ภ.ญ.ยุวดี หงส์รัตนาวรกิจ
โรคหืด เป็นโรคของระบบทางเดินหายใจที่มีการอักเสบของหลอดลมอย่างเรื้อรัง เกิดจากเยื่อหุ้มผนังหลอดลมมีการตอบสนองต่อสิ่งกระตุ้นหรือสารที่ทำให้แพ้ อย่างมากมายเกินกว่าคนปกติจะตอบสนองเป็นเหตุให้ผู้ป่วยเกิดอาการไอ หอบ
แน่นหน้าอก หายใจเป็นเสียงหวีดซึ่งอาจจะหายได้เองหรือเมื่อได้รับยา
โรคนี้เกิดขึ้นได้กับทุกเพศ ทุกวัย บางคนไม่มีอาการแสดงตั้งแต่เด็ก หนุ่ม สาว แต่มาเป็นเมื่ออายุมากแล้ว พบโรคนี้ในประเทศไทยได้ประมาณ 4-13% ของประชากร สำหรับประวัติของผู้ป่วยมักจะเริ่มจากการไอ แน่นหน้าอก หอบ หายใจ แล้วรู้สึกเหนื่อย ๆ อาการจะเกิดขึ้นได้ทันทีเมื่อมีสิ่งมากระตุ้น ซึ่งอาจจะเป็นฝุ่นละออง ขนสัตว์ อุณหภูมิที่เย็นจัดเกินไป ควันพิษ การติดเชื้อไวรัส ความเครียด หรือมลพิษอื่น ๆ และส่วนใหญ่ของผู้ป่วยมักจะมีประวัติของคนในครอบครัวที่เป็นหืดหอบหรือมีอาการ
คัดจมูก ไอหรือจามแบบเรื้อรังหรือมีอาการคันตามผิวหนัง แพ้ง่าย บางคนจะเป็น โรคเยื่อบุตาอักเสบบ่อย ๆ พวกที่มีอาการเหล่านี้มักจะมีโอกาสเป็นหืดมากกว่าคนอื่น ๆ
เป็นที่สังเกตว่าผู้ที่เป็นโรคหืด เมื่อไม่ได้รับการรักษาหรือควบคุมอาการ อาจเป็นเพราะ ไม่รู้ตัวว่าเป็นโรคหรือสาเหตุใด ๆ ก็ตาม มักจะเกิดอาการหอบหืดในเวลากลางคืน เมื่อปล่อยเอาไว้ก็จะเป็นมากขึ้นเรื่อย ๆ แต่ในการตรวจร่างกายในสภาพปกติที่ไม่มีอาการ มักจะไม่พบสิ่งผิดปกติ แต่ถ้าตรวจขณะมีอาการหอบหืด จะพบว่ามีอัตราการหายใจเร็ว และถี่ขึ้นมีเสียงหวีดออกมาจากปอด แพทย์บางท่านอาจจะใช้วิธีการตรวจทางห้อง ปฏิบัติการโดยการวัดการอุดกั้นของทางเดินหายใจด้วยเครื่องสไปโรมิเตอร์ เพื่อวัดสมรรถภาพการทำงานของปอดก่อนแล้วทดลองให้ยาขยายหลอดลม แล้ววัดสมรรถภาพของปอดซ้ำ อีกครั้งหลังให้ยา การตรวจเช่นนี้นอกจากจะยืนยัน การวินิจฉัยโรคของแพทย์แล้วยังช่วยบอกระดับความรุนแรงของโรคด้วย
เป็นที่ทราบกันดีว่าโรคหอบหืดเป็นแล้วรักษาให้หายขาดนั้นยาก ดังนั้นเป้าหมายในการ รักษาผู้ป่วยโรคนี้คือ การควบคุมอาการของโรคให้สงบลง ป้องกันไม่ให้โรคกำเริบ ทำให้สามารถดำรงชีวิตอย่างเป็นปกติสุข จนกระทั่งสามารถเพิ่มสมรรถภาพ การทำงานของปอดให้ทัดเทียมกับคนปกติมากที่สุดเท่าที่จะทำได้
ก่อนที่ท่านผู้อ่านจะมารู้จักกับการดูแลผู้ป่วยที่ถูกวิธีตลอดจนการใช้ยารักษา จะขอแนะนำให้ท่านรู้จักกับธรรมชาติ และความเป็นไปของโรคหืดเสียก่อน คือแบ่งขั้นความรุนแรงของโรคได้เป็น 4 ขั้นได้แก่
|
ขั้นที่ 1 ให้ยารับประทานเมื่อมีอาการและให้ยาสูดพ่นที่ออกฤทธิ์สั้นเมื่อมีอาการ
เช่น ยา SALBUTAMOL, TURBUTALINE, PROCATEROL, FENOTEROL เป็นต้น
ขั้นที่ 2 ให้พ่นยาชนิดที่เป็นสเตียรอยด์ เช่น BUDENSONIDE, FLUTICASOME, BECLOMETHASOME ทุกวันหรือพ่นยาที่ไม่เป็นสเตียรอยด์ ได้แก่ SODIUM CROMOGLYCATE ทุกวัน พร้อม ๆ กับพ่นยาที่ออกฤทธิ์สั้นเมื่อมีอาการ เช่นเดียวกับขั้น 1
ขั้นที่ 3ให้พ่นยาที่เป็นสเตียรอยด์แบบเดียวกับขั้น 2 แต่ขนาดยาสูงกว่า ให้พ่นทุกวันและให้พ่นยาที่ออกฤทธิ์สั้นเพิ่มเมื่อมีอาการแต่ให้บ่อยกว่าขั้น 2
ขั้นที่ 4 ให้พ่นยาที่เป็นสเตียรอยด์ ทุกวันเริ่มกับพ่นยาขยายหลอดลมที่ออกฤทธิ์ยาว
ได้แก่ THEOPHYLLINE, IPRATROPIUM หรือรับประทานยาขยาดหลอดลม
ได้แก่ BAMBUTEROL, SALBUTAMOL, TERBUTALINE ที่ออกฤทธิ์ยาวพร้อม ๆ กับยังคงให้พ่นยาขยายหลอดลมเมื่อมีอาการ
นอกจาการพึ่งยาในการรักษาแล้วผู้ป่วยและญาติจะต้องให้ความร่วมมือในการรักษา โดยเริ่มตั้งแต่การศึกษาให้ทราบข้อมูลต่าง ๆ เกี่ยวกับโรคหืด ตั้งแต่ปัจจัยหรือตัวกระตุ้นที่จะทำให้โรคกำเริบซึ่งได้แก่
|
นอกจากการหลีกเลี่ยงและกำจัดสิ่งที่ทำให้แพ้แล้ว ท่านควรเรียนรู้วิธีการใช้ยาที่ถูกต้อง โดยเฉพาะยาสูดพ่นทางปากเพื่อให้เกิดประสิทธิผลในการรักษามากที่สุด และให้เกิดอาการข้างเคียงของยาน้อยที่สุด
คำแนะนำโดยทั่วไปในการสูดพ่นยา |
|
เมื่อผู้ป่วยที่มีความเข้าใจในการใช้ยา หลีกเลี่ยงสิ่งที่แพ้ ยังมีอีกสิ่งหนึ่งที่สำคัญก็คือ การดูแลสุขภาพของตนเอง ผู้ที่มีอาการหอบหืดเรื้อรังอาจมีอาการเปลี่ยนแปลงของ
อาการต่างๆ ได้ตลอดเวลาเป็นไปตามสุขภาพของร่างกาย ถ้าร่างกายแข็งแรงอาการหืด จะดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด แต่ถ้าสุขภาพอ่อนแอมีการติดเชื้อไวรัสของทางเดินหายใจ หรืออากาศเปลี่ยนแปลงท่านก็จะมีอาการหอบหืดที่เลวร้ายลงอย่างเห็นได้ชัดเช่นกัน การรักษาสุขภาพที่ว่านี้คือการรับประทานอาหารให้ครบหมู่มีคุณค่าทางโภชนาการ อย่างพอเพียง นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอไม่เครียดและออกกำลังกายตามที่สมควร แก่สมรรถภาพร่างกาย ที่กล่าวเช่นนี้เพราะผู้ที่เป็นโรคนี้จะเหนื่อยง่าย การออกกำลังกายหักโหมไม่สามารถจะทำได้โดยเฉพาะระยะที่อาการกำเริบ
อย่างไรก็ตามถ้าท่านพบผู้ป่วยที่มีอาการหอบหืดกระทันหันอย่าพึ่งตกใจจนทำอะไร ไม่ถูกถ้าบริเวณนั้นมีถังออกซิเจนต้องรีบให้ออกซิเจนในปริมาณที่เหมาะสม แล้วตามด้วยยาสูดพ่นทั้งชนิดที่เป็นสเตียรอยด์และยาขยายหลอดลมโดยให้ถี่กว่าปกติ
ทุก 15-30 นาที จนอาการดีขึ้นจึงเปลี่ยนให้ยาซ้ำทุก 4-6 ชั่วโมง ไม่ควรให้ยาแก้แพ้ ในช่วงนี้จะไปกดการทำงานของศูนย์การคุมการหายใจจะยิ่งทำให้หายใจไม่ออก
แต่ถ้าความพยายามช่วยเหลือต่าง ๆ ดังกล่าวข้างต้นไม่ได้ผลภายใน 1 ชั่วโมง ให้รีบพาไปพบแพทย์โดยเร็ว
สุดท้ายอาจกล่าวสรุปได้ว่า โรคหอบหืดนั้นสามารถควบคุมได้โดยการใช้ยา การรักษาสุขภาพและการหลีกเลี่ยงสิ่งที่แพ้โดยต้องปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอและเคร่งครัด เพียงเท่านี้ท่านก็สามารถที่จะมีชีวิตอยู่อย่างปกติไม่เห็นจะยากเลยใช่มั้ยคะ
ภ.ญ.ยุวดี หงส์รัตนาวรกิจ
main |