เพื่อให้ความสัมพันธ์ระหว่างผู้ประกอบการวิชาชีพด้านสุขภาพ กับผู้ป่วย
ตั้งอยู่บนพื้นฐานความเข้าใจอันดีและเป็นที่ไว้วางใจ ซึ่งกัน และกัน
แพทยสภา สภาการพยาบาล สภาเภสัชกรรม ทันตแพทยสภา
คณะอนุกรรมการประกอบโรคศิลปะ
จึงได้ร่วมกันออกประกาศรับรองสิทธิของผู้ป่วยไว้ดังต่อไปนี้
|
ผู้ป่วยทุกคน มีสิทธิ์พื้นฐานที่จะได้รับบริการด้านสุขภาพ ตามที่ได้ บัญญัติไว้
ในรัฐธรรมนูญ
|
ผู้ป่วยมีสิทธิ์ที่จะได้รับบริการจากผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพ โดยไม่มีการ
เลือกปฎิบัติเนื่องจากความแตกต่างด้านฐานะ เชื้อชาติ สัญชาติ ศาสนา สังคม
ลัทธิการเมือง เพศ อายุ และลักษณะของความเจ็บป่วย
|
ผู้ป่วยที่ขอรับบริการด้านสุขภาพ มีสิทธิที่จะได้รับทราบข้อมูลอย่าง เพียงพอ
และเข้าใจชัดเจนจากผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพ เพื่อให้ผู้ป่วย สามารถเลือก
ตัดสินใจในการยินยอมหรือไม่ยินยอมให้ผู้ประกอบวิชาชีพ ด้านสุขภาพ
ปฎิบัติต่อตนเว้นแต่เป็นการช่วยเหลือรีบด่วนหรือจำเป็น
|
ผู้ป่วยที่อยู่ในภาวะเสี่ยงอันตรายถึงชีวิต มีสิทธิที่จะได้รับการช่วยเหลือ รีบด่วน
จากผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพโดยทันทีตามความจำเป็น แก่กรณี
โดยไม่คำนึงว่าผู้ป่วยจะร้องขอความช่วยเหลือหรือไม่
|
ผู้ป่วยมีสิทธิที่จะทราบชื่อ สกุล และประเภทของผู้ประกอบวิชาชีพ ด้านสุขภาพ
ที่เป็นผู้ให้บริการแก่ตน
|
ผู้ป่วยมีสิทธิที่จะขอความเห็นจาก ผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพอื่น ที่มิได้เป็น
ผู้ให้บริการแก่ตน และมีสิทธิในการขอเปลี่ยนผู้ให้บริการ และ สถานบริการได้
|
ผู้ป่วยมีสิทธิที่จะได้รับการปกปิดข้อมูลเกี่ยวกับตนเองจากผู้ประกอบวิชาชีพ
ด้านสุขภาพโดยเคร่งครัดเว้นแต่จะได้รับความยินยอมจากผู้ป่วยหรือ การปฎิบัติ
หน้าที่ตามกฏหมาย
|
ผู้ป่วยมีสิทธิที่จะได้รับทราบข้อมูลอย่างครบถ้วนในการตัดสินใจ เข้าร่วม หรือถอนตัว
จากการเป้นผู้ถูกทดลองในการทำวิจัยของ ผู้ประกอบ วิชาชีพด้านสุขภาพ
|
ผู้ป่วยมีสิทธิที่จะได้รับทราบเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลเฉพาะของตน ที่ปรากฏใน
เวชระเบียนเมื่อร้องขอทั้งนี้ข้อมูลดังกล่าวต้องไม่เป็น การละเมิด สิทธิส่วนตัว
ของบุคคลอื่น
|
บิดา หรือมารดา หรือผู้แทนโดยชอบธรรม อาจใช้สิทธิแทนผู้ป่วย ที่เป็น เด็กอายุ
ยังไม่เกินสิบแปดปีบริบูรณ์ ผู้บกพร่องทางกายหรือจิตซึ่ง ไม่สามารถ ใช้สิทธิด้วยตนเองได้
|