยมีน้ำตาล หรือเกลือแร่ ในเลือดสูง หรือต่ำเกินไป ตับหรือไตพิการ คนสูงอายุที่มีไข้สูง กินยานอนหลับ บางประเภท หรืออดนอนติดต่อกันหลายวัน สามารถมีอาการสับสนได้
- ภาวะเพ้อคลั่ง เป็นอาการคล้ายสับสน แต่ผู้ป่วยจะเอะอะ วุ่นวาย ร่วมกับมีประสาทหลอนได้ สาเหตุคล้ายกับสาเหตุของการสับสน รวมถึงโรคพิษสุราเรื้อรัง โดยเฉพาะถ้าหยุดเหล้ากระทันหัน ได้รับสารพิษหรือยาเสพย์ติดเกินขนาด
- ภาวะซึมเศร้าหรือท้อแท้ มักเป็นผู้ป่วยจิตเวชที่ได้รับความสะเทือนใจจนหมดหวัง หมดอาลัย ตายอยากในชีวิต หรือบางรายอาจจะเป็นเองโดยไม่มีปัญหาทางจิตใจ ผู้ป่วยในกลุ่มนี้ จำเป็นต้อง ให้การรักษา โดยด่วน ในกรณีที่เป็นมากอาจจะฆ่าตัวตายหรือทำลายผู้อื่นได้
อย่างไรก็ตามเมื่อผู้สูงอายุหรือคนในบ้านมีอาการผิดปกติด้านความจำ ไม่ควรจะวินิจฉัยโรคเอง ควรพาผู้ป่วยไปพบแพทย์ เพื่อทำการซักประวัติ ตรวจร่างกาย เพื่อการวินิจฉัย อาจมีการตรวจพิเศษ เพื่อหาสาเหตุ ของภาวะสับสน หรือความจำเสื่อม เช่น ตรวจเช็คเลือด และเอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์สมอง ในรายที่มีข้อบ่งชี้ หลังจากทราบสาเหตุแพทย์จะให้การรักษาที่ถูกต้องต่อไป
ในกรณีที่ความจำเสื่อมจากโรคอัลไซเมอร์ มีการรักษาด้วยยาช่วยชะลอความเสื่อม ของเซลล์สมอง และช่วยการทำงานของสมอง ที่เหลืออยู่ ซึ่งขณะนี้มีการนำยาประเภทนี้ จากต่างประเทศ มีทั้งชนิดรับประทาน วันละหลายครั้ง หรือวันละครั้ง เพื่อสะดวก สำหรับผู้ป่วย ที่จะไม่ลืมรับประทานยา และไม่ต้องเป็นภาระมากสำหรับผู้ดูแลผู้ป่วย
ทางที่ดีอย่าไปเหมาว่าคนที่ลืมนั่นลืมนี่จะต้องเป็นโรคอัลไซเมอร์เสมอไป !
[BACK TO LISTS]
มีปัญหาสุขภาพ ที่นี่มีคำตอบ ห้องสมุดE-LIB[ hey.to/yimyam ][ i.am/thaidoc ]
Best view with [IE3.02][NETSCAPE 4.05][OPERA 3.21]resolution 800x600