มาที่นี่ที่เดียว ได้อ่านบทความทางด้านการแพทย์ ภาษาไทย จากเกือบทุกโฮมเพจที่มีใน INTERNET
http://geocities.datacellar.net/Tokyo/Harbor/2093/

[ คัดลอก จากนิตยสารแม่และเด็ก ปีที่ 21 ฉบับที่ 316 มิถุนายน 2541 ]

ยาลดไข้กับลูกรัก

เภสัชกรหญิง อุบลรัตน์ ประดิษฐ์กุล


คุณพ่อคุณแม่คงทราบกันดีอยู่แล้วว่าเด็กเล็ก ๆ นั้นมักมีอาการเจ็บป่วยเกิดขึ้นได้ อย่างง่ายดาย เพียงแค่อากาศเปลี่ยนแปลงเล็กน้อยก็อาจมีผลทำให้ลูกรักเป็นหวัด หรือเป็นไข้ได้ "ยาลดไข้" จึงเป็นยาที่คุณพ่อคุณแม่รู้จักและคุ้นเคยกันดี โดยเฉพาะยาลดไข้ "พาราเซตามอล" ตัวยานี้ถึงแม้ว่าจะจัดเป็นยาที่ค่อนข้างใช้ได้ผลดี และปลอดภัย แต่การนำไปใช้กับเด็ก ก็ควรต้องใช้อย่างระมัดระวังด้วย สิ่งที่จะขอแนะนำให้คุณพ่อคุณแม่ทราบเพิ่มเติม เกี่ยวกับการใช้ยาลดไข้กับลูกรักมีดังนี้

1. รูปแบบ
รูปแบบที่แตกต่างกันของยา ย่อมเป็นข้อบ่งชี้ถึงความเหมาะสมสำหรับการใช้ยาในเด็ก แต่ละวัย และสภาพของการเจ็บป่วยของเด็ก เช่น ยาขี้ผึ้งเหน็บก้น จะเหมาะกับเด็ก ที่กินยายาก หรือกินยาไม่ได้โดยยาชนิดนี้จะต้องใช้วิธีสอดหรือเหน็บเข้าก้น ในเวลาที่เด็กนอน ส่วนยาเม็ดจะเหมาะกับเด็กอายุตั้งแต่ 4 ขวบขึ้นไป และไม่เหมาะกับเด็กเล็ก เพราะจะทำให้ติดคอได้

2. ปริมาณของตัวยา
เช่น ยาน้ำเชื่อมแบบหยด จะมีปริมาณของตัวยามากกว่ายาน้ำเชื่อมทั่วไปที่ใช้ช้อนป้อน โดยในปริมาณช้อนชา (5 ซีซี) ที่เท่ากัน ยาน้ำเชื่อมแบบหยด จะมีปริมาณของตัวยามากกว่า ประมาณ 4-5 เท่า ฉะนั้นสิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ควรจำไว้ได้แก่


3. ส่วนผสม
ยาน้ำเชื่อมทั่วไปรวมทั้งยาน้ำเชื่อมแบบหยดจะเป็นยาที่มีน้ำตาลเป็นส่วนผสมในปริมาณสูง เพื่อช่วยในการกลบรสขมของยา จึงอาจมีผลทำให้เด็กฟันผุได้ง่าย ในปัจจุบันจึงได้มีการ ผลิตยาน้ำชนิดแขวนตะกอนขึ้น โดยใช้ ฟรุคโตส คอร์น ไซรัป (Fructose corn syrup) และพัฒนาการผลิตจนสามารถกลบรสขมของยาได้ดีกว่าจึงช่วยให้เด็กรับประทานยาได้ง่ายขึ้น ช่วยลดความวุ่นวายความโกลาหลในการป้อนยา และสิ่งที่ควรระลึกถึงอีกประการหนึ่งก็คือ
ยาลดไข้ที่ปลอดภัยสำหรับเด็ก ไม่ควรมีส่วนผสมของแอลกอฮอล์

อย่างไรก็ตาม คุณพ่อคุณแม่ต้องไม่ลืมด้วยว่า การลดไข้ในเด็กนั้นจะได้ผลหรือไม่นั้น ก็ขึ้นอยู่กับ การใช้ยาอย่างถูกต้องและควรให้ตามขนาดความเหมาะสม ที่แพทย์เห็นสมควร ซึ่งโดยทั่วไป จะให้ยา เมื่อเด็กมีไข้และสามารถให้ยาซ้ำได้ทุก 4-6 ชั่วโมง นอกจากนี้คุณพ่อคุณแม่จะต้อง เช็ดตัวให้ลูกควบคู่กันไปด้วยเพื่อช่วยลดอุณหภูมิ ของร่างกายและป้องกันการชักให้กับลูกน้อย ซึ่งอาจเกิดขึ้นได้เสมอในเวลาที่เด็ก มีไข้สูงมาก ๆ

หากให้ยาและเช็ดตัวให้แล้วอาการไข้ของลูกยังไม่ลดลง คุณพ่อคุณแม่ไม่ควรให้ยาเกิน 5 ครั้งต่อ 1 วัน หรือให้ทำซ้ำอยู่เช่นนั้นเพื่อหวังให้ไข้ลดลง เพราะอาจเป็นอันตรายต่อตับ และไตจนทำให้เด็กเสียชีวิตได้ ในกรณีเช่นนี้คุณพ่อคุณแม่ควรพาลูกไปพบแพทย์ โดยด่วน และหากมีปัญหาเกี่ยวกับการใช้ยาลดไข้ควรจะปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรทุกครั้ง

เภสัชกรหญิง อุบลรัตน์ ประดิษฐ์กุล


[ BACK TO โรคเด็ก]  [ BACK TO เรื่องยา]
main พบแพทย์ คอมพิวเตอร์ เรื่องบ้าน เรื่องรถ เรื่องกฏหมาย เรื่องของผู้บริโภค เรื่องเบาๆ คลายเครียด

มีปัญหาสุขภาพ ที่นี่มีคำตอบ ห้องสมุดE-LIB[ hey.to/yimyam ][ i.am/thaidoc ]

Best view with [IE3.02][NETSCAPE 4.05][OPERA 3.21]resolution 800x600
1