หมอ 5024 ใกล้หมอ
อาการที่คนเป็นโรคข้ออักเสบกลัวที่สุดเห็นจะเป็นอาการปวด ดังนั้นวงการแพทย์จึงต้องหาทางบำบัดอาการนี้ให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ แต่บรรดายาบรรเทาปวดทั้งหลายก็ใช่ว่าจะใช้การได้กับโรคข้ออักเสบทุกตัว เหตุเพราะว่าพื้นฐานของสาเหตุการปวดกับการออกฤทธิ์ของยาอาจจะไม่ตรงกัน |
เรามาทำความเข้าใจถึงชีววิทยาหรือกลไกที่ทำให้โรคข้ออักเสบก่ออาการปวดเสียก่อน
ในคนที่เป็นโรคข้ออักเสบจะมีสารเคมีสำคัญ 2 ตัวที่ก่อให้เกิดอาการในระยะยาว คือ
1. สารพรอสตาแกล็นดินส์ (PROSTAGLANDINS)
2. สารลูโคไทรน์ (LEUKOTRIENES)
ทั้งสองสารนี้มีคุณสมบัติในการก่อปฏิกริยาอักเสบ
สารลูโคไทรน์ | สารพรอสตาแกล็นดินส์ |
---|---|
1. ทำให้เกิดอาการเรื้อรัง และกำเริบด้วยกระบวนการการอักเสบ | 1. ทำให้เกิดอาการอักเสบเฉียบพลัน และปวด |
2. ไม่สกัดกั้นได้ด้วยยาเอ็นเสด | 2. สกัดกั้นได้ด้วยยาเอ็นเสด (NSAID) |
3. สกัดกั้นได้ด้วยาไซโนซิน (ZINAXIN) | 3. สกัดกั้นได้ด้วยยาไซโนซิน (ZINAXIN) |
ในขนาดยาปกติไซโนซิน จะสามารถยับยั้งการสังเคราะห์พรอสตาแกล็นดินส์ได้ 45-60% ซึ่งก็เป็นการเพียงพอ ในการระงับอาการปวด
ในขณะที่ยากลุ่มเอ็นเสด (NSAID) เช่น ไอบูโปรเฟน (IBUPROFEN) แม้จะยับยั้ง สารดังกล่าวได้ถึง 80-95% ได้ก็จริง แต่จะก่อให้เกิดฤทธิ์ข้างเคียง อันไม่พึงประสงค์ เช่นกัดกระเพาะอาหาร
ส่วนสารลูโคไทรน์นั้น ยาไซโนซิน สามารถยับยั้งได้สูงมาก เกือบ 100% ในขนาดปกติ ในขณะที่ยาไอบูโปรเฟน ขนาดปกติจะยับยั้งไม่ได้ถึง 20%
งานวิจัยยังบ่งชี้ว่าไซโนซินสามารถชะลอการเกิดแผลในกระเพาะอาหาร ที่ยาเอ็นเสด ชอบก่อเรื่องให้ ดังนั้นไซโนซินจึงไม่มีผลเสริมในการสร้างความระคายเคือง หรือแผลในกระเพาะอาหาร ระหว่างการทดลองใช้ทางคลินิก
main |