มาที่นี่ที่เดียว ได้อ่านบทความทางด้านการแพทย์ ภาษาไทย จากเกือบทุกโฮมเพจที่มีใน INTERNET
http://geocities.datacellar.net/Tokyo/Harbor/2093/

คำอธิบาย "ประกาศสิทธิผู้ป่วย"

คำนำ

คำว่า สิทธิ หมายถึง ความชอบธรรมที่บุคคล ใช้ยันกับผู้อื่น เพื่อคุ้มครอง หรือรักษา ผลประโยชน์ อันเป็นส่วนพึงมีพึงได้ ของบุคคลนั้น สิทธิผู้ป่วย จึงหมายถึง ความชอบธรรม ที่ผู้ป่วย ซึ่งรวมถึง ผู้ที่ไปรับบริการ ด้านสุขภาพ สาขาต่างๆ จะพึงจะได้รับ เพื่อคุ้มครอง หรือรักษา ผลประโยชน์ อันพึงมีพึงได้ของตนเอง โดยไม่ละเมิด สิทธิของผู้อื่น แม้ว่า ที่ผ่านมา ความสัมพันธ์ระหว่าง และผู้ใช้บริการด้านสุขภาพสาขาต่างๆ ตั้งอยู่บนพื้นฐาน ของความ เกื้อกูลน้ำใจ และไว้วางใจ ซึ่งกันและกัน แต่ความสลีบซับซ้อน ทางสังคม และกระแสของวัฒนธรรม ทางธุรกิจ ได้เพิ่มขยายความขัดแย้ง ทางจริยธรรมมากขึ้น ทำให้ต้องมีบทบัญญัติ ทั้งในกฏหมายอาญา กฏหมายแพ่ง กฏหมายคุ้มครองผู้บริโภค และข้อบังคับทางจริยธรรม แห่งวิชาชีพ สาขาต่างๆ เพื่อจัดระเบียบ การปฏิสัมพันธ์ ระหว่างผู้ป่วย และผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม และผู้ให้ บริการ ด้านสุขภาพต่างๆ ให้เข้าใจชัดเจนยิ่งขึ้น

ในหลายประเทศ มีการประกาศสิทธิของผู้ป่วย หรือกฏบัติผู้ป่วยขึ้น เพื่อรับรองให้เกิด ความชัดเจน ในการปฎิบัติ สำหรับประเทศไทย องค์กร สภาวิชาชีพด้านสุขภาพ ได้เล็งเห็นประโยชน์ ที่จะรวบรวม สิทธิ พื้นฐาน ของผู้ป่วย ตลอดจน ธรรมเนียมปฎิบัติ ที่สอดคล้องกับวิถีไทย จัดทำ เป็นประกาศ เพื่อให้รู้ทั่วกัน ทั้งประชาชน ทั้งแพทย์ พยาบาล ทันตแพทย์ เภสัชกร และผู้ประกอบโรคศิลปะ สาขาต่างๆ โดยมุ่งหวังที่ จะก่อให้เกิด ความเข้าใจอันดี ลดความขัดแย้ง และนำไปสู่ ความไว้วางใจ ซึ่งเป้นพื้นฐาน ที่นำไปสู่ การรักษาพยาบาลที่ดี

1 ผู้ป่วยทุกคนมีสิทธิพื้นฐาน ที่จะได้รับบริการ ด้านสุขภาพ ตามที่บัญญัติไว้ ในรัฐธรรมนูญ
คำอธิบาย รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 มีมาตรา สำคัญ ที่เกี่ยวข้องกับ สุขภาพคนไทยโดยตรง อยู่สองมาตรา

หมวด3 ว่าด้วยสิทธิและเสรีภาพของบุคคล

"มาตรา 52 บุคคลย่อมมีสิทธิเสมอกันในการรับบริการ ทางสาธารณสุข ที่ได้มาตรฐาน และผู้ยากไร้ มีสิทธิ ได้รับการ รักษาพยาบาล จากสถานบริการ สาธารณสุขของรัฐ โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย ทั้งนี้ตามที่กฏหมายบัญญัติ

การบริการทางสาธารณสุขของรัฐ ต้องเป้นไปอย่างทั่วถึง และมีประสิทธิภาพ โดยจะต้อง ส่งเสริมให้องค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่น และเอกชน มีส่วนร่วมด้วย เท่าที่จะกระทำได้

การป้องกันและขจัดโรคติดต่ออันตราย รัฐต้องจัดให้แก่ประชาชน โดยไม่คิดมูลค่า และทันต่อเหตุการณ์ ทั้งนี้ตามที่กฏหมายบัญญัติ"

หมวด 5 แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ

" มาตรา 82 รัฐต้องจัด และส่งเสริมการสาธารณสุข ให้ประชาชน ได้รับบริการ ที่ได้มาตรฐาน มีประสิทธิภาพอย่างทั่วถึง "

จะเห็นได้ว่าในกฏหมายรัฐธรรมนูญ กำหนดให้รัฐ บัญญัติกฏหมาย เพื่อคุ้มครอง ประชาชนทุกคน ในด้านการป้องกัน และขจัดโรคติดต่อ อันตราย และจัดให้มี สถานบริการสาธารณสุขภาครัฐ ให้การบริการ โดยไม่คิดมูลค่า แก่ผู้ยากไร้เท่านั้น สำหรับผู้มีฐานะทางเศรษฐกิจ ที่สามารถดูแล ช่วยเหลือ ตนเองได้ ก็จะต้อง มีส่วนร่วม ในการรับผิดชอบ ในภาระค่าใช้จ่าย ในด้านการดูแล สุขภาพของตนเอง โดยอาจเลือกใช้บริการได้ ทั้งในภาครัฐและเอกชน ตามแต่ ความสามารถทางการเงิน และความต้องการของตนเอง

2 ผู้ป่วยมีสิทธิที่จะได้รับการบริการ จากผุ้ประกอบวิชาชีพ ด้านสุขภาพ โดยไม่มีการเลือกปฏิบัติ เนื่องจากความแตกต่าง ด้านฐานะ เชื้อชาติ สัญชาติ ศาสนา ลัทธิการเมือง เพศ อายุ และลักษณะของความเจ็บป่วย
คำอธิบาย หลักกการของข้อนี้ เป็นหลักการที่แพทย์ทั่วโลกยอมรับ และถือปฎิบัติ แพทยสมาคมโลกได้ประชุม และร่วมใช้ ในปฎิญญาแห่งกรุงเจนีวา ( Declaration of Geneva ) ไว้ตั้งแต่ปี คซศซ1948 ซึ่งข้อบังคับแพทยสภา ว่าด้วยการรักษาจริยธรรมแห่งวิชาชีพเวชกรรม พซศซ2526 หมวด 1 ข้อ 3 ระบุว่า

" ข้อ 3 ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมย่อมประกอบวิชาชีพด้วยเจตนาดี โดยไม่คำนึงถึง ฐานะ เชื้อชาติ สัญชาติ ศาสนา สังคม และลัทธิการเมือง "

และในหมวด 3 ข้อ 1 ระบุว่า

" ข้อ 1 ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมต้องรักษามาตรฐาน ของการประกอบวิชาชีพ เวชกรรม ในระดับที่ดีที่สุด "

ในกฏหมายรัฐธรรมนูญ ระบุไว้ในมาตรา 30 ว่า

" มาตรา 30 บุคคลย่อมเสมอกันในกฏหมาย และได้รับความคุ้มครอง ตามกฏหมายเท่าเทียมกัน ชายและหญิงมีสิทธิเท่าเทียมกัน

การเลือกปฎิบัติโดยไม่เป็นธรรม ต่อบุคคล เพราะเหตุ แห่งความ แตกต่าง ในเรื่องถิ่นกำเนิด เชื้อชาติ ภาษา เพศ อายุ สภาพทางกาย หรือสุขภาพ สถานะของบุคคล ฐานะทางเศรษฐกิจ หรือสังคม ความเชื่อทางศาสนา การศึกษาอบรม หรือความคิดเห็น ทางการเมือง อันไม่ขัดต่อบทบัญญัติ แห่งรัฐธรรมนูญ จะกระทำไม่ได้ "

ดังนั้น ผู้ป่วยทุกคน มีสิทธิที่จะได้รับบริการสุขภาพใน มาตรฐานที่ดีที่สุด ตามฐานานุรูป โดยไม่มีการ เลือกปฏิบัติ ทั้งนี้มิได้หมายรวมถึง สิทธิอื่นๆ ที่อยู่นอกเหนือบทบัญญัติ ของกฏหมาย เช่น การไม่ต้อง ชำระค่ารักษาพยาบาล การพักในห้องพิเศษต่างๆ และบริการพิเศษอื่นๆ เป็นต้น

3 ผู้ป่วยที่ขอรับบริการด้านสุขภาพ มีสิทธิที่จะได้รับทราบ ข้อมูล อย่างเพียงพอ และชัดเจน จากผู้ประกอบวิชาชีพ ด้านสุขภาพ เพื่อให้ผู้ป่วย สามารถเลือกตัดสินใจ ในการยินยอม หรือไม่ยินยอม ให้ผู้ประกอบวิชาชีพ ด้านสุขภาพ ปฎิบัติต่อตน เว้นแต่เป้นการช่วยเหลือรีบด่วน หรือจำเป็น
คำอธิบาย สิทธิที่จะรับรู้ข้อมูลข่าวสาร และตัดสินใจ ในการทำการบำบัด รักษาโรคภัย ที่เกิดขึ้น นับเป็นสิทธิ พื้นฐานของผู้ป่วย ผู้ประกอบวิชาชีพ ด้านสุขภาพ มีหน้าที่ ต้องอธิบาย ให้ผู้ป่วยทราบถึง อาการ การดำเนินโรค วิธีการรักษา ความยินยอมของผู้ป่วยนั้น จึงจะมีผลตามกฏหมาย ซึ่งเรียกว่า ความยินยอมที่ได้รับการบอกกล่าว ( Informed consent) ยกเว้นการช่วยเหลือ ในกรณีรีบด่วน ฉุกเฉิน ซึ่งจำเป็นต้อง กระทำ เพื่อช่วยชีวิตผู้ป่วย ตามข้อ 4
4 ผู้ป่วยที่อยู่ในภาวะฉุกเฉินเสี่ยงอันตรายถึงชีวิต มีสิทธิที่จะได้รับ ความช่วยเหลือรีบด่วน จากผู้ประกอบวิชาชีพ ด้านสุขภาพ โดยทันที ตามความจำเป็นแก่กรณี โดยไม่คำนึงว่า ผู้ป่วยจะร้องขอความช่วยเหลือหรือไม่
คำอธิบาย การช่วยเหลือผู้ป่วย ที่อยู่ในภาวะเสี่ยงอันตรายถึงชีวิต ถือเป็น จริยธรรม แห่งวิชาชีพ ชั้นพื้นฐาน ซึ่ง ผู้ประกอบวิชาชีพ ด้านสุขภาพ จะต้องรีบ ดำเนินการ โดยทันที เมื่อตนอยู่ในฐานะ ที่จะให้ความช่วยเหลือได้

การช่วยเหลือในลักษณะเช่นนี้ เป็นความจำเป็นในการช่วยชีวิต แม้ว่า จะไม่ได้รับ การร้องขอจากผู้ป่วย ซึ่งบ่อยครั้ง ที่ไม่อยู่ในสภาพมีสติพอ ที่จะร้องขอได้ ถือว่าเป็นการกระทำโดยความจำเป็น ไม่มีความผิด การปฎิเสธ ไม่ให้ความช่วยเหลือ นับว่าเป็นการละเมิด ข้อบังคับ แพทยสภา ว่าด้วย การรักษาจริยธรรม แห่งวิชาชีพเวชกรรม พ.ศ. 2526 หมวด3 ข้อ 10 และอาจผิดกฎหมายอาญา มาตรา 374 ด้วย

5 ผู้ป่วยมีสิทธิที่จะทราบชื่อ สกุล และประเภทของผู้ประกอบวิชาชีพ ด้านสุขภาพ ที่เป็นผู้ให้บริการแก่ตน
คำอธิบาย ในสถานพยาบาลต่างๆ จะมีผู้ประกอบวิชาชีพ ด้านสุขภาพต่างๆ หลายสาขา ปฎิบัติงานร่วมกัน ในการช่วยเหลือผู้ป่วย ร่วมกับบุคคลากรผู้ช่วยต่างๆ หลายประเภท ซึ่งบ่อยครั้ง ก่อให้เกิดความไม่แน่ใจ และความไม่เข้าใจ แก่ผู้ป่วย และประชาชนทั่วไป ดังนั้น การกำหนดให้ผู้ป่วย มีสิทธิ์ที่ จะสอบถามชื่อ และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ประเภทของ ผู้ประกอบวิชาชีพ ที่ให้บริการแก่ตน จึงช่วยผู้ป่วย ในฐานะผู้บริโภค กล้าที่จะสอบถามข้อมูล ที่จะช่วยให้เกิด ความเข้าใจ และสามารถตัดสินใจ เพื่อคุ้มครองความปลอดภัย ของตนเอง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง จากผู้ให้บริการ ซึ่งไม่มีคุณภาพเพียงพอ
6 ผู้ป่วยมีสิทธิที่จะขอความเห็นจาก ผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพอื่น ที่มิได้เป็น ผู้ให้บริการแก่ตน และมีสิทธิในการ ขอเปลี่ยนผู้ให้บริการ และ สถานบริการได้
คำอธิบาย สิทะที่จะได้รับ ความปลอดภัย ( The Right to Safety ) สิทธิที่จะได้รับข่าวสาร ( The Right to be Informed ) สิทธิที่จะเลือก ( The Right to Choose ) นับเป็นสิทธิ ที่สำคัญ ของผู้บริโภคสินค้าใดๆ ซึ่งรวมทั้ง สินค้าสุขภาพ ในวัฒนธรรมปัจจุบัน ผู้ป่วยยังมีความเกรงใจ และไม่ตระหนัก ถึงสิทธินี้ ทำให้เกิดความไม่เข้าใจ และความขัดแย้ง ในขณะเดียวกัน ผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพ จำนวนมาก ก็ยังมีความรู้สึก ไม่พอใจ เมื่อผู้ป่วยขอความเห็น จากผู้ให้บริการสุขภาพผู้อื่น หรือไม่ให้ความร่วมมือ ในการที่ผู้ป่วย จะเปลี่ยน ผู้ให้บริการ หรือสถานบริการ
การกำหนดสิทธิผู้ป่วย ในประเด็นนี้ ให้ชัดแจ้ง จึงมีประโยชน์ ที่จะลดความขัดแย้ง และเป็นการ รับรองสิทธิผู้ป่วย ที่จะเลือกตัดสินใจด้วยตนเอง
7 ผู้ป่วยมีสิทธิที่จะได้รับการปกปิดข้อมูล เกี่ยวกับตนเอง จากผู้ประกอบวิชาชีพ ด้านสุขภาพ โดยเคร่งครัดเว้นแต่ จะได้รับความยินยอมจากผู้ป่วยหรือ การปฎิบัติ หน้าที่ตามกฏหมาย
คำอธิบาย สิทธิส่วนบุคคล ที่จะได้รับการปกปิด ข้อมูลเกี่ยวกับ การเจ็บป่วยนี้ ถือเป็นสิทธิผู้ป่วย ที่ได้รับการรับรอง มาตั้งแต่ คำสาบาน ของ Hippocratis และประเทศต่างๆ ก็ได้รับรองสิทธินี้ ในกฏหมายอาญา ดังเช่นที่ปรากฏ ในมาตรา 323 แห่งประมวลกฏหมายอาญาของไทย นอกจากนี้ ยังระบุ ในพระราชบัญญัติ ข้อมูลข่าวสาร พ.ศ. 2540 ข้อบังคับแพทยสภา ว่าด้วยการ รักษาจริยธรรม แห่งวิชาชีพเวชกรรม พ.ศ. 2526 หมวด 3 ข้อ 9 ซึ่งถือได้ว่า สังคมได้ให้ความสำคัญ กับสิทธิผู้ป่วย ในข้อนี้มาก เพราะถือว่าเป็นรากฐาน ที่ผู้ป่วย ให้ความไว้วางใจ ต่อพทย์ เพื่อประโยชน์ ในการรักษา พยาบาลตนเอง

อย่างไรก็ตาม ก้มีข้อยกเว้น ในกรณีที่มีเหตุผล และความจำเป็น ที่เหนือกว่า เช่น การปฏิบัติหน้าที่ ตามกฏหมาย หรือการคุ้มครอง ประโยชน์สาธารณะ เพื่อความสงบเรียบร้อย และความมั่นคง ของประชาชน หรือในกรณีที่ คุ้มครองอันตรายร้ายแรง ของบุคคลอื่น การเปิดเผยข้อมูลต่อศาล การแจ้งข้อมูลต่อ บุคคลที่สาม เพื่อคุ้มครองอันตรายร้ายแรง ของบุคคลอื่น เป็นต้น
8 ผู้ป่วยมีสิทธิที่จะได้รับทราบข้อมูลอย่างครบถ้วนในการตัดสินใจ เข้าร่วม หรือถอนตัว จากการเป็นผู้ถูกทดลองในการทำวิจัยของ ผู้ประกอบ วิชาชีพด้านสุขภาพ
คำอธิบาย ในปัจจุบัน ความจำเป็นในการทดลอง ในมนุษย์ เพื่อความก้าวหน้า ทางการแพทย์ มีมากยิ่งขึ้น ประเทศไทย ยังไม่มี บทบัญญัติ ในกฏหมาย เกี่ยวกับการทดลองในมนุษย์ โดยเฉพาะ ข้อบังคับแพทยสภา ว่าด้วยการรักษา จริยธรรม แห่งวิชาชีพเวชกรรม พ.ศ. 2526 หมวด 1 ข้อ 6 ระบุว่า

"ข้อ 6 ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม ผู้ทำการทดลองในมนุษย์ ต้องได้รับความยินยอม จากผู้ถูกทดลอง และต้องพร้อม ที่จะป้องกัน ผู้ถูกทดลอง จากอันตราย ที่อาจเกิดขึ้น จากการทดลองนั้นๆ"

การรับรองสิทธิผู้ป่วยด้านนี้ เป็นการขยายความ ข้อบังคับแพทยสภา ฯ ให้ชัดเจนขึ้น เพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติ ว่า ความยินยอม จะต้องเป็นความยินยอม ภายหลังจากที่ได้รับ ทราบข้อมูลต่างๆ อย่างครบถ้วนแล้ว ( Informed Consent ) เช่นเดียวกับความยินยอม ในการรับการรักษาพยาบาล และแม้ว่า จะตัดสินใจ ยินยอมแล้ว ก็มีสิทธิที่จะ เลิกได้ เพื่อคุ้มครอง ผู้ถูกทดลอง ให้ได้รับความปลอดภัย
9 ผู้ป่วยมีสิทธิที่จะได้รับทราบเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลเฉพาะของตน ที่ปรากฏใน เวชระเบียนเมื่อร้องขอ ทั้งนี้ข้อมูลดังกล่าวต้องไม่เป็น การละเมิด สิทธิส่วนตัว ของบุคคลอื่น
คำอธิบาย การที่แพทย์ บันทึกประวัติ การเจ็บป่วย ของการรักษาต่างๆ ของผู้ป่วย ในเวชระเบียน อย่างละเอียด นับเป็นเครื่องมือที่สำคัญ ในการรักษาพยาบาลผู้ป่วย อย่างต่อเนื่อง และมีคุณภาพ นับเป็นมารตฐาน ของการประกอบ เวชกรรมสากล อย่างไรก็ตาม ข้อมูลที่ปรากฏ ในเวชระเบียนนั้น เป็นข้อมูลส่วนบุคคล ซึ่งเจ้าของประวัติ มีสิทธิ ที่จะได้รับทราบ ข้อมูลนั้นได้ ซึ่งสิทธินี้ ได้รับการรับรอง ตามพระราชบัญญัติ ข้อมูลข่าวสาร พ.ศ. 2540 อย่างไรก็ตาม เนื่องจากข้อมูลในเวชระเบียน อาจมีบางส่วนซึ่ง เป็นการแสดงความเห็นของแพทย์ ในการรักษาพยาบาล และอาจกระทลต่อบุคคลอื่นได้ ดังนั้นการเปิดเผยข้อมูล ให้ผู้ป่วยทราบ จะต้องไม่เป็นการละเมิด สิทธิส่วนตัวของบุคคลอื่น ทั้งนี้ รวมถึงกรณี ผู้ป่วยยินยอมให้เปิดเผย ข้อมูลของตน ต่อบุคคลที่สาม เช่น ในกรรณีที่มีการประกันชีวิต หรือสุขภาพ
10 บิดา หรือมารดา หรือผู้แทนโดยชอบธรรม อาจใช้สิทธิแทนผู้ป่วย ที่เป็น เด็กอายุ ยังไม่เกินสิบแปดปีบริบูรณ์ ผู้บกพร่องทางกาย หรือจิตซึ่ง ไม่สามารถ ใช้สิทธิด้วยตนเองได้
คำอธิบาย การกำหนดให้ บิดา มารดา ใช้สิทธิแทน ผู้ป่วย ที่เป็นเด็ก อายุยังไม่เกิน 18 ปี เนื่องจากใน อนุสัญญา ว่าด้วย สิทธิเด็กกำหนดไว้ว่า เด็กหมายถึง มนุษย์ทุกคน ที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี เว้นแต่ จะบรรลุนิติภาวะ ก่อนหน้านั้น ตามกฏหมายที่ใช้บังคับแก่เด็กนั้น ดังนั้นจึงได้กำหนดไว้ ให้บิดา มารดา หรือผู้แทนโดยชอบธรรม อาจใช้สิทธิ แทนผู้ป่วยเด็ก ที่อายุไม่เกิน สิบแปดปี บริบูรณ์

สำหรับผู้บกพร่องทางกาย หรือทางจิตนั้น ต้องถึงขนาด ไม่สามารถเข้าใจ หรือตัดสินใจ ได้ด้วยตนเอง เช่นผู้ป่วย ที่อยู่ในภาวะพืช ( Persistent Vegetative State ) วิกลจริต หรือมีจิตฟั่นเฟือน ไม่สมประกอบ ผู้แทนโดยชอบธรรม ที่เป็นผู้ดูแลผู้ป่วย หรือมีอำนาจปกครองผู้ป่วย เช่น บิดา มารดา กรณีผู้ป่วยไม่มีบิดา มารดา ผู้ดูแลหรือผู้ปกครอง อาจเป็นญาติ พี่ น้อง ย่อมสามารถใช้สิทธิต่างๆ แทนผู้ป่วยได้

[BACK TO LISTS]

main พบแพทย์ คอมพิวเตอร์ เรื่องบ้าน เรื่องรถ เรื่องกฏหมาย เรื่องของผู้บริโภค เรื่องเบาๆ คลายเครียด

มีปัญหาสุขภาพ ที่นี่มีคำตอบ ห้องสมุดE-LIB[ hey.to/yimyam ][ i.am/thaidoc ]

Best view with [IE3.02][NETSCAPE 4.05][OPERA 3.21]resolution 800x600
1